ปัจจุบัน หลายคนเริ่มให้ความสำคัญกับการวางแผนความเสี่ยงเรื่องของสุขภาพตัวเองกันมากขึ้น ทั้งในเรื่องของการลดโอกาสที่จะเจ็บป่วย ด้วยการรักษาสุขภาพ เช่น ออกกำลังกาย เข้าฟิตเนส หรือเลือกทานอาหารที่ดีและมีประโยชน์ และรู้จักป้องกันความเสี่ยงทีอาจจะมีโอกาสต้องจ่ายค่ารักษาพยาบาลจำนวนมาก หากเกิดเจ็บป่วยต้องเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล ด้วยการทำประกันสุขภาพ โดยเฉพาะตัวชดเชยค่ารักษาพยาบาล

และเมื่อพูดถึงประกันสุขภาพที่เป็นอนุสัญญาชดเชยค่ารักษาพยาบาลแล้ว ในตอนนี้แบบที่เป็น “เหมาจ่ายค่ารักษา” ก็เป็นแบบที่คนนิยมมองหากันมากที่สุด เพราะอย่างที่รู้กันว่า ค่ารักษาพยาบาลในโรงพยาบาลในทุกวันนี้ ราคาแพงมาก และปรับตัวสูงขึ้นแทบทุกปี ถ้าเป็นประกันสุขภาพแบบเก่าที่เป็นแบบ “แยกรายการค่าใช้จ่าย” ก็อาจจะชดเชยค่ารักษาให้ไม่เพียงพอ ดังนั้น แบบเหมาจ่ายค่ารักษา ก็มีข้อที่ดีกว่าตรงที่ว่า มีวงเงินก้อนใหญ่ที่น่าจะเพียงพอกับค่ารักษาที่เกิดขึ้น จึงช่วยให้เรารู้สึกอุ่นใจได้มากกว่านั่นเอง

วันนี้ ผมจึงขอมารีวิวแบบประกันสุขภาพแบบเหมาจ่ายค่ารักษาพยาบาลตัวหนึ่ง ของบริษัท แมนูไลฟ์ ที่ชื่อว่า “ประกันได้หมด” ให้ดูกันดีกว่า ว่าจะมีความน่าสนใจแค่ไหน และคุ้มค่าไหม ถ้าจะทำ? สำหรับตัวเราเอง

มีข้อแตกต่างจากประกันสุขภาพเหมาจ่ายค่ารักษาของที่อื่นยังไง?

ข้อแตกต่างที่เด่นชัดที่สุดของตัว ประกันได้หมด ซึ่งถือเป็นจุดเด่นของแบบประกันตัวนี้ด้วย ที่ผมเห็นมีอยู่ 3 ข้อ ด้วยกันดังนี้ครับ

1. ค่ารักษาอยู่ในวงเงินเหมาจ่ายต่อปีเกือบทุกรายการ ยกเว้นค่าห้อง

ถึงแม้จะเป็นประเภทประกันสุขภาพแบบเหมาจ่ายค่ารักษา แต่สำหรับหลายๆบริษัท รายการค่ารักษาที่อยู่ในวงเงินเหมาจ่าย มักจะเป็นเฉพาะแค่ค่าผ่าตัด และรักษาพยาบาลในฐานะผู้ป่วยในเท่านั้น (ยกเว้นค่าห้องที่จะเป็นค่าใช้จ่ายแยกออกมา ทุกบริษัท) ส่วนรายการค่ารักษาผู้ป่วยนอกอื่นๆ และรายการค่ารักษาผู้ป่วยในบางรายการ อย่างเช่น ค่าแพทย์ตรวจเยี่ยมไข้ ก็มักจะไม่รวมอยู่ในวงเงินเหมาจ่าย แต่สำหรับ ประกันได้หมด แล้ว รายการค่ารักษาผู้ป่วยในจะเป็นวงเงินเหมาจ่ายทั้งหมด (ยกเว้นค่าห้อง) ส่วนรายการค่ารักษาผู้ป่วยนอก จะเป็นวงเงินเหมาจ่าย ที่จะมีวงเงินให้ประมาณ 5-10% ของวงเงินเหมาจ่ายทั้งปี (เช่น วงเงินเหมาจ่ายค่ารักษาทั้งปี 2,800,000 บาท จะมีวงเงินเหมาจ่ายค่ารักษาผู้ป่วยนอกให้ 200,000 บาท)

(หมายเหตุ : รายการค่ารักษาผู้ป่วยนอก เฉพาะกรณีอุบัติเหตุฉุกเฉิน หรือเป็นการรักษาที่ต่อเนื่องจากการเป็นผู้ป่วยใน จะไม่รวมกรณีเจ็บป่วยเล็กๆน้อยๆ เช่น เป็นไข้ หรือแผลถลอก นะครับ ถ้าแบบนั้นต้องไปซื้อประกันสุขภาพแบบผู้ป่วยนอก (OPD) โดยเฉพาะครับ)

