มาดูเรื่องวงจรเงินสด กันบ้างดีกว่า ไม่แน่ใจว่ารู้จักกันแล้วใช่ไหมครับ? ผมเคยเขียนบทความในเรื่องนี้ไว้นานมาแล้ว แต่ไม่เป็นไรครับ หากลืมเดียวเท้าความให้ก็ได้ว่ามันคืออะไร! เวลาเราพูดถึงการขายของนะ สิ่งที่เราจะต้องระลึกเสมอเลยก็คือเงินของเราควรจะเก็บจากลูกค้าให้ได้เร็วและเอาเงินไปหมุนก่อนให้เกิดประโยชน์ในระยะสั้น แล้วพอครบกำหนดก็เอาเงินไปคืนเจ้าหนี้ พูดง่ายๆก็คือเก็บเงินเร็วและจ่ายเงินช้านี่คือสุดยอดของการเอาเงินมาหมุนในธุรกิจแล้วทำไมบริษัทควรเก็บเงินสดเร็ว - จ่ายเงินออกช้า

1. เอาเงินไปหมุนได้ เช่น มี 100 ล้าน ต้องไปจ่ายอีก 180 วัน แค่เอาไปลงทุนระยะสั้นก็ได้เงินมาเป็นรายได้เพิ่มแล้ว

2. ยิ่งเก็บเร็วยิ่งลดความเสี่ยงการเบี้ยวหนี้ เก็บช้าเดี๋ยวลูกค้าลืมจ่าย อยู่ๆเกิดไม่มีเงินขึ้นมาแย่เลย

3. การที่ไม่มีเงินหมุนในมือมันจะมีความเสี่ยงเรื่องขาดเงินแล้วอาจจะต้องไปกู้เงินมาเพิ่มใช่ป่ะ กลายเป็นต้นทุนทางการเงินอีก

แล้วบริษัทที่สามารถเก็บเงินเร็ว - จ่ายเงินออกช้าได้จะเป็นใคร?

แน่นอนว่ามันต้องเป็นบริษัทที่ต่อรองได้ อยากคบค้ากับเขา ก็ต้องทำตามเงื่อนไขเขา ใครยิ่งใหญ่กว่าก็ต่อรองได้มากกว่า มาดูใน Case ของจริงกันนะครับว่า บริษัทที่ผมยกตัวอย่างนั้นเป็นอย่างไรบ้าง หน้าตาของใครดูแบบมีอำนาจ มีความได้เปรียบกับคนอื่น งานนี้จะขอยกตัวอย่าง Case ค้าปลีกก่อน

BIGC กับ CPALL

2 เจ้าหนี้เป็นค้าปลีกสินค้าอุปโภคบริโภคทั้งคู่เลย โดยเจ้านึงเป็น Supermarket ขนาดใหญ่ (แต่ตอนหลังก็มาทำขนาดเล็ก) อีกเจ้าคือร้านสะดวกซื้อที่เป็นเจ้าอันดับหนึ่งที่เดินเห็นได้ทุกหัวมุม จนตอนดึกๆมันกลายเป็นป้อมยามตามชุมชนไปแล้วละครับ อ่ะมาดูว่าเงินหมุนของเขาเป็นยังไงบ้าง

จากข้อมูลเรามาดูง่ายๆกันก่อน ผมไม่ได้ดูทุกบรรทัดนะครับ อิอิ ร้านค้าปลีก 2 แห่งเนี่ยเขาให้ลูกค้าจ่ายเงินทันทีเวลาไปซื้อของใช่ไหม? แบบเดินไป หยิบของใส่ตระกล้าหรือหยิบถือมาจ่ายเลย รับซาลาเปาทานเพิ่มไหมค่ะ (ไม่ค่อยเห็นมีถามแล้ว) แน่นอนว่า ระยะเวลาเก็บหนี้เฉลี่ยของทั้ง BIGC และ CPALL มันต้องต่ำกว่า 1 วันอยู่แล้วล่ะ ไม่มีอารมณ์แบบมาค้ามาบอกว่า "เธอๆๆ เดี๋ยวพรุ่งนี้มาจ่ายนะคะ ขอเอาไอติมไปกินก่อน" ยกเว้นกรณีเด็กแว้นๆที่เอาปากไปกรอกเครื่องกดน้ำแปปซี่ที่โด่งดังอยู่ใน Clip วิดีโอนั่นล่ะกินก่อน แต่ไม่รู้จ่ายหรือเปล่าเพราะมันจบก่อนเห็นว่าจ่ายหรือไม่จ่ายเงิน ฮ่าๆ

มาดูอันต่อมาคือ จำนวนวันที่ขายสินค้าได้ ประมาณว่าเอาของมาวางไว้แล้วเฉลี่ยว่าของมันจะออกไปในกี่วัน จะเห็นได้ว่าเฉลี่ยๆแล้ว CPALL มันขายออกได้เร็วกว่า อันนี้กระผมมองเล่นๆนะครับว่าปกติแล้วคนเข้าไปซื้อของใน 7-11 สงสัยจะไปซื้อพวกของกินกันซะเยอะ พวกของกินมันก็ขายออกเร็วนั่นล่ะ ไส้กรอก ครัวซอง แซนวิช พวกนี้ออกเร็วแน่ๆ สงสัยมันคงมีค่าเฉลี่ยในการขายของพวกนี้เยอะ แต่อาจจะต้องไปดูรายละเอียดเรื่องสัดส่วนของที่ขายในร้านอีกทีนะครับ แฮร่ (ใครมีเวลาเช็คให้หน่อยน้า 555) ค่าเฉลี่ยมันเลยปล่อยของได้ใน 3 วีคนิดๆ ในส่วนของ BIGC นี่ของมันเป็นแนวๆหลากหลายกว่าของเข้ามาวางเฉลี่ยในร้านออกไปช้ากว่าหน่อยประมาณ 1 เดือน

