ในธุรกิจสถาบันการเงิน ธนาคารพาณิชย์อาจนับได้ว่าเป็นตัวกลางที่สำคัญที่สุด เพราะเป็นผู้ที่นำพาผู้กู้และผู้ให้กู้มาพบเจอกัน แต่สำหรับบริการสินเชื่อของธนาคารนั้น ไม่ใช่ทุกคนที่จะมีโอกาสเข้าถึงสินเชื่อจากธนาคารได้ เพราะการขอสินเชื่อกับสถาบันการเงินรายใหญ่อาจมีข้อจำกัดบางประการและไม่ใช่ทุกคนที่จะมีคุณสมบัติครบถ้วน เช่น การมีรายได้และเงินหมุนเวียนที่ไม่แน่นอนและมีข้อมูลประวัติทางการเงินที่จำกัด เป็นต้น

แล้วถ้าเป็นคนที่ไม่สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนจากธนาคารพาณิชย์หรือสถาบันการเงินได้ พวกเขาจะสามารถหาเงินทุนได้จากไหน? หากพวกเค้าเหล่านั้นไม่มีทางเลือกหรือโอกาส อาจถึงขั้นต้องกู้ยืมเงินนอกระบบที่เจอกับการคิดดอกเบี้ยมหาโหด

คำถามคือ จะมีใครบ้างที่สามารถช่วยให้กลุ่มประชากรส่วนใหญ่ของประเทศที่อาจมีข้อจำกัดในการเข้าถึงแหล่งเงินทุน ได้รับโอกาสในการเข้าถึงบริการทางการเงินที่รวดเร็ว สะดวก และไม่ซับซ้อน ด้วยเป้าหมายที่จะปฏิบัติต่อลูกค้าอย่างโปร่งใสและเป็นธรรม นี่จึงเป็นที่มาของ บริษัท เงินติดล้อ จำกัด (มหาชน) หรือ TIDLOR ที่กำลังจะเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ เร็ว ๆ นี้

บริษัท เงินติดล้อ จำกัด (มหาชน) หรือ TIDLOR เป็นผู้ให้บริการทางการเงินที่ไม่ใช่ธนาคารพาณิชย์ ที่มีส่วนแบ่งตลาดอันดับ 1 ในธุรกิจสินเชื่อที่มีทะเบียนรถเป็นประกันในประเทศไทย(1) ซึ่งนอกจากจะเป็นผู้นำในตลาดดังกล่าวแล้ว เงินติดล้อยังเป็นหนึ่งในผู้นำ 3 รายแรกในประเทศไทยในธุรกิจนายหน้าประกันภัยที่จัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ประกันวินาศภัยให้แก่รายย่อย(2) และมีอัตราการเติบโตอย่างก้าวกระโดดอีกด้วย

เงินติดล้อมีทีมงานที่มีประสบการณ์ในธุรกิจสินเชื่อกว่า 30 ปี บริหารงานโดยคณะผู้บริหารและทีมงานมืออาชีพที่มากด้วยประสบการณ์ ภายใต้แนวคิดการสร้างโอกาสทางการเงินที่เป็นธรรมและโปร่งใส ทำให้ลูกค้ามั่นใจได้ว่าเงินติดล้อให้บริการด้วยความจริงใจ จึงไม่ต้องแปลกใจที่ปัจจุบันเงินติดล้อสามารถมีส่วนแบ่งตลาดเป็นเบอร์ 1 ในธุรกิจสินเชื่อที่มีทะเบียนรถเป็นประกันได้

ปัจจุบันตลาดสินเชื่อที่มีทะเบียนรถเป็นประกันในประเทศไทย มียอดสินเชื่อรวมประมาณ 290,000 ล้านบาท ถึง 300,000 ล้านบาท(1) เพราะไม่ใช่ทุกคนที่จะสามารถขอสินเชื่อแบบปกติผ่านธนาคารพาณิชย์ได้ ดังนั้นเงินติดล้อจึงเข้ามาตอบโจทย์ลูกค้าตรงนี้ เพื่อให้คนไทยที่เป็นเจ้าของรถ สามารถเข้าถึงสินเชื่อในระบบได้อย่างง่ายดายและรวดเร็ว

สำหรับธุรกิจหลักของเงินติดล้อจะแบ่งออกเป็น ธุรกิจสินเชื่อที่มีทะเบียนรถเป็นประกันครบวงจร และธุรกิจนายหน้าประกันภัย

