ใครๆ ก็อยากมีชีวิตเกษียณที่แสนสุข

นอกจากสุขภาพกายที่ต้องแข็งแรงและสุขภาพใจที่ต้องปลอดโปร่งแล้ว สุขภาพทางการเงินก็เป็นอีกสิ่งที่แสนสำคัญและละเลยไม่ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงวัยที่เราจะไม่ได้ทำงานมีรายได้แบบตอนหนุ่มสาวอีกต่อไปแล้ว

การวางแผนการเงินเพื่อใช้จ่ายสำหรับวัยเกษียณถือเป็นเรื่องสำคัญมากสำหรับยุคปัจจุบัน ประเทศไทยกำลังค่อยๆ เปลี่ยนเทรนด์มาเป็นครอบครัวเดี่ยวกันมากขึ้น การเตรียมเงินสำหรับชีวิตบั้นปลายของตนเองให้พร้อมจึงเป็นเรื่องที่ต้องใส่ใจ ความหวังที่จะได้รับเงินส่งเสียจากลูกหลานควรจะมองเป็นเหมือนโบนัส มากกว่าจะยึดถือเป็นรายได้ประจำที่มั่นคง

แล้วเราจะเตรียมตัววางแผนการเงินสำหรับการเกษียณอย่างไรได้บ้าง?

ชีวิตหลังเกษียณถือเป็นอีกหนึ่งช่วงเวลาที่สำคัญ บางครั้ง...ไลฟ์สไตล์ที่ฝันไว้ในวัยหนุ่มสาวที่ล่าช้าออกไปยังสามารถเป็นจริงได้ เราเคยตั้งคำถามกับตัวเองบ้างไหมว่า บั้นปลายชีวิตเราอยากทำอะไร? เราอยากไปไหน? เราอยากมีชีวิตยังไง? คำตอบเหล่านี้เป็นจริงได้หากเรามีการวางแผนการเงินที่ดีพร้อม

แน่นอนว่ารายได้ในวัยเกษียณนั้นก็มีหลากหลายรูปแบบแตกต่างกันออกไป หลายคนเลือกวางแผนเกษียณด้วยกองทุนรวม, หลายคนเลือกวางแผนด้วยตราสารหนี้, หลายคนเลือกหุ้น, หลายคนเลือกอสังหาริมทรัพย์ ตามแต่ไลฟ์สไตล์และความชอบของแต่ละคนที่แตกต่างกันออกไป 

อีกวิธีหนึ่งที่นิยมในการวางแผนการเกษียณคือ การทำ “ประกันชีวิตแบบบำนาญ” ซึ่งเป็นการทำประกันชีวิตในช่วงเวลาก่อนเกษียณ และรอรับผลตอบแทนเป็นเงินในช่วงหลังเกษียณตามจำนวนปีที่กำหนด ทั้งยังได้รับความคุ้มครองชีวิต และที่สำคัญไม่มีความเสี่ยงที่ควบคุมไม่ได้เหมือนการลงทุนในรูปแบบอื่นๆที่กล่าวมาข้างต้น

โครงการเมืองไทย Return Retire คือประกันชีวิตที่จะรับประกันรายได้ในยามเกษียณ

จุดเด่นของโครงการเมืองไทย Return Retire คือ การจ่ายเบี้ยประกันภัยสั้นเพียง 5 ปี แต่ได้รับเงินบำนาญปีละ 20%(3) ตั้งแต่ปีกรมธรรมที่ครบอายุ 60 – 85 ปี รวมสูงสุด 520%(3) ซึ่งสามารถช่วยรับประกันรายได้ในยามเกษียณได้อีกทางหนึ่ง นับว่าได้รับทั้งเงินบำนาญทุกปีและความคุ้มครองชีวิตควบคู่ไปด้วย ซึ่งถือเป็นจุดเด่นอย่างมากของประกันชีวิตแบบบำนาญแบบนี้ ดังนั้น หากใครต้องการความมั่นคงสูง มีรายได้ช่วงหลังเกษียณพร้อมความคุ้มครองชีวิต ประกันชีวิตแบบบำนาญถือเป็นอีกหนึ่งคำตอบที่ตรงโจทย์การวางแผนทางด้านการเงินสำหรับนักลงทุนที่ไม่ประมาทในการใช้ชีวิตอย่างแท้จริง

