เชื่อผมไหมครับว่าการเกิดเป็นคนรวยมีเงินเยอะๆ แบบ 5 ล้าน 10 ล้าน จนไปถึง 100 ล้านขึ้นไป มักจะมีปัญหาในแบบฉบับของเขาที่คนส่วนใหญ่อย่างเราๆจะไม่ค่อยเข้าใจเท่าไหร่ ปัญหาใหญ่ๆที่ผมเคยได้คุยได้สอบถามก็คือ เขาไม่ค่อยได้มีเวลากันเท่าไหร่เนื่องจากหน้าที่และความรับผิดชอบเยอะแยะเต็มไปหมด แต่ในขณะเดียวกันก็ต้องมีหลายเรื่องต้องคิดและจัดการอยู่มากมาย เช่น

  • รายได้เยอะมากแล้วจะวางแผนภาษีอย่างไร
  • ลูกจะเรียนต่อต่างประเทศต้องเตรียมเงินให้พร้อมด้วยวิธีไหน
  • จะต้องเตรียมจัดการมรดกอย่างไรให้ลูกๆในบั้นปลายชีวิต
  • มีเงินนอนนิ่งๆอีกเต็มไปหมดจะเอาไปทำอย่างไรให้เกิดประโยชน์

สำหรับผู้ที่มีเงินตั้งแต่ 5 ล้านบาทขึ้นไปและต้องการให้ใครซักคนมาช่วยในเรื่องของการบริหารเงินและการลงทุนให้ตอบโจทย์ชีวิตได้ ธนาคารกรุงศรีฯก็จะมีหน่วยงานที่คอยดูแลลูกค้ากลุ่มนี้ เรียกว่าบริการ ‘Wealth Management’ มาดูรายละเอียดกันนะครับว่าคืออะไร

Wealth Management คืออะไร?

ในการลงทุนแบบฉบับของคนรวยนั้น แน่นอนว่าธนาคารเองก็จะต้องมีเจ้าหน้าที่ดูแลอย่างใกล้ชิด ซึ่งคนดูแลดังกล่าวเราได้แก่ Relationship Manager หรือ ผู้จัดการการเงินส่วนบุคคลของลูกค้า และ ผู้แนะนำการลงทุน หรือ Investment Consultant (IC) ที่จะดูแลความสะดวก ให้คำปรึกษาแและวางแผนในการสร้างความมั่งคั่งในระยะยาวให้กับลูกค้าได้ สมมติลูกค้ามีเงินนิ่งๆจำนวนหนึ่งซึ่งพร้อมที่จะรับความเสี่ยงและเปิดโอกาสให้ได้รับผลตอบแทนที่งอกเงยได้นั้น ทางเจ้าหน้าที่ก็จะวางแผนอย่างครบวงจรไปในเรื่องของการลงทุน ได้แก่

  1. วัตถุประสงค์ในการลงทุนว่าต้องการเงินก้อนนี้ไปทำอะไรและใช้เมื่อไหร่ เช่น  ต้องการส่งลูกเรียนหนังสือในต่างประเทศ ตั้งแต่ชั้นประถมจนถึงระดับปริญญาตรี โดยเริ่มต้นในอีก 5 ปีข้างหน้า
  2. เป้าหมายของผลตอบแทนนั้นอยู่ที่จำนวนเท่าไหร่ ก็คำนวณจำนวนเงินที่ต้องการในแต่ละปี เช่น ปีละ 1 ล้านบาท และต่อเนื่องไปจนจบใช้เงินรวมทั้งสินประมาณ 25 ล้านบาท ในขณะที่ปัจจุบันนั้นมีเงินเก็บในส่วนนี้อยู่ 15 ล้านบาทจึงต้องหาผลตอบแทนเพิ่มอีก 10 ล้านบาทเพื่อให้สามารถส่งลูกเรียนได้จนจบ
  3. จัดพอร์ตการลงทุนด้วยการกระจายความเสี่ยงให้เหมาะสม (Asset Allocation) ทาธนาคารก็จะดูความเสี่ยงในการลงทุนของลูกค้าแต่ละคนว่าเป็นอย่างไร พอร์ตการลงทุนต้องจัดอย่างไรให้เหมาะสม โดยเจ้าหน้าที่จะวิเคราะห์ข้อมูลทางการเงินในเรื่องทรัพย์สิน หนี้สิน รายรับ รายจ่าย ภาระต่างๆ ของลูกค้าในอนาคตและกำหนดแผนการลงทุนให้ทรัพย์สินแต่ละประเภทไม่ว่าจะเป็นการลงทุนในกองทุนรวมหุ้น กองทุนรวมดัชนี กองทุนรวมสินค้าโภคภัณฑ์เพื่อให้ลูกค้าไปสู่เป้าหมายที่คาดหวังไว้
  4. ติดตามผลการดำเนินงานให้เป็นไปตามเป้าหมาย เนื่องจากลูกค้านั้นอาจจะไม่ได้มีเวลามากในการบริการพอร์ตการลงทุนด้วยตัวเอง ทางธนาคารก็จะคอยดูแลและติดตามผลให้อยู่เสมอว่าเป้าหมายนั้นไปถึงไหนแล้ว ควรจะมีการปรับเปลี่ยนพอร์ตการลงทุนระหว่างทางอย่างไรในสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป เพื่อให้ลูกค้าประสบความสำเร็จในการลงทุน

