กองทุนรวมผสม คือกองทุนที่เหมาะสำหรับคนที่ไม่ชอบมานั่งจัดพอร์ตกองทุนเอง ไหนจะต้องทำงาน ขับรถฝ่ารถติดทั้งเช้าทั้งเย็น อยากลงทุนในกองทุนรวมแบบทีเดียวจบ ไม่ต้องวุ่นวายนั่งปรับพอร์ตเอง กองทุนรวมผสมคือคำตอบ

สมมติว่าหากเราต้องการกระจายความเสี่ยงในการลงทุนไปในสินทรัพย์ที่หลากหลาย เช่น หุ้น (ผันผวนสูง ผลตอบแทนสูง) ตราสารหนี้ (ผันผวนต่ำ ผลตอบแทนต่ำ) และกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ (ผันผวนปานกลาง ผลตอบแทนปานกลาง)

นั่นหมายถึงว่าเราอาจจะจำเป็นต้องซื้อกองทุนรวมอย่างน้อย 3 กองเพื่อกระจายสัดส่วนกันออกไป เช่น หากรับความเสี่ยงได้มาก เราอาจเลือกถือกองทุนรวมหุ้นในสัดส่วนที่มากกว่ากองทุนอื่น เป็นต้น แต่นั่นหมายถึงทุกครั้งที่เราต้องการจะซื้อกองทุนเพิ่ม เราต้องทยอยซื้อทั้ง 3 กอง ซึ่งอาจจะสร้างความลำบากให้เรา ทั้งในแง่การบริหารจัดการ และจำนวนขั้นต่ำที่ต้องซื้อ

"กองทุนรวมผสม" คือกองทุนที่มาช่วยแก้ปัญหาตรงนี้ โดยกองทุนรวมผสมจะเป็นกองทุนที่มีนโยบายในสินทรัพย์ที่หลากหลาย เช่น กองทุนรวมอาจจะลงทุนในหุ้น ตราสารหนี้ และกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์อยู่ในกองเดียว ซึ่งจะทำให้เราสะดวกเพราะไม่จำเป็นต้องซื้อกองทุนหลายกอง

เราสามารถเลือกกองทุนที่เหมาะกับเราที่สุดและทยอยลงทุนไปอย่างต่อเนื่องได้เลย ที่สำคัญคือผู้บริหารกองทุนจะยังช่วยปรับพอร์ตการลงทุนให้เราได้อย่างเหมาะสมอีกด้วย ซึ่งตรงนี้จะทำให้เราไม่ต้องมาคอยนั่งติดตามทำการปรับพอร์ตฟอลิโอด้วยตัวเองอยู่บ่อยๆ

เรียกได้ว่าปล่อยหน้าที่การบริหารกองทุนให้ผู้บริหารไป เราก็คอยติดตามแบบห่างๆ สักสามเดือนครั้ง

ดังนั้น ความสำคัญของการลงทุนในกองทุนรวมผสมคือการเลือกกองทุนที่เหมาะสมกับตัวเราเองตั้งแต่เริ่มต้น เพราะนั่นหมายความว่า ตลอดระยะเวลาการลงทุน เราจะอยู่กับนโยบายการลงทุนแบบนี้ไปตลอด เช่น หากเราเน้นกองทุนที่ผันผวนต่ำ สัดส่วนตราสารหนี้เยอะ พอร์ตฟอลิโอของเราก็จะเน้นไปแนวทางนี้ตลอด ถึงแม้ว่าจะปรับเปลี่ยนสัดส่วนบ้าง แต่ก็จะไม่มากนัก เราจึงควรเข้าใจนโยบายของกองทุนรวมผสมให้ชัดเจนก่อนลงทุน เพราะในแต่ละกองทุนผสมเองก็มีลักษณะการลงทุนที่แตกต่างกันออกไป ถึงแม้ว่าจะเป็นกองทุนแบบผสมเหมือนกัน

สรุปง่ายๆ ว่า ดูให้ออกก่อนว่าตัวเองรับความผันผวนได้มากแค่ไหน ที่เหลือคือเลือกซื้อกองทุนตามความผันผวนที่รับได้ ทยอยลงทุนอย่างต่อเนื่อง และก็ติดตามผลงานสักสามเดือนครั้งก็เพียงพอ

ยกตัวอย่าง การเปรียบเทียบด้วยกองทุน LHIP, LHSELECT และ LHSMART (ข้อมูล ณ 31 พฤษภาคม 2561)

กองทุนเปิด แอล เอช มั่นคง LH Income Plus Fund (LHIP), กองทุนเปิด แอล เอช ยั่งยืน LH Smart Income Fund (LHSMART) และ กองทุนเปิด แอล เอช มั่งคั่ง LH Select Fund (LHSELECT)

