สวัสดีครับนักลงทุนในกองทุนรวมทุกท่าน คำถามที่ผมได้รับบ่อย ๆ และยังคงมีเข้ามาเรื่อย ๆ ที่ คลินิกกองทุน แห่งนี้ ส่วนมากก็จะถามว่า เราจะลงทุนในกองทุนไหนดี ? …. เรียกได้ว่าเป็นทางลัด ตัดตรงไปที่กองทุนเลย เหมือนกับกำลังจะขอเลขเด็ดแบบทีเดียวรวยซะอย่างนั้น

ซึ่งผมคงต้องบอกว่า การลงทุนในกองทุนนั้น ถึงแม้ว่าจะค่อนข้างง่ายและไม่ซับซ้อนเสียเท่าไหร่นัก แต่ก็ไม่ได้ง่ายจนถึงขนาดที่จะสามารถเลือก และแนะนำเป็นกองทุนรายกองได้อย่างถูกต้องแม่นยำครับ ประกอบกับว่ากองทุนที่เราเลือกนั้น ก็มีโอกาสไม่มากที่จะไปได้ดีแบบตลอดรอดฝั่งครับ ทั้งนี้ก็เพราะว่าปัจจัยหลาย ๆ อย่าง เช่น สภาพเศรษฐกิจ หรือว่าภาวะตลาดการลงทุนที่ผันผวนครับ

แต่สิ่งที่จำเป็นของนักลงทุนในกองทุนรวมต้องคิดไว้เสมอนั่นก็คือ ต้องรู้จักกองทุนของตนเองที่กำลังถืออยู่ว่าเป็นกองทุนประเภทไหน แบบไหน มีกลยุทธ์การลงทุนอย่างไร ซึ่งกลยุทธ์การลงทุน และแนวทางการลงทุนนี่แหละครับ ที่บางครั้งจะเป็นตัวกำหนดผลตอบแทนของการลงทุนได้อย่างมีนัยยะสำคัญ และถ้าสอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจด้วยแล้ว ก็จะยิ่งทำให้ผลตอบแทนของกองทุนนั้น ๆ ดีมากขึ้นไปด้วยครับ

ที่เป็นแบบนี้ก็เพราะว่าบางครั้ง ถ้าหากกองทุนเองมีกลยุทธ์ และแนวทางการลงทุนที่ดีมากก็จริง แต่สุดท้ายสภาพตลาดหรือว่า สภาพแวดล้อมนั้นไม่เอื้ออำนวย ก็อาจจะทำให้ผลตอบแทนผิดเพี๊ยนไปได้เหมือนกัน เช่น ถ้ากองทุนถือหุ้นเล็กอยู่ แต่สภาพเศรษฐกิจ และตลาดการลงทุนเริ่มฟื้นตัวอย่างร้อนแรง อาจจะทำให้หุ้นใหญ่ หรือหุ้นในบางกลุ่มอุตสาหกรรมนั้นปรับตัวขึ้นไปก่อน แล้วค่อยตามด้วยหุ้นที่มีขนากลาง หรือขนาดเล็กก็เป็นไปได้ครับ ทำให้ผลตอบแทนจากการลงทุนในหุ้นที่เราถืออยู่นั้น ทำผลตอบแทนได้ดีไม่เท่า

ซึ่งในทางกลับกันแล้ว กองทุนที่ถือหุ้นใหญ่ ๆ ก็อาจจะทำผลตอบแทนได้ดีกว่า เช่นในปีที่แล้ว หุ้นในกลุ่มพลังงาน และหุ้นขนาดกลาง - ใหญ่ นั้นปรับตัวขึ้นตามภาวะราคาน้ำมันที่สูงมากขึ้น การท่องเที่ยวที่ดีขึ้น รวมถึงโครงสร้างพื้นฐานที่ทำให้หุ้นในกลุ่มก่อสร้างปรับตัวดีขึ้นไปด้วย และมากกว่าในกลุ่มหุ้นเล็กครับ

ผลการดำเนินงานในอดีตของกองทุนรวมมิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงราคา/ผลตอบแทนในอนาคต

เห็นไหมครับว่าการที่เราจะลงทุนในกองทุนประเภทไหน มีกลยุทธ์อะไรก็มีความสำคัญ และมีผลต่อผลตอบแทนที่จะได้รับอย่างชัดเจน

พอถึงตรงนี้หลาย ๆ ท่านอาจจะคิดว่า แล้วเราจะลงทุนกับกองทุนหุ้นแบบไหนดี จะหุ้นเล็ก หุ้นกลาง หุ้นขนาดใหญ่ หรือว่าจะลงทุนในหุ้นที่มีปันผลสูง หรือว่าเน้นว่ามีการเติบโตสูง ผมเองก็คงตอบทุกท่านไม่ได้เหมือนกันครับ ว่าหุ้นกลุ่มไหนจะดี เพราะว่าต้องใช้การคาดการณ์ และมีความชำนาญสูงในการมองภาพรวม ซึ่งหลาย ๆ คนก็พยายามที่จะพยากรณ์ หรือคาดเดาจากข้อมูลทางเศรษฐกิจ และตลาดการลงทุนแต่ก็ยังมีโอกาสผิดพลาดอยู่เหมือนกันครับ

