อย่างที่รู้กันว่ากลไกการทำงานของสมอง แบ่งเป็น 2 ซีก คือฝั่งขวา (ด้านอารมณ์) และฝั่งซ้าย (ด้านตรรกะ) ซึ่งคนส่วนใหญ่มักเข้าใจผิดว่า การเก็บเงิน คำนวณค่าใช้จ่าย เป็นเรื่องที่น่าปวดหัว จุกจิก มีแต่ตัวเลข เลยไม่เริ่มบริหารการเงินอย่างจริงจัง ใช่ไหมหล่ะครับ
บางคนอ่านมาถึงตรงนี้อาจจะรูสึกว่าทฤษฎีนี้อาจจะล้าหลังไปแล้ว เพราะปัจจุบันนี้ก็มี Apps หรือโปรแกรมที่ช่วยให้เราออมเงินเยอะแยะ แต่มันจะดีแค่ไหนหากเรารู้จักพฤติกรรมของตัวเอง รู้เท่าทันความต้องการที่แท้จริงของตัวเองใช่ไหมหล่ะครับ aomMONEY มีตัวอย่างเหตุการณ์สร้างอัจฉริยะเป็นตัวอย่าง
มาร์ค ซัคเกอร์เบิร์ก (Mark Zuckerberg) ขณะที่เขาอายุ 19 ปี เป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยฮาร์เวิร์ดในขณะนั้น แต่เขาเชื่อและเห็นว่าเครือข่ายออนไลน์จะได้รับความนิยมและเป็นที่สนใจจากวัยรุ่น เขาก็หยุดเรียนเพื่อออกมาพัฒนาเว็บไซต์ร่วมกับเพื่อน จากนั้น 2 ปี เว็บไซต์เฟซบุ๊ก (Facebook) กลายเป็นที่นิยมอย่างกว้างขวาง และเป็นเครือข่ายออนไลน์ที่มีผู้ใช้มากที่สุดในโลกนั่นเอง เขาจึงเป็นผู้ที่ใช้สมองซีกขวาจินตนาการเหตุการณ์ในอนาคตใช้อารมณ์ในการตัดสินใจและใช้สมองซีกซ้ายในการพัฒนาเว็บไซต์เช่นกัน
บิล เกตส์ (Bill Gates) ระหว่างที่เข้านั่งเรียนในชั้นเรียน เขาเริ่มจินตนาการว่าจะทำอย่างไรให้คอมพิวเตอร์อ่านข้อมูลง่ายขึ้น ด้วยการสมองซีกขวาจินตนาการถึงภาพของรูปต่าง ๆ ที่ปรากฏขึ้นบนหน้าจอแบบระบบปฏิบัติการวินโดว์ส (Window) ก่อน แล้วจึงใช้สมองซีกซ้ายค่อยศึกษารายละเอียด โดยทั่วไปแล้วนักออกแบบโปรแกรมส่วนใหญ่ก็มักใช้ซีกซ้ายมีตัวเลขในหัว แต่เมื่อบิล เกตส์ ลองคิดมุมกลับใช้สมองซีกขวาก่อนทำให้เขากลายเป็นอัจฉริยะทางด้านนี้ทันที
นี่เป็นตัวอย่างของบุคคลประสบความสำเร็จที่มีวิธีคิดล้อไปตามการทำงานของสมองทั้ง 2 ซีก เช่นเดียวกันกับการออมเงินถ้าเราลองประยุกต์การใช้งานสมอง รู้จักการเชื่อมโยงเงื่อนไขต่าง ๆ เข้ากับจินตนาการให้เกิดประสบการณ์ได้อย่างลงตัว ก็จะประสบความสำเร็จด้านการเงินได้เช่นกันครับ เพราะแท้จริงแล้วการออมก็เป็นส่วนผสมของจินตนาการและความรู้ คือการเริ่มต้นด้วยการแตกย่อยไอเดียจากจินตนาการการคาดคะเนสถานการณ์ในอนาคต ก่อนจะตกตะกอนหาวิธีสู่การสร้างเงื่อนไขให้เหมาะกับพฤติกรรมของตัวเอง
ในส่วนการออม คือ สร้างเป้าหมาย + วิธีเก็บเงิน อาจจะฟังแล้วอาจจะสงสัยว่าเกี่ยวข้องกับการทำงานของสมองยังไง? มาดูกับ
สมองซีกขวา (Divergent Thinking)
1. นึกถึงพฤติกรรมการใช้เงิน ของตัวเองในปัจจุบัน จินตนาการคะเนค่าใช้จ่ายในอนาคต สั้น กลาง ยาว
2. มองการณ์ไกลโดยจำลองสถานการณ์ในอนาคต ว่าหากมีพฤติกรรมการใช้เงินหลาย ๆ แบบ แล้วจะส่งผลอย่างไร รวมถึงเผื่อความเปลี่ยนแปลงไม่แน่นอนที่อาจเกิดขึ้น เพื่อสร้างความกลัวให้เกิดแรงฮึดในการเก็บเงิน
3. สร้างสรรค์วิธีการเก็บเงินที่เหมาะกับตัวเอง เพราะแต่ละคนก็มีเงื่อนไขการดำเนินชีวิตต่างกัน แล้วต้องตรวจสอบและปรับแผนตามสถานการณ์
4. ควบคุมอารมณ์ความอยากได้อยากมี เพื่อลดรายจ่าย สร้างความสนุกในการเก็บเงิน ให้ไม่ท้อถอยหรือยอมแพ้ระหว่างทาง
สมองซีกซ้าย (Convergent Thinking)
1. รู้จักเรียนรู้เรื่องเงินทอง และการจัดการการทั้งหมด รวมถึงแนวความคิดการออม
2. จัดหมวดหมู่รายรับ - รายจ่าย คำนวณว่ามีรายรับเท่าไหร่ช่องทางไหนบ้าง และต้องจ่ายเท่าไหร่ค่าอะไรบ้าง
3. ตัดสินใจตั้งเป้าหมายของตนเอง พร้อมกับกำหนดระยะเวลาที่จะไปถึงเป้าหมายด้วย แจกแจงรายละเอียด
4. ตรวจสอบ/ติดตามการใช้เงินของตนเอง ว่าเป็นไปตามแผนที่วางไว้ไหม ถ้าไม่ก็ต้องทบทวนว่ามีสาเหตุจากตรงไหน
สุดท้ายนี้ aomMONEYขอแนะนำนักออมหน้าใหม่ต้องมีเงินออมเผื่อมฉุกเฉินที่ครอบคลุมรายจ่ายประจำอย่างน้อย 6 เดือนนะครับ แล้วหลังจากบรรลุเป้าหมายการออมจึงจะนำสินทรัพย์ที่มีไปลงทุนให้งอกเงยต่อไปครับ