โครงสร้างประชากรโลกกำลังเปลี่ยนแปลง...

จากข้อมูลของ U.N. Population Division** ในปี 2010  พบว่าโครงสร้างของประชากรโลกในอนาคตมีแนวโน้มเปลี่ยนแปลง โดยเป็นผลพวงสำคัญที่เกิดมาจากการพัฒนาสภาพเศรษฐกิจ ความเจริญรุ่งเรืองทางการแพทย์ และความก้าวหน้าของเทคโนโลยีในปัจจุบัน

เนื่องจากในอดีตช่วงปี 1900 – 1999 สังคมโลกพบกับสงครามครั้งรุนแรงมาอย่างต่อเนื่อง ทั้งสงครามโลกครั้งที่ 1 ในช่วงปี 1914 – 1918 สงครามโลกครั้งที่ 2 ในช่วงปี 1939 – 1945 ประชากรส่วนมากจึงไม่มีอายุยืนยาวนัก  รวมถึงพัฒนาการของเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ก็เพิ่งมาพัฒนาอย่างรวดเร็วในช่วง 100 ปีหลังนี้ ยกตัวอย่างเช่น การค้นพบเพนิซิลลินซึ่งถือเป็นการเปลี่ยนแปลงวงการยาปฏิชีวนะของโลกก็เพิ่งเกิดขึ้นในช่วงปี 1928 หรือไม่ถึง 100 ปีที่ผ่านมาเช่นเดียวกัน

แนวโน้มโครงสร้างประชากรในอนาคตของโลก มีลักษณะที่สำคัญและเด่นชัด 3 อย่าง ได้แก่ จำนวนประชากรเพิ่มมากขึ้น, จำนวนชนชั้นกลางเพิ่มมากขึ้น และจำนวนผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้น

ที่มา :** OECD (Maddison); UN Population  Division; Goldman Sachs Global ECS Research, August 2012; Fidelity International, March 2012.; Demographic Buyback report, July 2011.

1. การเพิ่มขึ้นของประชากร

จากภาพด้านบน  พบว่าประชากรโลกมีแนวโน้มเพิ่มจากกว่า 6,000 ล้านคนเป็น 9,600 ล้านคนในปี 2050  มีผลสำคัญที่จะทำให้ความเป็นเมืองที่ขยายมากขึ้น (Urbanization) เนื่องมาจากความต้องการในการรองรับการเพิ่มขึ้นของประชากร โดยเฉพาะระบบสาธารณูปโภคพื้นฐาน เพราะมีการเคลื่อนย้ายถิ่นฐานของประชากรจากชนบท เข้าสู่ตัวเมือง

2. การเพิ่มขึ้นของชนชั้นกลาง

ในขณะที่รายได้ต่อหัวของประชากรทยอยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทั่วโลก จำนวนของชนชั้นกลางหรือกลุ่มคนที่มีรายได้มากกว่า 6,000 เหรียญสหรัฐต่อปีก็ทยอยเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ด้วยเช่นกัน โดยลักษณะสำคัญของชนชั้นกลางคือจะมีรูปแบบการใช้ชีวิตที่เปลี่ยนไป และ มีการจับจ่ายใช้สอยเพื่ออำนวยความสะดวก หรือเพื่อตอบสนองความต้องการในเชิงคุณค่าทางความรู้สึกของตนเองเพิ่มมากขึ้น อย่างเช่นการท่องเที่ยวเพื่อเก็บเกี่ยวประสบการณ์ หรือ มีการซื้อสินค้าและบริการที่มีความหรูหรา

3. การเพิ่มขึ้นของผู้สูงอายุ

จากแผนภูมิโครงสร้างประชากรในปี 1950-2050 ภาพด้านบน  ในปี 1950 ภาพจะมีลักษณะเหมือนปีระมิดและจะค่อยๆ กลายสภาพเป็นภาพระฆังคว่ำมากขึ้นเรื่อยๆ ในปี 2050  เหตุมาจากวิทยาการทางการแพทย์ที่เพิ่มมากขึ้นทำให้อัตราการเสียชีวิตของประชากรลดน้อยลง  ทำให้ส่วนยอดของภาพมีขนาดที่กว้างขึ้น ซึ่งหมายถึง การเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากรสูงอายุ จึงทำให้มีการนำสินค้าหรือเครื่องอุปโภค บริโภค เพื่อตอบสนองผู้สูงอายุมีมากขึ้นเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็น ยารักษาโรค ความต้องการทางการแพทย์ บ้านพักคนชรา หรือ กิจกรรมต่างๆ ที่สนับสนุนการใช้เวลาว่างหลังเกษียณของผู้สูงอายุซึ่งมีอำนาจการจับจ่ายใช้สอยที่สูง  อาทิเช่น การล่องเรือเที่ยวรอบโลก  ฯลฯ

เราจะสามารถลงทุนในเมกะเทรนด์เหล่านี้อย่างไรได้บ้าง?

