ผมเชื่อเลยว่าในช่วงสัปดาห์สุดท้ายของปีนี้ ใครหลาย ๆ คน พอรู้ข่าวว่า หุ้นกำลังตกอย่างรุนแรง พนักงานประจำที่ทำงานแล้วกำลังจะได้โบนัสในช่วงสิ้นเดือนนี้ หรือนักลงทุนที่ยังมีเงินเหลือ (ถ้ายังมีนะ……(T-T)…...) คงกำลังจะรีบหากองทุน LTF หรือ RMF มาลดหย่อนในช่วงสุดท้ายของปีอย่างแน่นอน

ยิ่งบางคนที่เป็น Freelance ก็เพิ่งจะคำนวนเงินภาษีของตนเองว่าจะต้องเสียเท่าไหร่ ก็เลยเพิ่งจะมีเวลามาซื้อ หรือ บางคนก็ขี้เกียจซื้อกองทุนบ่อย ๆ ก็คิดว่า ซื้อทีเดียวทีมันปลายปีเลยละกัน

ซึ่งผมบอกเลยว่า จริง ๆ แล้วการซื้อกองทุน LTF/RMF ที่ดีเราก็ควรที่จะมีการวางแผนมาก่อนหน้านี้ ไม่ใช่ว่ามีซื้อกันตอนสิ้นปีนะครับ เนื่องจากว่า เราอาจจะไม่โชคดีแบบนี้ทุกปีที่ ซื้อกองทุน LTF/RMF สิ้นปีแล้วมีโอกาสได้ราคาที่ถูกกว่าทยอยซื้อทั้งปี หรือ ซื้อตอนต้นปี

และ การซื้อปลายปีแล้วได้ราคาที่ถูก ก็ไม่แน่ว่าเดือนมกราคม ก็อาจจะเจอราคากองทุนที่ถูกกว่าก็เป็นไปได้ครับ ดังนั้นถ้าจะให้ดี เราก็ควรที่จะทยอยซื้อทุก ๆ เดือนครับ

ส่วนคนที่ทำอาชีพอิสระ ก็อาจจะต้องวางแผนการซื้อให้มากกว่าคนทั่วไป เช่น คิดเงินที่ต้องซื้อขั้นต่ำทั้งปี จากนั้นก็ซื้อทุกเดือนเหมือนคนอื่น ๆ แต่ในส่วนรายได้ที่เกินกว่าที่คาดการณ์ไว้ ก็อาจจะจับจังหวะตอนที่หุ้นลงเยอะ ๆ ซื้อเพิ่มเติมเข้าไปครับ ก็น่าจะช่วยให้ลดหย่อนภาษีได้พอสมควร

และการซื้อปลายปีแบบนี้ก็มีความเสี่ยงด้านการให้บริการของธนาคารครับ เพราะว่าคนแห่กันมาซื้อปลายปีแบบนี้ เราอาจจะได้คำแนะนำจากธนาคาร หรือ บลจ. ได้ไม่เต็มร้อย หรือ ซื้อไม่ทัน เนื่องจากว่าพนักงานเองก็ต้องรีบทำรายการ และส่งคำสั่งซื้อขายให้กับหลาย ๆ คนนั่นเองครับ

คราวนี้เรามาเข้าเรื่องหลักของเราดีกว่าครับ เพื่อให้ไม่เป็นการเสียเวลา บทความนี้ได้รวบรวมกองทุน LTF/RMF ที่เข้าตา และผมคิดว่าน่าจะให้ผลตอบแทนที่ดีได้ในระยะยาว ๆ ครับ

โดยส่วนใหญ่ผมจะเลือกจากผลตอบแทนย้อนหลังระยะยาวที่ดีเป็นหลัก ซึ่งผมถือว่า ถ้ากองทุนไหนทำผลตอบแทนได้ดีก็น่าจะทำผลตอบแทนได้ดีอย่างต่อเนื่อง แต่ทั้งนี้ ผลตอบแทนในอดีตก็ไม่ได้การันตี ผลตอบแทนในอนาคตนะครับ แต่เอาเป็นว่า กองทุนเหล่านี้ก็มีแนวโน้มที่ดีในอนาคตละกัน

ส่วนเรื่องของความเสี่ยง หรือ ความผันผวนนั้น ขึ้นกับนักลงทุนครับ ว่าจะรับความเสี่ยงได้มากหรือว่าน้อย เพราะว่ากองทุนที่มีความผันผวนเยอะ แต่สามารถทำผลตอบแทนได้ดีก็มีนะครับ แต่เราจะรับช่วงที่ผันผวนได้ หรือไม่ ก็คงต้องขึ้นกับสไตล์การลงทุนของเรา และ ความชอบครับ (รู้ว่าเสี่ยงแต่คงต้องขอลอง)

ค่าธรรมเนียมเองก็มีผลมากต่อการลงทุนระยะยาว ๆ ด้วยเช่นกันครับ ดังนั้น ถ้าเป็นไปได้ เราก็ควรที่จะเลือกกองทุนที่มีค่าธรรมเนียมไม่แพง โดยเฉพาะค่าธรรมเนียมที่เรียกเก็บจากกองทุน หรือ Total expense ratio เพราะว่า ค่าธรรมเนียมนี้จะเรียกเก็บทุกวันครับ รวมอยู่ใน NAV เรียบร้อยแล้ว (ถึงจะเป็น x.xx% ต่อปี ดูเหมือนจะน้อยแต่ก็เก็บทุกวันนะครับ)

