ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจที่ผันผวน มีหุ้นของบริษัทจดทะเบียนมากมายในตลาดที่ต้องเผชิญกับความท้าทายต่าง ๆ ด้วยเพราะสภาพเศรษฐกิจที่เปลี่ยนไป กำลังซื้อผู้บริโภคหดหาย นโยบายภาครัฐที่ยังไม่ชัดเจน จนอาจส่งผลให้ผลประกอบการของบริษัทมีรายได้หรือกำไรลดลง แต่ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นยังมีธุรกิจอยู่กลุ่มหนึ่งที่มีความทนทานต่อสภาวะเศรษฐกิจใน ทุก ๆ แบบ นั่นคือ ธุรกิจกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภค (Fast-Moving Consumer Goods หรือ FMCG)

หากพูดถึงสินค้าอุปโภค เราสามารถไล่เรียงรายการสินค้าได้แบบไม่หวาดไม่ไหว เพราะสินค้ากลุ่มนี้เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของเราแทบจะตลอดเวลา แม้สินค้าต่อหน่วยราคาจะไม่สูง หรือเป็นสินค้าที่ดูเหมือนไม่ได้มีนวัตกรรมพลิกโลกอะไร แต่เพราะความเป็นสินค้าทั่วไปที่คนต้องใช้กันนี้เอง บริษัทที่ผลิตสินค้าเหล่านี้จึงมีลูกค้ามากมายหลายหลาก และค่อย ๆ เพิ่มขึ้น หากสินค้าของบริษัทติดตลาดมากพอ

โดยหนึ่งในบริษัทที่ผลิตสินค้าดังกล่าว ก็คือ Neo Corporate Public Company Limited ผู้นำในธุรกิจกลุ่มสินค้าอุปโภค ที่กำลังจะจดทะเบียนเข้าตลาดหุ้นเร็ว ๆ นี้

Neo Corporate ก่อตั้งขึ้นในปี 2532 ด้วยจุดมุ่งหมายเพื่อทำสินค้าอุปโภคที่มีคุณภาพระดับสากล ในราคาที่เข้าถึงได้ ให้กับลูกค้าทุกกลุ่มในไทย โดยสินค้าแรกของบริษัท คือ ผลิตภัณฑ์ประเภทโคโลญและโรลออนของผู้หญิงภายใต้แบรนด์เอเวอร์เซ้นส์ (Eversense) ซึ่งติดตลาดและกลายเป็นสินค้าขายดีอันดับ 1 ทันทีตั้งแต่ออกวางขาย และนับจากนั้นเป็นต้นมา บริษัทก็ทยอยออกผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ที่ครอบคลุมความต้องการของลูกค้ามากขึ้นอย่างต่อเนื่อง

จนปัจจุบัน Neo Corporate มีผลิตภัณฑ์แบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่มใหญ่ และมีแบรนด์สินค้าภายใต้บริษัทกว่า 8 แบรนด์

1. กลุ่มผลิตภัณฑ์ของใช้ในครัวเรือน (Household Products) ประกอบด้วย 3 แบรนด์ ได้แก่ แบรนด์ไฟน์ไลน์ (Fineline) เช่น ผลิตภัณฑ์ซักผ้า ผลิตภัณฑ์ปรับผ้านุ่ม และผลิตภัณฑ์รีดผ้าเรียบ, แบรนด์สมาร์ท (Smart) เช่น ผลิตภัณฑ์ซักผ้า และผลิตภัณฑ์ปรับผ้านุ่ม สูตรแอนตี้แบคทีเรีย และ แบรนด์โทมิ (Tomi) เช่น ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดพื้น และผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดห้องน้ำ

2. กลุ่มผลิตภัณฑ์ของใช้ส่วนบุคคล (Personal Care Products) ประกอบด้วย 4 แบรนด์ ได้แก่ แบรนด์บีไนซ์ (BeNice) เช่น ผลิตภัณฑ์ครีมอาบน้ำ และผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดจุดซ่อนเร้น (2) แบรนด์ทรอส (TROS) เช่น ผลิตภัณฑ์โคโลญ และผลิตภัณฑ์โรลออน สำหรับผู้ชาย, แบรนด์เอเวอร์เซ้นส์ (Eversense) เช่น ผลิตภัณฑ์แป้ง ผลิตภัณฑ์โคโลญ และผลิตภัณฑ์โรลออน สำหรับผู้หญิง และแบรนด์วีไวต์ (Vivite) เช่น ผลิตภัณฑ์โรลออนสำหรับผู้หญิง

3.กลุ่มผลิตภัณฑ์ของใช้สำหรับเด็ก (Baby and Kids Products) แบรนด์ดีนี่ (D-nee) เช่น ผลิตภัณฑ์ซักผ้าเด็ก ผลิตภัณฑ์ปรับผ้านุ่มเด็ก และผลิตภัณฑ์อาบน้ำและสระผมเด็ก เป็นต้น

