เมื่อพูดถึงเรื่อง "การวางแผนทางการเงิน" เชื่อว่าหลายคนคงมีความเข้าใจ หรือความรู้สึกต่อคำคำนี้ที่แตกต่างกันออกไป

และนี่คือ 5 สิ่งที่ผมพบเจอมาว่า เรามักจะเข้าใจผิดกันบ่อยๆ เมื่อนึกถึงเรื่องการวางแผนทางการเงินครับ

1. "ผมมีเงินน้อย วางแผนการเงินไม่ได้"

นี่แปลว่าคุณเข้าใจไปเองว่า "วางแผนการเงิน = จ่ายเงิน" และเมื่อต้องจ่ายเงินก็แปลว่า มีเงินเหลือกับตัวน้อยลง สภาพคล่องน้อยลง มีเงินจับจ่ายใช้สอยน้อยลง แล้วการเงินจะฝืดเคือง จึงเกิดความกลัวที่เงินจะต้องออกจากกระเป๋าหรือบัญชีของตัวเอง แล้วจะไม่มีเงินใช้ ถ้าคิดแบบนี้ แสดงว่า เรากำลัง "ติดกับดักทางสภาพคล่อง" อยู่ครับ เราต้องการมีเงินสดอยู่กับตัวเยอะๆ เพราะมันรู้สึกว่าเรารวย ปลอดภัยดี มีเงินใช้คล่องมือ แต่หารู้ไม่ว่า ถ้าเรามีเงินสดเยอะไป ค่าของเงินของเราจะค่อยๆลดลงเพราะถูกเงินเฟ้อกัดกิน แถมวินัยทางการเงินก็เสีย เพราะนึกอยากจะใช้เงินเมื่อไหร่ก็ใช้ได้ ควบคุมตัวเองยาก สุดท้าย ปลายชีวิตก็แทบไม่เหลือเงินเก็บ เหมือนกบที่อยู่ในหม้อต้มน้ำ กว่าจะรู้ตัว ก็ถูกต้มจนสุกไปเรียบร้อย ทำไมไม่ลองคิดอีกมุมล่ะครับว่า ก็เพราะเรามีเงินน้อยน่ะสิ ถึงต้องรู้วิธีบริหารจัดการ ให้เรามีวินัย มีความมั่งคั่งเพิ่มขึ้น โดยที่เรายังมีสภาพคล่องที่เหมาะสมอยู่ มีน้อย ก็บริหารน้อย มีมาก ก็บริหารมาก ไม่ใช่คิดว่า มีน้อย ไม่ต้องบริหาร คิดแบบนั้นเมื่อไหร่จะมีล่ะครับ?

2. "ผมรวยอยู่แล้ว ไม่ต้องวางแผน"

ลองคิดดูว่าบริษัทอย่าง โค้ก ต้องวางแผนธุรกิจไหมครับ? กูเกิ้ล ต้องวางแผนการเงินของบริษัทไหมครับ? เฟสบุ๊ค ต้องจัดการเรื่องกำไรของธุรกิจไหมครับ?

ผมคิดว่า โค้ก กูเกิ้ล เฟสบุ๊ค ก็คงมีเงินไม่ใช่น้อยนะครับ แต่เขาก็ยังต้องวางแผนเรื่องเงินกันอยู่เลย ฉะนั้นการวางแผนไม่ได้เกี่ยวกับปริมาณเงินหรอกครับ มันเกี่ยวกับว่าเราจัดการทรัพย์สินอย่างชาญฉลาดแค่ไหนต่างหาก รวยอยู่แล้ว แต่ถ้าไม่รู้จักการวางแผน ไม่รู้จักวิธีบริหารจัดการเงินอย่างมีประสิทธิภาพ วันหนึ่ง เงินก็หมดไปได้นะครับ ถ้าเราใช้เงินไม่เป็น อีกอย่าง ชีวิตของเราเต็มไปด้วยความไม่แน่นอน ถ้าเราไม่รู้จักวางแผนรับมือล่วงหน้าไว้ วันหนึ่งเกิดเหตุไม่คาดฝันขึ้นมา ก็อาจทำให้เราสูญเสียเงินจำนวนมาก จนความมั่งคั่งที่เรามีหดหายไปจนหมดก็เป็นไปได้เช่นกันครับ

3. การวางแผนการเงิน = การวางแผนลงทุน/การทำประกันชีวิต

คนส่วนใหญ่มักจะเข้าใจแบบนี้ ทั้งที่จริงๆแล้วการวางแผนการเงินกว้างกว่านั้นมาก เพราะเรื่องเงินไม่ได้มีแค่เรื่องลงทุนหรือประกันเท่านั้น หลักการทางการเงินบุคคลนั้น ต้องมีลักษณะเหมือนปิระมิด จากฐานล่างขึ้นบน

โดยที่ฐานล่างคือรากฐานสำคัญของการเงินบุคคล ที่จะต้องมีก่อนเป็นอันดับแรก คือ "เงินเก็บ" มันจึงเกี่ยวกับเรื่องของการจัดการสภาพคล่อง บริหารรายรับรายจ่าย การวางแผนจัดการหนี้สิน และการวางแผนการออม เพื่อสร้างวินัยทางการเงินที่ดีเสียก่อน เพราะถ้าไม่มีเงินเก็บ ก็ไม่ต้องพูดเรื่องลงทุนเลย

