“การวางแผนเกษียณ” อาจจะเป็นคำที่หลายคนคุ้นเคยในการวางแผนเก็บเงินหรือลงทุนในระยะยาว เพื่อเตรียมเงินไว้ใช้หลังจากที่เราเกษียณอายุ (โดยทั่วไปก็ ณ อายุ 60 ปี) ซึ่งถือเป็นเป้าหมายหนึ่งที่สำคัญของชีวิตเราทุกคน เพราะถึงจุดหนึ่ง เราก็ควรจะต้องหยุดทำงาน แต่ก็ยังต้องใช้ชีวิตต่อไป ดังนั้น การรู้จักวางแผนเตรียมเงินเพื่อการเกษียณตั้งแต่เนิ่นๆ จึงเป็นเรื่องที่สำคัญมาก แต่ในความเป็นจริงแล้ว นอกเหนือจากการเตรียมเงินในช่วงก่อนเกษียณแล้ว การวางแผนเกษียณ ยังรวมไปถึงการบริหารเงินที่เก็บสะสมมาเพื่อให้เพียงพอใช้ในช่วงหลังเกษียณอีกด้วย

ซึ่งการบริหารเงินหลังเกษียณให้เพียงพอนั้น เราจำเป็นต้องใช้ “การลงทุน” เข้ามาช่วยด้วย เพราะมีโอกาสสูงมากที่เงินที่เราเตรียมมาจะไม่เพียงพอ ถ้าเราได้แต่นำเงินที่เตรียมไว้ไปฝากธนาคารแล้วค่อยทยอยถอนมาใช้ เนื่องจากดอกเบี้ยเงินฝากนั้นผลตอบแทนต่ำเกินไป ไม่สามารถเอาชนะเงินเฟ้อ ที่ทำให้ราคาข้าวของแพงขึ้นได้ (ดอกเบี้ยเงินฝาก = 0.50% ต่อปี เงินเฟ้อเฉลี่ย 2.50-3.00% ต่อปี) เราจึงต้องมีการลงทุนเข้าช่วยบ้าง เพื่อเพิ่มโอกาสให้ได้ผลตอบแทนที่สูงขึ้น จนชนะเงินเฟ้อได้

อย่างไรก็ตาม เราก็ไม่ควรไปลงทุนในสินทรัพย์หรืออะไรที่ความเสี่ยงสูงทั้งหมด เพราะอย่าลืมว่า เงินก้อนใหญ่ที่เราเตรียมมาเพื่อใช้หลังเกษียณ คือเงินก้อนสุดท้ายในชีวิตของเราแล้ว หากไปลงทุนที่มีความเสี่ยงค่อนข้างสูง (คาดหวังผลตอบแทนเฉลี่ยตั้งแต่ประมาณ 8% ต่อปีขึ้นไป) ก็มีโอกาสที่เงินเราจะขาดทุนสูงตามไปด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงนี้ ที่มีการชักชวนไปลงทุนที่อ้างว่าให้ดอกเบี้ยหรือเงินปันผลสูง เดือนละหลายเปอร์เซ็นต์ (รวมแล้วหลายสิบเปอร์เซ็นต่อปี) แบบ “การันตีผลตอบแทน” ซึ่งเข้าข่าย “แชร์ลูกโซ่” เพราะผลตอบแทนสูง โดยที่ไม่มีความเสี่ยงอยู่เลยนั้น เป็นเรื่องหลอกลวงที่ไม่เคยมีอยู่จริง ดังนั้น เราจึงต้องระมัดระวังกับเงินเกษียณที่เราเตรียมมาเป็นพิเศษ ว่าต้องไม่เสี่ยงเกินไปจนเป็นอันตราย แต่ก็ไม่ปลอดภัยเกินไปจนแพ้เงินเฟ้อ

วิธีการหนึ่งที่จะช่วยให้เราได้ผลตอบแทนที่เหมาะสม โดยที่ความเสี่ยงไม่สูงจนเกินไป นั่นคือการ “จัดพอร์ตการลงทุน” โดยการกระจายเงินที่เราเตรียมไว้ ไปลงในสินทรัพย์ประเภทต่างๆ ที่มีความเสี่ยงแตกต่างกันออกไป ตามสัดส่วนที่เหมาะสม

