โค้งสุดท้ายแล้ว!! ใครที่กำลังมองหากองทุนลดหย่อนภาษี และยังไม่รู้ว่าจะเลือกกองทุนไหนดี วันนี้ aomMONEY มีกองทุนเด็ดจากทั้ง 4 ประเภทกองทุน RMF มาให้เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการลงทุน

ในช่วงที่เศรษฐกิจอยู่ในภาวะซบเซา มักทำให้บรรยากาศการลงทุนผันผวนตามไปด้วย หลายคนประสบปัญหาการเงินฝืดเคือง และไม่รู้ว่าควรจะเน้น เก็บเงินสำรองฉุกเฉินไว้ก่อน หรือเอาไปลงทุนเพื่อใช้สิทธิลดหย่อนภาษีก่อนดี 

อย่างไรก็ตาม ในความเป็นจริงแล้ว “เงินลงทุน” กับ “เงินฉุกเฉิน” ควรต้องแยกออกจากกัน แน่นอนว่าเงินสำหรับยามฉุกเฉินเป็นเรื่องที่จำเป็น ขณะเดียวกันเราก็ควรต้องกันเงินเอาไว้เพื่อลงทุนด้วย แต่เงินทั้งสองกองนี้ก็เป็นสิ่งที่ปรับเปลี่ยนและยืดหยุ่นได้ตามสถานการณ์ที่กำลังเผชิญอยู่ด้วย

ตัวอย่างเช่น ก่อนเกิดวิกฤติ COVID-19 เคยซื้อกองทุน RMF 1 แสนบาท แต่ปีนี้รายได้เท่าเดิมหรือลดลง แต่รายจ่ายเพิ่มสูงขึ้น ดูแล้วเงินอาจจะติดขัด ดังนั้น ความจำเป็นในระยะสั้นก็ต้องมาก่อน ก็อาจจะซื้อกองทุน RMF ด้วยจำนวนเงินที่ลดลง เพราะไม่จำเป็นต้องลงทุนด้วยจำนวนเงินเท่ากันทุกปีก็ได้ ทั้งนี้ ก่อนที่เราจะตัดสินใจลงทุนในกองทุน RMF ควรพิจารณาข้อมูลทั้ง 4 ข้อนี้ให้ดีเสียก่อน  

1. บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) นั้นๆ มีความมั่นคงมากน้อยแค่ไหน? 

ซึ่งสามารถดูข้อมูลได้จากเว็บไซต์แต่ละ บลจ. หรือติดตามข้อมูลข่าวสารจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (สำนักงาน ก.ล.ต.)

2. กองทุนนั้นใครเป็น ‘ผู้จัดการกองทุน’?

กองทุนที่มีผู้จัดการกองทุนที่ดี มีประสิทธิภาพ ถ้าเทียบกับ กองทุนที่มีผู้จัดการกองทุนที่แย่ ผลตอบแทนต่อปีอาจจะแตกต่างกันอย่างลิบลับ โดยเราสามารถดูข้อมูลได้จากหนังสือชี้ชวนของกองทุน (Fund Fact Sheet) เช่น ดูผลการดำเนินงานย้อนหลัง ซึ่งจะสะท้อนถึงความสามารถในการบริหารของผู้จัดการกองทุนนั้นๆ ด้วย 

3. นโยบายและสไตล์การบริหารกองทุนเป็นอย่างไร? 

