สำหรับเรื่องการวางแผนการเงิน ผมเชื่อว่าหลายคนอาจจะเริ่มตระหนักถึงความสำคัญของการวางแผนการเงินกันบ้างแล้ว แต่บางคนก็อาจจะยังมีคำถามอยู่ในหัวว่า "จะเริ่มจากตรงไหนดี?"

เมื่อไม่ทราบคำตอบ ส่วนใหญ่ก็มักจะคิดว่า "การวางแผนการเงิน ก็คือวางแผนเก็บออม ลงทุน ให้เงินงอกเงยนั่นแหละ" อยู่ๆก็เลยกรโจนไปเริ่มที่ลงทุนเลยบ้าง สนใจแต่ว่าจะลงทุนในอะไรดี? หุ้นตัวไหนดี? กองทุนตัวไหนดี? ตอนนี้ซื้อได้รึยัง? ตอนนี้ควรจะขายไหม? แล้วก็คิดว่าการที่เราได้ศึกษา หาข้อมูล เพื่อให้ได้ตัวที่ดีที่สุดมา จะเป็นคำตอบสุดท้ายที่จะช่วยให้เรารวยได้

แต่นั่นไม่ใช่เลย! เพราะหากเปรียบเทียบการวางแผนการเงิน หรือการวางแผนชีวิตเหมือนการเดินทางแล้ว เราจะเลือกพาหนะได้ถูกได้ยังไง ถ้าเราไม่รู้ว่าเราจะเดินทางไปที่ไหน?

เราจะเดินทางไปไหนถูกได้ยังไง ถ้าเรายังไม่รู้ว่าเราอยู่จุดไหน?

เราจะออกเดินทางได้ยังไง ถ้าเราไม่รู้ว่า เราต้องใช้เวลาเดินทางประมาณเท่าไหร่? (หรือต้องเดินทางไปเรื่อยๆ ถึงเมื่อไหร่ก็เมื่อนั้น?)

เราจะเดินทางอย่างปลอดภัยได้ยังไง ถ้าเราไม่รู้ว่าเราต้องเตรียมตัวยังไงบ้าง?

การวางแผนการลงทุน เป็นเพียงส่วนหนึ่งของการวางแผนการเงินเท่านั้น การกระโจนเข้าสู่การลงทุน โดยไม่มีการวางแผนการเงินอย่างรอบด้านล่วงหน้า ก็เปรียบเสมือนคุณรีบบึ่งขับรถออกจากบ้านด้วยความเร็วสูง ทั้งๆที่ยังไม่รู้ว่าจะไปที่ไหน และไม่ได้มีการเตรียมพร้อม ตรวจสอบความปลอดภัย ตุนสเบียง เตรียมแผนที่ให้เรียบร้อยก่อน ทำให้โอกาสไปไม่ถึงเป้าหมาย หรือประสบอุบัติเหตุระหว่างทางแล้วเอาตัวไม่รอด มีสูงมาก

ฉะนั้น ก่อนที่คุณจะเริ่มวางแผนออกเดินทาง ผมมี 9 ขั้นตอนทางการเงินที่คุณต้องเตรียมพร้อม มาแนะนำ เพื่อให้คุณมีโอกาสไปถึงจุดหมายในชีวิตที่ต้องการ มาแนะนำครับ


9 ขั้นตอนสู่เป้าหมายทางการเงินอย่างมีความสุข

เริ่มจาก....ค้นหาคำตอบเหล่านี้ให้ได้

STEP 1 : ค้นหาแรงบันดาลใจและเป้าหมาย

- เราต้องการอะไรในอนาคต? (การแต่งงาน, มีลูก, มีรถ, มีบ้าน, ทุนการศึกษา, อิสรภาพของชีวิต(เกษียณ))

- ทำไมเราถึงต้องการสิ่งนั้น? (อยากมีครอบครัว, อยากมีความมั่นคงในชีวิต, อยากใช้ชีวิตอย่างหมดกังวลหลังเกษียณ, อยากมีอิสรภาพทางการเงิน) ไม่มีไม่ได้เหรอ? มันจำเป็นขนาดไหน? ถ้าไม่ได้แล้วชีวิตจะเป็นยังไง? 

ขั้นตอนแรกนี้ผมถือว่าสำคัญที่สุดครับ สำคัญยิ่งกว่าความรู้ใดๆทั้งหมด เพราะถ้าเป้าหมายไม่ชัดเจน ไม่มีเหตุผล ไม่มีความหนักแน่น จะทำให้เราไม่มีแรงผลักดันที่มากพอจะพยายามอย่างต่อเนื่องเพื่อไปให้ถึงเป้าหมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เป้าหมายทางการเงินที่ต้องใช้เงิน ทำให้เราต้องหาเงิน ต้องอดทน ต้องอดออม ต้องมีวินัย อย่างต่อเนื่อง (บางเป้าหมาย เช่น เกษียณอายุ หรือมีอิสรภาพทางการเงินและชีวิต อาจจะใช้เวลาถึง 10-20 ปี) ถ้าเราไม่มีเหตุผลและความรู้สึกที่ชัดเจน หนักแน่น ต่อเป้าหมายมากพอ หรือเป็นเป้าหมายที่เราไปหยิบยืมความฝันของคนอื่นมา (เช่น อยากมีเงิน 100 ล้าน เพราะคิดแค่ว่ารวยดี อยากมีอิสรภาพทางการเงิน เพราะอยากสบาย ฯลฯ) ไม่มีวันจะบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ได้แน่นอน เราจะท้อแท้ และล้มเลิกกลางทางไปซะก่อน เพราะเรารู้สึกว่า ถึงไม่ได้มันมา เราก็ไม่เดือดร้อนเท่าไหร่

