เมื่อไม่กี่วันมานี้ มีคนมาถามผมใน FB ว่า กองทุนกองแรกของไทยเรา เป็นกองทุนอะไร ผมเองก็อึ้งไปเหมือนกันครับ เพราะจำได้แค่ว่าเป็นชื่อแบบไทย มาก ๆ (ประมาณว่า สุพรรณหงษ์ ทรงภู่ห้อย ประมาณนั้นเลย) ประกอบกับพี่ท่านนึงได้บอกว่าอยากให้ผมรวบรวมสถิติต่าง ๆ ของกองทุนมาให้ดูแบบง่าย ๆ (มันง่ายคนอ่าน แตลำบากผู้เขียนนะครับ 55+ )

วันนี้ผมเลยพยายามเอาสถิตถที่น่าสนใจมาเป็นบทความแบบที่อ่านแล้วไม่ต้องเครียดกันบ้างครับ เรามาดูกันดีกว่าครับ ว่ามีสถิติ หรือ เกร็ดเล็กเกร็ดน้อยอะไรที่น่าสนใจเกี่ยวกับกองทุนกันบ้างครับ

1. กองทุนกำเนิดขึ้นมาบนโลกใบนี้ปีพ.ศ.  2423 ในประเทศสหรัฐอเมริกา แต่ไม่ได้เป็นรูปแบบกองทุนโดยตรง แต่มีลักษณะเป็นการระดมเงินทุนจากคนกลุ่มหนึ่งเพื่อไปลงทุนในหุ้นของกิจการที่เพิ่งเปิดดำเนินการ นั่นเองครับ  ต่อมาในปี พ.ศ. 2443 นายโรเบิร์ต เฟลมมิ่ง (Robert Fleming)  นักธุรกิจชาวสก็อตได้รวบรวมเงินทุนจากคนใกล้ชิดและเดินทาง ข้ามไปลงทุนในประเทศสหรัฐอเมริกา ปรากฏว่าประสบความ สำเร็จเป็นอย่างมากจนเป็นที่นิยมแพร่หลาย จึงมีการจัดตั้งเป็น บริษัทจัดการลงทุนขึ้นเป็นแห่งแรกในกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ (อ้าว เกิดที่สก๊อต ดันไปโตที่อเมริกาลูกครึ่งนี่หว่า !!) ใช้ชื่อว่า Robert Fleming & Co. (ที่มา : ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย http://www.set.or.th/setlearningcenter/files/example/ana_fund_edition3.pdf)

2. กองทุนกองแรกของสยามประเทศนั้นจัดตั้งในปี 2520 คือ กองทุน "กองทุนสินภิญโญ" ของ บลจ. MFC ครับ ด้วยขนาดกองทุน 100 ล้านบาท และอายุโครงการอยู่ที่ 10 ปี (โห 100 ล้าน เมื่อ 37 ปีที่แล้ว !!)

3. สุดยอดผู้จัดการกองทุนตลอดกาลคือ ปีเตอร์ ลินช์ เขาเป็นผู้จัดการกองทุนที่ Fidelity Magellan fund ระหว่างปี 1977 ถึง 1990   และะระหว่าง ที่เขาบริหารกองทุนนั้น เขาสามารถสร้างอัตราผลตอบแทนเฉลี่ย 29%ทบต้นต่อปีเป็นระยะเวลา 13 ปีติต่อกัน ที่น่าสนใจคือ เขาเคยเป็น "แค็ดดี้" มาก่อน !! (เห้ย !) (ที่มา : http://www.doctorwe.com/variety/20120427/734)

4. สุดยอดผู้จัดการกองทุนที่อีกท่านที่เก่งไม่แพ้กันก็คือ แอนโธนี่ โบลตัน โดยท่านนี้ทำผลตอบแทนเฉลี่ยได้ถึง 19.5% ในระยะเวลา 28 ปี ระหว่างปี 1980-2007 (ที่มา : http://clubvi.com/2012/10/08/anthonybolton/) ถึงแม้จะได้ผลตอบแทนไม่เท่า ปีเตอร์ ลินช์ แต่ว่าทำผลตอบแทนได้ดีนานกว่านะคับ !

5. บลจ. ในไทยมีทั้งหมด 22 บลจ. ที่ไหนบ้าง เราไปดูกันครับ

http://oldweb.aimc.or.th/14_about_member_index.php?fund=FUA

และมีกองทุนทั้งหมดกว่า 1540 กองทุน ในปี 2015 (ข้อมูลจาก AIMC)

6. Bill Gross or "Bond King " ชื่อของ Bill Gross นั้น  ในแวดวงนักลงทุนของไทยคงมีคนรู้จักน้อย   แต่ในสหรัฐนั้น  เขาเป็น “มือหนึ่ง” ในด้านการลงทุนในตลาดเงินและตราสารหนี้   กองทุน PIMCO หรือ Pacific Investment Management Co. ที่เขาช่วยก่อตั้งขึ้นกลายเป็นกองทุนรวมตราสารหนี้ที่ใหญ่ที่สุดในโลก   Bill Gross เองต้องดูแลรับผิดชอบบริหารเงินกว่า 200 พันล้านเหรียญสหรัฐหรือคิดเป็นเงินไทยกว่า 6 ล้านล้านบาทซึ่งมากกว่างบประมาณรายจ่ายประจำปีของรัฐบาลไทยหลายเท่า  มีการทำโพลเมื่อเร็ว ๆ  นี้ในแวดวงของนักการเงินพบว่า  Bill  Gross เป็นรองเพียง  วอเร็น บัฟเฟตต์  เท่านั้นในฐานะที่เป็นคนที่สามารถคาดการณ์และวิเคราะห์ภาวะตลาดการเงินในโลกได้แม่นยำที่สุด (http://clubvi.com) แต่ปัจจุบันแกลาออกแล้วนะครับ (-_-")