ธุรกิจสินเชื่อที่มีทะเบียนรถเป็นประกันครบวงจร ทำให้แบรนด์เงินติดล้อเป็นที่รู้จักมากที่สุด โดยให้บริการทั้งสินเชื่อทะเบียนรถ สินเชื่อทะเบียนรถมอเตอร์ไซค์ และรถประเภทอื่น ๆ แต่จะมีสัดส่วนยอดสินเชื่อคงค้างจากลูกค้าในกลุ่มรถยนต์ 4 ล้อมากที่สุด โดย ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2563 พอร์ตสินเชื่อนี้มีมูลค่ารวมกันประมาณ 51,331 ล้านบาท และมีอัตราการเติบโตอย่างต่อเนื่อง

ธุรกิจนายหน้าประกันภัยเป็นอีกหนึ่งธุรกิจของ เงินติดล้อ ที่แม้ว่าจะเพิ่งเริ่มให้บริการมาไม่กี่ปี แต่มีอัตราการเติบโตอย่างก้าวกระโดด จึงทำให้เงินติดล้อกลายเป็นหนึ่งในสามผู้เล่นรายใหญ่ของตลาดนายหน้าประกันวินาศภัยที่จัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ประกันวินาศภัยให้แก่รายย่อยได้

ทุกวันนี้เงินติดล้อไม่เพียงแต่เสนอขายประกันผ่านช่องทางสาขาที่มีให้บริการมากกว่า 1,000 สาขา ผ่านนายหน้าประกันภัยมืออาชีพที่มีใบอนุญาตถูกต้องจำนวนมาก และช่องทางอื่น ๆ อย่างแพลตฟอร์ม Insure– Tech ที่มีชื่อว่า Areegator เครื่องมือที่จะช่วยเพิ่มทางเลือก ความโปร่งใส การเข้าถึงผลิตภัณฑ์ประกันภัยให้แก่ทั้งนายหน้าอิสระและลูกค้า ซึ่งจะช่วยให้ธุรกิจการจัดจำหน่ายประกันวินาศภัยของเงินติดล้อเติบโตอย่างรวดเร็วอีกด้วย 

งบการเงิน บริษัท เงินติดล้อ จำกัด (มหาชน)

(สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม)

ปี 2561

รวมรายได้ 7,569 ล้านบาท

รวมค่าใช้จ่าย 5,939 ล้านบาท

กำไรสุทธิ 1,306 ล้านบาท

ปี 2562

รวมรายได้ 9,458 ล้านบาท

รวมค่าใช้จ่าย 5,699 ล้านบาท

กำไรสุทธิ 2,202 ล้านบาท

ปี 2563

รวมรายได้ 10,559 ล้านบาท

รวมค่าใช้จ่าย 5,772 ล้านบาท

กำไรสุทธิ 2,416 ล้านบาท

แม้ปัจจุบัน เงินติดล้อจะเป็นบริษัทที่มีรายได้ถึงหมื่นกว่าล้านบาท และเป็นผู้นำในธุรกิจสินเชื่อที่มีทะเบียนรถเป็นประกัน แต่เงินติดล้อก็ไม่ได้หยุดอยู่เพียงแค่นั้น เพราะอย่างที่เรารู้ การได้มาซึ่งที่ 1 นั้นยาก แต่การรักษาความเป็นผู้นำ ให้ได้ต่อเนื่องและยาวนาน มันเป็นอะไรที่ยากและท้าทายกว่าเยอะ

สิ่งที่เงินติดล้อสร้างความแตกต่างในการดำเนินธุรกิจคือการพัฒนาช่องทางการขายและการให้บริการลูกค้าที่หลากหลาย (Omni-Channel) ให้ดีขึ้น เพราะทุกวันนี้ ลูกค้าอาจไม่สามารถเดินทางไปสาขาเพื่อขอรับบริการเหมือนเดิมได้ อาจเพราะเดินทางไม่สะดวก หรือไม่อยากเดินทางไปไหนจากความกังวลเรื่อง Covid-19 บริษัทฯ จึงพยายามทำให้บริการต่าง ๆ เข้ามาอยู่ในระบบออนไลน์ผ่านโมเดลธุรกิจที่มุ่งเน้นนวัตกรรมเทคโนโลยี ที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของเงินติดล้อ 

ตัวอย่างเช่น เว็บไซต์, Facebook, Line Official Account, แอปพลิเคชันเงินติดล้อ ที่อำนวยความสะดวกให้กับทั้งลูกค้าและนายหน้าของเงินติดล้อที่ปัจจุบันมีคนลงทะเบียนกับบริการแอปพลิเคชันเงินติดล้อ กว่า 192,000 ราย (ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2563)

