สวัสดีครับมาพบกันกับผมหมอนัท ที่คลินิกกองทุนแห่งนี้อีกครั้งครับ หลังจากหายหน้าหายตาไปนาน เนื่องจากภารกิจด้านงานหนังสือ และ งานบรรยาย ที่ค่อนข้างรัดตัวมากครับ มากันไม่ขาดสาย แต่ผมก็ยังไม่จากไปไหนนะครับ กลับมาเขียนบทความมัน ๆ อีกครั้ง

วันนี้ไม่ได้มามือเปล่าแน่นอน เอาสิ่งที่ผม ซุ่มเก็บสถิติมาครับ (จริง ๆ ฝากน้องทีมงานเป็นคนช่วยเก็บ 55+) มาบอกเล่าให้กับทุก ๆ คนกันฟังครับ

ผมเชื่อว่าบางคนที่ลงทุนกับกองทุนมาน่าจะรู้จักกองทุนทริกเกอร์ฟันด์ (Trigger Fund) กันอยู่บ้าง และบางคนก็ชอบกองทุนแบบนี้เสียด้วย แต่กองทุนทริกเกอร์ฟันด์นั้น จริง ๆ แล้วจะทำผลตอบแทนได้ดีอย่างที่เราคิดกันหรือไม่ เรามาดูกันครับ

Trigger Fund นั้นถ้าใครยังไม่รู้ว่าคือกองทุนแบบไหน ผมจะอธิบายคราว ๆ แบบนี้ครับ กองทุนทริกเกอร์ฟันด์ คือ กองทุนที่มีบริการขายหน่วยลงทุนแบบอัตโนมัติ ถ้าอัตราผลตอบแทนได้ถึงเป้าหมายตามที่กองทุนคาดการณ์ไว้ เช่น กองทุนดอยแดง ถ้าทำผลตอบแทนจากการลงทุนได้ 5% จะทำการปิดกองทุน และขายหน่วยลงทุนพร้อมกับผลตอบแทน 5% ให้กับนักลงทุนทันทีครับ แต่โดยส่วนใหญ่จะมีการกำหนดระยะเวลาด้วย เช่น กองทุนขึ้นดอยหนาว คาดหวังผลตอบแทนที่ 5 % ใน 6 เดือน ถ้าอย่างใดอย่างหนึ่งถึงก่อนก็จะทำการปิดกองทุน หรือ บางครั้งเมื่อถึงระยะเวลาที่กำหนดแล้วกองทุนยังทำผลตอบแทนไม่ได้ ก็จะเปลี่ยนกลายร่างไปเป็นกองทุนธรรมดาครับ

คนส่วนใหญ่จะชอบกองทุนประเภทนี้มาก เพราะว่าเหมือนกับทาง บลจ. ผู้ออกกองทุนนั้นได้การันตีผลตอบแทนใหักับเรา ซึ่งจริง ๆ ไม่ใช่เลยนะครับ ไม่ได้การันตีผลตอบแทนอะไรเลย และยังมีโอกาสที่จะติดลบได้พอ ๆ หรือมากกว่ากองทุนประเภทอื่น ๆ ครับ

ยิ่งไปกว่านั้น กองทุนประเภทนี้อาจจะทำให้เราเสียโอกาสก็ได้ เนื่องจากว่าถ้าตลาดหุ้นปรับตัวขึ้นต่อเนื่อง ผลตอบแทนจากการลงทุนในกองทุนธรรมดาก็มีสิทธิ์ที่จะมากกว่ากองทุนที่จำกัดผลตอบแทนอย่าง Trigger Fund คือ ถ้าเราลงทุนกับกองทุนรวมทั่วไปก็มีโอกาสได้มากกว่า 5% ของกองทุนขึ้นดอยหนาวนั่นเอง

แต่ในทางกลับกัน กองทุนประเภทนี้ไม่ได้จำกัดความเสี่ยงขาลงให้กับเราด้วยนะครับ  เราขาดทุนได้ไม่ยั้งเลยครับ แบบนี้เข้าข่าย “Limit Gain แต่ไม่ Limit Loss” นั่นเองคร้าบ

ถึงกระนั้นคนก็ยังชอบ เนื่องจากคนไทยเราอาจจะคุ้นเคยกับเงินฝากครับ คือมีผลตอบแทน หรือ ดอกเบี้ยบอกว่าจะให้กี่ %  เลยอยากได้ตามที่กำหนดไว้นั้นเอง

เมื่อเราทราบแล้วว่า กองทุนทริกเกอร์เป็นอย่างไร คราวนี้เรามาดูกันต่อว่า มีอะไรที่มันน่าสนใจ ซึ่งครั้งนี้ผมจะมาทดลองให้เห็นว่าไม่จำเป็นที่เราต้องซื้อกองทุนประเภทนี้ก็ได้ แต่เราจะทำอย่างไรดี เพื่อให้ได้ผลตอบแทนที่ดี โดยวันนี้ ผมจะทำการทดสอบผลตอบแทนของกองทุนทั้ง 3 แบบครับ คือ