2. สามารถเลือกจับคู่ค่าห้องกับวงเงินเหมาจ่ายต่อปีได้

โดยส่วนมาก แผนประกันสุขภาพแบบเหมาจ่ายค่ารักษาแต่ละแผน จะมีวงเงินเหมาจ่ายต่อปี ที่ถูกผูกมากับค่าห้อง อย่างตายตัว (เช่น ปกติค่าห้อง 3,000 บาท ก็ต้องคู่กับวงเงินเหมาจ่าย 2,000,000 บาท เท่านั้น เป็นต้น) ไม่สามารถเลือกค่าห้อง แล้วไปเลือกวงเงินเหมาจ่ายค่ารักษาต่อปีได้ แต่สำหรับ ประกันได้หมด พอเราเลือกค่าห้องแล้ว เราจะสามารถเลือกวงเงินเหมาจ่ายค่ารักษาต่อปีได้  ซึ่งก็จะมีให้เราเลือกอยู่ 3 วงเงิน ตั้งแต่น้อยไปหามาก สำหรับค่าห้องแต่ละระดับ (สามารถเลือกได้ตั้งแต่วงเงินเหมาจ่าย 250,000 บาทต่อปี ไปจนถึง 6,000,000 บาทต่อปี ขึ้นอยู่กับค่าห้องที่เลือก) ซึ่งถ้าเราเลือกวงเงินที่น้อยลง ค่าเบี้ยก็จะถูกลง เหมาะสำหรับคนที่ไม่ได้ต้องการวงเงินสูงนัก สำหรับเรทค่าห้องจำนวนนั้น เพื่อประหยัดค่าเบี้ยลงครับ

3. ไม่มีเคลม ค่าเบี้ยประกันจะถูกลง สูงสุด 30%

ข้อนี้ถือว่าเป็นจุดเด่นที่สุดของแบบประกันตัวนี้เลย โดยมีเงื่อนไขอยู่ว่า ถ้าไม่ได้เคลม 1 ปี ปีต่อไปจะลดค่าเบี้ยประกันสุขภาพให้ 10% ถ้าไม่ได้เคลม 2 ปี จะลดค่าเบี้ยประกันสุขภาพให้ 20% และถ้าไม่ได้เคลมตั้งแต่ 3 ปีขึ้นไป จะลดค่าเบี้ยประกันสุขภาพให้ปีต่อๆไป ปีละ 30% ของค่าเบี้ยอัตราปกติ ซึ่งโดยส่วนตัวก็คิดว่าค่อนข้างยุติธรรมดี สำหรับคนที่มีสุขภาพร่างกายแข็งแรงปกติ ความเสี่ยงต่ำกว่าปกติ ก็ควรจะจ่ายค่าเบี้ยถูกกว่าปกติ เหมือนกับที่เวลาเราทำประกันรถยนต์แล้วไม่เคยชน บริษัทประกันก็จะลดค่าเบี้ยให้เรา เช่นเดียวกันครับ

เมื่อเปรียบเทียบกับประกันสุขภาพแบบเหมาจ่ายค่ารักษาของที่อื่นแล้ว เด่นหรือด้อยกว่าด้านไหนบ้าง?

เมื่อเปรียบเทียบตัว ประกันได้หมด กับประกันสุขภาพแบบเหมาจ่ายค่ารักษาของบริษัทอื่นๆ (ซึ่งขออนุญาต ใช้เป็นชื่อสมมติแทน คือบริษัท A B และ C) โดยตัวอย่างที่ยกมาจะเป็นกรณีที่เป็นทั้ง เพศชาย และเพศหญิง อายุ 35 ปี เลือกที่ค่าห้องประมาณ 7,000-9,000 บาทต่อคืน จะได้ผลดังนี้

ด้านค่าห้อง และค่าห้อง ICU

ส่วนใหญ่ที่แผนค่าห้องประมาณ 7,000-9,000 บาท จะมีวงเงินเหมาจ่ายต่อปีอยู่ที่ประมาณ 3-6 ล้านบาท ซึ่งสำหรับ ประกันได้หมด ที่ค่าห้อง 7,000 บาท จะสามารถเลือกวงเงินเหมาจ่ายได้ 3 ระดับ คือ 2 ล้านบาท, 2.4 ล้านบาท และ 2.8 ล้านบาท จึงเลือกที่วงเงิน 2.8 ล้านบาทมาเทียบ เพื่อให้ได้ใกล้เคียงกัน ก็จะพบว่า ที่แผนใกล้เคียงกัน ประกันได้หมด โดยส่วนใหญ่จะมีค่าห้องและวงเงินเหมาจ่ายต่อปีน้อยกว่าของที่อื่น ยกเว้นบริษัท C กรณีเข้าพักรักษาจากการเจ็บป่วยที่ไม่ใช่อุบัติเหตุ (ประกันได้หมดวงเงิน 2.8 ล้านบาท บริษัท C 2 ล้านบาท) แต่ข้อดีของ ประกันได้หมด ก็คือ สามารถเบิกค่าห้องได้ไม่จำกัดจำนวนวันที่เบิกได้ (ตราบใดรวมแล้วค่าห้องยังไม่เกินวงเงินเหมาจ่าย) ขณะที่บริษัทอื่น มักจะมีกำหนดจำนวนวันที่เบิกได้ (บริษัท B 180 วัน บริษัท C 125 วัน ส่วนบริษัท A ก็ไม่มีกำหนด