ในตอนนี้จะขอนำเสนอวิธีการในการลงทุนแบบผสมสานโดยเอาหลักการเพิ่มประสิทธิภาพมาใช้ในการลงทุนนะครับ หลายๆคนก็อาจจะพึ่งเคยได้ยินคำว่า PDCA ครั้งแรก ก็จะขอเม้าท์ให้ฟังก่อนเลยว่า มันเป็น สุดยอดวิชาของการจัดการชั้นสูง ซึ่งบริษัทใหญ่ๆในโลกนี้เขานำมาใช้กัน แล้วนักลงทุนมือใหม่อย่างเราที่อยากจะเพิ่มความมั่งคั่ง ทำไมไม่ลองใช้มันกันดูบ้างล่ะครับ มาดูกันว่าผมจะนำมาใช้ในลักษณะอย่างไร

ตัวอย่างนี้เป็นตัวอย่างตัวเลขสมมติที่ แต่มีเค้ามาจาก Story จริงของชีวิตในช่วงการทำงานในปีแรกๆ

P = Plan ขั้นตอนการวางแผน

เราจะเอาความคาดหวังของเราเป็นตัวตั้งเลยนะครับ เช่น แผน 1 ปี 5 ปี อย่างผมเองก็จะมีความคาดหวังในการเก็บเงินของตัวเอง ยกตัวอย่างตามตารางนี้นะครับ เราอยากมี 1 ล้านบาท มาดูกันเลยว่า 5 ปีจะต้องมี 1 ล้านบาทจะต้องทำอย่างไร!

เป้าหมายโอเคไหม? เอ้ยยยย ตั้งไปก่อน อย่าไปคิดมากว่าจะทำได้หรือทำไม่ได้ ยังไม่ได้ลองทำเลยจะรู้ได้ไงว่าทำไม่ได้ หากถอดใจตั้งแต่วันแรกแปลว่ามันไม่สำเร็จตั้งแต่คิดแล้ว ถูกป่ะ? มาต่อในขั้นตอนที่ 2 เลยนะครับ

D = Do ขั้นตอนการลงมือทำ

เรามีเป้าหมายให้มีเงินเก็บจำนวนนี้ ก็ลองมาดูว่าเราสามารถสร้างปฏิบัติภาระกิจของเราอย่างไรได้บ้าง อันนี้จะเป็นตัวอย่างของผมนะครับ ผมก็จะบันทึกว่าผมเอาเงินไปเก็บได้ยังไงบ้าง

ซึ่งถ้าเราเอาค่าเฉลี่ยมานั่งดูนะ เราอาจจะต้องเก็บเงินเดือนละ 16,666 บาท จำนวน 5 ปี เพื่อให้ได้ 1,000,000 บาท แต่เอาจริงๆน่ะ ในปีแรกพอทำไปทำมาปุ๊ป บางเดือนก็อาจจะเก็บได้ บางเดือนก็อาจจะเก็บไม่ได้

ผมได้เงินเก็บมาปีแรก 137,000 ยังห่างไกลจากเป้าหมายมากกกก แหนะ เพราะฉะนั้นแล้วในปีที่ 2 จะต้องเพิ่มประสิทธิภาพ ให้ถึงเป้าหมายได้ผมจะต้องเก็บเงินเพิ่มใช่ป่ะ? โหย ยากฉิบหาย แค่ปีแรกยังทำไม่ได้เลย แล้วปีที่ 2 มันจะทำได้ยังไง ต่อให้เงินเดือนขึ้นก็ตาม แต่มาดูขั้นตอนนี้ต่อไปนะครับว่าผมปรับแผนยังไง