  • กองทุน Trigger Fund
  • กองทุนแบบ Active Fund ที่ Active โคตร ๆ คือมีการปรับสัดส่วนหุ้นในกองทุนบ่อย ๆ โดยผมกำหนดอัตราส่วน Turnover ratio ของกองทุนที่มากกว่า 600% ที่ผมเลือกกองทุนแบบนี้มาก็เพราะว่า ผมเชื่อว่ากองทุน Trigger Fund เองก็น่าจะมีการปรับสัดส่วนหุ้นในพอร์ตบ่อย ๆ เช่นกันเพื่อทำให้ผลตอบแทนถึงเป้าหมายได้เร็วขึ้น
  • กองทุนแบบ Passive Fund

( แต่ถ้าใครไม่รู้ว่า Active Fund กับ Passive Fund คืออะไร ต้องอ่านที่นี่ครับ )

การเปรียบเทียบนั้น ผมเน้นแบบง่าย ๆ ไม่คิดอะไรมากมาย โดยกำหนดเวลาลงทุนในกองทุน Passive และ Active พร้อมกันกับ Trigger Fund ที่ออกมานั่นเอง

และถ้ากองทุนTrigger Fund ปิดกองทุนเพราะว่าถึงเป้าหมายแล้ว ผมก็จะวัดผลครับ ว่าผลตอบแทน ของแต่กองทุนไม่ว่าจะเป็น Active Fund หรือ Passive Fund นั้นเป็นอย่างไรบ้าง

ส่วนกองทุนที่ยังไม่ถึงเป้าหมาย ผมกำหนด วันที่สิ้นสุดการทดลองไว้ 13 ต.ค. ครับ

ซึ่งผลตอบแทนที่ได้นั้น ผมได้หักค่าธรรมเนียมไว้เรียบร้อยแล้วครับ ซึ่งค่าธรรมเนียมเป็นดังนี้ครับ

ส่วนค่าธรรมเนียมรายปี หรือ ค่าบริหารจัดการต่าง ๆ ก็รวมอยู่ใน NAV เรียบร้อยแล้ว ดังนั้น ผมจึงใช้แค่ค่าธรรมเนียมซื้อ และขายเท่านั้นครับ

ผลจากการลงทุนเป็นดังตารางด้านล่างนี้ครับ

จะเห็นได้ว่า Trigger Fund ที่ออกมานั้นมี 1 กองทุน (T2) จาก 4 กองทุน ที่ทำผลตอบแทนได้ดี และสามารถถึงเป้าหมายได้ก่อนกำหนด แต่ผลตอบแทนที่ได้นั้น หลังจากหักค่าธรรมเนียมแล้ว ก็ยังแพ้กองทุนแบบ Passive Fund อยู่ดีครับ

ส่วนกองทุน Active Fund นั้นก็ถือว่าทำผลตอบแทนได้ดี แต่ก็ยังไม่สามารถ เอาชนะกองทุนแบบ Passive Fund ได้เลย ในช่วงระยะเวลาที่ผมได้ทดลองดู

และมีเพียง Trigger Fund อยู่เพียงแค่กองทุนเดียวเท่านั้นที่สามารถทำผลตอบแทนได้ดีกว่า Passive Fund และ Active Fund (แต่ก็ยังไม่ถึงเป้าหมายการลงทุนของทริกเกอร์ฟันด์ได้อยู่ดี)

แต่ในส่วนกองทุน Passive Fund นั้นต่อให้ไม่ถึงเป้าหมาย แต่ในระยะสั้น ๆ ก็ยังได้ผลตอบแทนที่ดี และ กองทุนทริกเกอร์ T1,T2 ที่บริหารงานโดยบลจ. T  นั้น ถือว่าทำผลตอบแทนได้ดี รวมถึงจับจังหวะในการลงทุนได้ค่อนข้างกีด้วย แต่ในทางกลับกัน กองทุน S2 นั้น ถึงแม้ว่าจะเลือกจังหวะลงทุนใกล้ ๆ กับ กองทุน T2 แต่ก็ยังได้ผลตอบแทนทีต่ำอยู่ดี แสดงว่าฝีมือในการบริหารงานของกองทุน S2 นั้นสู้กองทุน T2 ไม่ได้

สรุปว่า ถ้าเราอยากจะลงทุนแบบจับจังหวะ หรือ เก็งกำไรระยะสั้น ๆ นั้น อาจจะไม่จำเป็นตัองพึ่งกองทุน ทริกเกอร์ฟันด์ก็ได้ แต่ให้เลือกลงทุนกับกองทุน Passive Fund ธรรมดา โดยให้กำหนดระยะเวลาการลงทุนเท่า ๆ กับกองทุน Trigger Fund นั่นเองครับ

พูดง่าย ๆ ว่า ให้เราซื้อกองทุน Passive Fund ตามจังหวะที่ บลจ. ออกกองทุน Trigger Fund ออกมานั่นเองครับ ซึ่งผมคิดว่าอย่างน้อย ๆ ก็น่าจะทำผลตอบแทนได้ดีอีกด้วย

ดังนั้น เราจะเห็นว่า กองทุนแบบ passive fund นั้น ถ้าใครอาจจะเล่นเก็งกำไรกับกองทุน ก็น่าจะเป็นอะไรที่เหมาะสมมาก ๆ แต่กองทุน Active Fund ทั่วไปไม่เหมาะ (เพราะว่ามีค่าธรรมเนียมที่แพงด้วย) และแทนที่เราจะเอาเวลา เอาเงินไปทุ่มกับ Trigger Fund แล้วละà