เป็นกองทุนภายใต้การดูแลของบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ จำกัด โดยทั้ง 3 กองทุนจัดเป็นกองทุนรวมผสมซึ่งมีการกระจายการลงทุนในหุ้น ตราสารหนี้ และกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ในสัดส่วนที่แตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับแนวทางการลงทุนของแต่ละกองทุน หมายความว่า ในแต่ละกองทุนก็จะมีการจัดส่วนผสมระหว่างความผันผวนและผลตอบแทนแตกต่างกันออกไปตามความเหมาะสม ตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน

LHIP

กองทุนที่มีการกระจายการลงทุนในหุ้นพื้นฐานดี และกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ (หรือสินทรัพย์อื่นที่เทียบเคียง) สัดส่วนการลงทุน โดยประมาณ : ตราสารหนี้ไทย 40% หุ้นไทย 20% กลุ่มอสังหาริมทรัพย์ 40%

LHSMART

กองทุนที่มีการกระจายการลงทุนในหุ้น ตราสารหนี้ และกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ (หรือสินทรัพย์อื่นที่เทียบเคียง) สัดส่วนการลงทุน โดยประมาณ : ตราสารหนี้ไทย  20% หุ้นไทย 40% กลุ่มอสังหาริมทรัพย์ 40%

LHSELECT

กองทุนที่มีการกระจายการลงทุนในหุ้น (SET 100) ตราสารหนี้ และกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ (หรือสินทรัพย์อื่นที่เทียบเคียง) สัดส่วนการลงทุน โดยประมาณ : ตราสารหนี้ไทย 0-20%     หุ้นไทย 80-100%   กลุ่มอสังหาริมทรัพย์ 0-20%

เปรียบเทียบความต่างกันให้เห็นอีกครั้ง

LHIP มีการจำกัดเพดานของหุ้นและกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ไว้ นั่นหมายถึงการการันตีว่าต้องมีเงินฝากหรือตราสารหนี้อยู่ในพอร์ตอย่างน้อย 20% ตรงนี้ก็จะช่วยลดความผันผวนจากตลาดหุ้นลงมา เหมาะกับนักลงทุนที่ไม่ชอบความผันผวน รับความเสี่ยงได้ต่ำ แต่อยากได้ผลตอบแทนดีกว่ากองทุนรวมตราสารหนี้เพียงอย่างเดียว

LHSELECT กับ LHSMART จะคล้ายกันในแง่ของการไม่จำกัดเพดานของทรัพย์สิน แต่ LHSELECT กับ LHSMART ก็จะมีความแตกต่าง โดยอ้างอิงกับดัชนีชี้วัดที่กองทุนเปรียบเทียบ LHSELECT จะเน้นการลงทุนในหุ้นมากกว่า โดยมีดัชนีชี้วัดเทียบกับหุ้นอยู่ที่ 60% ของดัชนีรวม เหมาะกับนักลงทุนที่ยอมรับการลงทุนความผันผวนในตลาดหุ้นได้สูง ในขณะที่ LHSMART จะเน้นการลงทุนในหุ้นน้อยกว่า โดยมีดัชนีชี้วัดเทียบกับหุ้นอยู่ที่ 40% เหมาะกับนักลงทุนที่ต้องการกระจายความเสี่ยงของการลงทุนและยอมรับการลงทุนในตลาดหุ้นได้บ้าง ดังนั้นหากใครชอบลงทุนในหุ้นในสัดส่วนที่มากหน่อยอาจเลือก LHSELECT แต่ถ้าชอบลงทุนในหุ้นในสัดส่วนที่น้อยหน่อยอาจเลือก LHSMART

สรุป

  • LHIP : เหมาะกับนักลงทุนที่ไม่ชอบความผันผวน รับความเสี่ยงได้ต่ำ
  • LHSMART : เหมาะกับนักลงทุนที่ต้องการกระจายความเสี่ยงของการลงทุนและยอมรับการลงทุนในตลาดหุ้นได้บ้าง
  • LHSELECT : เหมาะกับนักลงทุนที่ยอมรับการลงทุนความผันผวนในตลาดหุ้นได้สูง

เห็นได้ชัดว่าถึงแม้ว่าจะเป็นกองทุนรวมผสมเหมือนกันแต่ก็มีแนวทางการลงทุนที่แตกต่างกันออกไป ดังนั้น ก่อนที่จะลงทุน เราควรเลือกกองทุนที่เหมาะสมกับตัวตนเรามากที่สุด เพื่อที่จะทำให้เราสามารถลงทุนได้ในระยะยาวอย่างสะดวก เรียบง่าย และไม่จำเป็นต้องมาพิจารณาเปลี่ยนหรือปรับสัดส่วนกันอย่างบ่อยครั้ง

หากสนใจอ่านข้อมูลเกี่ยวกับ LHIPLHSELECT และ LHSMART เพิ่มเติม สามารถเข้าไปอ่านรายละเอียดฉบับเต็มเพื่อเปรียบเทียบกันได้ที่ www.lhfund.co.th

ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า(กองทุน) เงื่อนไข ผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน ผลการดำเนินงานในอดีต มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลงานในอนาคต

ลงทุนศาสตร์ - Investerest

บทความนี้เป็น Advertorial