"SCBPOP" กองทุนเปิดไทยพาณิชย์ Global Population Trend และ "SCBRMPOP" กองทุนเปิดไทยพาณิชย์ Global Population Trend เพื่อการเลี้ยงชีพ คือกองทุนรวมที่เน้นการลงทุนที่ตอบโจทย์การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของประชากรโลกในอนาคตอย่างการเพิ่มขึ้นของประชากร การเพิ่มขึ้นของชนชั้นกลาง และการเพิ่มขึ้นของผู้สูงอายุ

SCBPOP & SCBRMPOP กองทุนมีนโยบายลงทุนในตราสารทุน และ/หรือตราสารแห่งหนี้ และ/หรือตราสารกึ่งหนี้กึ่งทุน และ/หรือเงินฝาก และ/หรือหน่วยลงทุนของกองทุนในต่างประเทศ เช่น หน่วย CIS และ/หรือหน่วยลงทุนกองทุนอีทีเอฟ (ETF) เป็นต้น โดยลงทุนในตราสาร และ/หรือหลักทรัพย์ที่ได้รับประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากร โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน และกองทุนอาจลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (Derivatives) เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน (Hedging) ตามความเหมาะสมสำหรับสภาวการณ์ในแต่ละขณะ ซึ่งขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของผู้จัดการลงทุน  ความเสี่ยงกองทุนอยู่ระดับ 6

SCBPOP & SCBRMPOP จะเน้นลงทุนในสินทรัพย์ทั่วโลกผ่านกองทุน Fidelity Global Demographics Fund ซึ่งเน้นลงทุนในหุ้นที่ได้รับประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากร 

ซึ่งกองทุนดังกล่าวก็ถือว่ามีความน่าสนใจมากในการบริหาร เนื่องจากเน้นการลงทุนในหุ้นที่มีการเติบโตอย่างยาวนาน กระจายความเสี่ยงหลายอุตสาหกรรม วิเคราะห์เน้นการลงทุนในหุ้นรายตัวเชิงลึก และเปลี่ยนหุ้นสลับไปมาไม่บ่อยนัก ซึ่งผลตอบแทนในอดีตของกองทุนก็สามารถเอาชนะตลาดได้อย่างต่อเนื่อง

ที่มา : Fidelity ณ 31 สิงหาคม 2560

สำหรับหุ้นที่ถืออยู่ในพอร์ต (ข้อมูล ณ พฤษภาคม 2560) ก็ถือว่าน่าสนใจทีเดียว เพราะเปิดชื่อไปดูแต่ละกิจการก็ถือว่าเป็นกิจการระดับโลกและดูมีแนวโน้มที่ดีในอนาคต

ยกตัวอย่างเช่น Zara แบรนด์เสื้อผ้าที่ทุกคนคงคุ้นหูกันอยู่  L’Oreal จากประเทศฝรั่งเศส เจ้าของแบรนด์เครื่องสำอางและสินค้าอุปโภคชั้นนำระดับโลก Abbott Laboratories บริษัทยาและสินค้าสุขภาพจากประเทศสหรัฐ ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ดังๆ ก็อย่างอาหารทางการแพทย์ Ensure นอกจากนี้ยังมีบริษัท LVMH เจ้าของแบรนด์กระเป๋าชื่อดังอย่าง Louis Vuitton และร้านเครื่องสำอางสุดหรูหราอย่าง Sephora ที่สาวๆ หลายคนโปรดปราน

แค่อ่านก็น่าสนใจแล้ว!

SCBPOP & SCBRMPOP จะเปิดขายหน่วยลงทุนครั้งแรกวันที่ 31 ตุลาคม – 6 พฤศจิกายน 2560  เพื่อให้ตอบสนองทุกโจทย์ตามความต้องการของผู้ลงทุน แม้แต่นักลงทุนที่ต้องการลงทุนเพื่อการเกษียณ และสามารถได้สิทธิประโยชน์ทางภาษีในอีกทางหนึ่งด้วยหากสนใจรายละเอียดเพิ่มเติม สามารถเข้าไปดูได้ที่ http://bit.ly/scbpop

นอกจากนี้เนื่องจากการลงทุนทุกชนิดมีความผันผวนมาจากสิ่งต่าง ๆ มากมาย และกองทุนรวมนี้อาจจะเผชิญกับความผันผวนดังกล่าวด้วยเช่นกัน ยกตัวอย่างเช่น ความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน ดังนั้น ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลให้ครบถ้วนก่อนตัดสินใจลงทุนกันครับ

ทั้งนี้ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า นโยบายการลงทุน เงื่อนไขผลตอบแทน ความเสี่ยง และสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ระบุในคู่มือการลงทุนก่อนตัดสินใจลงทุน  ซึ่งหากไม่ได้ลงทุนตามเงื่อนไข อาจไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ และ ผลการดำเนินงานในอดีตของกองทุนรวม มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต

"ประชากรเพิ่มมากขึ้น คนชั้นกลางเพิ่มมากขึ้น และผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้นเป็นแนวโน้มที่ชัดเจนว่าน่าจะเกิดขึ้นในอนาคต"

ข้อดีของการลงทุนในการเปลี่ยนแปลงในโครงสร้างเชิงสังคมคือ แนวโน้มเหล่านี้มักเปลี่ยนแปลงได้ช้า และมีช่วงเวลาก็เติบโตที่นานหลายสิบปี

หากใครชอบลงทุนระยะยาวแบบถือสะสมมูลค่าความมั่งคั่งไปเรื่อยๆ การลงทุนในแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงประชากรโลกทั้ง 3 อาจคือคำตอบสำหรับคุณ

ลงทุนศาสตร์ - Investerest

บทความนี้เป็น Advertorial