สวัสดีครับ ท่านนักลงทุนในกองทุนรวมทุกคน ไม่ว่าจะเป็นมือเก่า มือใหม่ หรือ มือฉมัง

ผมหมอนัท คนดี คนเดิม ที่เพิ่มเติม คือ แก้ไขบทความใหม่ครับ 55+

บทความนี้เป็นบทความที่ผมได้เขียนไว้ค่อนข้างนานมากแล้ว และมีหลาย ๆ ท่านได้เรียกร้องให้มีการอัพเดตกองทุนด้วยว่า มีกองทุนไหนที่น่าสนใจบ้าง และจากที่เคยแนะนำไปนั้น กองทุนต่าง ๆ ยังคงเป็นกองทุนที่น่าลงทุนอยู่หรือไม่  รวมถึง มีกองทุนอื่น ๆ กองทุนไหนบ้างที่เหมาะกับ พนักงานเงินเดือนอย่างพวกเรา !! คือ สามารถทยอยสะสมเพื่อลงทุนระยะยาวได้

แต่ก่อนจะไปถึง "กองทุนน่าสะสม"  เรามาดู "วิธีการซื้อกองทุน การเลือก รวมถึงขั้นตอนการลงทุนกับกองทุนรวมแบบง่ายๆ" กันนะครับ

1. ก่อนลงทุนนักลงทุนทั้งหลายก็ควรจะมีเงินเก็บประมาณ 3-6 เท่าของรายได้ต่อเดือน

ทั้งนี้ก็เพื่อเป็นเงินฉุกเฉินครับ เวลาเกิดอะไรขึ้น อย่างน้อย ๆ ก็สามารถอยู่ได้อีก 3-6 เดือน โดยที่ไม่ต้องไปรบกวนเงินที่เรากำลังลงทุนอยู่นั่นเองครับ จากนั้นค่อยนำเงินทีเก็บได้ในแต่ละเดือนไปลงทุนกัน

2. เปิดบัญชีกองทุน

ซึ่งอันนี้แล้วแต่สะดวกครับ แต่ผมแนะนำว่าให้เปิดบัญชีกับ ตัวแทนซื้อขาย หน่วยลงทุนจะดีกว่า เนื่องจากมีกองทุนให้เลือกค่อนข้างมาก และเดี่ยวนก็ซื้อขายได้สะดวกมากกว่าแต่ก่อนด้วยนะครับ

2.1 ซื้อที่ธนาคาร

ข้อดีคือ สะดวก ง่าย ไว เพราะอยุ่บริเวณใต้ตึกสำนักงานของบริษัท ฯ ต่าง ๆ แต่ ข้อเสียคือ มีกองทุนให้เลือกเฉพาะของ บลจ. ที่เป็นของธนาคารนั้น ๆ ถึงแม้ว่าหลัง ๆ ธนาคารทหารไทย จะเริ่มนำกองทุนของ บลจ. อื่น ๆ เข้ามามากขึ้นแต่ก็ยังคงไม่ครอบคลุมกับ บลจ. อื่น ๆ ครับ

2.2 ซื้อผ่าน บลจ. ผู้ออกกองทุน

อันนี้ก็สามารถทำได้เช่นเดียวกันครับ แต่ก็ซื้อกองทุนได้จำกัด เช่นเดียวกับวิธีแรกครับ

2.3 ซื้อผ่าน บล. หรือ บลน. ที่เป็นนายหน้าซื้อขาย กองทุน

ซึ่งค่อนข้างสะดวกพอสมควร เนื่องจากมีให้เลือกหลากหลาย แต่ข้อเสียคือ ถ้าซื้อกองทุนเยอะ ๆ แทนที่จะได้สิทธิพิเศษต่าง ๆ จากธนาคาร หรือ บลจ. ก็จะไม่ได้ครับ

3. ตั้งเป้าหมายให้ชัดเจน

เพราะว่าถ้ามีเป้าหมายที่ชัดเจนแล้วละก็ จะทำให้เราสามารถวัดผล หรือ ติดตามผล หรือ รู้ว่าจะต้องออม หรือ ลงทุนต่อเดือนเท่าไหร่กันแน่ครับ อ่านเพิ่มเติมได้

4. จากนั้น ก็เลือกกองทุนกัน

ลองอ่านตรงนี้ก่อนนะครับ จากนั้น ก็อ่าน Fund fact sheet เพื่อที่จะได้ทราบแนวคิดการลงทุนของกองทุนเบื้องต้น หาข้อมูลให้เยอะเข้าไว้ เวลาลงทุนแล้วจะได้ไม่ข้องใจ ถ้าหากมีความผันผวนเกิดขึ้นระหว่างลงทุน ส่วนกองทุนที่ไปลงทุนในกองทุนต่างประเทศ ก็หาผลตอบแทนของกองทุนแม่ หรือ master fund เพื่อที่จะได้ทราบรายละเอียดการลงทุนให้แน่ชัด โดยอาจจะสอบถามจาก บลจ. ที่เป็นผู้ออกกองทุนก็ได้ครับ