ด้วยกลยุทธ์การมีสินค้าอุปโภคที่ครอบคลุมในหลายหมวด ทำให้ Neo Corporate สามารถผลิตสินค้าที่ตรงกับความต้องการของลูกค้าได้หลากหลายกว่าบริษัทที่ผลิตสินค้าในกลุ่มเดียวกันแต่อาจทำเพียงแค่หมวดเดียว ซึ่งเมื่อบริษัทใดก็ตามสามารถสร้างผลิตภัณฑ์ที่ดีและตอบโจทย์ลูกค้าหลายกลุ่มได้ ฐานลูกค้าของบริษัทนั้นจะยิ่งกว้าง และลดความเสี่ยงในการพึ่งพาลูกค้ากลุ่มใดกลุ่มหนึ่งมากเกินไป

ซึ่งทั้งหมดก็สะท้อนอยู่ในผลประกอบการของบริษัท โดยข้อมูลนี้จะเป็นผลประกอบการย้อนหลัง 3 ปี พร้อมกับสัดส่วนรายได้ของบริษัทในปีปัจจุบัน

ปี 2564

รายได้จากการขาย 7,445 ล้านบาท

ค่าใช้จ่าย 6,521 ล้านบาท

กำไรสุทธิ 729 ล้านบาท

ปี 2565

รายได้จากการขาย 8,301 ล้านบาท

ค่าใช้จ่าย 7,576 ล้านบาท

กำไรสุทธิ 569 ล้านบาท

งวด 9 เดือน ปี 2565

รายได้จากการขาย 5,978 ล้านบาท

ค่าใช้จ่าย 5,592 ล้านบาท

กำไรสุทธิ 307 ล้านบาท

งวด 9 เดือน ปี 2566

รายได้จากการขาย 7,029 ล้านบาท

ค่าใช้จ่าย 6,147 ล้านบาท

กำไรสุทธิ 689 ล้านบาท

สัดส่วนรายได้ งวด 9 เดือน ปี 2566

รายได้จากกลุ่มผลิตภัณฑ์ของใช้ในครัวเรือน 3,067 ล้านบาท (44%)

รายได้จากกลุ่มผลิตภัณฑ์ของใช้ส่วนบุคคล 1,728 ล้านบาท (24%)

รายได้จากกลุ่มผลิตภัณฑ์ของใช้สำหรับเด็ก 2,233 ล้านบาท (32%)

จากงบการเงินเบื้องต้นนี้จะเห็นความน่าสนใจอยู่สองอย่าง อันแรกคือรายได้และผลกำไรของบริษัทมีแนวโน้มเติบโตขึ้น โดยเฉพาะเมื่อเทียบ 9 เดือนแรกของปี 2565 และ 2566 ที่กำไรสุทธิเพิ่มขึ้นมากกว่าเท่าตัว สะท้อนให้เห็นว่าบริษัทสามารถควบคุมต้นทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น อีกทั้งรายได้ก็เพิ่มขึ้นอย่างสม่ำเสมอด้วย

อย่างที่สอง หากดูจากสัดส่วนรายได้แยกตามกลุ่มผลิตภัณฑ์ รายได้หลักมาจากสินค้ากลุ่มของใช้ในครัวเรือนก็จริง (รายได้หลักในกลุ่มนี้มาจากผลิตภัณฑ์ดูแลผ้า Fineline) โดยคิดเป็นสัดส่วนกว่า 44% ของรายได้รวม แต่สินค้าในกลุ่มอื่นก็มีสัดส่วนรายได้ที่ไม่น้อยเลย 

นั่นแสดงให้เห็นว่า บริษัทให้ความสำคัญกับการมุ่งนำเสนอ  ผลิตภัณฑ์ที่ดีมีคุณภาพ สร้างสรรค์คุณสมบัติที่มีเอกลักษณ์ แบรนด์ผลิตภัณฑ์มีนวัตกรรมโดดเด่นและแตกต่าง ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคทุกช่วงวัยและทุกไลฟ์สไตล์ ซึ่งเรื่องนี้จะช่วยให้บริษัทเติบโตอย่างอย่างต่อเนื่อง โดยความพิเศษของสินค้าภายใต้ Neo Corporate ก็คือ แบรนด์ทั้ง 8 ของบริษัทเป็นที่รับรู้ของลูกค้าในวงกว้าง จึงเป็นความได้เปรียบที่ช่วยให้บริษัทมีความแตกต่างออกไปจากคู่แข่ง

โดยบริษัทที่ทำสินค้าในกลุ่ม FMCG อาจมีไม่กี่แห่งที่สามารถกระจายสัดส่วนรายได้ให้เหมาะสมได้แบบนี้ และยิ่งมีน้อยรายเข้าไปอีกที่จะจดทะเบียนเข้าตลาดหุ้นให้คนทั่วไปสามารถเข้ามาถือหุ้นได้ เหมือนที่ Neo Corporate กำลังจะทำ ซึ่งการจดทะเบียนเข้าตลาดครั้งนี้ Neo Corporate ต้องการระดมทุนเพื่อนำเงินไปลงทุนขยายกำลังการผลิตและคลังวัตถุดิบและบรรจุภัณฑ์ จ่ายหนี้คืน และใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียน เพื่อให้บริษัทสามารถสร้างสินค้าที่ดีและตรงใจผู้บริโภคได้มากยิ่งขึ้น

หากใครสนใจข้อมูลเพิ่มเติม หรือต้องการเป็นส่วนหนึ่งของ Neo Corporate สามารถศึกษาข้อมูลได้ที่ 

https://market.sec.or.th/public/ipos/IPOSEQ01.aspx?TransID=565242

บทความนี้เป็น Advertorial