ผมเชื่อว่าทุกคนบนโลกอันกว้างใหญ่ใบนี้ในช่วงบั้นปลายของชีวิตก็ล้วนแต่ต้องการความสุข ความสบาย หลังจากที่ทำงานหนักมาตลอดจนเกษียณ แต่ทราบไหมครับว่าในปัจจุบันมีกี่คนที่จะสามารถ “เกษียณ” ได้อย่างสบาย ไร้กังวล คำตอบคือ น้อยกว่า 15% ของคนที่กำลังจะเกษียณอายุทั้งหมด ที่เป็นแบบนี้ก็เพราะว่าคนส่วนใหญ่ไม่ได้มีการวางแผนการเกษียณที่ดีพอเสียตั้งแต่แรก

คนส่วนใหญ่อ่านถึงตรงนี้ คงคิดต่อแล้วว่า…เราได้เตรียมการอะไรหรือยังหว่า ซึ่งหลายคนอาจจะเหลือเวลาในการเก็บเงิน “แค่ประมาณ 10-20 ปีเท่านั้น” ที่ผมบอกว่าแค่ ก็เพราะว่าเวลามันช่างผ่านไปเร็วเหลือเกินว่าไหมครับ

หลายคนคงคิดว่าแล้วจะทำอย่างไรดี? ถ้าคำตอบคือยังไม่รู้ละก็ ตามผมมาครับ วันนี้ผม หมอนัท@คลินิกกองทุน จะพาท่านมาเตรียมความพร้อมก่อนเกษียณเพื่อที่จะทำให้ทุกคนมีเงินเกษียณที่เพียงพอและพอเพียงให้เราไม่ต้องลำบาก เรามาดูกันนะครับว่าจะทำอย่างไรกันบ้าง

1. คำนวณเงินออมตอนเกษียณ ว่าเราควรที่จะมีเท่าไหร่ ณ วันที่ต้องเกษียณ

เงินออมตอนเกษียนคำนวณง่ายๆ นะครับ แค่ลองประมาณค่าใช้จ่ายต่อเดือนหลังเกษียณ (70% ของค่าใช้จ่ายปัจจุบัน*) x 12 เดือน เพื่อคิดเป็นค่าใช้จ่ายต่อปี และจากนั้นก็คูณด้วยจำนวนปีที่คาดว่าจะมีชีวิตอยู่หลังเกษียณ เพียงเท่านี้เราก็จะได้จำนวนเงินออมที่ต้องมี ณ วันที่เกษียณครับ

(70% ของค่าใช้จ่ายปัจจุบัน*) x 12 x จำนวนปีหลังเกษียณ =  จำนวนเงินที่ต้องมี ณ วันเกษียณ

ยกตัวอย่างเช่น

  • ผมตั้งเป้าไว้ว่าเกษียณตอนอายุ 60 ปี และคาดว่าจะมีชีวิตอยู่หลังเกษียณอายุไปอีก 20 ปี (อายุ 80)
  • โดยผมเองมีค่าใช้จ่ายปัจจุบันอยู่ที่ 25,000 บาทต่อเดือน ค่าใช้จ่ายหลังเกษียณของผมจะเท่ากับ 17,500 บาทต่อเดือน(70% x 25,000) หรือ 210,000 บาทต่อปี
  • จากนั้นก็คูณกับจำนวนปีที่คาดว่าจะใช้ชีวิตหลังเกษียณอายุ หรือ 210,000 x 20 ปี ออกมาเป็น 4,200,000 บาทถ้วน

* ที่มาของสูตรคำนวณ : TSI Thailand

2. คำนวณเงินออมเฉลี่ยต่อเดือน เพื่อให้มีพอใช้ยามเกษียณ

ต่อมาเมื่อเราได้เงินเกษียณเป็นที่เรียบร้อย เราก็มาดูว่าเราจะต้องเก็บเงินต่อเดือนเท่าไหร่กันครับ อันนี้ก็ง่ายๆ เพียงแค่เอาเงินเกษียณที่คำนวณได้จากข้อที่ 1 มาตั้ง แล้วหารด้วยจำนวนเดือนตั้งแต่วันนี้จนถึงเมื่อเราเกษียณครับ

จำนวนเงินที่ต้องมี ณ วันเกษียณ/จำนวนเดือนตั้งแต่วันนี้จนถึงเราเกษียณ

ยกตัวอย่างเช่น

  • เงินเกษียณที่ต้องการ = 4,200,000 บาท
  • และสมมติว่าผมอายุ 25 ปี หรือมีเวลาอีก 420 เดือน(35 ปี) ก่อนเกษียณ
  • ดังนั้นผมจะต้องเก็บเงินต่อเดือนประมาณ (4,200,000/420) = 10,000 บาท (โอ้!)

