ทุกครั้งที่เราไปโรงพยาบาล ต้องมีขั้นตอนชั่งน้ำหนัก วัดความดันแบบเบื้องต้นก่อนที่จะได้เข้าพบหมอ แต่ถ้าเราเป็นโรคที่ซับซ้อนก็อาจจะต้องใช้การตรวจที่ละเอียดมากขึ้น โดยใช้เครื่อง MRI , CT Scan , PET Scan เพื่อจะได้หาวิธีการรักษาต่อไป เรื่องการเงินก็เช่นกัน เราควรตรวจสุขภาพการเงินเบื้องต้นก่อนตัดสินใจว่าจะนำเงินไปเก็บไว้ที่ไหน 

สรุปเรื่องการเงินในหน้าเดียว

ภาพข้างบนนี้เราจะเห็นภาพรวมเรื่องการเงินของเราว่ามีสถานะเป็นอย่างไร เริ่มจาก...

=> กระแสเงินสด (หัวตารางสีฟ้า)

จากรายได้และรายจ่าย ถ้าติดลบก็ต้องรีบแก้ไขเพื่อให้มีเงินเหลือ แต่ถ้าเป็นบวกมีรายได้มากกว่ารายจ่าย ค่อยมาเลือกว่าจะเก็บเงินไว้ที่ไหน

=> สถานะการเงิน (หัวตารางสีส้ม)

จากทรัพย์สินและหนี้สิน ว่ามีความมั่งคั่งเป็นอย่างไร เงินของเราควรอยู่ในทรัพย์สินลงทุนมากกว่าทรัพย์สินส่วนตัว เพื่อเก็บไว้ใช้ตอนเกษียณ

=> วิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงิน (หัวตารางสีแดง)

ทำให้รู้ว่าตอนนี้เรามีสภาพคล่อง หนี้สินและการออมเป็นอย่างไร จากการคำนวณ 8 เรื่องนี้ ถ้าอยู่ในเกณฑ์ที่กำหนดไว้(ช่องกลาง) จะดีมากๆ

เรียงลำดับเรื่องที่ให้ความสำคัญ

เรามีความต้องการใช้เงินไม่จำกัด ในขณะที่เรามีรายได้จำกัด ทำให้ต้องเรียงลำดับว่าเรื่องอะไรที่เราให้ความสำคัญเป็นอันดับ 1 , 2 , 3 , ... เช่น

=> วางแผนการลงทุน

=> วางแผนการศึกษาบุตร

=> วางแผนเกษียณ

=> ค่ารักษาและโรคร้ายแรง

=> วางแผนลดหย่อนภาษี

=> เป้าหมายระยะสั้น

เพื่อให้เป้าหมายชัดเจนขึ้น เราควรใส่จำนวนเงินไปด้วยว่าแต่ละเป้าหมายจะใช้เงินเท่าไหร่ เช่น 

  • อีก 2 ปีจะต้องใช้เงินดาวน์รถ 200,000 บาท 
  • หลังเกษียณอยากมีเงินดูแลตัวเอง 10,000,000 บาท
  • ต้องการสร้างความมั่นใจให้ครอบครัว 10,000,000 บาท 
  • มีเงินรายปีใช้หลังเกษียณแน่นอนปีละ 100,000 กว่าบาท (เบี้ยประกันบำนาญประมาณ 100,000 บาท ได้รับทุนประกันคุ้มครองชีวิต 1,000,000 กว่าบาท) 

สุดท้าย!!

เราถึงมาเลือกว่าเงินที่เหลือในแต่ละเดือนนั้น ควรแบ่งไปเพื่อเป้าหมายอะไรบ้าง ตามการจัดอันดับความสำคัญ โดยเลือกสินค้าการเงินให้เหมาะสมกับช่วงเวลาที่จะต้องใช้เงิน เช่น เป้าหมายระยะสั้น เงินฉุกเฉิน เงินดาวน์รถ ควรเก็บไว้ที่ความเสี่ยงต่ำ อย่างเงินฝากออมทรัพย์ดอกเบี้ยสูง ในขณะที่เป้าหมายระยะยาวเพื่อเกษียณ ควรเก็บไว้ในที่ที่ถอนออกยาก เพื่อจะได้มีเงินอยู่ถึงเกษียณ อย่างประกันบำนาญ RMF

-----

ความรู้เพิ่มเติม : สำหรับคนที่ต้องการรู้ว่าสถานะการเงินของเราเป็นอย่างไร ดูตัวอย่างการใส่่ข้อมูลและวิธีการคำนวณได้ใน 3 ภาพนี้นะคะ

กระแสเงินสด : รายได้และค่าใช้จ่าย

สถานะการเงิน : ทรัพย์สินและหนี้สิน

วิเคราะห์ 8 อัตราส่วนทางการเงิน รู้จุดแข็งและจุดอ่อนเรื่องการเงินของเรา

การคำนวณจากโปรแกรมวางแผนการเงิน Wealth me (https://www.facebook.com/miracleofsaving/photos/3230359313668330)

ทั้งหมดนี้หากเราไม่ถนัดกรอกข้อมูลและคำนวณเอง สามารถใช้บริการที่ปรึกษาการเงินหรือนักวางแผนการเงินได้นะคะ เพราะทุกครั้งก่อนให้คำแนะนำจะต้องตรวจสุขภาพการเงินของเรา เพื่อดูว่าอัตราส่วนการเงินว่ามีจุดแข็งและจุดอ่อนอะไรบ้าง ก่อนที่จะแนะนำว่าควรเลือกเก็บเงินไว้ที่ไหน เก็บเดือนละเท่าไหร่ ทำให้ได้รับแนวทางจัดการเงินที่ตอบโจทย์กับเป้าหมายการเงินของเราได้มากที่สุดนั่นเองจ้า

------------

PR : 

=> หนังสือวิธีจัดการเงินขั้นเทพ ฉบับลงมือทำ สารบัญในลิงค์นี้นะคะ https://bit.ly/3eeO33Q

=> คอร์สการเงินติวส่วนตัว , Workshop ที่เชียงใหม่กับแบบออนไลน์ผ่านระบบ ZOOM อ่านรายละเอียดได้ที่ลิงค์นี้เลยจ้า https://bit.ly/3dCv58z

=> คอร์สสอนเขียนเรื่องการเงิน สร้างรายได้จากการเขียน https://bit.ly/3j7HBPc

เพจอภินิหารเงินออม