อย่างที่มีคนกล่าวไว้ "ถ้าความต้องการมากพอ เดี๋ยววิธีการจะตามมาเอง" 

เรามีความต้องการที่มากพอกับเป้าหมายที่ตั้งไว้ไหม? ลองถามตัวเองดูครับ


STEP 2 : ระบุเป้าหมายอย่างละเอียด

- เป้าหมายนั้นราคาเท่าไหร่? (ค่าจัดงานแต่ง, ราคารถ, ราคาบ้าน, มูลค่าทุนการศึกษา, จำนวนเงินที่ต้องเตรียมเพื่อการเกษียณ, มูลค่าทรัพย์สินที่ต้องมีทั้งหมด เพื่อให้มีอิสรภาพ)

- ต้องการบรรลุเป้าหมายนั้นในอีกกี่ปีข้างหน้า?

ที่ต้องรู้ ก็เพราะการมีตัวเลข จะทำให้เราสามารถ "วัด" ได้ ว่าเราเข้าใกล้เป้าหมายไปเท่าไหร่แล้ว และ "เหลือ" (จำนวนเงิน, เวลา) อีกเท่าไหร่ ที่เราต้องไปให้ถึง หากไม่มีตัวเลข หรือตัวเลขไม่ชัดเจนแล้ว เราจะไม่สามารถวัดผลได้เลย ดังนั้น บางทีเราอาจจะต้องรู้วิธีการคำนวณหาเงินเป้าหมายก่อน (หรือใช้เครื่องมือ หรือโปรแกรม ช่วยคำนวณก็ได้)


STEP 3 : กลับมาสำรวจตัวเองในปัจจุบัน ด้านการเงิน และการงานส่วนตัว

ด้านการเงิน

- จัดทำงบกระแสเงินสด (ประเมินรายได้, รายจ่าย, เงินออม ต่อเดือน ต่อปี เท่าไหร่? หักลบกัน คงเหลือเท่าไหร่? เพื่อสำรวจ "พฤติกรรม" การใช้จ่ายของตัวเอง ว่าเราใช้จ่ายเกินตัวไหม? เราใช้จ่ายกับอะไรเป็นส่วนมาก? แล้วรายจ่ายเหล่านั้นจำเป็นไหม ปรับลดได้ไหม? รายได้ที่เรามีเทียบกับรายจ่ายแล้วน้อยเกินไปรึเปล่า? จะมีวิธีการเพิ่มรายได้ยังไงได้บ้าง

- จัดทำงบความมั่งคั่งสุทธิ (สินทรัพย์ที่มีอยู่ทั้งหมด (เงิบเก็บสภาพคล่อง, เงินลงทุน, ทรัพย์สินส่วนตัว), หนี้สินที่มีอยู่ทั้งหมด (หนี้สินระยะสั้นเช่นบัตรเครดิต, หนี้สินระยะยาวเช่น หนี้บ้าน หนี้รถ) มีอะไรบ้าง? มีอยู่เท่าไหร่? หักลบกันแล้ว สินทรัพย์มากกว่าหนี้สินเท่าไหร่? นั่นคือความมั่งคั่งสุทธิของเรา หรือมูลค่าฐานะทางการเงินที่แท้จริงของเรานั่นเอง เพื่อหาคำตอบว่า "เรามีความมั่นคงทางการเงิน" มากน้อยแค่ไหน

ด้านการงาน

- งานที่ทำอยู่ในปัจจุบันคืองานอะไร? เรารู้สึกยังไงกับงาน? ชอบหรือไม่ชอบ? มีความสุขกับงานที่ทำรึเปล่า? รายได้เท่าไหร่? เพียงพอกับภาระค่าใช้จ่ายไหม? ทำให้เหลือเงินเก็บอย่างพอเพียงรึเปล่า?

ที่ต้องสำรวจด้านการงานด้วย ก็เพราะว่า งาน ถือเป็นเรื่องสำคัญเรื่องหนึ่งในชีวิตเลยใช่ไหมล่ะครับ? เราจะมีเงินได้ ก็เพราะว่าเราต้องทำงาน ถ้าไม่มีงานเราจะเอาเงินที่ไหนมาใช้จ่าย มาออม มาลงทุน? ถ้าเรายังทำงานได้ไม่ดีพอ รายได้ที่เราหาได้ จะสูงพอที่จะนำไปบริหารจัดการเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่เราตั้งไว้ได้หรือเปล่า? ดังนั้น ยิ่งมีเป้าหมายสูง ไลฟ์สä