เห็นไหมครับว่าเป็นตัวเลขที่ค่อนข้างสูงทีเดียว ทั้งนี้ก็เพราะว่าเราเก็บเงินเพียงอย่างเดียว ไม่ได้ลงทุนหรือทำเงินให้งอกเงยขึ้นนั่นเอง แต่ถ้าเราเริ่มลงทุนเมื่อไหร่ละก็ เรามาดูกันครับว่าจะเกิดอะไรขึ้น

ยกตัวอย่างเช่น

  • ถ้าเราลงทุนด้วยเงิน 1,000 บาททุกเดือน กับกองทุนรวมที่ให้ผลตอบแทนเฉลี่ยแค่ 4% ต่อปี แล้วละก็ ในระยะเวลา 35 ปี ก็จะมีเงินถึง 883,827 บาทครับ

และถ้าเราเพิ่มเป็นเก็บเดือนละ 5,000 บาททุกเดือน ก็แค่เอาเลข 5 ไปคูณกับ 883,827 ก็จะได้เป็น 4,419,135 บาทครับ เห็นไหมครับว่าการลงทุนทำให้เราเก็บเงินลดลงครึ่งนึง แต่กลับบรรลุเป้าหมายเกษียณเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

ดังนั้น จะเห็นได้ว่ายิ่งมีเวลาออมมากเท่าไหร่เราก็ยิ่งมีโอกาสที่จะเกษียณได้ง่ายขึ้นเท่านั้น และถ้าเราหผลตอบแทนจากการลงทุนที่ดีได้ ก็จะยิ่งทำให้เรามีเงินเกษียณที่มากขึ้นไปอีก หรือเราสามารถเกษียณรวย เกษียณเร็วได้นั่นเองครับ

คราวนี้เมื่อได้เงินที่ต้องออมในแต่ละเดือนแล้ว จากนั้นก็มาสำรวจกันนะครับ ว่าเรายังจะได้เงินเพิ่มจากที่ไหนบ้างที่จะมีไว้ใช้ยามเกษียณ ไม่ว่าจะเป็น

  • เงินจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
  • เงินจากกองทุนประกันสังคม ซึ่งถ้าเราจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนมา 15 ปี พออายุ 55 ปี ก็จะได้รับเงินบำนาญชราภาพ ซึ่งถ้ายิ่งทำงานเกิน 15 ปี ก็มีโอกาสได้เงินที่มากขึ้นไปด้วยครับ
  • เงินจากกองทุน กบข. แน่นอนครับว่าเฉพาะผู้ที่เป็นราชการเท่านั้น
  • เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ 600 บาทต่อเดือน

แหล่งเงินเหล่านี้ ถ้ามีเก็บไว้รวมกับที่เก็บเองในแต่ละเดือนแล้วละก็ ผมรับรองว่าเกษียณได้อย่าสบายใจแน่นอนครับ

3. แบ่งเงินออมเกษียณไปลงทุนเพื่อให้งอกเงย

หากคิดอย่างรอบคอบแล้ว เงินออมเกษียณนั้นควรแบ่งไปลงทุนตามความเสี่ยงที่ยอมรับได้ในแต่ละช่วงอายุกันด้วย เพื่อให้มีโอกาสรับผลตอบแทนที่ชนะเงินเฟ้อ แล้วจะได้เกษียณแบบชิลๆ สมใจครับ ซึ่งผมก็ได้รวบรวมตัวอย่างมาให้แล้ว นั่นก็คือ

  • การลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ หรือ RMF ซึ่งผมคิดว่าเป็นตัวหลักในเรื่องของแหล่งเงินเกษียณเลยก็ว่าได้ เพราะกองทุนรวม RMF นั้นจะต้องลงทุนอย่างต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 5 ปี และต้องลงทุนไปจนถึงอายุ 55 ปี ทำให้เรามีวินัยในการลงทุน และข้อดีอีกอย่างของ RMF ก็คือเราสามารถสับเปลี่ยนการลงทุนจากความเสี่ยงสูงไปยังความเสี่ยงต่ำได้ ระหว่างหน่วยลงทุนของกองทุนรวม RMF ซึ่งมีหลากหลายประเภทให้เราเลือกได้ตามต้องการ ซึ่งวิธีนี้จะเหมาะกับการจัดพอร์ตการลงทุน โดยลดความเสี่ยงลงเมื่อใกล้เกษียณ
  • แน่นอนครับ นอกจาก RMF แล้ว ยังมีกองทุนรวมประเภทอื่นที่น่าสนใจให้ลงทุนเพื่อต่อยอดเงินเกษียณให้งอกเงยได้ดีแต่ความเสี่ยงไม่สูงมากนัก เช่น กองทุนรวม B-SENIOR ซึ่งเมื่อลงทุนแล้ว ก็สามารถเลือกได้ว่าจะทยอยรับเงินกลับคืนอย่างสม่ำเสมอตามระยะเวลา หรือจะรับเป็นครั้งคราวก็ได้ เพื่อนำมาใช้จ่ายตามความต้องการในรูปแบบต่างๆ เลือกทำในสิ่งที่ชอบ เติมเต็มความสุขให้กับทั้งตนเองและครอบครัวเลยคร้าบ
  • หลายๆ ท่านอาจจะบ่นว่า ไม่ค่อยได้สนใจเรื่องลงทุน และไม่ค่อยชอบความเสี่ยง มีแบบที่ไม่ต้องเสี่ยงอะไร