นอกจากนี้ ยังสามารถสมัครได้โดยไม่ต้องตรวจสุขภาพ(1) ทั้งยังใช้สิทธิ์หักลดหย่อนภาษีได้ตามหลักเกณฑ์ของกรมสรรพากร สูงสุดไม่เกิน 300,000 บาทต่อปี(2) เรียกได้ว่าเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยเติมฝันช่วงวัยเกษียณที่ดีทีเดียว

สำหรับรายละเอียดความคุ้มครองเบี้ยประกัน เงินบำนาญ สามารถติดต่อกับตัวแทนหรือติดต่อโดยตรงกับเมืองไทยประกันชีวิตเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือวางแผนได้เลย

พิเศษสุด ! ตอนนี้โครงการเมืองไทย Return Retire มีโปรโมชัน 2 ต่อสำหรับผู้ที่สมัครอีกด้วย

หากสมัครโครงการเมืองไทย Return Retire ภายในวันที่ 31 ธันวาคมนี้ และชำระเบี้ยประกันภัยรายปีรวมตั้งแต่ 25,000 บาทขึ้นไปต่อกรมธรรม์ ต่อที่ 1 รับบัตรของขวัญ Starbucks มูลค่า 300 บาท และต่อที่ 2 ร่วมลุ้นทองคำแท่งหนัก 1 บาท จำนวน 67 รางวัล และบัตรของขวัญเทสโก้โลตัส มูลค่า 1,000 บาท จำนวน 100 รางวัล ใครที่สนใจอยู่แล้วก็อย่าลืมสมัครภายในสิ้นปีนี้เท่านั้น 

หากใครสนใจอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมหรือต้องการวางแผนบำนาญกับโครงการเมืองไทย Return Retire สามารถเข้าไปอ่านข้อมูลได้ที่ www.muangthai.co.th/product/detail/return_retire หรือจะโทรสายตรงไปที่คอลเซนเตอร์ 1766 ก็สะดวกรวดเร็ว

สิทธิ์ในการลดหย่อนภาษีถือเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่มองข้ามไม่ได้เลยสำหรับการทำประกันชีวิต เพราะถือว่าเป็นผลตอบแทนที่ได้รับคืนทันทีในปีที่ชำระเบี้ย โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่มีฐานภาษีสูง เช่น ผู้ที่มีเงินเดือนสูง หรือเจ้าของกิจการ SME การลดหย่อนภาษีจากตรงนี้อาจมีมูลค่าสูงไปตามฐานภาษีที่สูงถึง 20% ขึ้นไปต่อปีเลยทีเดียว

หากอยากเกษียณสุขใจมีเงินใช้ ต้องเริ่มวางแผนการเงินตั้งแต่วันนี้นะจ๊ะ!

หมายเหตุ:

(1) ผู้ซื้อต้องแถลงเกี่ยวกับสุขภาพในใบคำขอเอาประกันภัย และการแถลงสุขภาพเป็นปัจจัยหนึ่งในการพิจารณารับประกันภัย หรือพิจารณาการจ่ายเงินตามสัญญาประกันภัย

(2) โดยใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้เท่าที่จ่ายเป็นเบี้ยประกันภัย

  • สำหรับเบี้ยประกันชีวิต ตามจำนวนเงินที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 100,000 บาท
  • สำหรับเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ ในอัตราร้อยละ 15 ของเงินได้พึงประเมินซึ่งต้องเสียภาษีในแต่ละปี แต่ไม่เกิน 200,000 บาท ทั้งนี้รวมกัน ใช้สิทธิได้ตามที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 300,000 บาท

(3) เป็น % ของจำนวนเงินเอาประกันภัย ณ วันเริ่มสัญญา

- เงื่อนไขเป็นไปตามที่บริษัทฯ กำหนด

- ใบอนุญาตจับสลากเลขที่ 2008/2561

- โปรดศึกษารายละเอียด ความคุ้มครองและข้อยกเว้นก่อนตัดสินใจทำประกัน

ลงทุนศาสตร์ - Investerest

บทความนี้เป็น Advertorial