5. หาข้อมูลเพิ่มเติมก่อนการตัดสินใจ

เช่น ผลตอบแทนย้อนหลัง ความเสี่ยง วิธีการจัดการกองทุน โดยอาจจะหาจาก Webboardต่าง ๆ  หรือ Website ที่เกี่ยวกับกองทุนรวม เช่น Morningstar, Siamchart, Thai Mutual Fund และ AIMC เพื่อหากองทุนที่ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ มากกว่ากองทุนที่ให้ผลตอบแทนที่สูงเพียง 1 ปี ครับ

6. ดูค่าธรรมเนียมกองทุนที่เหมาะสม

ถ้าละเลยและเลือกกองทุนที่ค่าธรรมเนียมการจัดการแพงมาละก็ เราไม่ค่อยเห็นการเปลี่ยนแปลงในระยะสั้นว่าค่าธรรมเนียมจะมีผลอะไร แต่ถ้าเป็นระยะยาวเราอาจะเสียเงินค่าธรรมเนียมเป็นหมื่น- แสนได้ ดังนั้นให้เลือกดูกองทุนที่มีค่าใช้จ่าย Total Expense ratio ต่ำ ๆ จะดีกว่านะครับ กองทุน Active ไม่ควรเกิน 2 % กองทุน Passive ไม่ควรเกิน 1 % แต่ก็ไม่ได้เป็นกฏที่ตายตัวนะครับ ผมแค่ประมาณคราว ๆ เท่านั้นเองครับ จากประสบการณ์ ขึ้นกับความพอใจด้วยครับ ถ้ากองทุนให้ผลตอบแทนสูงมาก ถึงจะแพงก็น่าซื้อครับ

7. ตรวจสอบด้วยนะครับว่า เป็นกองทุนเปิด หรือ กองทุนปิด

– อย่าลืมดูว่าเป็นกองทุนประเภทที่ไม่ขายคือหน่วยลงทุนได้ก่อนเวลา หรือไม่ เพราะว่าถ้าเป็นกองทุนปิด อาจจะทำให้เราไม่สามารถขายคืนหน่วยลงทุนได้ก่อนเวลาที่กำหนดครับ ถ้าเกิดฉุกเฉินอาจจะนำเงินมาใช้ไม่ได้นั่นเองครับ ดังนั้นแบ่งเงินลงทุนให้ดี ๆ นะครับ และดูประเภทกองทุนด้วยครับ

7.1 Passive หรือ Active

– เลือกที่ใช่ เลือกที่ชอบครับ ถ้าท่านผู้อ่านงง ละก็ กดอ่านได้ที่นี่ ครับ

7.2 ปันผล VS ไม่ปันผล หรือ Auto redemption

– เลือกที่ใช่ที่ชอบเช่นกันครับ กดอ่านที่นี่ ครับ และ ที่นี่ด้วย

8. ป้องกันความเสี่ยงจากค่าเงิน หรือไม่

–  อันนี้ต้องระวังมาก ๆ ในการลงทุนกับกองทุนที่ไปลงทุนกับกองทุนต่าประเทศอีกที ซึ่งจะมีผลกระทบต่อผลตอบแทนของเราพอสมควรเลยละครับ

9. ใช้เทคนิคเข้าช่วยเวลาซื้อกองทุน เทคนิคต่าง ๆ

ได้แก่  DCA (ซื้อทุกเดือนเดือนละเท่า ๆ กัน) // DCA + TIMING (ซื้อทุกเดือนเดือนละเท่า ๆ กัน ถ้าเดือนไหนมูลค่าหน่วยกองทุนที่จะซื้อลงต่ำมากกว่าต้นทุนเราให้ซื้อเพิ่ม) // Lump sum (ลงเงินเป็นก้อน) อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่ครับ

10. ติดตามผลการลงทุน และ ทำการ Rebalance พอร์ตให้ความเสี่ยงคงที่ และ เหมาะกับตัวเองอยู่ตลอดเวลา

วิธีการอยู่ที่นี่ครับ กดเลย

เมื่อเราได้วิธีดู และ เลือกกองทุนกันแบบคราว ๆ แล้วว่าเป็นอย่างไร

เพื่อไม่เป็นการเสียเวลา เรามาดูกันนะครับ ว่า "10 กองทุนน่าสะสม" มีอะไรบ้างครับ

1. ก่อนอื่นเลยถ้าไม่พูดถึงหรือ เอ่ยถึงคงไม่ได้ครับ กองทุนที่ผมจะพูดถึงก็คือ กองทุนหุ้น นั่นเองครับกองทุนที่ดูแล้ว เข้าตา และทำผลตอบแทนได้ดี และผมคิดว่าเป็นกองทุนที่น่าสนใจและจับตามองก็คือ

ABSM – กองทุน