ด้วยความที่คนในสังคมยุคปัจจุบันได้เริ่มตระหนักถึงความเสี่ยงต่ออาการเจ็บป่วย และการมีโอกาสเป็นโรคร้ายแรง (เช่น โรคมะเร็ง โรคหัวใจ หรือโรคหลอดเลือดในสมอง) ได้อย่างไม่คาดฝัน จากการใช้ชีวิตในทุกวันนี้ ทำให้คนทั่วไปเริ่มหันมาให้ความสำคัญและดูแลสุขภาพของตัวเอง ทั้งการออกกำลังกาย รวมถึงการวางแผน “ป้องกัน” ความเสี่ยงของค่ารักษาพยาบาลที่มีโอกาสเกิดขึ้นได้ ด้วยการทำ “ประกัน” กันมากขึ้น ทำให้หลายคนเริ่มหันมาสนใจและศึกษาการทำ “ประกันสุขภาพ” เพื่อช่วยคุ้มครองเงินในกระเป๋าตัวเองจากค่ารักษา ที่นับวันจะแพงขึ้นเรื่อยๆ

และเมื่อพูดถึงการทำประกันสุขภาพขึ้นมาแล้ว ในกระแสตอนนี้ก็เริ่มมีการสนับสนุนให้คนทำประกันสุขภาพแบบ “เหมาจ่าย” ค่ารักษาพยาบาล เป็นหลัก เพราะมีความคุ้มครองสูง คุ้มค่ากับเบี้ยที่จ่ายไป ทำให้อุ่นใจกับการป้องกันความเสี่ยงมากกว่าประกันสุขภาพแบบเก่า ที่เป็นประกันสุขภาพแบบ “แยกค่ารักษา” ดังนั้นวันนี้ ผมจึงขออาสาพาทุกคนไปไขข้อสงสัยไปพร้อมกันว่า ที่เขาว่าประกันสุขภาพแบบเหมาจ่ายดีมากๆนั้น มันจะดีจริงตามที่เขาว่าหรือไม่?

ก่อนอื่นผมขอทำความเข้าใจให้ทุกคนทราบก่อนนะครับว่า ประกันสุขภาพแบบเหมาจ่ายคืออะไร? และต่างจากประกันสุขภาพแบบแยกค่ารักษาอย่างไร?

เรื่องของเรื่องก็คือ ประกันสุขภาพในส่วนที่เป็นความคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลทั่วไปนั้น ในช่วงก่อนหน้านี้ จะเป็นแบบ “แยกค่ารักษา” นั่นก็คือ บริษัทประกันสุขภาพจะกำหนดความคุ้มครองออกมาเป็นค่ารักษารายการต่างๆ และกำหนดวงเงินความคุ้มครองให้แต่ละรายการนั้น เช่น ค่าห้อง 2,000 บาทต่อคืน ค่าผ่าตัด 50,000 บาทต่อครั้ง เป็นต้น ซึ่งเราก็จะสามารถเบิกเคลมค่ารักษาที่เกิดขึ้นได้เฉพาะรายการที่กำหนด และเบิกได้ไม่เกินวงเงินที่กำหนดนั้น ถ้าเกิน เราจะต้องเป็นคนออกค่าใช้จ่ายส่วนที่เกินนั้นเอง

แต่ในปัจจุบัน ด้วยความที่ค่ารักษาพยาบาลต่างๆเริ่มปรับตัวสูงขึ้น ทำให้วงเงินค่ารักษาแบบแยกค่ารักษาที่ถูกกำหนดไว้ เริ่มไม่ครอบคลุมกับค่ารักษาที่เกิดขึ้นจริงในปัจจุบัน บริษัทประกันจึงต้องออกประกันสุขภาพแบบใหม่ที่ครอบคลุมค่ารักษาได้มากขึ้น นั่นก็คือแบบ “เหมาจ่ายค่ารักษา” โดยจะมีส่วนที่เหมือนกับแบบแยกค่ารักษาเหมือนเดิมคือ บางรายการก็ยังคงเป็นแบบแยกค่ารักษาเอาไว้ โดยเฉพาะส่วนที่เป็น “ค่าห้อง” รวมถึงรายการต่างๆ แต่ความแตกต่างอย่างชัดเจนก็คือ จะมีการกำหนดวงเงิน “เหมาจ่าย” เอาไว้ในรอบปีกรมธรรม์ ซึ่งจะเป็นวงเงินสูงสุดที่จะเบิกค่ารักษาได้ รวมกันต่อปี ไม่เกินนี้ และกำหนดให้บางรายการ ที่เคยเป็นรายการที่ถูกกำหนดวงเงินค่ารักษา มาเป็นวงเงินที่เบิกค่ารักษาได้ตามจริงอยู่ภายในวงเงินเหมาจ่ายที่ให้ไว้ ซึ่งส่วนใหญ่ วงเงินเหมาจ่ายที่บริษัทกำหนด ก็มักจะเป็นวงเงินที่สูงจนถึงหลักล้าน (บางบริษัทอาจจะสูงถึงหลักสิบล้าน) เพื่อพยายามให้ครอบคลุมค่ารักษาในปัจจุบันมากขึ้น นอกจากนั้น ก็ยังมีการเพิ่มรายการค่ารักษาบางรายการ ที่ของแบบแยกค่ารักษาไม่เคยมีอีกด้วย

