ด้วยเทคโนโลยี ความก้าวหน้าในปัจจุบัน ทำให้โลกทั้งใบเชื่อมโยงกันง่ายมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการคมนาคมเดินทาง การรับรู้ข่าวสาร หรือแม้กระทั่งการลงทุน ตัวอย่างเช่นตอนปี 2015 เกิดวิกฤตราคาน้ำมันดิบตกต่ำ หุ้นที่ไม่น่าเกี่ยวข้องกับราคาน้ำมันอย่างหุ้นของโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ (BH) ก็โดนหางเลขไปด้วย

เพราะกลุ่มลูกค้าส่วนใหญ่มาจากประเทศตะวันออกกลาง ที่ได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมันไปเต็มๆ จะเห็นได้ว่าโลกการลงทุนเชื่อมโยงกับปัจจัยและเหตุการณ์ต่างๆ ในโลกอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ การเชื่อมโยงนี้ทำให้นักลงทุนต้องสนใจ ติดตามข่าวสาร เหตุการณ์ต่างๆ ทั้งในประเทศ และต่างประเทศ เพื่อดูแนวโน้ม และปัจจัยที่อาจส่งผลต่อโลกการลงทุน 

ในส่วนของสถาบันการเงินนั้น ก็มีการปรับตัวเช่นกัน หากย้อนกลับไปเมื่อปี 2013 ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ธนาคารพาณิชย์ชั้นนำของประเทศไทย ได้จับมือกับ MUFG หรือ Mitsubishi UFJ Financial Group กลุ่มสถาบันการเงินที่มีขนาดใหญ่ติด 1 ใน 5 ของโลก ที่มีสินทรัพย์ในเครือทั้งหมดรวมมากกว่า 2.7 ล้านล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ มีเครือข่ายสำนักงานกว่า 2,300 แห่งในกว่า 50 ประเทศทั่วโลก

ด้วยความเชี่ยวชาญทางการเงินและเครือข่ายที่แข็งแกร่งระดับโลก นำมาสู่คำถามที่ว่าการจับมือกันระหว่าง Krungsri และ MUFG ครั้งนี้ จะช่วยติดปีกการลงทุนให้เราอย่างไรได้บ้าง ในฐานะที่เป็นลูกค้ากรุงศรีด้วยตนเอง วันนี้ลงทุนศาสตร์จึงมาขอเล่าถึงข้อดีของการเป็นลูกค้ากรุงศรีกับโอกาสการลงทุนในกองทุนให้ฟังครับ

อย่างที่เกริ่นไปว่าการที่กรุงศรีผนึกกำลังกับ MUFG นั่นคือโอกาสในการลงทุนครับ โดยเฉพาะกองทุนที่น่าสนใจและสามารถซื้อผ่านกรุงศรีได้โดยตรง นั่นคือ กองทุน KF-JPSCAPD หรือ กรุงศรีเจแปนสมอลแคปอิควิตี้ปันผล นั่นเองครับ

กองทุน KF-JPSCAPD เป็นกองทุนที่มีนโยบายลงทุนผ่านกองทุนหลัก คือ MUFG Japan Equity Small Cap Fund ซึ่งมีสัดส่วนลงทุนเฉลี่ยรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่า 80% ของ NAV มีความเสี่ยงระดับ 6 และมีนโยบายจ่ายเงินปันผล โดยกองทุนหลักจะเน้นลงทุนในหุ้นขนาดเล็กที่มีศักยภาพเติบโตสูง เช่น TOSHO , MJC , TSUKUI เป็นต้น เพราะหุ้นกลุ่มนี้สามารถสร้างผลตอบแทนได้เหนือกว่าตลาดโดยรวม มีความผันผวนตํ่ากว่า และยังถูกมองข้ามด้วยข้อจำกัดในการเข้าถึงข้อมูล

อีกหนึ่งความน่าสนใจคือ กองทุนประวัติผลการดำเนินงานที่โดดเด่นจากกลยุทธ์การลงทุนที่แตกต่าง โดยทีมผู้จัดการกองทุนจะเฟ้นหาบริษัทที่เป็นผู้นำทำงธุรกิจโดยการทำความเข้าใจถึงโครงสร้างอุตสาหกรรม และลักษณะธุรกิจของแต่ละบริษัทให้ครอบคลุมทั้งวัฎจักร อีกทั้งทีมผู้จัดการกองทุนอยู่ในโตเกียว ซึ่งช่วยให้สามารถเข้าถึงข้อมูลได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว

หากเพื่อนๆ สนใจก็ลองไปศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ในเว็ปไซต์ : https://bit.ly/2M0MTMQ หรือ ติดต่อธนาคารกรุงศรี สาขาใกล้บ้านได้เลย

ยิ่งไปกว่านั้น หากเราลงทุนที่ธนาคารกรุงศรีมากกว่า 5 ล้านบาทขึ้นไป เราก็จะได้รับเอกสิทธิ์สิทธิประโยชน์ที่หลากหลายทั้งทางด้านการเงินและไลฟ์สไตล์จาก KRUNGSRI EXCLUSIVE นอกจากเรื่องกองทุนที่คัดสรรมาเฉพาะที่ Krungsri แล้ว ยังมีเรื่องงานสัมมนาระดับโลกที่ Krungsri จัดประจำเป็นทุกปี KRUNGSRI EXCLUSIVE Economic and Investment เป็นงานสัมมนาที่เชื่อมโยงมุมมองเศรษฐกิจและการลงทุนระดับโลกเข้ากับมุมมองเจาะลึกตลาดภายในประเทศ เพื่อให้นักลงทุนเข้าใจทิศทางการลงทุนในภาพกว้าง อย่างเช่นครั้งที่ผ่านมา ด้วยเครือข่ายของ Krungsri-MUFG มีผู้เชี่ยวชาญระดับโลกจาก Morgan Stanley Investment Management มาร่วมบรรยายถ่ายทอดมุมมองด้วย เพื่อเสริมความรู้ ติดอาวุธให้กับนักลงทุนโดยเฉพาะ

นอกจากเรื่องของการลงทุนแล้ว สำหรับคนที่เป็นเจ้าของธุรกิจ การเป็นพันธมิตรระหว่างกรุงศรี และ MUFG ยังสามารถเชื่อมโยงธุรกิจของเราให้สามารถต่อยอดขยายตลาดไปยังต่างประเทศได้ง่ายขึ้นผ่านกิจกรรม Business Matching ซึ่งเป็นงานที่รวบรวมความหลากหลายทางธุรกิจจากไทย ญี่ปุ่น และประเทศต่างๆ ในเอเชีย เข้าไว้ในงานเดียว เพื่อให้เกิดการเจรจาจับคู่ธุรกิจ เป็นโอกาสในการสร้างการเติบโตในตลาดต่างประเทศ และด้วยความร่วมมือนี้ Krungsri จะเป็นตัวช่วยให้คุณออกไปสู่โลกกว้างได้ง่ายขึ้น

จะเห็นได้ว่าโลกทั้งใบเชื่อมโยงกันมากขึ้น โลกการลงทุน โลกการค้าก็เป็นเรื่องใกล้ตัว ด้วยความเชี่ยวชาญทางการเงินและเครือข่ายระดับโลกของ Krungsri กับ MUFG เปลี่ยนเรื่องการเงินที่ซับซ้อนเป็นเรื่องที่ทุกคนเข้าใจ ทำให้คุณเข้าถึงโอกาสทางการเงินระดับโลกได้ง่ายขึ้น

เสมือนย่อโลกทั้งใบไว้ในมือคุณ

ลงทุนศาสตร์ – Investerest

ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทนและความเสี่ยง ก่อนตัดสินใจลงทุน

*ผลการดำเนินงานในอดีตของกองทุนรวม มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต

*กองทุน KF-JPSCAPD ลงทุนกระจุกตัวในประเทศญี่ปุ่น ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย

*กองทุน KF-JPSCAPD อาจทำสัญญาป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินในหลักทรัพย์สกุลเงินตราต่างประเทศที่กองทุนถืออยู่ โดยขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของบริษัทจัดการ ซึ่งอาจมีต้นทุนสำหรับการทำธุรกรรมฯ โดยทำให้ผลตอบแทนของกองทุนโดยรวมลดลงจากต้นทุนที่เพิ่มขึ้น และในกรณีที่ไม่ได้ทำสัญญาป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนเงิน ผู้ลงทุนอาจขาดทุนหรือได้รับผลกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนเงิน หรือได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้ ทั้งนี้ โดยปกติกองทุนจะป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนเฉลี่ยร้อยละ 90 ของมูลค่าเงินลงทุนในต่างประเทศ

บทความนี้เป็น Advertorial