DW คืออะไร ใช้ยังไง ทำไมถึงมาแรง?

DW หรือ Derivative Warrant คือตราสารอนุพันธ์ (Derivatives) ประเภทสิทธิในการซื้อหรือขายสินทรัพย์ในอนาคต โดยราคาของ DW จะอ้างอิงไปตามหุ้นอ้างอิงที่หลักทรัพย์นั้นผูกสัญญาไว้

ยกตัวอย่างให้เห็นภาพ

สมมติว่าทุกวันนี้ราคาหุ้น PTT อยู่ที่ 50 บาท นักลงทุนสนใจซื้อขาย PTT ล่วงหน้า โดยสมมติให้ DW ที่มีให้เลือกมีดังนี้

สิทธิการซื้อ PTT ที่ราคา 45 บาท ใน 3 เดือนข้างหน้า โดยราคาของสิทธิหรือ DW ที่ขายอยู่ในตลาดอยู่ที่ 5.5 บาท สังเกตว่าหากนำสิทธิไปแปลงเลยวันนี้ ผู้ซื้อ DW จะได้เงิน 5 บาท โดยเงินสดที่จะได้รับทันทีนี้เรียกว่า Intrinsic Value ส่วนส่วนต่างอีก 0.5 บาทที่เกิดขึ้นคือค่าพรีเมี่ยมที่นักลงทุนต้องจ่ายเพื่อซื้อสิทธิหรือ DW มา

นักลงทุนต้องจ่ายพรีเมี่ยมเพราะการซื้อสิทธิหรือ DW สามารถเลือกได้ว่าจะใช้สิทธิหรือไม่ใช้ก็ได้ ทำให้นักลงทุนจำกัดโอกาสขาดทุน ยกตัวอย่างเช่น หาก 3 เดือนข้างหน้าราคาหุ้น PTT ลดต่ำลงไปมากกว่า 45 บาท หากใช้สิทธิแล้วจะขาดทุนทันที นักลงทุนก็ไม่จำเป็นต้องใช้สิทธิก็ได้ การขาดทุนสูงสุดก็จะถูกจำกัดไว้แค่เงินที่ใช้ซื้อสิทธิมา สังเกตว่านักลงทุนจะใช้เงินน้อยกว่าในการลงทุนหุ้นอ้างอิงโดยตรงและจำกัดขาดทุนในเงินส่วนนั้นด้วย ซึ่งผลประโยชน์ตรงนี้ก็แลกมาด้วยค่าพรีเมี่ยมที่ต้องจ่ายนั่นเอง

ในแง่สิทธิการขายก็เช่นกัน หากนักลงทุนคิดว่าอนาคตหุ้นจะตกลงก็ซื้อสิทธิการขายเพื่อจะทำกำไรได้ แต่ถ้าเกิดคาดการณ์ผิดทาง ผลการขาดทุนก็จะจำกัดการขาดทุนอยู่แค่สิทธิที่ซื้อมา เรียกง่ายๆ ว่า

หากคาดว่าหุ้นจะขึ้นทำสัญญาซื้อ (Call Warrant) จะได้กำไร หากคาดว่าหุ้นจะลงทำสัญญาขาย (Put Warrant) จะได้กำไร

ลองมาดูการลงทุน DW ในตลาดจริงบ้าง

DW ที่ซื้อขายในตลาดมี 2 แบบ คือ "Call DW" หรือสัญญาสิทธิในการซื้อ และ Put Warrant หรือสัญญาสิทธิในการขาย

โดยในปัจจุบันอ้างอิง DW จะอ้างอิงกับหุ้นรายตัว เช่น AOT PTT SCC หรือดัชนี เช่น SET50 SET100 เป็นต้น ซึ่งการสร้างความยืดหยุ่นในการลงทุนด้วยสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแบบนี้ก็มีข้อดีต่างๆ มากมาย

ข้อดีของการลงทุนด้วย DW

1. ใช้เงินเริ่มต้นไม่มาก

หากเราอยากลงทุนใน SCC เราอาจจะต้องใช้เงินประมาณ 50,000 บาทในการซื้อหุ้นให้ได้ครบ 100 หุ้น แต่การซื้อ DW อย่าง SCC19C1811A จะใช้เงินเพียง 13 บาทต่อ 100 หน่วย หรือหากอยากจะซื้อให้เทียบเท่ากับ SCC 100 หุ้นก็ต้องซื้อทั้งหมด 8,300 หน่วย หรือคิดเป็นเงินประมาณ 1,079 บาทเท่านั้น เห็นได้ว่าเราจะลงทุนด้วยเงินน้อยกว่า เพราะเหมือนเราทำสัญญาซื้อขายเฉพาะส่วนต่างราคาในช่วงแคบเท่านั้น ไม่ต้องใช้เงินซื้อทั้งหลักทรัพย์อ้างอิง