ถ้าใครยังนึกภาพไม่ออก ผมจะขอยกตัวอย่างความแตกต่างระหว่าง
 "แบบแยกค่ารักษา" กับ "แบบเหมาจ่ายค่ารักษา" ให้เห็นชัดๆ ตามตารางนี้

เมื่อเปรียบเทียบแบบแยกค่ารักษา กับแบบเหมาจ่ายค่ารักษา ที่แผนค่าห้อง 5,000 บาทเหมือนกัน จะพบว่า กรณีเป็นผู้ป่วยในนั้น สำหรับแบบแยกค่ารักษา รายการค่าแพทย์ผ่าตัดและหัตถการ, ค่าแพทย์วิสัญญี และค่ารักษาพยาบาลอื่นๆ จะถูกแยกรายการและวงเงินออกมาต่างหาก

แต่แบบเหมาจ่าย ทั้ง 3 รายการจะใช้วงเงินเดียวกันคือหักออกจากวงเงินเหมาจ่ายที่ไม่เกินผลประโยชน์สูงสุดต่อครั้ง รวมแล้วไม่เกินผลประโยชน์สูงสุดต่อปีเลย ซึ่งในกรณีนี้ วงเงินสูงสุดต่อครั้งคือ 1.5 ล้านบาท และวงเงินสูงสุดต่อปีคือ 3 ล้านบาทเลยทีเดียว

ส่วนกรณีผู้ป่วยนอก แบบแยกค่ารักษาจะมีวงเงินเฉพาะรายการ ค่าตรวจวินิจฉัยทางรังสีวิทยาฯ และค่ารักษาพยาบาลฉุกเฉิน เท่านั้น ในขณะที่แบบเหมาจ่าย รายการค่าตรวจวินิจฉัยทางรังสีวิทยาฯ จะอยู่ในวงเงินเหมาจ่ายค่ารักษาเลย และยังมีรายการความคุ้มครองอื่นๆเพิ่มเข้ามาอีก คือค่ารักษาพยาบาลต่อเนื่องฯ และค่าล้างไต เคมีบำบัด และค่ารังสีบำบัดอีกด้วย

ดังนั้น เมื่อมีความคุ้มครองที่สูงกว่า และมีรายการความคุ้มครองมากกว่า ก็เป็นเรื่องปกติที่ค่าเบี้ยประกันของแบบเหมาจ่ายค่ารักษาจะสูงกว่าแบบแยกค่ารักษา ซึ่งจากตัวอย่าง จะเห็นได้ว่าสูงกว่าประมาณ 3 เท่า เลยทีเดียว

(อย่างไรก็ตาม ค่ารักษารายการไหนจะอยู่ในวงเงินเหมาจ่ายหรือไม่ หรือมีค่ารักษารายการอะไรเพิ่มเติมเข้ามาบ้าง และค่าเบี้ยจะเป็นเท่าไหร่ ก็ขึ้นอยู่กับแบบประกันเหมาจ่ายของแต่ละบริษัทประกันสุขภาพด้วยเช่นกัน)

