ในทุกๆปี เมื่อเข้าถึงช่วงปลายปีแบบนี้ หลายๆคนก็อาจจะกำลังคิดจะเริ่มวางแผนลดหย่อนภาษีอยู่ใช่ไหมล่ะครับ?

ซึ่งในการลดหย่อนภาษีนั้น ก็มีเครื่องมือหรือสิทธิ์ในการลดหย่อนอยู่มากมายหลายด้านที่เราสามารถใช้สิทธิ์ได้ทันที ไม่ว่าจะเป็นด้านชีวิตส่วนตัวและครอบครัว (ค่าลดหย่อนส่วนตัว, ค่าเลี้ยงดูบิดามารดา, ค่าเลี้ยงดูบุตรและค่าคลอดบุตร, ค่าเลี้ยงดูคู่สมรส)  หรือสิทธิ์ลดหย่อนที่เราสามารถวางแผนเพิ่มเติมเองได้ ไม่ว่าจะเป็นด้านการกระตุ้นเศรษฐกิจ (ดอกเบี้ยเงินกู้บ้าน, ค่าท่องเที่ยวเมืองรอง, เงินลงทุนในธุรกิจสตาร์ทอัพ) ด้านการช่วยเหลือสังคม (เงินบริจาคทั่วไป, เงินบริจาคการศึกษาและโรงพยาบาล) และที่สำคัญ คือ “ด้านบริหารการเงิน” ที่ประกอบไปด้วย เงินลงทุนในกองทุน LTF RMF รวมถึงประกันสุขภาพ และประกันชีวิต เป็นหลัก

ซึ่งจุดเด่นที่สุด หรือข้อดีของการใช้สิทธิ์ลดหย่อนภาษีใน “ด้านการบริหารการเงิน” ก็คือ นอกจากจะช่วยลดหย่อนภาษี ทำให้ได้รับเงินคืนภาษี หรือรายจ่ายด้านภาษีลดลงแล้ว ยังช่วยให้เรามีการจัดการ และวางแผนทางการเงินที่ดี มีโอกาสเพิ่มความมั่งคั่งและมั่นคงทางการเงินให้เพิ่มขึ้นไปพร้อมๆ กัน เพียงแค่เราย้ายที่อยู่ของเงินไปลงทุนในจุดที่ทำให้เงินต้นงอกเงย และเราก็สามารถลดรายจ่ายด้านภาษีลงด้วย พร้อมกับแผนความคุ้มครองทางการเงินที่แข็งแรงขึ้นอีกด้วย เรียกว่า ยิงปืนนัดเดียวได้หลายต่อเลยทีเดียว

“อย่างไรก็ตาม ในการใช้เครื่องมือทางการเงินต่างๆ เพื่อลดหย่อนภาษีนั้น เราก็ไม่ควรที่จะซื้อเพื่อมุ่งหวังแต่จะนำมาลดหย่อนภาษีเป็นหลัก โดยไม่ได้สนใจคุณประโยชน์ หรือจุดประสงค์ที่สำคัญของเครื่องมือแต่ละอย่างเลย เพราะถ้าทำแบบนั้น แทนที่จะเป็นผลดี มันอาจจะกลายเป็นผลเสียกับเรามากกว่าก็ได้”

เนื่องจากเครื่องมือทางการเงินแต่ละอย่าง มีเงื่อนไข จุดเด่น และความเหมาะสมที่แตกต่างกัน เราจึงควรเริ่มต้นจากการเข้าใจจุดเด่นของเครื่องมือแต่ละอย่างก่อน เพื่อจะได้เลือกใช้ให้เหมาะสมกับเป้าหมาย หรือตอบโจทย์ความต้องการของตัวเราเองได้ตรงความต้องการจริงๆ โดยที่การลดหย่อนภาษีเป็นผลพลอยได้ที่ตามมาทีหลังมากกว่า 

ซึ่งเครื่องมือทางการเงินแต่ละประเภท ที่สามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้  ก็มีจุดเด่นที่เหมาะกับแต่ละความต้องการ ดังนี้