เนื่องจากข้อดีของการกระจายการลงทุนแบบนี้ก็คือ ความเสี่ยงต่อการขาดทุนก็จะถูกกระจายไปด้วย เพราะเวลาที่สินทรัพย์บางตัวขาดทุน แต่ก็ยังมีสินทรัพย์อื่นๆ ที่ยังสามารถทำกำไรให้เราได้ โดยที่เงินทั้งหมดที่เราเตรียมไว้ก็ยังคงคาดหวังผลตอบแทนที่เหมาะสมได้ ซึ่งตัวอย่างสินทรัพย์ที่เราสามารถซื้อหรือลงทุนได้ ก็เช่น

  • หุ้น
  • ตราสารหนี้
  • อสังหาริมทรัพย์
  • ทองคำ
  • ประกันบำนาญ

สินทรัพย์ตัวอื่นๆ หลายๆ คนคงอาจจะรู้จักหรือทราบดีอยู่แล้ว แต่สำหรับ “ประกันบำนาญ” (หรือบางคนอาจเรียกว่าประกันชีวิตแบบบำนาญ)บางคนอาจจะสงสัยว่า มันมีข้อดียังไง? ทำไมถึงควรเอามาใช้จัดพอร์ต? และมีวิธีการเอามาใช้ยังไงถึงจะได้ประโยชน์ที่สุด?

ดังนั้นในบทความนี้ ผมจึงขอแนะแนวทางการนำประกันบำนาญมาใช้ในการเป็นส่วนหนึ่งของพอร์ตหลังเกษียณ เพื่อให้การบริหารเงินหลังเกษียณมีประสิทธิภาพที่สุด ดังนี้ครับ

ประกันบำนาญดียังไง? ทำไมถึงน่านำมาใช้จัดพอร์ต

ประกันบำนาญ คือประกันที่มีลักษณะของการจ่ายเบี้ยระยะเวลาหนึ่ง หรือจ่ายจนถึงอายุเกษียณ จากนั้นหลังเกษียณก็ได้รับเงินบำนาญ เป็นจำนวนที่แน่นอน เท่ากันทุกปี ตั้งแต่เริ่มเกษียณจนถึงอายุ 85 ปีเป็นต้นไป (แล้วแต่แบบประกันของแต่ละบริษัท) เพราะฉะนั้น จุดเด่นที่สุดของประกันบำนาญที่นำมาใช้ คือมันสามารถช่วยการันตีเงินเกษียณขั้นต่ำส่วนหนึ่งได้ ว่ายังไงก็ได้รับแน่นอน ทำให้พอร์ตเงินเกษียณของเรา มีความมั่นคงปลอดภัยมากขึ้น นอกจากนั้น ระหว่างที่จ่ายเบี้ย ค่าเบี้ยประกันก็สามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 200,000 บาท (ซึ่งเราก็สามารถนำภาษีที่ได้รับลดหย่อนคืนมา กลับไปออมหรือลงทุนเพื่อเป็นเงินเกษียณเราได้อีกด้วย)

วิธีการนำประกันบำนาญมาใช้วางแผนเกษียณอย่างเหมาะสม

พอร์ตหลังเกษียณที่อยากจะแนะนำคือ พอร์ตที่ให้ผลตอบแทนเฉลี่ยประมาณ 5-6% ต่อปี เนื่องจากเป็นผลตอบแทนที่ไม่สูงหรือต่ำจนเกินไป ซึ่งควรจะมีสัดส่วนของเงินบำนาญอยู่ในพอร์ตนี้อย่างน้อยประมาณ 10% ส่วนสัดส่วนสินทรัพย์อื่นๆที่แนะนำ เป็นดังนี้

นั่นหมายความว่า ถ้าเราอยากมีเงินใช้หลังเกษียณ เดือนละ 50,000 บาท (มูลค่า ณ วันเกษียณ) หรือปีละ 600,000 บาท เราก็ควรทำประกันบำนาญ โดยคำนวณให้ได้เงินบำนาญปีละ 10% x 600,000 = 60,000 บาท นั่นเองครับ (ส่วนอีก 90% ที่เหลือ ก็ให้กระจ่ายไปลงทุน ในสินทรัพย์อื่นๆ ตามสัดส่วนที่แนะนำได้เลย) ส่วนถ้าอยากจะรู้ว่าจะต้องจ่ายเบี้ยเท่าไหร่ เราสามารถแจ้งให้ตัวแทนช่วยคำนวณได้เลยครับว่า หากต้องการเงินบำนาญต่อปีเท่านี้แล้ว จะคิดกลับมาเป็นเบี้ยที่ต้องจ่ายเท่าไหร่