ส่วนช่องทางแบบออฟไลน์ เงินติดล้อยังคงเดินหน้าทยอยเปิดสาขาอย่างต่อเนื่องโดยมีแผนที่จะเปิดอีก 500 สาขาภายในปี 2566 เพื่อให้บริการครอบคลุมแก่ลูกค้ามากที่สุด เพราะตลาดของสินเชื่อที่มีทะเบียนรถเป็นประกันยังคงเติบโตได้กว่าปีละ 12-16% ตั้งแต่ปี 2562-2567(3) เท่ากับว่า เงินติดล้อ ยังมีโอกาสให้เติบโตได้สูง  

เงินติดล้อดำเนินการบริหารจัดการความเสี่ยงที่โดดเด่น โดยในปีล่าสุด เงินติดล้อ มีสัดส่วนหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ เทียบกับพอร์ตสินเชื่อรวมทั้งหมด คิดเป็นสัดส่วนเพียง 1.7% (ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2563) เท่านั้น

บริษัท เงินติดล้อ จำกัด (มหาชน) กำลังจะเปิดจองและเสนอขายหุ้นให้กับประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรก โดยผู้จองซื้อรายย่อยต้องชำระเงินค่าจองซื้อที่ราคา 36.5 บาทต่อหุ้น ซึ่งเป็นราคาเสนอขายสูงสุดของช่วงราคาเสนอขายเบื้องต้นที่ 34.0–36.5 บาทต่อหุ้น

หากราคาเสนอขายสุดท้ายต่ำกว่าราคาจองซื้อ ผู้จองซื้อทุกท่านจะได้รับเงินค่าส่วนต่างคืน ซึ่งสามารถจองซื้อได้ตั้งแต่ วันที่ 22 เมษายน 2564 เวลา 09.00 น. ถึง วันที่ 26 เมษายน 2564 เวลา 16.00 น. ที่ตัวแทนจำหน่ายหุ้น ได้แก่ ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) ผ่านช่องทางออนไลน์เท่านั้น และบริษัทหลักทรัพย์ กรุงศรี จำกัด (มหาชน)

สำหรับผู้มีบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์กับบริษัทหลักทรัพย์ กรุงศรี จำกัด (มหาชน) เท่านั้น โดยการจัดสรรให้แก่ผู้ลงทุนรายย่อยโดยวิธี Small Lot First และกำหนดจำนวนหุ้นขั้นต่ำที่จะจองซื้อและจัดสรรให้แก่ผู้จองซื้อรายย่อยจำนวน 1,000 หุ้น และจะต้องเพิ่มเป็นจำนวนทวีคูณของ 100 หุ้น ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.tidlorinvestor.com

Disclaimer: ข้อมูลต่อไปนี้จะถูกเผยแพร่ให้แก่นักลงทุนในประเทศไทยเท่านั้น โปรดทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน

ข้อมูลนี้ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ในหรือเข้าไปในประเทศสหรัฐอเมริกา ไม่ว่าโดยทางตรงหรือโดยทางอ้อม (รวมถึงเขตแดนและอาณาเขต มลรัฐใด ๆ ของประเทศสหรัฐอเมริกา และเขตการปกครองพิเศษกรุงวอชิงตัน) และข้อมูลนี้ไม่ถือเป็นหรือเป็นส่วนหนึ่งของการเสนอขายหรือคำชี้ชวนเพื่อการซื้อหรือจองซื้อหลักทรัพย์ในประเทศสหรัฐอเมริกา หลักทรัพย์ที่อ้างถึงหรือกล่าวถึงในข้อมูลนี้ไม่ได้จดทะเบียนและจะไม่ได้รับการจดทะเบียนภายใต้ United States Securities Act of 1933 (the “Securities Act”)

ทั้งนี้ หลักทรัพย์ดังกล่าวไม่อาจถูกเสนอขายหรือขายในประเทศสหรัฐอเมริกา เว้นแต่จะเป็นกรณีที่เป็นไปตามข้อยกเว้นจากข้อกำหนดการจดทะเบียนภายใต้ the Securities Act และจะไม่มีการเสนอขายหลักทรัพย์ต่อประชาชนในประเทศสหรัฐอเมริกา

แหล่งข้อมูล

(1) คำนวณจากยอดสินเชื่อคงค้างในปี 2562 จากข้อมูลของโอลิเวอร์ ไวแมน

(2) จากข้อมูลภายในของบริษัทฯ และข้อมูลของสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย

(3) จากบทวิเคราะห์ของโอลิเวอร์ ไวแมน

บทความนี้เป็น Advertorial