1. LTF (Long Term Mutual Fund) หรือกองทุนรวมหุ้นระยะยาว

เป็นเครื่องมือการออม / การลงทุนที่ลงทุนในหุ้นเกือบทั้งหมด ซึ่งมีความเสี่ยงและความผันผวนสูง ดังนั้น จึงเหมาะกับคนที่ต้องการออม / ลงทุนเพื่อเอาเงินไว้ใช้ในระยะยาว ตามเป้าหมายต่างๆ ที่ต้องการ และเงินที่ซื้อ LTF  ต้องเป็นเงินก้อนที่เราไม่มีแผนจะใช้ในระยะไม่ต่ำกว่า 7 ปี และต้องเข้าใจเรื่องความเสี่ยงของการลงทุนในหุ้น และรับความผันผวนของราคาได้มาก เพราะในระยะสั้นอาจจะมีโอกาสขาดทุนได้สูง

2. RMF (Retirement Mutual Fund) หรือกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ

เป็นเครื่องมือการออม / การลงทุน ในสินทรัพย์มากมายหลายประเภท ทั้งหุ้น, ตราสารหนี้และหุ้นกู้, อสังหาริมทรัพย์ หรือทองคำ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งมีความเสี่ยงและความผันผวนแตกต่างกันไปตามแต่ละประเภทสินทรัพย์ และมีเงื่อนไขห้ามขายกองทุนที่ซื้อไปก่อนอายุ 55 ปี ดังนั้น จึงเหมาะกับคนที่ต้องการออม / ลงทุนเพื่อเอาเงินไว้ใช้หลังเกษียณอายุโดยเฉพาะ สามารถทิ้งเงินก้อนนี้ไว้ได้ยาวๆ จนถึงเกษียณ และต้องเข้าใจความเสี่ยงและความผันผวนของสินทรัพย์แต่ละประเภท สามารถรับความเสี่ยงได้ในระดับหนึ่ง  

3. ประกันสุขภาพ

เป็นเครื่องมือที่มีไว้ใช้รองรับความเสี่ยงเรื่องค่ารักษาพยาบาล รวมไปถึงโรคร้ายแรงต่างๆ เพื่อที่ว่าหากเราโชคร้ายต้องเข้าโรงพยาบาลเพื่อรักษาตัว เราจะได้ไม่ต้องจ่ายค่ารักษาเองทั้งหมด แต่จะได้รับเงินชดเชยจากบริษัทประกันมาช่วยแบ่งเบาภาระค่ารักษาด้วย ตามวงเงินความคุ้มครองที่ได้ทำไว้ จึงเหมาะกับคนที่ต้องการวางแผนสร้างสวัสดิการรักษาพยาบาลเพิ่มเติมให้กับตัวเอง

4. ประกันชีวิต

เป็นเครื่องมือที่มีไว้สร้างความมั่นคงทางการเงิน สามารถการันตีเงินที่จะได้รับในอนาคตได้ ทั้งตอนที่ยังมีชีวิตอยู่ หรือตอนจากไปแล้ว จึงเหมาะกับทั้งคนที่ต้องการวางแผนสร้างเงินมรดกให้คนข้างหลัง เพื่อนำไปเป็นค่าเลี้ยงดูหรือจัดการกับภาระหนี้สิน (การันตีเงินในอนาคตเมื่อตัวเองจากไปแล้ว) ซึ่งประกันชีวิตแบบที่เหมาะสมกับความต้องการนี้ คือแบบตลอดชีพ หรือแบบชั่วระยะเวลา หรือคนที่ต้องการวางแผนเก็บเงินเอาไว้ใช้ในอนาคตแบบที่ไม่ต้องการรับความเสี่ยงเลย (การันตีเงินในอนาคตเมื่อยังมีชีวิตอยู่) ซึ่งประกันชีวิตแบบที่เหมาะกับความต้องการนี้คือ ประกันแบบสะสมทรัพย์ สำหรับคนที่ต้องการออมเงินเพื่อเป้าหมายระยะยาวทั่วไป และประกันแบบบำนาญ สำหรับคนที่ต้องการออมเงินเพื่อเป้าหมายเกษียณอายุโดยเฉพาะ

โดยในส่วนของ "ประกันชีวิตและประกันสุขภาพ" คือเครื่องมือที่ผมอยากจะเน้นย้ำเป็นพิเศษ

เนื่องจากหลายคนตัดสินซื้อประกันชีวิต ก็เพื่อจะได้นำค่าเบี้ยประกันไปลดหย่อนภาษีเป็นหลัก โดยที่ไม่ได้สนใจ หรือไม่ได้เข้าใจจริงๆ ว่าประกันชีวิตที่เราซื้อไปเป็นแบบไหน จำเป็นหรือเหมาะสมกับชีวิตของเราจริงๆ หรือไม่ ทำให้เราอาจจะทำประกันชีวิตผิดประเภท แล้วไม่ได้ผลตอบแทนที่คุ้มค่าตรงตามความจำเป็นจริงๆ