สรุปจุดเด่น-จุดด้อย ของประกันสุขภาพที่คุ้มครองค่ารักษาพยาบาล แต่ละแบบ

แบบแยกค่ารักษา

จุดเด่น

  • แม้จะมีการกำหนดวงเงินค่ารักษาแต่ละครั้งสำหรับโรคใดโรคหนึ่ง แต่ไม่มีการกำหนดวงเงินสูงสุดต่อปี ทำให้หากปีนั้นป่วยหลายโรค (หรือโรคเดียวกัน แต่เป็นหลายครั้ง แต่ละครั้งห่างกันเกิน 90 วัน) ก็จะทำให้เบิกวงเงินที่เริ่มนับใหม่ได้เรื่อยๆ 
  • ค่าเบี้ยประกันถูกกว่าแบบเหมาจ่ายเยอะมาก ทำให้เหมาะกับคนที่มีงบทำประกันน้อย หรือคนที่กำลังมองหาประกันสุขภาพให้คุณพ่อคุณแม่ ที่ค่าเบี้ยไม่สูงมากนัก (เพราะค่าเบี้ยแบบเหมาจ่ายของคนที่อายุมากๆจะยิ่งสูงมาก)

จุดด้อย

  • วงเงินค่ารักษาแต่ละรายการไม่สูงมากนัก ทำให้ไม่ครอบคลุมค่ารักษาที่เกิดขึ้นจริงในปัจจุบัน
  • รายการคุ้มครองที่เบิกได้ น้อยกว่าแบบเหมาจ่าย

แบบเหมาจ่ายค่ารักษา

จุดเด่น

  • มีวงเงินเหมาจ่ายค่ารักษาต่อปีให้ ซึ่งเป็นวงเงินที่ค่อนข้างสูงถึงหลักล้าน ทำให้มีโอกาสครอบคลุมค่ารักษาที่เกิดขึ้นจริงมากกว่า
  • มีรายการคุ้มครองหลายรายการ มากกว่าแบบแยกค่ารักษา

จุดด้อย

  • ค่าเบี้ยประกันต่อปีค่อนข้างสูง และถ้ายิ่งเป็นแผนที่วงเงินเหมาจ่ายสูงมากๆ ค่าเบี้ยก็จะยิ่งสูงขึ้นตาม

หากใครที่ศึกษารูปแบบของประกันสุขภาพที่คุ้มครองค่ารักษาตามที่อธิบายมา แล้วสนใจแบบเหมาจ่ายค่ารักษามากกว่า ซึ่งถ้าใครยังมีคำถามและยังสงสัยอยู่ว่า จะทำประกันสุขภาพแบบไหนหรือทำประกันชีวิตบริษัทไหนดี? ผมขอยกตัวอย่างประกันสุขภาพแบบเหมาจ่ายค่ารักษาที่น่าสนใจขึ้นมาสักแบบ มา Review ให้ทุกคนได้พิจารณากัน

นั่นก็คือ “ประกันได้หมด” ประกันสุขภาพแบบเหมาจ่ายค่ารักษาจาก Manulife โดยแบบประกันนี้ที่มีจุดเด่นอยู่ตรงที่ :

  • รายการค่ารักษา ไม่ว่าจะกรณีผู้ป่วยในหรือผู้ป่วยนอก (ค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยนอกสำหรับค่าล้างไต เคมีบำบัด รังสีบำบัด, ค่ารักษาพยาบาลฉุกเฉินเนื่องจากอุบัติเหตุ และค่ารักษาพยาบาลหลังออกจากรพ.) เกือบทั้งหมดอยู่ในวงเงินเหมาจ่าย ยกเว้นแค่ ค่าห้อง เท่านั้น 
  • สามารถเบิกค่าห้องได้ไม่จำกัดจำนวนวัน (ทั่วไปมีการกำหนดจำนวนวันที่เบิกได้ ตั้งแต่ 125-180 วัน)
  • สามารถเลือกจับคู่ค่าห้อง กับวงเงินเหมาจ่ายต่อปีได้ ทำให้เลือกจับคู่ค่าห้องกับวงเงินเหมาจ่ายที่เหมาะกับตัวเอง และค่าเบี้ยที่เหมาะสมกับตัวเองได้ ในขณะที่แบบเหมาจ่ายทั่วไป ค่าห้องจะถูกกำหนดตามวงเงินเหมาจ่ายแต่ละแผนเลย ไม่สามารถเลือกได้
  • ครอบคลุมค่ารักษาพยาบาลต่อเนื่อง หลังออกจากรพ.นานถึง 60 วัน
  • วงเงินเหมาจ่ายมีให้เลือกหลากหลาย ตั้งแต่ต่ำสุด 250,000 บาทต่อปี จนถึงสูงสุด 6 ล้านบาทต่อปี ทำให้สามารถตอบโจทย์ได้สำหรับคนทุกกลุ่ม
  • หากไม่มีเคลม ค่าเบี้ยประกันสุขภาพจะถูกลง สูงสุด 30% ของค่าเบี้ยปกติ หากไม่ได้เคลมตั้งแต่ 3 ปีขึ้นไป (และหากปีไหนมีเคลม ก็จะมีส่วนลดที่ค่อยๆลดลงในปีถัดไป เป็น 20% ไม่ได้กลับมาไม่มีส่วนลดเลยในทันที)