7. มูลค่ารวมของ LTF และ RMF รวมกันประมาณ 3.5 แสนล้านบาท !!! ที่มา : AIMC

8. เรามาดู สถิติของกองทุน Trigger fundกันนะครับ ซึ่งยังคงออกมาเป็นทางเลือกให้ผู้ลงทุนอย่างต่อเนื่อง เป็นแม้กระแสจะไม่แรงเหมือนปี 2556 ที่ผ่านมาก็ตาม และส่วนที่ต่างจากเมื่อปีที่แล้วก็คือ Trigger fund ส่วนใหญ่นั้นจะเน้นไปลงทุนในหุ้นต่างประเทศรวมทั้งมีประเทศใหม่ๆอาทิ เกาหลีใต้ เยอรมัน และยุโรป เป็นต้น โดยตั้งแต่ต้นปี มี Trigger Fund ออกสู่ตลาด 34 กองทุน แบ่งเป็นที่เน้นลงทุนในหุ้นต่างประเทศ 22 กองทุน และลงทุนในหุ้นไทย 12 กองทุน มีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิรวมกว่า 14,000 ล้านบาท โดยมีส่วนแบ่งเท่าๆกันทั้ง 2 ประเภท ส่วนผลการดำเนินการนั้น Trigger Fund ที่เน้นลงทุนในหุ้นไทยสามารถลงทุนและทำผลตอบแทนได้ตามเป้าหมายจำนวน 7 กองทุน และ 5 กองทุนสำหรับกองทุนที่เน้นลงทุนในหุ้นต่างประเทศ อย่างไรก็ตาม ยังคงมี Trigger Fund ที่เหลือค้างมาจากปีที่แล้วและไม่สามารถทำผลตอบแทนได้ตามเป้าหมายจึงต้องเปลี่ยนไปเป็นกองทุนหุ้นแบบปกติจำนวน 27 กองทุน ซึ่งโดยเฉลี่ยผลตอบแทนนั้นติดลบที่ -10% ซึ่งนี้คือสิ่งที่ยืนยันว่าการลงทุนใน Trigger Fund นั้นขึ้นอยู่กับจังหวะและเวลาในการลงทุนเป็นสำคัญ (ที่มา : http://www.morningstarthailand.com/)

9. คุณรู้ไหมว่า มูลค่าการซื้อ-ขายกองทุนตราสารหนี้มีมากกว่ากองทุนหุ้นอยู่ประมาณ 10 เท่า !! ที่มา : AIMC
(http://oldweb.aimc.or.th/21_overview_detail.php?nid=42&subid=0&ntype=2)

10. กองทุนบำนาญที่ใหญ่ที่สุดในโลกคือ กองทุนบำนาญของประเทศญี่ปุ่นอาจจะนึกภาพไม่ออกกันว่าเยอะขนาดไหน เอาเป็นว่ามากกว่า GDP ประเทศไทยประมาณ 3-4 เท่าครับ (กองทุนบำนาญญี่ปุ่น:1.3 ล้านล้านดอลลาร์, GDP ไทย 3 แสนล้านดอลลาร์)
http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/finance/foreign

11. ไทยเป็นประเทศเดียวในโลกนี้ที่มีกองทุน LTFเพื่อรักษาเสถียรภาพของตลาดหุ้น และกระตุ้นให้คนรู้จักการลงทุน โดยลดหย่อนภาษีให้กับบุคคลที่ซื้อกองทุนที่ถือครองครบตามข้อกำหนด

12. บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กสิกรไทย จำกัด ถือครองสัดส่วน หรือ Market share ในตลาดกองทุนสูงสุด โดยมีสินทรัพย์ที่บริหารอยู่ประมาณ 873,114,079,902 บาท คิดเป็น 22.93% ของทั้งประเทศ (http://oldweb.aimc.or.th/21_infostats_nav.php)

13. กองทุนมีทั้งหมด 10 ประเภท แบ่งตามนโยบายการลงทุน แบ่งตามลักษณะโครงการได้ 2 ประเภท และ กองทุนแบบพิเศษอีก 6 แบบ (นี่มันค่ายกล หรือ กองทุน) (http://www.tsi-thailand.org/index.php?option=com_content&task=view&id=1834)

14. กองทุนน้ำมัน และ กองทุนสินค้าเกษตร ไม่ได้เป็นการเข้าซื้อสินทรัพย์โดยตรง แต่เป็นการลงทุนกับสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ดังนั้นจึงไม่เหมาะกับการลงทุนในระยะยาว(เหมาะกับการเก็งกำไรมากกว่า)

15. มูลค่าการลงทุนในกองทุนรวมต่อเงินฝากอยู่ที่ประมาณ 27% (ปี 2556)
(http://oldweb.aimc.or.th/21_overview_detail.php?nid=8&subid=0&ntype=2)

16. นักลงทุนเริ่มสนใจในกองทุนที่ลงทุนในหน่วยลงทุนต่างประเทศ(FIF) มากขึ้น ในปี 2556 คิด