วางแผนเกษียณแบบนี้ ก็ทำให้เราอุ่นใจได้ว่า อย่างน้อยเราก็มีเงินเกษียณส่วนหนึ่งอยู่ 10% ที่เป็นเงินที่ปลอดภัย การันตีว่าได้แน่นอน จากประกันบำนาญ ส่วนอีก 90% ก็กระจายไปลงทุนแบบความเสี่ยงปานกลาง เพื่อบริหารให้เงินหลังเกษียณของเราเอาชนะเงินเฟ้อได้ มีเพียงพอใช้หลังเกษียณด้วยความอุ่นใจมากขึ้น

ซึ่งหากใครกำลังมองหาประกันบำนาญที่น่าสนใจ ทาง กรุงไทย-แอกซ่า ก็มีผลิตภัณฑ์ประกันบำนาญที่ชื่อว่า “iRetire” ที่สามารถตอบโจทย์การใช้บำนาญวางแผนเป็นเงินเกษียณส่วนหนึ่งได้เป็นอย่างดี โดยมีจุดเด่นอยู่ที่

  • สามารถเลือกระยะเวลาจ่ายเบี้ยได้ ว่าจะจ่าย 5 ปี หรือชำระเบี้ยเพียงครั้งเดียว (single premium) ซึ่งเหมาะสำหรับผู้ที่จะวางแผนบริหารเงินที่เตรียมมาเพื่อไว้ใช้หลังเกษียณโดยเฉพาะ
  • รับเงินบำนาญสูงสุด 20% ของจำนวนเงินเอาประกันภัย (iRetire 5) โดยสามารถรับเงินบำนาญเป็นรายเดือนหรือรายปี
  • และ 5% ของจำนวนเงินเอาประกันภัย (สำหรับแบบจ่ายเบี้ย 1 ปี) 
  • รับความคุ้มครอง 200% จำนวนเงินเอาประกันภัย หรือ มูลค่าเงินเวนคืนกรมธรรม์ หรือ 110% ของเบี้ยประกันภัยของกรมธรรม์หลักที่ชำระมาแล้วทั้งหมด แล้วแต่จำนวนใดจะมากกว่า (เฉพาะช่วงก่อนรับบำนาญ)
  • เบี้ยประกันสามารถลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 200,000 บาท

*ผู้ซื้อควรทำความเข้าใจรายละเอียดความคุ้มครอง และเงื่อนไขก่อนตัดสินใจทำประกันทุกครั้ง

นอกจากนี้ ทางกรุงไทย-แอกซ่า ก็ยังมีผลิตภัณฑ์ที่ตอบโจทย์การวางแผนชีวิตหลังเกษียณอีกหลายตัว ไม่ว่าจะเป็น PR60 ประกันเกษียณอายุที่ถูกออกแบบมาเพื่อใช้วางแผนเกษียณได้เช่นเดียวกัน หรือ iProtect S ประกันชีวิตแบบเน้นคุ้มครองชีวิตตลอดชีพ สำหรับเป้าหมายการวางแผนมรดกให้ลูกหลาน เพื่อให้เราใช้ชีวิตช่วงวัยเกษียณได้อย่างอุ่นใจที่สุด

อย่าลืมนะครับว่า ประกันบำนาญมีประโยชน์มากกว่าที่เราคิด เพราะนอกจากจะช่วยให้เรามีเงินเกษียณที่แน่นอนส่วนหนึ่งในพอร์ตเกษียณแล้ว ยังมีความคุ้มครองชีวิตในช่วงก่อนเกษียณ และได้รับผลประโยชน์จากการลดหย่อนภาษีเพิ่มเติมจากปกติอีกด้วย ดังนั้น ควรวางแผนจัดพอร์ตการลงทุนหลังเกษียณให้ดี และใช้ประกันบำนาญช่วยตอบโจทย์อย่างเหมาะสมด้วยนะครับ

บทความนี้เป็น Advertorial