ปูนไลม์คืออะไร?

ปูนไลม์ คือ สารประกอบในกลุ่มแคลเซียมที่เกิดจากการทำเหมืองแร่หินปูนเคมี แบ่งออกเป็นหลายชนิด ได้แก่ ปูนควิกไลม์ (CaO)  ปูนไฮเดรตไลม์ (Ca(OH)2) และแร่หินปูนเคมี (CaCO3) เรียกว่าเป็นองค์ประกอบที่อยู่เบื้องหลังสิ่งต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันของเรา โดยแคลเซียมเป็นแร่ธาตุตามธรรมชาติที่ใช้ประโยชน์ได้อย่างหลากหลาย เราจึงได้เห็นการนำปูนไลม์ไปใช้ในอุตสาหกรรมต่าง ๆ  ไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมเหมืองแร่โลหะและอโลหะ เยื่อกระดาษและกระดาษ น้ำตาล พลาสติกชีวภาพ เหล็กและเหล็กกล้า เคมีและปิโตรเคมี การเกษตร สาธารณูปโภคพื้นฐาน ก่อสร้างและวัสดุก่อสร้าง แก้ว ขวด กระจก อุตสาหกรรมใยแก้ว เป็นต้น

ความน่าสนใจคือ 'CMAN' ผู้เชี่ยวชาญปูนไลม์กำลังจะเข้าตลาดหุ้น

บริษัท เคมีแมน จำกัด (มหาชน) หรือ CMAN เป็นผู้ประกอบธุรกิจปูนไลม์รายเดียวในประเทศไทย

ที่มีทั้งโรงงานผลิตปูนไลม์และได้รับประทานบัตรเหมืองอายุ 25 ปี จากกระทรวงอุตสาหกรรม บนพื้นที่อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี ที่มีปริมาณแร่หินปูนเคมีสำรองกว่า 115 ล้านตัน (สำรวจ ณ เดือนตุลาคม 2559) เรียกได้ว่าเพียงพอสำหรับการผลิตได้ไปอีกหลายสิบปี

ลักษณะการทำธุรกิจคือ บริษัทฯ ทำเหมืองที่เหมืองทับกวางตามประทานบัตรที่ได้รับ ผลิตภัณฑ์ที่ได้ในขั้นแรกคือแร่หินปูนเคมี ซึ่งสามารถจัดจำหน่ายได้เลย หรือถูกส่งไปผ่านกระบวนการต่อ โดยกระบวนการขั้นแรกคือการแปรสภาพแร่หินปูนเคมีเป็นปูนควิกไลม์ จากโรงงาน  2 แห่ง ในอำเภอแก่งคอยและพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี ปูนควิกไลม์ที่ได้จากขั้นตอนนี้สามารถนำไปจำหน่าย หรือส่งไปเข้าเครื่องไฮเดรเตอร์ เพื่อผลิตเป็นปูนไฮเดรตไลม์ก็ได้อีกเช่นกัน โดยโรงงานผลิตปูนไฮเดรตไลม์ของบริษัทฯ ตั้งอยู่ที่อำเภอปลวกแดง จังหวัดระยอง นอกจากนี้ เคมีแมนยังได้ตั้งบริษัทร่วมกับพันธมิตร 2 แห่งในเมืองท่าและเขตอุตสาหกรรมที่สำคัญของประเทศอินเดียเพื่อทำธุรกิจปูนไลม์ ซึ่งคาดว่าจะเริ่มดำเนินการในเชิงพาณิชย์ในปี 2562 อีกด้วย

ภาพรวมรายได้ของบริษัทฯ ชะลอตัวในปี 2558 ก่อนจะกลับมาฟื้นตัวอีกครั้งในปี 2559 และงวด 9 เดือนสิ้นสุดในปี 2560 โดยบริษัทฯ มีอัตราการใช้กำลังการผลิตที่โรงงานพระพุทธบาท 55.82% โรงงานแก่งคอย 91.58% และโรงงานระยอง 92.62% ซึ่งบริษัทฯ มีโรงงานแก่งคอยเป็นกำลังการผลิตหลักและใช้กำลังการผลิตที่โรงงานพระพุทธบาทเป็นกำลังการผลิตสำรอง