โดยปัญหาที่เกิดขึ้นนี้ เราก็พอที่จะแก้ไขได้อยู่บ้าง และผมคิดว่าจะทำให้การลงทุนของเราไม่สะดุดลง นั่นก็คือการลงทุนในกองทุนที่มีความแตกต่างกันของกลยุทธ์ และ ประเภทของหุ้นที่ลงทุน เช่น เราอาจจะเลือกกองทุนหุ้นเล็ก กับกองทุนหุ้นใหญ่ มาผสมกันในพอร์ตการลงทุนครับ

ซึ่งความยุ่งยากจะบังเกิดก็ตอนนี้ ตอนที่เรามีหลาย ๆ กองทุนผสม ๆ กันอยู่ในพอร์ตการลงทุน บางคนอาจจะมีมากเกินไปทำให้บริหารได้อย่างยากลำบาก

ถ้ารู้สึกว่าเราเองไม่ได้มีเวลาในการบริหารพอร์ตการลงทุนแล้ว เราอาจจะใช้อีกทางเลือกหนึ่งในการลงทุนก็ได้นั่นก็คือ การเลือกกองทุนที่มีหุ้นหลากหลายในพอร์ตการลงทุน หรือ Unconstrained (เพราะเราไม่ได้จำกัดแค่ขนาด (Cap) ของหุ้น แต่รวมไปถึงทุกสไตล์ด้วย หุ้นปันผล หุ้นเติบโต)

แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นกับผู้จัดการกองทุนแล้วละครับว่า จะเลือกหุ้นกลุ่มไหน ขนาดไหนเป็นพิเศษ เพื่อให้ได้ผลตอบแทนที่น่าพอใจครับ

คราวนี้เรามาดูตัวอย่างกองทุนที่เป็นแบบ Unconstrained กันบ้างครับ นั่นก็คือ กองทุน KFTSTAR-D ที่กำลังจะ IPO ครับ เรามาดูกันว่ากองทุนมีแนวทางการลงทุนแบบไหน และมีการคัดเลือกหุ้นอย่างไรกันครับ

กองทุนเปิดกรุงศรีไทยออลสตาร์ปันผล หรือว่า KFTSTAR-D นั้น จะเน้นลงทุนในหุ้นที่มีศักยภาพในการสร้างผลตอบแทนที่ดี ในแต่ละภาวะเศรษฐกิจ แต่ยังคงถูกมองข้ามจากนักลงทุน ซึ่งส่วนใหญ่หุ้นเหล่านี้จะให้ผลตอบแทนที่ดี และสูงมาก โดย บลจ.กรุงศรี เอง ก็จะยังมีนโยบาย และแนวทางการลงทุนแบบ Bottom-up หรือว่าดูหุ้นเป็นรายตัวจากพื้นฐานที่ดีจริง ๆ ไม่ได้เน้นการเก็งกำไรในระยะสั้น

ซึ่งที่ บลจ.กรุงศรี ออกกองทุนนี้จะออกมาเพื่อเติมเต็ม กองทุนที่ยังขาดหายไปครับ เพราะว่ากองทุนที่เป็นโมเดลแบบ ผสมหุ้นปันผลกับ หุ้นเติบโตนั้นยังไม่มีที่เป็น Multi-Cap มีแต่ส่วนที่เป็นหุ้นเล็ก และ เน้นลงทุนในหุ้นเพียง 15-20 ตัวอย่าง KFDNM-D และ KFDYNAMIC ส่วนกองทุนอื่นอย่าง KFSDIV ก็เน้นหุ้นปันผลดี หรือ KFSEQ กับ KFSEQ-D ก็จะเน้นหุ้นเติบโตสูงไปเลย ซึ่งเรียกได้ว่ากองทุนนี้เพิ่มความยืดหยุ่นให้ผู้จัดการกองทุนในการเฟ้นหาหลักทรัพย์ที่มีโอกาสสร้างผลตอบแทนที่ดีให้กับผู้ลงทุนได้อย่างเต็มที่เลยล่ะครับ

ส่วนกระบวนการคัดเลือกหุ้น ก็เริ่มจากการที่หาหุ้นที่น่าสนใจ และเข้าไปดูถึงงบการเงินของบริษัท ฯ นั้น ๆ ก่อนที่จะวิเคราะห์ในฝั่งของคุณภาพด้วย เช่นบริษัท ฯ มีการบริหารงานที่ดีหรือไม่อย่างไร มีจุดแข็ง จุดอ่อนตรงไหน จากนั้นก็นำหุ้นไปผ่านที่ประชุม หรือ Investment Committee ว่าที่ประชุมชอบหุ้นที่เลือกมาหรือไม่ จนได้หุ้นประมาณ 70-90 ตัว จากหุ้นไทยประมาณ 600 กว่าตัวครับ

แต่ก็ไม่ได้ลงทุนทั้งหมด 70-90 ตัว แต่จะดูถึง สภาพคล่องของหุ้นแต่ละตัว และราคาหุ้นว่าเหมาะสมในการลงทุนหรือไม่อย่างไร โดยมีมุมมองการลงทุนประมาณ 6 เดือน – 1 ปี เพื่อให้ทันต่อสภาวะแวดล้อมทางเ