เป็นที่ทราบกันดีว่า โจทย์การเงินใหญ่ข้อหนึ่งที่ทุกคนล้วนต้องเจอก็คือการ “วางแผนเกษียณ” เพราะไม่ว่าเราจะเป็นใครมาจากไหน ยากดีมีจนเท่าไหร่ ที่สุดแล้ว วันหนึ่งเราทุกคนก็ต้อง “หยุดทำงาน” ไม่ว่าจะเพราะจากข้อจำกัดด้านสุขภาพร่างกาย หรือเพราะเรา “เลือก” ที่จะหยุดเองก็ตาม

ซึ่งในการวางแผนเกษียณนั้น เราก็ควรจะวางแผนให้ครอบคลุมทั้งเรื่อง “ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ในการดำรงชีวิต” หลังเกษียณ รวมไปถึง “ค่าใช้จ่ายสำหรับค่ารักษาพยาบาล” (เพราะเริ่มอายุมากขึ้น โอกาสที่จะเจ็บป่วย ก็ยิ่งเพิ่มสูงขึ้น) ตลอดจนเรื่อง “มรดก” ให้ผู้อยู่ข้างหลัง เพื่อให้ช่วงชีวิตหลังเกษียณของเรา เป็นช่วงเวลาที่ได้ใช้ชีวิตอย่างมีความสุข และปลอดความกังวลจริงๆ

ดังนั้น ในการ "วางแผนเกษียณ" เราจึงจำเป็นต้องใช้ผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่เหมาะสมและสามารถตอบโจทย์แผนการเกษียณได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด

ซึ่งหนึ่งในผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่สามารถตอบโจทย์การเงินของคนในวัยนี้ได้ ที่น่าสนใจก็คือ “ประกันชีวิตควบการลงทุน” หรือที่หลายคนอาจจะรู้จักกันดีในชื่อ “ยูนิตลิงค์” (Unit-Linked) นั่นเองครับ

สาเหตุที่ยูนิตลิงค์เหมาะจะนำมาเป็นตัวเลือกในการวางแผนเกษียณก็เพราะเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีทั้งการ “คุ้มครองชีวิต” และการ “ลงทุน” อยู่ในตัวเดียวกัน ทำให้มีความสะดวกในการเลือกซื้อ และบริหารจัดการ จึงสามารถวางแผนทั้งคุ้มครองชีวิต และลงทุนระยะยาวได้ รวมถึงมีความยืดหยุ่นสูง เพราะสามารถปรับเปลี่ยนจำนวนเงินเอาประกันภัยได้ตามภาระทางการเงินที่เปลี่ยนแปลงไปตามแต่ละช่วงเวลาของชีวิต ที่สำคัญคือการออมเพื่อการเกษียณผ่านยูนิตลิงค์ เป็นการสร้างวินัยการออมที่มีประสิทธิภาพมาก

(ศึกษารายละเอียดของ Unit-Linked เพิ่มเติมได้ที่ : (ลิงค์บทความ [ซีรีย์] เจาะลึก ประกันชีวิตแบบควบการลงทุน Unit-Linked (ตอนที่ 3)

4 ขั้นตอนการใช้ “Unit-Linked” เพื่อวางแผนเกษียณ

ผมขอยกตัวอย่างขั้นตอนการวางแผนเกษียณของผู้ชาย อายุ 35 ปี สุขภาพแข็งแรง เผื่อว่าใครอยากนำไปเป็นไอเดียในการวางแผนเกษียณกันครับ

1. คำนวณเงินที่ต้องเตรียมเพื่อการเกษียณแบบคร่าว ๆ

  • กำหนดอายุที่จะเกษียณ เช่น จะเกษียณตอนอายุ 55 ปี และคาดว่าจะมีอายุถึง 85 ปี
  • ประเมินเงินที่จะใช้หลังเกษียณต่อปี เช่น ปีละ 240,000 บาท (เดือนละ 20,000 บาท)
  • คำนวณเงินที่ต้องใช้ต่อปี เป็นมูลค่า ณ ตอนเกษียณ หลังปรับด้วยเงินเฟ้อแล้ว เช่น 240,000 บาท หากคิดเงินเฟ้อที่ 3% ต่อปี ตอนอายุ 55 ปี เงินจะเฟ้อสูงขึ้นเป็น 433,466.70 บาท (คำนวณโดยใช้เครื่องคิดเลขทางการเงิน หามูลค่าในอนาคต)
  • นำเงินที่ต้องใช้ ณ ปีที่เกษียณ คูณกับจำนวนปีที่ต้องใช้หลังเกษียณ เช่น 433,466.70 ใช้หลังเกษียณ 30 ปี ดังนั้น ต้องเตรียมเงินเกษียณ ประมาณ 13 ล้านบาท 

2. คำนวณวงเงินคุ้มครองชีวิตที่จำเป็นตามภาระทางการเงินที่มีอยู่

เช่น สมมติว่า มีภาระหนี้สิน และค่าเลี้ยงดูที่ต้องเตรียมอยู่รวมทั้งสิ้น 3.80 ล้านบาท แต่เรามีทรัพย์สินที่เตรียมไว้แล้ว 2 ล้านบาท ดังนั้น ควรทำทุนประกันเพิ่ม 1.80 ล้านบาท