มาดูในส่วนของการชำระเงินให้กับเจ้าหนี้ดูเหมือน Credit Term ของ BIGC จะมากกว่าใช่ไหม 80-90 วัน นั่นแปลว่าเขาจะไปบอก supplier ว่า เอาของมาวางก่อน อีก 3 เดือนเอาเงินมาจ่าย ส่วน CPALL มันคงผสมๆกันล่ะครับ ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ ประมาณ 2 เดือน ถึง 2 เดือนครึ่ง แปลว่าบางอย่างคงต้องจ่ายเร็ว บางอย่างก็จ่ายช้าได้ถ้าเอาให้ชัวร์ ต้องกลับไปดูนโยบายการเรื่อง credit term นะครัช!

วงจรเงินสดของทั้ง 2 ธุรกิจนี้มัน ติดลบ ทั้งคู่ เงินสดอยู่ในเงิน BIGC ตั้งเกือบ 2 เดือนแหนะ ส่วนใน CPALL อยู่ในมือ 1 เดือนถึง 1 เดือนครึ่ง

พออ่านพวกนี้ก็คงจะพอมองภาพออกใช่ไหมครับว่า 2 ธุรกิจนี้มันมีเครดิตเทอมยังไงและดูเหมือนที่ไหนจะขายของหมุนเงินได้เร็วกว่า แต่ดูแล้วทั้ง 2 แห่งนี้ก็ดูมี Power ในการต่อรองสูงเนอะ นักลงทุนอย่างเราๆมองอย่างไรบ้างครับ? มาดูตัวอย่างที่ 2 ค้าปลีกพวกเกี่ยวกับอุปกรณ์ที่เกี่ยวกับบ้าน

HMPRO กับ GLOBAL

อันนี้ถามกันเยอะ ยกมาให้ดูเลยดีกว่า มีคนชอบถามว่าลงทุนอันไหนดีนะ ผมเอาในส่วนของวงจรเงินสดมาให้ดูสนุกๆทั้ง 2 อันเลยเทียบกันแล้วกันนะ เพื่อจะเป็น Idea ในการไปดูในแง่มุมอื่นๆต่อ

อัตราการเก็บหนี้เฉลี่ย ดูเหมือน HMPRO จะเก็บได้ช้ากว่า GLOBAL นะครับ ประมาณ 1 สัปดาห์ น่าสนใจไหม เวลาผมไปซื้อของที่ HMPRO ผมก็จ่ายสดทั้งนั้นเลยนะ แล้วใครที่ติดหนี้ได้ถึง 1 อาทิตย์ล่ะเนี่ย ห้าห้า ส่วน GLOBAL เป็นร้านค้าปลีกที่จ่ายสด เก็บลูกหนี้ได้ไม่ถึง 1 วัน ชิมิ?  เออแต่มาดูการขายสินค้าโดยเฉลี่ยสิ จะพบว่า HMPRO ขายได้เร็วกว่า GLOBAL เยอะเลย เฉลี่ย 2 เดือนครึ่ง กับ ประมาณ 6 เดือน นี่ถ้าเกิดผมเอาของไปตั้งใน HMPRO คงดีใจขายของได้เร็ว แต่ GLOBAL นี่เหงาแย่เลยเอาไปวางไว้ 6 เดือนถึงขายได้เนี่ย

มาดูอันที่แบบพิฆาตธุรกิจก็คือเรื่องของระยะเวลาการชำระหนี้เจ้าหนี้ HMPRO นี่มีเครดิตเทอมเฉลี่ยประมาณ 120 วัน (4 เดือนแหนะ) ในขณะที่ GLOBAL ได้ประมาณ 2 เดือนเท่านั้น นั่นหมายความว่าพอขายของได้ HMPRO เลยเอาเงินไปหมุนก่อนได้ แต่ GLOBAL นี่ดูสภาพแย่กว่า เพราะของกว่าจะขายได้ก็ต้อง 6 เดือน แต่แค่ 2 เดือนก็ต้องเอาเงินไปจ่ายเจ้าหนี้แล้ว (อารมณ์ของยังไม่ได้ขายเลยเงินก็ต้องไปหาเจ้าหนี้แล้ว) วงจรเงินสดของ HMPRO มันเลยดีกว่าเพราะเงินอยู่ในมืออีก 1 เดือน ในขณะที่ GLOBAL นี่เงินไปอยู่ที่คนอื่นซะส่วนใหญ่ เกือบ 4 เดือนได้ละม้าง แต่ถ้าขายของปล่อยออกได้เร็วก็คงดีกว่านี้ใช่ไหมครับ ตรงนี้น่าจะเป็นเรื่องของการบริหารจัดการให้ของขายได้เร็วๆแล้วล่ะ อาจจะดูว่า Sell & Marketing Strategy เขาทำอย่างไร ใครถือหุ้นก็ลองไปถามผู้บริหารในวันประชุมผู้ถือหุ้นนะคราบ

พอจะได้คำตอบเพื่อไปศึกษาต่อใน Case ของ HMPRO กับ GLOBAL แล้วใช่ไหมครับ กรณีที่เงินสดมันไม่ได้อยู่ที่เราเยอะ