ดังนั้น ในการซื้อประกันชีวิตและประกันสุขภาพ เราควรจะเข้าใจรูปแบบหรือลักษณะความคุ้มครอง รวมถึงผลประโยชน์ที่จะได้รับจากการทำประกันแต่ละแบบที่แตกต่างกัน เพื่อที่เราจะได้สามารถเลือกแบบประกันได้ตรงใจและคุ้มค่ากับเรามากที่สุด นอกเหนือจากสิทธิ์ในการลดหย่อนภาษีที่จะได้รับเอาไว้ด้วย

ซึ่งสำหรับคนที่ได้ศึกษาแล้ว และคิดว่า ประกันชีวิตและประกันสุขภาพ น่าจะเป็นเครื่องมือที่เหมาะสมกับความต้องการของเรา จำเป็นกับเราตอนนี้มากที่สุด และต้องการตัวเลือกหลายๆแบบเพื่อที่จะได้เลือกรูปแบบความคุ้มครองและผลประโยชน์ที่ตรงกับโจทย์ชีวิตเราจริงๆ

ตอนนี้ทาง ธนาคารธนชาต เขาก็มี ประกันชีวิตและแพคเกจประกันสุขภาพหลายๆ แบบ มาให้เราเลือกตามความต้องการของแต่ละคน ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตจาก บมจ.พรูเด็นเชียล ประกันชีวิต (ประเทศไทย) ที่ขายผ่านธนาคารธนชาต เพื่อใช้วางแผนประกันชีวิตและสุขภาพ ไปพร้อมๆ กับการวางแผนภาษีได้อย่างเหมาะสมด้วย ตัวอย่างเช่น

“ธนชาต ปันผลเพิ่มสุข” 

ประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ จ่ายเบี้ยฯสั้นแค่ 6 ปี คุ้มครอง 15 ปี มีเงินคืนปีละ 2.5% ของทุนประกันภัย ตั้งแต่สิ้นปีกรมธรรม์ที่ 1-14 และเงินครบสัญญา 150% ของทุนประกันภัยที่เลือกทำ พร้อมกับความคุ้มครองชีวิตตั้งแต่ 100-150% ของทุนประกันภัยที่เลือกทำ จึงเหมาะกับคนที่ต้องการเก็บเงินอย่างปลอดภัยไว้ใช้ในอนาคต พร้อมกับได้รับความคุ้มครองชีวิตส่วนหนึ่ง และสิทธิ์ลดหย่อนภาษีฯ อีกไม่เกิน 100,000 บาท

“Perfect Annuity 85/5”

ประกันชีวิตแบบบำนาญ ที่มีจุดเด่นที่จ่ายเบี้ยฯ สั้นแค่ 5 ปี แล้วไปรอรับเงินบำนาญตอนเกษียณ เมื่ออายุตั้งแต่ 60 ปีเป็นต้นไป โดยจะได้รับเงินบำนาญ 15% ของทุนประกันชีวิต ตั้งแต่อายุ 60-85 ปี เหมาะกับคนที่ต้องการวางแผนออมเงินในรูปแบบประกันชีวิตเพื่อเอาไว้ใช้ตอนเกษียณอย่างปลอดภัย ไม่ต้องกังวลเรื่องความเสี่ยง พร้อมสิทธิ์ลดหย่อนภาษีฯ เพิ่มเติมจากโควต้าประกันชีวิตทั่วไป สูงสุดอีกไม่เกิน 200,000 บาท

“Perfect Saver 20/20 (Package)”

แพคเกจประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ + ประกันสุขภาพด้านค่ารักษาพยาบาลในโรงพยาบาลในฐานะผู้ป่วยใน โดยส่วนของประกันชีวิตจะมีทั้งความคุ้มครองชีวิต ตั้งแต่ 100-150% ของทุนประกันชีวิต และผลตอบแทนจากเงินคืนระหว่างทางและเงินครบสัญญารวม 326% ของทุนประกันชีวิต ตลอดช่วงระยะเวลาความคุ้มครอง 20 ปี พร้อมๆ กับความคุ้มครองด้านค่ารักษาพยาบาลในโรงพยาบาลในฐานะผู้ป่วยใน โดยจะมีแผนความคุ้มครองให้เลือก 3 แผน คือแผนค่าห้อง 1,300 บาท แผนค่าห้อง 1,800 บาท และแผนค่าห้อง 2,500 บาท โดยในแต่ละแผน นอกจากจะมีระดับความคุ้มครองค่าห้องที่ต่างกันแล้ว ก็ยังมีวงเงินคุ้มครองค่ารักษาแต่ละรายการที่ต่างกันด้วย โดยแผนนี้จะคุ้มครองทั้งชีวิตและสุขภาพเป็นเวลา 20 ปี จ่ายเบี้ยประกันรวม 20 ปีเช่นกัน จึงเป็นแพคเกจที่เหมาะสำหรับคนที่ต้องการวางแผนออมเงินในรูปแบบประกันชีวิต ไปพร้อมๆ กับได้รับความคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลในโรงพยาบาล พร้อมกับสิทธิ์ลดหย่อนภาษีฯ จากประกันสุขภาพไม่เกิน 15,000 บาท 

“ธนชาตพร้อมสู้โรคร้าย ซูเปอร์คุ้ม 10/10” 

แพคเกจประกันชีวิตแบบชั่วระยะเวลา + ประกันโรคร้ายแรง โดยจะมีความคุ้มครองชีวิตทุกกรณี 100% ของทุนประกันชีวิตที่เลือก และความคุ้มครองโรคร้ายแรงจำนวน 63 โรค ทั้งกรณีระดับต้นถึงระดับปานกลางซึ่งจะคุ้มครอง 50% ของทุนประกันโรคร้ายแรง และระยะรุนแรง ซึ่งจะคุ้มครองสูงสุด 150% ของทุนประกันโรคร้ายแรง ทั้งหมดเป็นระยะเวลา 10 ปี โดยจ่ายเบี้ยประกันรวมทั้งสิ้น 10 ปี จึงเป็นแพคเกจที่เหมาะสำหรับคนที่ต้องการได้รับความคุ้มครองโรคร้ายแรงทุกระยะ ไปพร้อมๆกับความคุ้มครองชีวิตเมื่อเสียชีวิตทุกกรณี ที่มีระยะเวลาคุ้มครองในช่วง 10 ปี พร้อมกับสิทธิ์ลดหย่อนภาษีฯ จากประกันสุขภาพไม่เกิน 15,000 บาท

ซึ่งหากใครสนใจ ก็สามารถศึกษารายละเอียดความคุ้มครองและเงื่อนไขก่อนตัดสินใจทำประกันภัยทุกครั้ง โดยสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://bit.ly/2ytJYGB หรือติดต่อได้ที่ธนาคารธนชาตทุกสาขา นอกจากนั้น ธนชาตยังแจกฟรี voucher เติมเที่ยวเดินทาง BTS  สำหรับเบี้ยประกันภัยตั้งแต่ 30,000 บาทขึ้นไป แจกสูงสุดถึง 40 เที่ยว มูลค่า 1,080 บาท (หรือจนกว่าของจะหมด มูลค่ารวมสูงสุด 1 ล้านบาท) สำหรับลูกค้าเข้าร่วมแคมเปญเพียงสมัครผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตที่ร่วมรายการ และชำระเบี้ยประกันภัย ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2561 ถึง 31 ธันวาคม 2561

สุดท้ายนี้ ผมก็อยากฝากไว้ว่า ผู้ที่จะซื้อประกันภัยควรทำความเข้าใจในรายละเอียดความคุ้มครอง และเงื่อนไขก่อนตัดสินใจทำประกันภัยทุกครั้ง และก่อนจะตัดสินใจวางแผนลดหย่อนภาษีในช่วงปลายปี นอกเหนือจากต้องวางแผนพิจารณาเลือกค่าลดหย่อนที่จะใช้ให้ดี วางแผนการเงินในแต่ละเรื่อง ทั้งการออม การลงทุน การทำประกัน ให้เหมาะสมกับตัวเราก่อนจะคิดแต่เรื่องลดหย่อนภาษีอย่างเดียวแล้ว สิ่งสำคัญอีกเรื่องก็คือ อย่าลืมพิจารณาเงินที่จะใช้จัดสรรไป ออม/ลงทุน หรือซื้อประกันในการวางแผนภาษีให้เหมาะสม ไม่มากจนเกินไปจนทำให้การเงินฝืดเคืองด้วยเช่นกันนะครับ เพื่อให้การวางแผนการเงินไปพร้อมๆกับการลดหย่อนภาษีเป็นประโยชน์สูงสุดแก่ตัวเรามากที่สุดครับ