ภาพรวมของตลาดปูนควิกไลม์และไฮเดรตไลม์จะแปรผันไปตามภาคอุตสาหกรรมของโลก ถึงแม้ภาพรวมตลาดรวมทั้งโลกอาจจะมีแนวโน้มการเติบโตไม่สูงมากนัก แต่ถ้ามองที่ภูมิภาคเป้าหมายที่เคมีแมนส่งออกนั้น ยังถือว่ามีภาพการเติบโตที่ดีสูงกว่าตลาดโลกอยู่พอสมควร

จากข้อมูลการประมาณการณ์ตลาดปูนควิกไลม์ของบริษัท ฟรอส์ท แอนด์ ซัลลิวัน จำกัด พบว่าประเทศที่ยังมีการเติบโตของตลาดปูนควิกไลม์ที่ดี ได้แก่

  • ไทย (เคมีแมนครองส่วนแบ่งตลาดอันดับ 1)
  • อินเดีย (เคมีแมนมีบริษัทย่อยเพื่อผลิตและจำหน่ายที่อินเดียโดยตรง 2 แห่ง)
  • ออสเตรเลีย (เคมีแมนมีศูนย์กระจายสินค้าอย่างเป็นทางการ 2 แห่ง)
  • และเวียดนาม (เคมีแมนมีบริษัทย่อย เพื่อจัดหาแหล่งวัตถุดิบ และศึกษาตลาด)

ส่วนอัตรากำไรขั้นต้นของบริษัทมีการผันแปรอยู่ในกรอบแคบ ซึ่งเกิดจากการโยกกำลังการผลิตจากโรงงานที่ใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงซึ่งมีต้นทุนสูงไปยังโรงงานที่ใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงซึ่งมีต้นทุนที่ต่ำกว่า โดยในงวด 9 เดือนล่าสุด รายได้มีการเติบโตขึ้น ในขณะที่กำไรสุทธิลดลง เนื่องจากค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารที่เพิ่มขึ้นจากการเตรียมความพร้อมในการขยายธุรกิจ และค่าใช้จ่ายทางการเงินที่สูงขึ้นจากเงินกู้ยืมระยะยาวเพื่อขยายกำลังการผลิต ซึ่งหลังการเข้าระดมทุนในตลาดหุ้นแล้ว เงินส่วนหนึ่งก็จะไปใช้จ่ายคืนเงินกู้ ทำให้ค่าใช้จ่ายตรงนี้ลดต่ำลง

เคมีแมนกำลังจะเข้าระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ในชื่อ CMAN โดยบริษัทฯ มีทุนจดทะเบียนที่ 1,000 ล้านบาท

ประกอบหุ้นราคาพาร์ 1 บาทจำนวน 1,000 ล้านหุ้น และจะเสนอขายหุ้นไอพีโอจำนวนไม่เกิน 240 ล้านหุ้น หรือไม่เกิน 25% ของหุ้นสามัญที่ออกและเรียกชำระแล้วทั้งหมดภายหลังการเสนอขายหุ้นไอพีโอของบริษัทฯ

หากใครมีความสนใจอยากลงทุนในหุ้นที่ผลิตเคมีพื้นฐานสารพัดประโยชน์ให้กับภาคอุตสาหกรรม เคมีแมนถือเป็นอีกตัวเลือกหนึ่งที่น่าสนใจในการศึกษาและตัดสินใจลงทุน อย่างไรก็ตาม บทความฉบับนี้ไม่มีเจตนาแนะนำซื้อ ถือ หรือขาย เพียงแต่สรุปข้อมูลจากแบบไฟล์ลิ่งให้ง่ายต่อการทำความเข้าใจเท่านั้น

หากสนใจข้อมูลเพิ่มเติมสามารถศึกษาต่อได้ที่ http://cman.listedcompany.com/ipo/

อ่านหุ้นเคมีแมนแล้วคิดถึงตอนเรียนเคมี ตอนเรียนมหาวิทยาลัยนี่ยากนะ เคมีที่เรียนในคณะเภสัชฯ น่ะ อย่างเคมีที่ใช้ในการผลิตปูนไลม์แบบนี้ เราก็เรียน ไม่เคยว่าวันหนึ่งจะกลับมาเจอกันอีกครั้งในตลาดหุ้น โลกนี่กลมจริงจริง

ลงทุนศาสตร์ - Investerest

บทความนี้เป็น Advertorial