ขั้นต่อไปที่ควรทำ เมื่อมีเงินเหลือเก็บแล้ว ก็คือการ "ปกป้อง" เงินของเรา การปกป้อง ก็คือ การจำกัดความเสี่ยงที่จะสูญเสีญเงินจำนวนมาก ให้เหลืออยู่ในขอบเขตแค่ที่เรากำหนด ที่เห็นได้ชัดเจนก็คือเรื่อง "รักษาพยาบาล" เพราะเราไม่สามารถรู้ล่วงหน้าได้เลย ว่าเราจะเจ็บป่วย หรือจะเกิดอุบัติเหตุร้ายแรงขึ้นเมื่อไหร่ แล้วถ้ามันเกิดขึ้น เราจะทราบได้ยังไงว่าต้องเสียค่ารักษาเท่าไหร่? เกิดต้องเสียเป็นล้าน จะทำยังไง? ถ้าไม่จำกัดความเสี่ยงตรงนี้ บางทีเงินทองที่เราอุตส่าห์หามาทั้งชีวิตอาจหายวับไปกับตา เราจึงต้องจำกัดขอบเขตความสูญเสีย ด้วยการทำ "ประกันสุขภาพและอุบัติเหตุ" ยังไงล่ะครับ นอกจากนั้น ถ้ามีภาระทางการเงินอื่นๆ รวมถึงหนี้สิน เราจึงต้องปกป้องครอบครัว ด้วยการทำประกันชีวิตอีกด้วย

เมื่อเรามีเงินแล้ว และปกป้องเงินที่มีแล้ว ขั้นต่อไปเราถึงมาวางแผนเพิ่มความมั่งคั่ง ได้อย่างสบายใจ ซึ่งการวางแผนลงทุน ก็อยู่ในส่วนนี้แหละ นอกจากลงทุน ยังมีเรื่องเกี่ยวกับเพิ่มความมั่งคั่งอีกหลายทาง เช่น การวางแผนภาษี ซึ่งการลงทุนนี้ ก็เป็นส่วนหนึ่งของการวางแผนการเงินต่างๆ เช่น วางแผนเกษียณ วางแผนซื้อบ้าน หรือวางแผนการศึกษาบุตร เป็นต้น

สุดท้าย เมื่อเราแก่ตัวลง มีทรัพย์สินจากการลงทุนเหลือใช้เป็นมรดกให้ลูกหลาน เราก็วางแผนถ่ายโอนความมั่งคั่ง วางแผนมรดก ให้ทายาทของเราต่อไป ดังนั้น เห็นแล้วนะครับว่า การวางแผนการเงิน ไม่ได้มีแค่วางแผนการลงทุนแต่เพียงอย่างเดียว

4. "การวางแผนการเงิน เป็นเรื่องของคนที่เริ่มมีอายุ คนหนุ่มสาวอย่างเรายังไม่จำเป็น"

ถ้าเราจะเกษียณอีก 5 ปี แต่เพิ่งคิดจะมาวางแผนเกษียณ คิดว่าจะเก็บเงิน จะลงทุน ทันไหมครับ? ถ้าเราคิดจะแต่งงาน จะมีลูก แต่ไม่มีเงินเก็บเลย คิดว่าครอบครัวจะไปรอดรึเปล่า? การไปสู่ความสำเร็จในเป้าหมายต่างๆของเราต้องอาศัยเวลา ดังนั้น ยิ่งเตรียมตัวได้เร็วเท่าไหร่ ก็ยิ่งดีครับ แถมหากเกิดเหตุไม่คาดฝัน หรือความเปลี่ยนแปลงอะไรขึ้นมา เรายังมีโอกาส มีเวลาปรับเปลี่ยน แก้ตัวทัน แต่ถ้าไปเริ่มตอนอายุมาก เหลือเวลาน้อยแล้ว จะเอาเวลาที่ไหนไปแก้ไขทันกันล่ะครับ

5. "ไม่มีพื้นความรู้ทางการเงินมาก่อน วางแผนการเงินเป็นเรื่องยาก ฉันทำไม่ได้"

ทุกอย่างอยู่ที่ความตั้งใจครับ คนเราไม่มีใครรู้มาตั้งแต่เกิด ถ้าขวนขวายหาความรู้ ใส่ความพยายาม ยังไงก็เกิดผล แถมเดี๋ยวนี้ความรู้เรื่องการเงินที่ดีๆ หาได้ฟรีเต็มไปหมดครับ อยู่ที่เราเองว่าจะศึกษารึเปล่า แหม ทีวางแผนเที่ยวที่ที่ไม่เคยไป รายละเอียดยิบย่อยยุ่บยั่บเต็มไปหมด ยังวางแผนกันได้เลยครับ แต่ถ้าเป็นสิ่งที่เราไม่ถนัดจริงๆ เราก็จ้างผู้ที่เชี่ยวชาญกว่าเรา มาให้คำปรึกษาได้นี่ครับ เหมือนเวลาเราหิว บ่อยครั้งเราก็เลือกไปทานที่ร้านแทนที่จะทำกินเอง เวลาเราเจ็บป่วยหนักๆ เราก็ต้องการหมอมารักษา แทนที่จะ