หากใครติดตามตลาดหุ้นเวียดนามจะทราบว่าดัชนีตลาดค่อนข้างผันผวนไม่แพ้ตลาดหุ้นไทย

ตลาดหุ้นเวียดนาม ถือว่ามีขนาดเล็กมากเมื่อเทียบกับขนาดเงินลงทุนจากต่างประเทศ เมื่อเงินลงทุนจากชาวต่างชาติไหลออกจากความกังวลเรื่องการขึ้นดอกเบี้ยจากธนาคารกลางสหรัฐอเมริกา ผลกระทบต่อตลาดหุ้นจึงค่อนข้างมาก เพราะเงินที่ไหลออกที่ว่าก้อนใหญ่อย่างมีนัยสำคัญรวมกับภาพตลาดรวมของทั้งประเทศ

แต่หากมองในเชิงพื้นฐานเศรษฐกิจ เวียดนามยังมีภาพไม่ต่างไปจากเดิม “ประเทศเวียดนามยังถือว่าเป็นประเทศที่มีความน่าสนใจในการลงทุนอย่างเช่นในช่วง 3 ปีที่แล้วที่ตลาดหุ้นขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง สิ่งสำคัญคือตลาดหุ้นเวียดนามยังมีขนาดไม่ใหญ่นักจึงนำมาซึ่งความผันผวนที่ค่อนข้างมาก” แน่นอนว่าความผันผวนอาจจะเป็นวิกฤตในระยะสั้น แต่ถ้าหากมองว่าในระยะยาว ประเทศเวียดนามมีแนวโน้มจะเติบโตไปได้อีกไกลแล้ว ความผันผวนอาจจะถือเป็นโอกาสในการเข้าลงทุนระยะยาวก็เป็นได้

ประเทศเวียดนามกำลังเป็นประเทศที่หอมหวานสำหรับนักลงทุน

หากมองย้อนกลับไปในอดีต ประเทศเวียดนามถือว่ามีการเติบโตสูงมาก หากดูที่ GDP หรือผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ อ้างอิงจากข้อมูลย้อนหลังของ Trading Economics เราจะพบว่าประเทศเวียดนามมีการเติบโตของเศรษฐกิจสูงมากในช่วงเวลา 18 ปีที่ผ่านมา โดย GDP ของเวียดนามโดยเฉลี่ยแล้วเติบโตสูงถึง 6.25% ในขณะที่ GDP ของประเทศไทยในปัจจุบันส่วนใหญ่เติบโตประมาณ 3-4% เท่านั้น

ประเทศเวียดนามจึงน่าสนใจในมุมมองของการโตแบบยกแผงหรือโตแบบทั้งประเทศ

เวียดนามเองมีระดับรายได้เฉลี่ยต่อหัวประชากรต่อปีที่ 7,500 เหรียญสหรัฐฯต่อหัวต่อปี หรือถ้าคิดเป็นรายเดือนประมาณ 20,000 บาทต่อหัวต่อเดือน ซึ่งถือว่าไม่มากนักหากเทียบกับประเทศไทยตอนนี้ที่มีรายได้เฉลี่ยต่อหัวประชากรต่อปีอยู่ที่ 15,000 เหรียญต่อหัวต่อปี หรือประมาณ 40,000 บาทต่อหัวต่อเดือน หากมองแค่ว่าอนาคตประเทศเวียดนามเองจะมีโอกาสเติบโตมาใกล้หรือสูสีกับประเทศไทยในปัจจุบัน ประเด็นตรงนี้ก็ทำให้มองได้ว่าขนาดเศรษฐกิจของประเทศเวียดนามเองยังมีศักยภาพในการเติบโตได้อีกมาก

งานวิจัยชิ้นหนึ่งของ Pricewaterhousecoopers (PwC) ได้พูดถึงอันดับทางเศรษฐกิจของประเทศในอนาคตไว้อย่างน่าสนใจมาก

โดย PwC คาดการณ์ว่าภายในปี 2593 ประเทศเวียดนามจะไต่อันดับประเทศที่มีขนาดทางเศรษฐกิจ (วัดจาก GDP และ Purchasing Power Parity แต่ละประเทศ) ขึ้นจากลำดับ 32 ในปี 2014 ไปที่ 22 ในปี 2593 ซึ่งถือได้ว่ามีการก้าวกระโดดเป็นอย่างมาก หากเทียบกับประเทศไทยที่จะทรงตัวที่ลำดับที่ 21 ตั้งแต่ปี 2014 ถึง 2593 (แต่ก็ถือว่าดีมากแล้ว เพราะหลายประเทศโดยเฉพาะโซนยุโรปนั้นตกอันดับอย่างมาก การรักษาตำแหน่งไว้ได้ก็ถือได้ว่ามีการเติบโตในระดับค่าเฉลี่ยโลก)

หากนักลงทุนสนใจลงทุนในเวียดนาม นักลงทุนมีตัวเลือกอะไรให้เลือกบ้าง?

