ในช่วงที่เรากำลัง (พยายาม) จะเข้าสู่ยุค Thailand 4.0 กันอยู่นี้ หลายคนคงเริ่มคุ้นเคยกับอะไรที่มัน “เทค” กันมากขึ้นนะครับ โดยเฉพาะ “ฟิคเทค” ที่เป็นการใช้เทคโนโลยีเข้ามาแก้ไขและพัฒนาประสิทธิภาพด้านธุรกรรมทางการเงินทั้งหลายแหล่ ไม่ว่าจะเป็น...

ด้านการชำระและโอนเงิน (Payment & Transfer) ผ่านระบบดิจิตอล, การกู้ยืมเงิน (Lending) ด้วยต้นทุนที่ต่ำลง มีระบบการพิจารณาที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น หรือแม้แต่การกู้ยืมเงินกันระหว่างกลุ่ม (Pear to Pear)การลงทุน (Investment) ที่ใช้อัลกอรึธึ่มมาช่วยออกแบบกลยุทธ์การลงทุน, ใช้ bot มาเป็นที่ปรึกษาการลงทุนแทนมนุษย์, ด้านการเงินส่วนบุคคล (Personal Finance) ไม่ว่าจะเป็นการทำบัญชีรายรับรายจ่าย, 

การวางแผนภาษี หรือวางแผนการเงินโดยรวมอย่างครอบคลุม รวมไปถึงเรื่องของการทำประกัน (Insurance) ที่เรียกว่า "insurtech (อินชัวร์เทค)" ซึ่งเป็นการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในการแก้ปัญหาหรือพัฒนาวงการประกันภัยด้วยเช่นเดียวกัน

ถ้าใครนึกภาพไม่ออกว่า เทคโนโลยี จะเข้ามาช่วยพัฒนาวงการประกันภัย หรือ insurtech จะทำให้เราได้ประโยชน์มากขึ้นในเรื่องของการทำประกันได้ยังไง วันนี้ผมจะมาขอยกตัวอย่าง 4 ด้าน หรือ 4 กระบวนการ ที่ insurtech จะสามารถเข้ามาช่วยแก้ปัญหาและพัฒนาประสิทธิภาพให้กับการทำประกันแก่เราได้ ดังนี้ครับ

1. ด้านการเลือกซื้อ

เราจะนำเทคโนโลยีมาช่วยในการสร้างฐานข้อมูลของทั้งแบบประกัน และข้อมูลของผู้ซื้อ จากนั้นก็จะเขียนโปรแกรมที่จะช่วยในการวิเคราะห์และประมวลผลจากข้อมูลที่มีอยู่ว่า จากความต้องการของเรา หรือจากข้อมูลส่วนตัวของเราแบบนี้แล้ว เราจะมีความเสี่ยงด้านไหน ควรทำประกันอะไร เท่าไหร่บ้าง ถึงจะเหมาะสม และคัดเลือกหรือแนะนำแบบประกันที่ตอบโจทย์และคุ้มค่าที่สุดจากฐานข้อมูลมาแนะนำให้ได้ทันที โดยที่อาจจะอยู่ในรูปของระบบการคัดเลือกและค้นหาแบบประกันที่ต้องการ (Browsing) การโต้ตอบกับระบบอัตโนมัติ (Chatbot) หรือในอนาคตอาจจะพัฒนาถึงขั้นเป็นปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligent : AI) ที่ให้คำปรึกษาในเชิงลึกได้อย่างละเอียด ซึ่งอาจจะออกแบบมาในรูปแบบของเว็บไซต์ หรือแอพพลิเคชั่น

พอเราเข้าไปก็แค่ใส่ข้อมูลส่วนตัว หรือตอบคำถามโต้ตอบกับระบบ ใส่ความต้องการของเราเองเข้า จากนั้น ระบบก็สามารถแนะนำเราได้เลย จึงเป็นการช่วยแก้ปัญหาการทำประกันไม่เหมาะสม (ผิดประเภท, ทำมากไป-น้อยไป) ลดเวลาในการศึกษาหาข้อมูล ทำความเข้าใจ เปรียบเทียบด้วยตัวเอง ที่อาจจะเสียเวลา และทำเองแบบผิดๆถูกๆ และช่วยลดปัญหาที่บางคนอาจจะไม่ต้องการซื้อกับคนขาย เพราะกลัวอึดอัดใจ หรือกลัวว่าคนขายจะหลอกขาย หรือให้คำแนะนำที่ไม่เหมาะสม (เห็นประโยชน์ส่วนตัวก่อนผลประโยชน์ของลูกค้า) ได้อีกด้วย