2. ทำกำไรได้ทั้งขาขึ้นและขาลง

การลงทุนในหุ้นจะเลือกทำกำไรจากขาขึ้นเป็นหลัก เพราะกลยุทธ์หลักคือ ซื้อ - ถือ - ขาย แต่ถ้าหุ้นเป็นขาลง การทำกำไรในหุ้นรายตัวจะเป็นเรื่องยากและมีความคล่องตัวน้อยกว่าการหันมาซื้อ DW ที่เป็น Put Warrant แทน ด้วยความยืดหยุ่นของสัญญาที่มีให้เลือกทั้งการซื้อและขายสามารถทำให้เราทำกำไรได้ไม่ว่าหุ้นอ้างอิงจะขึ้นหรือจะลง (หากเราคาดเดาราคาได้ถูกทาง)

3. จำกัดการขาดทุน

การซื้อขาย DW เหมือนเป็นการซื้อขายราคาหุ้นในช่วงแคบ การขาดทุนจึงจำกัดอยู่แค่จำนวนเงิน DW ที่เราซื้อหรือขายเท่านั้น ยกตัวอย่างเช่นในข้อแรกที่เราซื้อขาย DW แทนการซื้อขาย SCC โดยตรง โอกาสขาดทุนจากที่เคยเป็นจำนวนเงินทั้งก้อนประมาณ 50,000 บาทก็จะลดลงเหลือ DW ที่ซื้อหรือประมาณ 1,000 บาทเท่านั้น แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นไม่ได้หมายถึงความเสี่ยงจะลดลง แต่หมายถึงกรอบการขาดทุนจะถูกจำกัดไว้เท่านั้น

4. ใช้ได้ทั้งเพื่อการเก็งกำไรและบริหารความเสี่ยง

นอกจากการใช้ DW เพื่อการเก็งกำไรจากราคาของหุ้นอ้างอิงในอนาคตแล้ว DW เองสามารถใช้เพื่อการบริหารความเสี่ยงด้วยเช่นกัน เช่น หากเราถือหุ้น PTT ไว้และคาดว่าราคาหุ้นในอนาคตจะลดลง หากเราไม่อยากขายหุ้นแล้วมาซื้อกลับ (Short Again Port ; SAP) เพราะกลัวปัญหาเรื่องสภาพคล่องตอนจะซื้อคืน การเลือกซื้อ Put Warrant ก็ช่วยลดความเสี่ยงจากหุ้นขาลงได้ เนื่องจากถึงแม้หุ้นในพอร์ตเราจะมีมูลค่าลดลงจากการที่หุ้นตก แต่เราก็สามารถทำกำไรจาก Put Warrant ได้มาชดเชย

5. ความมั่นคงของหุ้นอ้างอิงค่อนข้างสูง

เนื่องจาก DW จะอ้างอิงตามหุ้นอ้างอิงในดัชนี SET100 เป็นหลัก ทำให้นักลงทุนมั่นใจได้อย่างหนึ่งว่าหุ้นที่จะเลือกลงทุนนั้นมีพื้นฐานดีและถูกคัดเลือกจากตลาดหลักทรัพย์มาแล้ว ถึงแม้ว่า DW จะมีความผันผวน (เพื่อสร้างกำไร) แต่หุ้นอ้างอิงก็ยังมีความน่าเชื่อถือทางธุรกิจและมีโอกาสการสร้างราคาหุ้นเพื่อเอาเปรียบรายย่อย (ปั่นหุ้น) น้อยกว่าการไปเล่นหุ้นเบี้ยหัวแตกบางตัวในตลาดที่หลายครั้งมีความเสี่ยงสูงจากการถูกควบคุมราคามาก

DW ที่ซื้อขายจริงในตลาดหุ้นมีหน้าตาเป็นอย่างไร?

ยกตัวอย่างสัญญา PTT19C1901A เพื่ออธิบาย DW ในตลาดซื้อขายจริง

  • ตัวอักษรข้างหน้า หมายถึง หลักทรัพย์อ้างอิง ในตัวอย่างคือหุ้น PTT
  • เลข 2 ตัวถัดมา หมายถึง รหัสของผู้ออกหลักทรัพย์ ในตัวอย่างคือเลข 19 ของบล. หยวนต้า (ประเทศไทย)
  • ตัวอักษรตัวถัดมา หมายถึง ประเภทสัญญา ได้แก่ ตัว C หมายถึง Call (สัญญาซื้อ) ตัว P หมายถึง Put (สัญญาขาย)
  • ตัวเลข 4 ตัวถัดมา หมายถึง วันสิ้นสุดสัญญา ในตัวอย่างคือ 1901 หรือสิ้นเดือน 1 ของปี 2019
  • ตัวอักษรตัวสุดท้าย หมายถึง ชุดหรือซีรีย์ของสัญญา

"Market Maker" คือ ผู้ที่คอยดูแลราคา DW ให้เป็นไปตามราคาทางทฤษฎี คือ มูลค่าตามสิทธิบวกกับมูลค่าของเวลาที่เหลืออยู่