วิธีแรกที่นักลงทุนไทยหลายคนนิยมคือการลงทุนในหุ้นรายตัวของประเทศเวียดนามเลย วิธีนี้จะดีสำหรับนักลงทุนที่มีเวลาและความรู้อยู่พอสมควร เพราะการติดตามข้อมูลหุ้นรายตัวของหุ้นต่างประเทศนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย 

หากเราเน้นลงทุนระยะยาว มีเวลาไม่มาก ไม่อยากติดตามเอง และที่สำคัญ หากเรามองว่าอยากลงทุนในประเทศ ไม่ได้เน้นว่าจะโฟกัสไปที่หุ้นตัวใดตัวหนึ่งเป็นพิเศษ การเลือกลงทุนในกองทุนรวมก็ถือเป็นคำตอบที่น่าสนใจมาก

รู้จักกับกองทุน “United Vietnam Opportunity Fund” (UVO) หรือ “กองทุนเปิด ยูไนเต็ด เวียดนาม ออพพอร์ทูนิตี้ ฟันด์”

UVO คือกองทุนภายใต้การดูแลของ บลจ.ยูโอบี (ประเทศไทย) จำกัด โดยเป็นกองทุนประเภท Fund of Funds หรือรวบรวมเงินของนักลงทุนไปลงทุนในกองทุนหุ้นในประเทศเวียดนามอีกทีหนึ่ง และที่สำคัญ “UVO คือกองทุนหุ้นเวียดนามที่การกระจายลงทุนอย่างครอบคลุม บริหารโดยผู้เชี่ยวชาญสัญชาติเวียดนามที่มีประสบการณ์โดยตรง และผู้จัดการกองทุนระดับโลก และกองทุนนี้ยังสามารถซื้อขายได้ทุกวันทำการ และได้รับเงินค่าขายคืนภายใน 5 วันทำการ ตามที่ระบุใว้ในหนังสือชี้ชวนอีกด้วย”

กองทุนรวมนี้จัดเป็นกองทุนที่มีความเสี่ยงระดับ 6 (กองทุนรวมกลุ่มตราสารทุน) และมีการป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุนเพื่อให้สอดคล้องตามแต่ละสถานการณ์

โดยจุดเด่นแรกคือ กระจายลงทุนแบบครอบคลุมผ่านหลายกองทุน

1. กองทุน VCG partners Vietnam Fund (VVF) โดย Vina Capital

VINA ถือเป็นบริษัทจัดการกองทุนรวมสัญชาติเวียดนามที่มีความสามารถโดดเด่นอีกแห่งหนึ่งของเวียดนาม แต่ยังไม่มีนักลงทุนในไทยได้เข้าไปลงทุนในกองทุนนี้มากนัก การลงทุนกับ VINA จะนำมาซึ่งศักยภาพของหุ้นตัวใหม่ๆ ที่กองทุนที่มีการเสนอขายให้กับนักลงทุนไทยอยู่แล้วในขณะนี้ยังไม่ได้เข้าไปลงทุน

2. กองทุน Vietnam Equity (UCITS) Fund (VEF) โดย Dragon Capital

Dragon Capital คือบริษัทจัดการกองทุนสัญชาติเวียดนามเช่นกัน ตรงนี้จะมีข้อดีในการมองเห็นภาพของเวียดนามที่แท้จริง การเข้าถึงข่าวสารและการเข้าใจพฤติกรรมผู้บริโภคชาวเวียดนาม รวมไปถึงธุรกิจต่างๆ อย่างลึกซึ้ง

3. กองทุน Vietnam Opportunities Fund (VOF) โดย J.P. Morgan Asset Management

อย่างที่ทราบกันดีว่า J.P. Morgan เป็นบริษัทจัดการกองทุนระดับโลก การเสริมพอร์ตด้วยกองทุนจากมุมมองของนักลงทุนชาวต่างชาติจะช่วยเสริมความแข็งแกร่งจากแกนหลักของกองทุนที่เป็นการบริหารของชาวเวียดนาม โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาพปัจจัยมหภาคและการเติบโตของแต่ละภาคธุรกิจในอนาคต

4. กองทุน Xtrackers FTSE Vietnam Swap UCITS ETF โดย Deutsche Asset Management

กองทุน ETF นี้เป็นกองทุนที่เน้นสร้างผลตอบแทนให้เหมือนกับหุ้น 20 – 30 ตัวแรกของดัชนีหุ้นเวียดนาม (ที่ไม่ติดเพดานการซื้อหุ้นจากชาวต่างชาติ) การมี ETF จะเข้ามาช่วยสร้างสภาพคล่องให้การลงทุนคล่องตัวมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในตลาดหุ้นเวียดนามที่ขึ้นชื่อในเรื่องปริมาณการซื้อขายต่อวันค่อนข้างน้อย

*สามารถศึกษาข้อมูลกองทุนดังกล่าวข้างต้นได้ที่ www.uobam.co.th/th/mutual-fund/00568/UVO

“นอกจากเรื่องการกระจายความเสี่ยงแล้วUVO ก็ถือว่าลงทุนในหุ้นเวียดนามได้ครอบคลุมมากที่สุดกองหนึ่ง”