3. ประเมินค่าเบี้ยประกันสุขภาพ ทั้งช่วงก่อนและหลังเกษียณ

โดยหากวางแผนเรื่องประกันสุขภาพเองค่าเบี้ยประกันภัยที่เหมาะสมไม่ควรเกิน 10% ของรายได้ทั้งปี ซึ่งถ้าเลือกวางแผนด้วยเมืองไทยยูนิตลิงค์จะสามารถซื้อสัญญาเพิ่มเติมแนบท้ายเพื่อดูแลสุขภาพตั้งแต่วันนี้จนเกษียณ ด้วยเบี้ยประกันภัยรวมคงที่ ไม่ต้องกังวลเบี้ยสุขภาพที่จะเพิ่มขึ้นและสูงมากในช่วงหลังเกษียณ อีกทั้งยังสามารถเลือกหยุดพักชำระเบี้ย โดยที่ความคุ้มครองยังคงต่อเนื่อง ตราบเท่าที่มูลค่าการลงทุนยังมีอยู่

4. วางแผนจ่ายเบี้ยประกันภัย และแผนถอนเงินจากยูนิตลิงค์อย่างเหมาะสม

หลังจากคำนวณเงินที่ต้องเตรียมทุกๆอย่างหมดแล้ว ก็ลองมาวางแผนจ่ายเบี้ยประกันภัยและถอนเงินในยูนิตลิงค์ดู (โดยให้ตัวแทนลองใส่ตัวเลขคำนวณลงในโปรแกรม) ว่าสามารถจ่ายเบี้ยได้ประมาณปีละเท่าไหร่ และจะจ่ายกี่ปี เพื่อให้ได้ความคุ้มครองที่ต้องการและได้เงินที่จะเตรียมไว้เพื่อเกษียณส่วนหนึ่ง ในกรณีนี้ สมมติ จ่ายเบี้ยประกันภัยได้ปีละ 120,000 บาท และเลือกทำทุนประกันที่ 1,800,000 บาท (เลือกทำที่ทุนประกันขั้นต่ำ 15 เท่า) ก็จะมีมูลค่าการลงทุนโดยประมาณ ดังนี้ (ประเมินที่พอร์ตการลงทุน 6% และ 8%)

จะเห็นได้ว่า ณ ตอนสิ้นปีของอายุ 54 ปี (หรือต้นอายุ 55 ปี) หากจัดพอร์ต 6% ก็จะมีมูลค่าเงินลงทุนประมาณ 3 ล้านบาท หากจัดพอร์ต 8% จะได้ประมาณ 3.8 ล้านบาท เท่ากับว่า เราจ่ายเบี้ยประกันภัยไปทั้งหมด 2.4 ล้านบาท (ปีละ 120,000 บาท 20 ปี) โดยได้ผลตอบแทนประมาณ 6 แสน - 1.4 ล้านบาท (ผลตอบแทนไม่ได้รับรองขึ้นอยู่กับผลการดำเนินงานของกองทุนรวม) และได้มูลค่าความคุ้มครองขั้นต่ำ 1.8 ล้านบาท เพื่อคุ้มครองความเสี่ยงด้านภาระการเงินตลอด 20 ปี และเราสามารถวางแผนถอนเงินที่มีอยู่ 3-3.8 ล้านบาท มาสร้างเป็นสวัสดิการประกันสุขภาพหลังเกษียณให้กับตนเองได้ หรือเป็นแหล่งเงินใช้หลังเกษียณได้ส่วนหนึ่งอีกด้วย (ส่วนที่เหลือที่ต้องเตรียมเพิ่ม อาจจะใช้เครื่องมือการเงินอื่นๆ ในการวางแผนลงทุนเพิ่ม)

แต่อย่าลืมว่า ยูนิตลิงก์นั้นเป็นการลงทุนอย่างหนึ่ง ซึ่งมีความเสี่ยงที่ผลตอบแทนอาจไม่เป็นไปตามที่คาดหวังไว้ จึงควรศึกษาข้อมูลให้ละเอียดก่อนตัดสินใจลงทุน

หากใครสนใจต้องการใช้ยูนิตลิงค์วางแผนดีๆแบบนี้ สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ :
http://www.muangthai.co.th:1766/product/main/investment-linked/unit-linked-list

และสำรวจรายละเอียดกองทุนได้ที่ :
http://www.muangthai.co.th:1766/product/main/investment-linked/unit-linked-list/funds-fact

ถ้าอยากเข้าใจ การวางแผนเกษียณยังไงให้ปังด้วย “Unit-Linked” ให้ชัดเจนมากขึ้น ลองดูตามภาพด้านล่างนี้ได้เลยครับ

สรุป

“Unit-Linked” เป็นเครื่องมือหนึ่งที่ช่วยตอบโจทย์การวางแผนเกษียณได้ดีซึ่งครอบคลุมทั้งการวางแผนทางการเงินเพื่อใช้หลังเกษียณและการบริหารความเสี่ยงทั้งความคุ้มครองชีวิตและสุขภาพ รวมถึงความสะดวกสบายที่จัดการเรื่องทั้งหมดได้ภายในหนึ่งกรมธรรม์ อย่างไรก็ตาม จากตัวอย่างจะเห็นได้ว่าหากใช้ยูนิตลิงค์เพียงอย่างเดียวในการวางแผนเกษียณให้ตอบโจทย์ทั้งความคุ้มครอง และเงินเกษียณ รวมถึงการทำประกันสุขภาพหลังเกษียณ อาจจะตอบโจทย์ทั้งหมดได้เพียงแค่บางส่วน

ดังนั้น หากเราต้องการจะวางแผนเกษียณให้ได้อย่างครอบคลุมจริงๆ เราอาจจำเป็นต้องใช้ผลิตภัณฑ์ทางการเงินอื่น เช่น RMF/LTF หรือกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เข้ามาร่วมด้วย เพื่อให้วางแผนเกษียณได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด ไปพร้อมๆกับได้สิทธิ์ลดหย่อนภาษีเพิ่มเติมอีกด้วยนั่นเองครับ

บทความนี้เป็น Advertorial