เรามาดูกันที่กองทุน LTF กันก่อน เริ่มจากแบบที่เป็นหุ้นล้วน ๆ กันก่อนเลยครับ กองทุนที่ดูดี และเข้าตาผมก็มีประมาณ 6 กองทุนครับ คือ 1. ABLTF 2.BLTF 3. CGLTF 4.MS-CORE LTF 5.PLTF 6.One SG-LTF

แต่ผมจะเอามาพูดคุยกันประมาณ 3 กองทุน เนื่องจากมีหน้ากระดาษมีน้อย และคิดว่า 3 กองทุนนี้น่าจะตอบโจทย์แนวการคัดเลือกการลงทุนได้พอสมควรครับ ส่วนเวลาที่ผมเลือกกองทุนนั้น ก็จะดูปัจจัยหลาย ๆ อย่าง ถ้าใครอยากทราบว่าเป็นอย่างไร ก็สามารถดู ตัวอย่างที่ผมเคยคัดเลือกกองทุนไว้แล้วตามนี้ครับ

แต่การเลือกกองทุนคงดูแค่ ผลตอบแทน ความเสี่ยง และค่าธรรมเนียม ไม่ได้อาจจะต้องดูถึงสไตล์การลงทุนของแต่ละกองทุนด้วยนะครับ

เช่น ถ้าใครชอบกองทุนที่เลือกหุ้นพื้นฐานดี ถือนาน ๆ ไม่มีการปรับพอร์ตการลงทุนบ่อย ๆ ก็อาจจะต้องเลือกกองทุน ABLTF, BLTF ครับ ส่วนถ้าใครชอบ กองทุนที่ปรับเปลี่ยนหุ้นเร็ว ความผันผวนสูง แต่ให้ผลตอบแทนดีก็ต้องเป็น CG-LTF และถ้าใครชอบกองทุนที่หาหุ้นเติบโต ลงทุนตามธีมของตลาด ก็อาจจะต้องพิจารณา PLTF ครับ

คราวนี้เรามาดูกองทุน LTF ที่มีความเสี่ยงน้อยกว่ากลุ่มแรก คือ กองทุน กลุ่ม 70/30 หรือ กองทุน LTF ที่มีหุ้นอยู่ประมาณ 70 % ของพอร์ต ที่เหลือเป็น ตราสารหนี้  หรือ บางครั้งเราอาจจะเห็นเป็นสินทรัพย์ความเสี่ยงต่ำอื่น ๆครับ ดังนั้นก็จะเหมาะกับนักลงทุนที่ไม่ชอบความเสี่ยงที่สูงมากเกินไปนั่นเอง

โดยในกลุ่มนี้กองทุนที่ทำผลตอบแทนได้ดีที่สุด ถึงแม้ว่าความเสี่ยงจะค่อนข้างสูงกว่ากองทุนอื่น ๆ แต่ผมว่า โดยรวม ๆ แล้วกองทุนที่น่าสนใจมาก ๆ ในกลุ่มก็ได้แก่ กองทุน 70/30-D LTF ของ ยูโอบีนั้นเองครับ ทั้งนี้ก็น่าจะเป็นเพราะว่าสไตล์การบริหารของที่นี่ ที่มีการปรับหุ้นค่อนข้างไว้ ทำให้ในปีที่แย่ ๆ อย่างปีปัจจุบัน กองทุนนี้ก็สามารถที่จะลดพอร์ตปรับตัวได้เร็ว รวมถึงมีการเลือกลงทุนในตราสารหนี้ เป็นสัดส่วนมากกว่าที่เหลืออีก 2 กองทุนที่มีสัดส่วนของเงินสด มากกว่าที่จะเลือกลงทุนในตราสารหนี้นั่นเอง

ส่วนทางกองทุนของกรุงศรีนั้น จะมีสไตล์การลงทุนที่ต่างออกไปจาก 2 กองทุนแรกครับ คือ เน้นหุ้นปันผลเสียเป็นส่วนใหญ่ ถ้าใครชอบหุ้นปันผลดี ๆ กรุงศรีเองก็มีหุ้นในพอร์ตเยอะครับ ถ้าชอบสไตล์หุ้นพื้นฐานดี มีปันผลก็คงต้องเลือกที่นี่

ส่วนกองทุนที่ผมว่าดำเนินงานได้ดี แต่ผมไม่ได้นำมาเปรียบเทียบด้วย เพราะว่ามีสัดส่วนไม่เหมือนกัน จึงไม่ได้เอามาอยู่ในกลุ่มนี้ ก็คือ BLTF75 ซึ่งสัดส่วนจะเป็น 75% หุ้น อีก 25% เป็นสินทรัพย์เสี่ยงต่ำ ถึงจะไม่ได้อยู่ในกลุ่มเดียวกัน แต่ผมบอกเลยว่า ถ้าเราเพิ่มความเสี่ยงได้อีกนิด กองทุนนี้เป็นกองทุนที่น่าลงทุนเช่นเดียวกันครับ เพราะว่าทำผลตอบแทนได้ค่อนข้างดีพอสมควรเลย และที่สำคัญคือ ค่าธรรมเนียมถือว่าถูก อีกด้วย ขั้นต่ำก็ไม่แพงอีกด้วยครับ

เรามาต่อกันที่กองทุน RMF กันบ้างครับ เริ่มจากกองทã