โดยผู้จัดการกองทุนของ UVO สามารถปรับสัดส่วนการลงทุนในกองทุนรวมต่างประเทศที่กองทุนไปลงทุนได้ตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน ซึ่งตรงนี้ถือเป็นข้อดีของการลงทุนในกองทุนหลายกองผสมผสานกัน การลงทุนไม่พึ่งพิงความสามารถของกองทุนใดกองทุนหนึ่งทั้งหมด แต่ใช้การกระจายความเสี่ยงและการปรับพอร์ตได้ตามสถานการณ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการได้ ETF เข้ามาเพิ่มความยืดหยุ่นด้านสภาพคล่อง

การกระจายการลงทุนผ่านกองทุนที่คัดสรรมาแล้ว ถือเป็นการกระจายการลงทุนในเวียดนามได้กว้างและหลากหลายมากกว่าเลือกลงทุนผ่านกองทุนแม่เพียงกองเดียว

จุดเด่นนี้ถือว่าตรงจริตกับนักลงทุนที่มองภาพการเติบโตของเวียดนามทั้งประเทศได้เลย และการกระจายลงทุนในหุ้นจำนวนมากก็ถือว่าช่วยลดความเสี่ยงจากการผันผวนของหุ้นรายตัวไปได้มากอีกด้วย

จุดเด่นอีกอย่างของ UVO คือสามารถซื้อขายได้ทุกวัน ได้รับเงินค่าขายคืนภายใน 5 วันทำการตามที่ระบุใว้ในหนังสือชี้ชวน

ตรงนี้ถือว่าน่าสนใจสำหรับนักลงทุนรายย่อยมาก เพราะปัจจุบันการลงทุนในเวียดนามที่สามารถหาลงทุนได้ในไทยจะมีข้อจำกัดด้านการซื้อขาย แต่กองทุน UVO มีการลงทุนในกองทุน ETF ที่เกาะกับหุ้น 20 – 30 ตัวแรกของดัชนีหุ้นเวียดนาม (ที่ไม่ติดเพดานการซื้อหุ้นจากชาวต่างชาติ) การมี ETF จะเข้ามาช่วยสร้างสภาพคล่องให้การลงทุนคล่องตัวมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในตลาดหุ้นเวียดนามที่มีปริมาณการซื้อขายต่อวันค่อนข้างน้อย ทำให้นักลงทุนสามารถเลือกทยอยลงทุนสะสมในระยะยาวได้ เช่น นักลงทุนอาจทยอยลงทุนทุกเดือนเดือนละเท่าๆ กันสะสมไปเรื่อยๆ เงินลงทุนเริ่มต้นเพียง 2,000 บาท และการซื้อครั้งต่อไปก็ไม่จำกัดวงเงิน ทำให้นักลงทุนรายย่อยสามารถเริ่มต้นลงทุนในประเทศเวียดนามได้ในระยะยาว

อย่างไรก็ตามต้องทิ้งท้ายไว้หน่อยว่าการลงทุนในต่างประเทศมีความเสี่ยง

หากจะลงทุนในกองทุนรวมต่างประเทศแล้ว สิ่งหนึ่งที่แนะนำเสมอคือเลือกประเทศที่เติบโตได้ดีในระยะยาว และลงทุนระยะยาวไปด้วย การพยายามจับจังหวะตลาดอาจจะทำได้ยากมากเพราะจะมีประเด็นหลายอย่างมาเกี่ยวข้อง ตั้งแต่สภาพเศรษฐกิจไปจนถึงอัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา

ดังนั้น หากสนใจลงทุนจึงแนะนำการซื้อทยอยสะสมไปอย่างต่อเนื่อง หรือถ้าอยากจะลงแบบก้อนใหญ่ก็ต้องเน้นเงินเย็น รอเวลาให้ประเทศได้เติบโตอย่างที่คิด อย่าลืมว่าเราวิเคราะห์ภาพจากมุมกว้าง และการกระจายความเสี่ยงก็เป็นเรื่องสำคัญ จึงต้องจัดพอร์ตภาพรวมการลงทุนให้เหมาะสมกับความเสี่ยงที่รับได้

หากสนใจติดต่อผู้สนับสนุนการขายหรือรับซื้อคืนที่ บลจ.แต่งตั้ง หรือที่ บลจ.ยูโอบี โทร. 0 2786 2222หรือที่ www.uobam.co.th

ซินจ่าว !

ลงทุนศาสตร์ – Investerest

คำเตือน :

การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะกองทุน นโยบายการลงทุน เงื่อนไขผลตอบแทน ความเสี่ยง และผลการดำเนินงานกองทุนก่อนตัดสินใจลงทุนกองทุนนี้มีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนที่อาจเกิดขึ้นจากการลงทุนในต่างประเทศ ถึงแม้ว่ากองทุนอาจป้องกันความเสี่ยงตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุนรวม แต่เนื่องจากกองทุนไม่ได้ป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนทั้งจำนวน ผู้ลงทุนอาจจะขาดทุนหรือได้รับกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน/หรือได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้