ตัวอย่างผลประโยชน์ และความคุ้มครองของ “ประกันได้หมด” ประกันสุขภาพรูปแบบใหม่ที่ครอบคลุมและคุ้มค่าที่สุดจาก Manulife

สำหรับใครที่สนใจ “ประกันสุขภาพได้หมด” ตอนนี้สามารถซื้อประกันสุขภาพผ่านระบบออนไลน์ได้แล้วนะครับ ไม่ต้องผ่านตัวแทน ไม่ต้องตรวจสุขภาพ ตอบคำถามสุขภาพเพียง 5 ข้อ สะดวกง่ายดายซื้อได้ใน 10 นาที

นอกจากนี้ยังสามารถค้นหารพ. ที่สามารถรับสิทธิพิเศษได้ และเร็วๆ นี้ สามารถเช็คยอดเคลมคงเหลือได้ตลอด 24 ชม. ผ่านทางแอพ MyManulife 

ใครที่สนใจ และอยากศึกษารายละเอียดแบบเจาะลึกจัดเต็ม สามารถอ่านได้จากบทความ [Review] เจาะลึก "ประกันได้หมด" ประกันสุขภาพเหมาจ่ายจาก Manulife คุ้มไหมถ้าจะทำ? ที่ผมได้นำแบบประกันนี้มา Review อย่างละเอียดกันไปเมื่อคราวที่แล้ว

สรุป ประกันสุขภาพแบบเหมาจ่าย ดีกว่าแบบแยกค่ารักษาจริงไหม?

ก็ต้องขอตอบตามตรงว่า สำหรับคนที่ต้องการความคุ้มครองที่ครอบคลุมค่ารักษาพยาบาลที่เกิดขึ้นจริงในยุคนี้ ประกันสุขภาพแบบเหมาจ่ายค่ารักษา ก็น่าจะตอบโจทย์มากกว่าแบบแยกค่ารักษาอย่างแน่นอน อย่างไรก็ตาม ต้องประเมินค่าเบี้ยประกันแบบเหมาจ่ายด้วยว่า เราจ่ายไหวไหม ทั้งในปัจจุบัน และในอนาคต จนถึงอายุมากๆ โดยเฉพาะช่วงหลังเกษียณ ที่ค่าเบี้ยจะสูงขึ้นมาก (เกิน 5-6 หมื่นบาทต่อปี) โดยอาจจะประเมินค่าเบี้ยที่เหมาะสมให้ไม่เกิน 10% ของรายได้ทั้งปีของเรานั่นเองครับ

ส่วนแบบแยกค่ารักษาไม่ใช่จะแย่กว่าทุกกรณีเสมอไปนะครับ เพราะสำหรับใครที่มีงบทำประกันสุขภาพต่อปีไม่สูงมากนัก ประกันสุขภาพแบบแยกค่ารักษา ก็อาจจะเป็นทางออกที่เหมาะสมสำหรับเราก็ได้ เพราะถึงแม้วงเงินค่ารักษาอาจจะไม่ครอบคลุมนัก แต่อย่างน้อย ก็ถือว่ายังมีวงเงินส่วนหนึ่งมาช่วยเราแบ่งเบาภาระค่ารักษาที่อาจเกิดขึ้นได้

“แต่ถ้าใครที่ไม่มีปัญหาเรื่องการจ่ายเบี้ยก็แนะนำให้มองหาประกันสุขภาพแบบเหมาจ่ายไว้ก่อนเถอะครับ" เพราะเชื่อเถอะว่า มีความคุ้มครองแบบนี้ติดตัวไว้เมื่อไหร่ ย่อมอุ่นใจกว่าแน่นอนครับ”

หมดห่วงเรื่องสุขภาพ กับประกันสุขภาพได้หมด จากแมนูไลฟ์ ประกันชีวิต เช็คราคา พร้อมเลือกแพ็คเกจที่เหมาะกับคุณที่สุดได้เลย คลิก https://goo.gl/gcXQmy หรือโทร 02-033-9000

บทความนี้เป็น Advertorial