ช่วงนี้มีคนเข้ามาถามเรื่องกองทุนหุ้นกับผมอยู่บ่อย ๆ รวมถึงกองทุน LTF และ RMF ด้วย

ดังนั้นวันนี้เราจะมาพูดถึงกองทุน LTF กันก่อนนะครับ

ผมคงไม่ลงลึกถึงเรื่องเงื่อนไขของ LTF มากนักนะครับ เนื่องจากผมคิดว่าจะเขียนบทความแยกถึง LTF และ RMF อยู่แล้วครับ

แต่ก็ขอบอกเงื่อนไขเล็กน้อย กับ ความหมายของ LTF เพื่อที่มือใหม่บางท่านจะได้อ่านแล้วไม่สับสนกันครับ

กองทุน LTF ย่อมาจาก Long Term Equity Fund หรือ กองทุนรวมหุ้นระยะยาว

ซึ่งเป็นกองทุนรวมประเภทหนึ่งที่ให้สิทธิผู้ลงทุนนำเงินลงทุนในแต่ละปีมาใช้ลดหย่อนภาษีได้ด้วย (โอ้ว !!)

โดย วัตถุประสงค์ของกองทุนนี้จริง ๆ แล้วก็คือ ต้องการให้ตลาดหุ้นมีเสถียรภาพมากขึ้น

โดยการเพิ่มจำนวนผู้ลงทุนรายย่อยในประเทศนั่นเอง อย่างในประเทศพัฒนาแล้วหลายประเทศ

เช่น สหรัฐ หรือ ยุโรปเอง คนส่วนใหญ่ก็จะเก็บออมเงินไว้ในหุ้น

ดังนั้นตลาดต่างประเทศส่วนใหญ่จะค่อนข้างที่จะมีเสถียรภาพมากกว่าตลาดบ้านเรา

ทางตลาดหลักทรัพย์คงเห็นถึงจุดนี้จึงให้กำเนิด LTF ขึ้นมาครับ

โดยใช้ภาษีเป็น Promotion ให้กับเรานั่นเองครับ (ซื้อบ้าน แถมรถ เน้อ)

คราวนี้เรามาดูว่า เงินลงทุนใน LTF มีเงื่อนไขอะไรบ้าง

1. ลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 15% ของรายได้ในแต่ละปี แต่ต้องไม่เกิน 500,000 บาท

2. ซื้อมาปีไหน จะได้ลดหย่อนภาษีปีนั้นทันที

3. ต้องถือครองเป็นเวลา 5 ปี ปฏิทิน (คือ เปิดปฏิทินนับกันง่าย ๆ เลยครับ ไม่ต้องนับวันให้เหนื่อย)

4. เป็นกองทุนหุ้น (ชื่อก็บอกอยูแล้ว) โดยเงื่อนไขของกองทุนคือต้องมีการถือครองตราสารทุน

ไม่ต่ำกว่า 65% ของมูลค่าหน่วยลงทุนทั้หมด (NAV) เอาละซิเริ่มมีตัวประหลาด ๆ เข้ามาเกี่ยว

ถ้าจะให้พูดง่าย ๆ คือ กองทุนนี้ต้องลงทุนในหุ้นในสัดส่วนที่มากกว่า 65 % นั่นเองครับ

แสดงว่ามีความเสี่ยงในระดับปานกลางค่อนไปทางสูง เพราะบางกองทุนก็มีหุ้น เกือบ 100 % นะครับ

แต่ทว่าการซื้อกองทุนนั้น อย่างที่ทุกท่านทราบ(หากติดตามอ่านบทความเก่า ๆ) ว่า กองทุนนั้นผลตอบแทนจะขึ้นกับสินทรัพย์

หรือหุ้น (ซึ่งในกรณีของ LTF คือหุ้น )ที่เราเข้าไปลงทุนด้วย ดังนั้นการเลือกกองทุนที่ดี ก็เป็นปัจจัยหลัก ที่จะทำให้ผลตอบแทนของเราสูงขึ้น

คราวนี้บทความผมคงไม่ได้เขียนเฉพาะความหมายของ LTF เท่านั้นนะครับบบบบบบบบบบบบบ

ผมมีหลักการง่าย ๆ ในการเลือก LTF ดังนี้ครับ

1. เลือกกองทุนที่มีนโยบาย และกลยุทธ์ที่ดี ที่สำคัญ ต้องถูกใจเราด้วย

ซึ่งเดี๋ยวเรามาดูกันว่าแต่ละกองทุนจะมีข้อแตกต่างกันอย่างไร

2. เลือกกองทุนที่ให้ผลตอบแทนที่สม่ำเสมอ

แน่นอนว่าคงไม่มีใครที่ต้องการกองทุนที่ทำผลตอบแทนได้ดีเพียงแค่ 1 ปีเท่านั้นใช้ไหมครับ เพราะต้องอยู่กับ LTF ไปถึง 5 ปีนะครับ

3. มีความเสี่ยงที่เหมาะกับผู้ลงทุน คือเรารับความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นกับกองทุนนั้น ๆ ได้

4. ค่าธรรมเนียมที่เหมาะสม ที่ต้องบอกว่าเหมาะสมเพราะ บางครั้งกองทุนที่เราเลือกนั้นอาจจะเสียค่าธรรมเนียมแพง

แต่ถ้ากองทุนทำผลตอบแทนให้เราเป็นที่น่าพอใจแล้วละก็ มันก็คุ้มครับที่จะจ่ายให้กับผู้จัดการกองทุนที่ทำผลงานได้ดี

คิดซะว่าเป็นค่าหมอ ค่ายา ค่านวดปวดไมเกรน ให้ผู้จัดการกองทุนละกันครับ

5. อย่าเลือกซื้อเพราะ Promotion ล่อตาล่อใจ ต้องดูผลการดำเนินงานด้วยครับ เพราะปลายปี หลายๆ ที่จะมี Promotion ที่มาบดบังความคิดของเราครับ 55+

6.  ไม่มี...........จะเขียนทำไม....

7. โปรดดูเงื่อนไขภาษีก่อนลงทุนโดยเฉพาะกองทุนที่มีปันผลครับ ..... แล้วทำไมไม่เขียนแค่ 6 ข้อ......

คราวหน้าเรามาดูกองทุน LTF สุดเทพ 5 กองทุนกัน ว่าแต่ละกองทุนเป็นอย่างไรบ้างนะครับ