C = Check ขั้นตอนการตรวจสอบ

ขั้นตอนนี้เป็นการเช็คแล้วเอาข้อมูลมาวิเคราะห์ดูนะครับว่าแผนของเราเป็นอย่างไรและแก้ไขได้ไหม ผมเองเป็นคนที่พยายามสูงนะ ผมจะไม่ลดเป้าหมายเด็ดขาด (บางคนเห็นเก็บไม่ได้ก็ลดเป้าจาก 1,000,000 เหลือ 500,000 แต่ชีวิตต้องท้าทายใช่ป่ะ? อย่าพึ่งลด ทำไปก่อน) ยังไงก็ต้องไปให้ถึง ต่อให้เราทำไม่ได้ตามเป้าในปีที่ 5 นะ แต่เรารู้แล้วว่าจะไปในปีที่ 10 - 20 ที่มากกว่า 1 ล้านได้ยังไง

ข้อมูลที่ผมเห็นคืออะไร? มาดูกัน

  • เดือน มกราคมและเมษายน เก็บเงินได้น้อย ผมรู้เลยว่ามันเกิดจากการมีวันหยุดเยอะ ปีใหม่ สงกรานต์ แล้วเอาเงินไปไหนหมด เอาไปเที่ยวครัช!
  • เดือน มีนาคม มีเงินเก็บสูงมาก เนื่องจากผมมีเงินตรงนี้จากโบนัสการทำงานของปีก่อน เย่ๆ
  • เงินขั้นต่ำในการเก็บคือ 5,000 บาท แสดงว่า ยังไงก็ตาม กูเก็บได้แน่จำนวนนี้ เอาไปลงทุนได้
  • ข้อมูลที่ไม่ได้อยู่ในตารางก็คือ ในปีต่อไปมีการขึ้นเงินเดือน ปีหน้าน่าจะเก็บเงินได้มากขึ้น ถ้าผมไม่ได้ใช้จ่ายเปลี่ยนไปและอัตราเงินเฟ้อทำอะไรผมไม่ได้มาก ฮาๆ

A = Act

ผมลองใหม่ด้วยการปรับแผนดังกล่าว เอาสิ่งที่เป็น Learning ปีก่อนหน้า มาปรับรูปแบบการเก็บเงินอย่างงี้ครับ เย่….

เป้าหมายใหม่

  • เงินเก็บขั้นต่ำเพื่อเอาไปออมหุ้น DCA เดือนละ 5,000 ที่เคยได้ + เป้าหมายเพิ่มจากเงินเดือนที่มากขึ้นอีก 1,000 และรู้ว่าเดือน มีนาคมน่าจะมีโบนัสเพิ่ม ก็เอามาเฉลี่ยในการลงทุนเพิ่มอีกซักเดือนละ 2,000 รวมทั้งสิ้นผมจะต้องออมหุ้นและกองทุนรวมจำนวน 8,000 บาท (รับความเสี่ยงได้)
  • ผมใช้กลยุทธ์ออมเงินใหม่คือ “หักออก 8,000 ออกมาเลย ไม่ออมแบบเหลือค่อยเก็บ”
  • เงินเก็บที่เหลือเก็บแบบปกติแล้วเอาไปใส่ในกองทุนรวมที่ได้ผลตอบแทนมากกว่าเงินฝาก เผื่อมีจังหว่ะดีๆในการซื้อหุ้นจะได้เทททททท มันเลยยยยยยยยยยยยยยยยยยย

มาดูในปีที่ 2 กันนะครับว่าเป็นอย่างไร (เหมือนเดิม ตัวเลขสมมติเพราะจำตัวเลขจริงไม่ได้ 5555 แต่มาจาก Story จริงของชีวิตผมเอง)

ในปีนี้ผมทำตามแผนละ

  • มกราคม กับ กุมภาพันธ์ นี่จะเป็นช่วงที่กระเบียดกระเสียนค่อนข้างมากเพราะ โบนัสยังไม่ออก แต่ก็ทำได้นะครับแม้ค่าใช้จ่ายจะเยอะก็ต้องบริหารให้ได้
  • ที่ผมดอกจันทร์ไว้เดือนมีนาคม 28,000 บาท ถูกเอามาเฉลี่ยการลงทุนอีกเดือนละ 2,000 บาท เฉลี่ย 10 เดือน ในปลายปีเงินก้อนนี้จะเหลือ 8,000 บาทในปลายปี
  • ในปลายปี เงินที่ลงทุนในหุ้น ผลตอบแทนของปีนั้นจำไม่ได้แล้ว ฮาๆ แต่ขอคิดที่ 3% แล้วกัน นะครับเพราะเป็นตัวเลขที่ไม่เวอร์มากในช่วงปีแรกของการลงทุน (แต่ปีต่อๆไปมันจะเพิ่มนะ)