2. ด้านการขายและการบริหาร

insurtech จะช่วยให้ฝั่งผู้ขาย เช่น ตัวแทน นายหน้า หรือบริษัทประกัน มีความสะดวกสบายในการจัดการกับระบบข้อมูลของลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น เช่น อยู่ในรูปของซอฟต์แวร์ที่เก็บฐานข้อมูลของลูกค้า จำพวก ประวัติ ข้อมูลส่วนตัว สุขภาพ ทรัพย์สิน แบบประกันที่มีอยู่ วันครบกำหนดและวันสำคัญต่างๆ ที่จะช่วยจัดแจงและแจ้งเตือนผู้ขาย ทำให้ผู้ขายสามารถวางแผนงานในการเข้าพบ ทบทวน และบริการลูกค้า ได้อย่างเป็นระบบมากขึ้น และทำการวิเคราะห์ผลการขายที่ผ่านมา (เข้าพบกี่ราย ปิดการขายได้-ไม่ได้กี่ราย เพราะอะไร) แล้วให้คำแนะนำในการพัฒนาการขายและการทำงาน ซึ่งจะช่วยให้ผู้ขายมีความสามารถในการทำงานและหารายได้ที่สูงขึ้น นอกจากนี้ อาจจะรวมไปถึงการพัฒนาขั้นตอนการซื้อขาย ที่สามารถทำให้เสร็จสิ้นได้ครบทุกกระบวนการบนซอฟต์แวร์ ด้วยการกรอกข้อมูลใบสมัครทำประกันแบบออนไลน์ (E-Application) การชำระเงินอิเล็กทรอนิคส์ (E-Payment) และการออกกรมธรรม์ดิจิตอล (E-Policy) ที่จะสามารถช่วยลดต้นทุน เวลาและความผิดพลาดในการสมัครทำประกัน ทำให้บริษัทสามารถอนุมัติได้รวดเร็วขึ้น และเราก็สามารถซื้อประกันได้อย่างสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น

3. ด้านการพิจารณารับประกัน

จะเป็นการนำเทคโนโลยี Internet Of Things (IOT) หรือการใช้เทคโนโลยีในการตรวจจับหรือบันทึกข้อมูล ตามพฤติกรรมหรือความเคลื่อนไหวของสิ่งต่างๆ ให้มาอยู่ในรูปของฐานข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) ที่สามารถใช้วิเคราะห์ความเสี่ยงเฉพาะบุคคลในด้านของ สุขภาพ, การใช้ชีวิต, การเดินทาง หรือการขับขี่ ได้อย่างละเอียด ผ่านการใช้อุปกรณ์ในการตรวจวัดและเก็บข้อมูล (เช่น fitbit ที่คล้ายนาฬิกา ในการตรวจวัดชีพจร หรืออัตราการเต้นของหัวใจ เพื่อประเมินสุขภาพและความแข็งแรง หรือ telematics ที่ตรวจจับการเคลื่อนไหวของรถที่ขับ) ที่เราต้องทำก็แค่ “ติด” อุปกรณ์นี้ไว้กับตัว หรือกับทรัพย์สินที่จะทำประกัน เพื่อให้มันเก็บข้อมูลเองอัตโนมัติ ซึ่งข้อมูลต่างๆเหล่านี้ก็จะช่วยให้บริษัทประกันสามารถประเมินความเสี่ยงรายบุคคลได้อย่างแม่นยำมากขึ้น (เพราะเราโกหกไม่ได้) และปรับค่าเบี้ยประกันให้เหมาะสมกับแต่ละบุคคลได้ดีขึ้น จากเดิมที่ต้องตั้งราคาค่าเบี้ยไว้กลางๆที่เฉลี่ยความเสี่ยงเอาไว้แล้ว เพราะบริษัทประกันไม่รู้ว่าแต่ละคนมีความเสี่ยงมากน้อยแค่ไหน insurtech แบบนี้จึงช่วยแก้ปัญหาที่คนที่คนที่มีความเสี่ยงต่ำต้องแบกรับภาระค่าเบี้ยร่วมกับคนที่มีความเสี่ยงสูง ทำให้ต้องจ่ายค่าเบี้ยที่สูงกว่าความเสี่ยงที่แท้จริงของตัวเอง ให้ได้จ่ายค่าเบี้ยที่เหมาะสมกับความเสี่ยงตัวเองมากขึ้น

4. ด้านการเคลม

จากเดิม จะเคลมแต่ละทีต้องใช้เอกสารหลักฐานวุ่นวายจำนวนมาก แถมยังต้องรอบริษัทประกันหรือผู้สำรวจภัยมาตรวจสอบความเสียหาย หรือสืบค้นเพื่อพิสูจน์ว่าใครผิดใครถูกหรือมีการเอาประกันอย่างซื่อสัตย์จริงหรือไม่ ซึ่งต้องเสียเวลานานมาก แต่ insurtech จะช่วยพัฒนาระบบการรับแจ้งเคลม ให้เป็นแบบออนไลน์ เชื่อมต่อข้อมูลกันทั้งหมด ซึ่งจะช่วยให้การติดตามและสืบค้นข้อมูล มีความสะดวกง่ายดายมากขึ้น แทนที่การโทรแจ้ง หรืออาจจะต้องโทรติดตามเอง ซึ่งต้องใช้ทั้งเวลาและกำลัง รวมถึงความรับผิดชอบของคน ในการแจ้งและติดตามความคืบหน้า และอาจมีข้อผิดพลาดได้ง่าย โดยอาจเปลี่ยนมาใช้เพียงแค่หมาย