การใช้บริการ Wealth Management ก็ถือเป็นอีกบริการที่เราจะได้เพื่อนคู่คิดและช่วยให้ทางเลือกในการตัดสินใจในการลงทุนนะครับ มีคนคอยดูแล จัดพอร์ตตามเป้าหมายและตรวจสอบความเป็นไปของผลการดำเนินงาน เรียกได้ว่าครบเครื่องและน่าสนใจมากๆเลยนะครับ

กลยุทธ์ในการจัดพอร์ตการลงทุนโดยกรุงศรี เอ็กซ์คลูซีฟ

โดยปกติแล้วการจัดพอร์ตการลงทุนของนักลงทุนทั่วไปนั้นก็คงจะมองหาทรัพย์สินที่ให้ผลตอบแทนสูงๆและลงทุนกับมันไปโดยอ้างอิงผลตอบแทนในอดีตใช่ไหมครับ แต่ในความเป็นจริงแล้วเราก็คงจะทราบดีว่าทรัพย์สินในแต่ละอย่างย่อมมีผลตอบแทนในแต่ละปีที่ไม่เหมือนกัน อย่างหุ้นบางปีก็ผลตอบแทนสูงมาก บางปีก็ติดลบแบบกลืนไม่เข้าคายไม่ออกกันเลยทีเดียว

หลักการวางแผนทางการเงินและการลงทุนนั้น จึงต้องทำภายใต้ความเชื่อที่ว่า “ไม่มีทรัพย์สินใดที่ให้ผลตอบแทนดีที่สุดตลอดไป” และ “ไม่มีใครสามารถลงทุนด้วยการจับจังหว่ะได้อย่างถูกต้องในทุกครั้ง” แต่การจัดพอร์ตการลงทุน  (Asset Allocation) ที่ดีนั้นจะทำให้สามารถบรรลุเป้าหมายในการลงทุนได้ดีกว่า ถ้าเทียบง่ายๆก็เหมือนการจัดทีมฟุตบอลนะครับ ช่วงที่เศรษฐกิจและการลงทุนดีกองหน้าเราก็ต้องรุกได้เยอะ ช่วงที่ไม่ดีกองหลังเราก็ต้องตั้งรับได้อย่างมีประสิทธิภาพ

สิ่งที่เราจะต้องเข้าใจในการจัดพอร์ตการลงทุนมีหลักๆอยู่ 2 เรื่อง ได้แก่

  1. ทรัพย์สินที่เราลงทุนนั้นคืออะไรความเสี่ยงเป็นอย่างไรและแน่นอนว่าหากเราเลือกทรัพย์สินที่ถูกต้องก็ย่อมจะให้ผลตอบแทนที่ดีในระยะยาวได้
  2. เมื่อเราเลือกทรัพย์สินที่ดีได้แล้วนั้นอีกประการหนึ่งที่ควรให้ความสำคัญคือการดูความสัมพันธ์ระหว่างทรัพย์สินที่ลงทุนด้วย (Correlation) ว่าสอดคล้องหรือผกผันกันอย่างไร ดังตัวอย่างตารางข้างล่างนี้

เราจะเห็นได้ว่าในตารางจะมีตัวเลขสีเขียวและสีแดง ซึ่งบอกความสัมพันธ์ระหว่างทรัพย์สินที่ลงทุนตั้งแต่ -1 ถึง 1 ในกรณีที่ใกล้เคียงกับ 1 นั้นแปลว่ามูลค่าของทรัพย์จะมีความสอดคล้องกันมากในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา กรณีที่ติดลบนั่นหมายความจะตรงกันข้าม ไม่สอดคล้องกัน ตัวอย่างเช่น

MSCI World และ SET Index มีความสัมพันธ์อยู่ที่ 0.671 หมายความว่าเมื่อ หากเราลงทุนในกองทุนดัชนีทั้ง 2 นี้ ในช่วงที่ดีหรือแย่ ผลประกอบการของทั้ง 2 กองทุนดัชนีก็มีแนวโน้มจะไปในทิศทางเดียวกัน

KFSDIV และ Gold มีความสัมพันธ์กันที่ -0.248 นั่นหมายความว่าทิศทางของผลตอบแทนจะไม่เป็นไปในทางเดียวกันเท่าไหร่ เมื่อผลประกอบการกองทุนแย่ลง จะสวนทางกับผลตอบแทนของทองคำ ซึ่งในจุดที่อ้างอิงสถิตินี้ก็ทำให้เรานำมาใช้ในการจัดพอร์ตการลงทุนแบบกระจายความเสี่ยงได้ พร้อมๆกับการใช้กลยุทธ์ในการป้องกันความเสี่ยงด้วย