วิธีการเลือกโบรคเกอร์ที่จะซื้อขาย DW ควรยึดที่ราคาปรับรวดเร็ว ถูกต้องตามตาราง และเชื่อถือได้ เนื่องจาก DW คือสิทธิที่มีราคากำกับและอ้างอิงไปตามหุ้นอ้างอิง ดังนั้น DW ที่เลือกซื้อขายควรจะเป็นไปตามทฤษฎีมากที่สุด หากราคาหุ้นอ้างอิงปรับตัวขึ้นหรือลง ราคา DW ควรขยับตามอย่างสมเหตุสมผลด้วยความเร็วใกล้เคียงกับหุ้นอ้างอิง และนอกจากปรับเร็วแล้วยังต้องปรับอย่างถูกต้องด้วย โดยราคาต้องอ้างอิงไปตามราคาการใช้สิทธิและมูลค่าของเวลาที่ได้จากการคำนวณตามหลักทฤษฎี

DW คือสัญญาสิทธิที่ทำกับโบรคเกอร์ ดังนั้นการเลือกตัวเลขบนสัญญาคือการเลือกว่าเราจะทำสัญญากับโบรคเกอร์ไหน อย่าง บล. หยวนต้า (ประเทศไทย) ก็เป็นคู่สัญญา DW19 คือผู้ที่มีประสบการณ์ในธุรกิจ DW ยาวนานมากว่า 20 ปี และยังเป็นผู้ครองส่วนแบ่งตลาด DW อันดับหนึ่งในไต้หวันอีกด้วย

DW19 ให้ความสำคัญกับประเด็นใดใน DW บ้าง ทำไมจึงมีจุดเด่นน่าลงทุน?

1. ราคาตรงตามตารางคำนวณทางทฤษฎี

อย่างที่เล่าว่าราคาของ DW ขึ้นอยู่กับมูลค่าจากการใช้สิทธิบวกกับมูลค่าของเวลา ดังนั้น หน้าที่หลักของ Market Maker แต่ละเจ้าคือทำให้ราคาซื้อขายในตลาดตรงตามราคาทางทฤษฎีมากที่สุด ซึ่ง DW19 ก็อิมพอร์ตเทคโนโลยีการคำนวณแบบเรียลไทม์ด้วยเทคโนโลยีใหม่ล่าสุดมาจากไต้หวัน พร้อมมีตารางราคา DW กับราคาหุ้นอ้างอิงให้เปิดดูกันในเว็บไซต์ไปเลย สร้างความมั่นใจให้นักลงทุนว่าราคาจะ “ ขยับอย่างรวดเร็ว และตรงตามตารางที่สุด 

2. ปริมาณคำสั่งซื้อคำสั่งขาย Bid – Offer เหมาะสม

ปริมาณ Bid Offer ถือเป็นอีกหัวใจหนึ่งในการซื้อขาย DW เพราะหากอยากลงทุนจำนวนมาก แต่ Bid offer ที่มีให้ซื้อขายน้อยอาจทำให้เราไม่สามารถลงทุนได้ตามต้องการ หรือเวลาต้องการจะเทรดก็ทำได้ยากเพราะสภาพคล่องไม่พอ DW19 ก็จะเน้นการแก้ปัญหาตรงนี้โดยสร้างปริมาณคำสั่งซื้อและขายให้มีมากเพียงพอและสม่ำเสมอ เพื่อให้นักลงทุนจะสามารถซื้อและขายได้เท่าที่ต้องการ

3. DW19 ให้ความสำคัญกับตารางราคาและการให้คำแนะนำแบบเรียลไทม์

นักลงทุนที่สนใจสามารถเปรียบเทียบราคา DW กับราคาหุ้นอ้างอิงได้ตลอดเวลาในเว็บไซต์ รวมถึงยังมีคำแนะนำการลงทุนและกลยุทธ์สำหรับ DW โดยเฉพาะอัพเดตตลอดทั้งทาง facebook และ line หากอยากลงทุนแต่ยังไม่มีไอเดียก็สามารถหาไอเดียการลงทุนได้ตลอดเวลา

ช่องทางของ DW19 (กดติดตามได้เลย แซ่บ!)

ขีดเส้นใต้อีกอย่างคือ เราสามารถซื้อขาย DW19 แม้จะเปิดพอร์ตหุ้นกับโบรคเกอร์อื่นที่ไม่ใช่ บล.หยวนต้าก็ตาม ดังนั้น หากใครสนใจ DW และเทรด DW อยู่แล้วก็แวะเข้าไปดูกันได้ สำคัญคืออยากให้เปรียบเทียบตาราง ดู bid offer ให้เห็นภาพก่อน ถ้าถูกใจก็หันมาลองเทรดได้ ค่าคอมมิชชันซื้อขายไม่ต่างกัน

ย้ำรอบสุดท้าย DW ถือว่ามีความเสี่ยงเรื่องเวลามาเกี่ยวข้องด้วย เพราะสัญญามีการหมดอายุ ดังนั้น นักลงทุนต้องศึกษาเงื่อนไขต่างๆ ให้ดีก่อนการลงทุน ทุกการลงทุนมีข้อดีข้อเสียในตัวเอง ทำความเข้าใจผลิตภัณฑ์การลงทุนให้ลึกซึ้ง และเลือกสิ่งที่เหมาะสมกับตัวเอง

ลงทุนศาสตร์ - Investerest

บทความนี้เป็น Advertorial