มาดูความมั่งคั่งที่สร้างขึ้นนะครับ

ตารางนี้บอกอะไร

  1. เราสามารถสร้างเงินทุนสะสมได้มากขึ้น 2.92% เราก็ต้องสร้างเป้าหมายให้ออมได้มากขึ้น เป็น 5% 10% จากการบริหารรายรับที่มากขึ้นกับ รายจ่ายที่ควบคุมได้ ถูกป๊ะ!
  2. เราสามารถเพิ่มมูลค่าความมั่งคั่งในปีนั้นๆจากการลงทุนในหุ้นทำให้ตัวเลขกลายเป็น 5% แต่ตัวเลขนี้เปลี่ยนแปลงได้ตามราคาหุ้นนะครับ ณ จุดนี้เราต้องไปตรวจสอบผลการดำเนินงานของการลงทุนของเราด้วยว่าอัตรามันเพิ่มขึ้นในระยะยาวหรือไม่ ถ้าไม่โอเค หุ้นมันแย่ลงก็ต้องไปดูพื้นฐานมัน ว่ามันลงเพราะราคาลงจากภาวะตลาดหรือลงเพราะการทำกำไรที่แย่ลงแล้วตัดสินใจในการเปลี่ยนแปลงการลงทุนนะครับ

การสร้างประสิทธิภาพและเพิ่มมาตรฐานการเก็บออมและลงทุนโดย PDCA อย่างต่อเนื่อง

เป้าหมายมีแล้ว ลองทำลองปรับแล้ว และเพิ่มประสิทธิภาพให้มากขึ้น มาดูตาราง 5 ปีบ้างว่า ถ้าเราสามารถลงทุนประสบความสำเร็จ โดยมีอัตราการเพิ่มขึ้นของประสิทธิภาพจากการทำ PDCA เพื่อการลงทุนแบบ DCA แล้วจะเป็นอย่างไรบ้าง? โดยสมมติผลตอบแทนการลงทุนทั้งหมด 5 ปีนั้นคือ 40% (เฉลี่ยปีละ 8%) ส่วนออมทรัพย์ได้ไม่เยอะมากผมเลยไม่ได้ใส่ดอกเบี้ยนะครับ อิอิ

ตารางข้างล่างจะกำหนดสมมติฐานว่าหากเราเพิ่มประสิทธิภาพได้อย่างต่อเนื่องจากการบริหารเงินในกระเป๋าของเรา โดยที่เราอาจจะพบผลตอบแทนในระยะ 5 ปีจากการลงทุนด้วย จะทำให้เรามีโอกาสไปถึงเป้าหมายของพอร์ตการลงทุน 1 ล้านบาทได้อย่างไร (แค่ตัวอย่างนะครับ)

ทั้งหมดนี้ก็คือการแชร์ไอเดียคร่าวๆ ที่เราสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ในการเอาเครื่องมือ PDCA ไปใช้ประโยชน์ในการลงทุนแบบ DCA โดยสร้างเป้าหมายในการเพิ่มประสิทธิภาพในการลงทุนของตัวเอง อย่างที่บอกตัวเลขที่ผมโชว์มันสมมติขึ้นหลายคนอาจจะได้มากกว่านี้หรือได้น้อยกว่าเพราะมันอยู่ที่ความเหมาะสมในการเก็บออม การรับความเสี่ยง และความสดใสของตลาดหุ้นในช่วงนั้นๆด้วย แต่หลักการนี้ผมเชื่อว่าจะเป็นประโยชน์ต่อทุกคนในการวางแผนได้อย่างแน่นอนนะครับ

ปล. ชอบก็แชร์ให้เพื่อนๆอ่านหน่อยน้า