กองทุนบางกองอาจจะมีนโยบายบริหารกองทุนที่เน้นการซื้อขายบ่อยๆ คือ มีอัตรา Turnover Ratio สูง บางกองอาจจะมีนโยบายบริหารกองทุนให้มี Turnover Ratio ต่ำๆ คือไม่เน้นซื้อขายบ่อย ๆ เป็นต้น โดยอัตรา Turnover Ratio บอกถึงการบริหารพอร์ตลงทุนของกองทุนนั้นเป็นอย่างไร ซึ่ง บลจ.จะประกาศข้อมูลในรายงานประจำปีของแต่ละกองทุน 

อย่างไรก็ตาม ในประเทศไทยยังไม่มีการจัดค่าความเหมาะสมของอัตรา Turnover Ratio แต่ในสหรัฐอเมริกาได้จัดค่ามาตรฐานไว้ที่ 100% ดังนั้น ถ้าอัตรา Turnover Ratio สูงๆ แสดงว่าผู้จัดการกองทุนปรับเปลี่ยนพอร์ตลงทุนบ่อย แต่ถ้ามีอัตราต่ำๆ แสดงว่าไม่ค่อยปรับเปลี่ยนพอร์ตลงทุน

4. ผลการดำเนินงานในอดีตทำได้ดีแค่ไหน?  

ต้องศึกษาผลตอบแทนในอดีตว่าเป็นอย่างไร ทำผลตอบแทนได้เพราะอะไร ทำไมถึงทำได้ ถึงแม้ว่าสำนักงาน ก.ล.ต. จะบอกว่าผลการดำเนินงานในอดีตไม่ได้บอกอนาคต แต่อย่างน้อยก็บอกได้ว่าหากผลงานในอดีตทำได้ดี ในอนาคตก็น่าจะทำได้ดี หรือหากอดีตทำได้แย่ นักลงทุนต้องคิดแล้วว่าในอนาคตจะเป็นอย่างไรบ้าง โดยดูผลดำเนินงานย้อนหลัง (เช่น 1 ปี, 3 ปี, 5 ปี, 10 ปี) เพราะถึงแม้จะเป็นกองทุน RMF เหมือนกัน แต่กองทุนแต่ละกองนั้นจะให้ผลตอบแทนต่างกัน บางกองทุนสร้างผลตอบแทนเป็นบวก บางกองทุนติดลบ

จากความหลากหลายของกองทุน RMF ดังนั้น ก่อนตัดสินใจซื้อต้องสำรวจตัวเองก่อนว่าชอบการลงทุนแบบไหน โดยสามารถเลือกลงทุนได้ตั้งแต่ความเสี่ยงต่ำๆ ไปจนถึงความเสี่ยงสูง ซึ่งมีความหลากหลายในการเลือกลงทุน 

อีกทั้ง ในระหว่างทางที่ลงทุน สามารถสับเปลี่ยน (Switch) กองทุนได้ เพื่อให้เหมาะสมกับรูปแบบการลงทุนของตัวเอง และสภาวะการลงทุนในช่วงเวลานั้นๆ ด้วย สำหรับใครที่ต้องการสับเปลี่ยนกองทุน RMF สามารถสับเปลี่ยนกี่ครั้งก็ได้ไม่จำกัดจำนวน กรณีสับเปลี่ยน บลจ.เดียวกันจะไม่มีค่าใช้จ่าย แต่สับเปลี่ยนต่าง บลจ. อาจมีเอกสารและค่าใช้จ่าย ซึ่งต้องศึกษาข้อมูลตามที่ระบุไว้ในแต่ละ บลจ. ด้วย 

5 อันดับ RMF "หุ้น" ผลตอบแทนสูงสุดปี 2565

5 อันดับ RMF "ตราสารหนี้" ผลตอบแทนสูงสุดปี 2565

5 อันดับ RMF "หุ้น" ผลตอบแทนสูงสุดปี 2565

5 อันดับ RMF "สินทรัพย์ทางเลือก" ผลตอบแทนสูงสุดปี 2565

หมายเหตุ:

  • ข้อมูลที่นำเสนอเป็นเพียงข้อมูลเพื่อใช้ในการประกอบการตัดสินใจลงทุน มิได้มีเจตนาในการชี้นำให้ซื้อหรือขายกองทุนดังกล่าว
  • ทุกการลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมก่อนตัดสินใจลงทุน
  • ผลการดำเนินงานในอดีตของกองทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลตอบแทนในอนาคต
    .