ในฐานะที่คลุกคลีอยู่ในวงการการเงินมามากกว่า 10 ปี ผมเคยฝันอยากประกอบอาชีพ ‘นักวางแผนการเงิน’ เพื่อทำหน้าที่วางแผนจัดการด้านการเงินต่างๆให้กับผู้คน ดูแลเรื่องของการจัดการวางแผนค่าใช้จ่าย ความเสี่ยง การลงทุน และส่งมอบทรัพย์สินอย่างครบวงจร
โอ้โห... ภาพของบุคลิกชิคๆ คูลๆ ดูสวยงาม พร้อมกับไลฟ์สไตล์แสนจะเลิศหรู ด้วยรายได้ที่เข้ามาจาก % ที่ได้จากการแนะนำผลิตภัณฑ์ให้กับลูกค้า ร่วมกันกับค่าบริการทางวิชาชีพ (อ้างอิงจากต่างประเทศ) มันแสนจะตอบโจทย์ชีวิตที่เราต้องการเสียเหลือเกิน
แต่เดี๋ยวก่อน!! ในโลกของความเป็นจริง หลังจากที่ไปอบรม ศึกษาข้อมูล และสอบผ่านมาสักระยะ ร่วมกับการสอบถามนักวางแผนการเงินในวงการอีกหลายๆคน ผมได้พบความจริงที่ปลุกให้ผมตื่นขึ้นมาครับ เพราะว่าที่จริงแล้ว งานของนักวางแผนการเงินนั้นไม่ใช่เรื่องง่ายๆอย่างที่คิด เพราะถือว่าเป็น งานบริการหนึ่งในฐานะมืออาชีพ ซึ่งถือว่าเป็นงานที่หนักหนาสาหัสเอาการในการทำงาน ทั้งเรื่องของเป้าหมายการเงินที่ผู้รับบริการต้องการ (แน่ล่ะว่าคนเราทุกคนย่อมมีปัญหาแตกต่างกัน) และในแง่ของผู้ให้บริการเองที่มีต้องมีจรรยาบรรณที่ถูกต้อง เพื่อให้ตัวเองมองไปยัง “เป้าหมาย” มากกว่า “ผลตอบแทน” ที่จะได้รับจากการให้บริการ
และสุดท้ายที่สำคัญที่สุด คือ เรื่องการเงินนั้นมันไม่ใช่วางแผนแล้วจบ แต่มันต้องดูแลติดตามและจัดการไปตลอดทั้งชีวิต
เพราะเรื่องของเงินนั้นมันต้องดูแลกันตั้งแต่ต้นจนจบ ทั้งแก้ไขแผนการเงิน ติดตามอัพเดท จัดการเมื่อเกิดเหตุการณ์ที่ทำให้ไม่เป็นไปตามแผน
เอิ่มมม... คิดๆแล้วอาชีพนี้ไม่ใช่เรื่องง่ายๆที่ใครๆก็ทำได้ ทำให้ผมตัดสินใจพักความฝันนี้ไว้สักระยะหนึ่งก่อนครับ (แหม่… เล่ามาเสียดิบดี)
อาชีพนักวางแผนการเงินในประเทศไทย โอกาสและการเติบโต?
ปัจจุบันจำนวนนักวางแผนการเงินในประเทศไทยที่ได้รับใบอนุญาตวิชาชีพ CFP® (Certified Financial Planner) ซึ่งเป็นใบอนุญาตประกอบวิชาชีพที่มีมาตรฐานสากลนั้น มีอยู่เพียงประมาณ 200 คนเท่านั้น หากเทียบกับความต้องการบุคคลากรด้านนี้แล้ว ถือว่าค่อนข้างน้อยเมื่อเทียบสัดส่วนประชากรของประเทศไทยดู ซึ่งใครหลายคนมองว่าเป็นโอกาสที่ก้าวเข้าสู่หนทางในอาชีพนี้ ในยุคที่การเงินกลายเป็นเรื่องที่สำคัญอันดับต้นๆในชีวิต และหลายองค์กรหรือหน่วยงานการศึกษาก็มองเห็นโอกาสทางด้านนี้เช่นเดียวกัน
ยกตัวอย่างเช่น ทางมหาวิทยาลัยกรุงเทพเอง ก็มีการริเริ่มพัฒนาหลักสูตรการบริหารธุรกิจสาขานักวางแผนการเงินและการลงทุนร่วมกันกับทางสมาคมนักวางแผนการเงินไทย (TFPA) เพื่อปั้นบุคลากรนักวางแผนการเงินเข้าสู่ตลาดแรงงาน ซึ่งถือว่าเป็นหลักสูตรแรกและหลักสูตรเดียวในประเทศไทย ณ ตอนนี้
โดยจุดเด่นที่น่าสนใจในหลักสูตรนี้คือ ให้สิทธิผู้ที่เข้ารับการศึกษาไม่ต้องรับการอบรมนักวางแผนการเงินเพิ่มเติม เพราะอยู่ในหลักสูตรการเรียนการสอนอยู่แล้วเรียนจบปุ๊บ สอบได้เลย ช่วยให้ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย ซึ่งจริงๆแล้วบุคคลทั่วไป ต้องเข้ารับการอบรม CFP 6 วิชาก่อน และมักใช้เวลาอบรมเป็นปีๆ จึงมีสิทธิ์สอบได้
เมื่อสอบ CFP ได้ ก็สามารถประกอบอาชีพนักวางแผนการเงินและการลงทุนกับองค์กรสถาบันการเงินได้ทันที แถมยังสามารถนำความรู้ด้านการเงินไปต่อยอดทำอาชีพอื่นๆในแวดวงการเงินได้ เช่น เป็นโบรคเกอร์, นักวิเคราะห์หลักทรัพย์, ผู้จัดการกองทุน เป็นต้น ที่สำคัญหลักสูตรนี้เป็นหลักสูตรสองภาษาอีกด้วย
ใครสนใจอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่ครับ (http://www.bu.ac.th/admission/bachelor/branch/68/)
ถ้าอยากวางแผนการเงิน จำเป็นต้องใช้นักวางแผนการเงินหรือเปล่า?
เมื่ออ่านมาถึงตรงนี้ เชื่อว่าหลายคนคงนึกถามคำถามนี้อยู่ในใจว่า เฮ้ย อาชีพนี้ก็ยังมีคนได้รับใบอนุญาตไม่มากนัก แถมยังเพิ่งมีหลักสูตรใหม่ไม่นาน แต่ถ้าเราอยากจะมีชีวิตการเงินที่ดีนั้น มันจำเป็นต้องใช้นักวางแผนการเงินหรือเปล่า? ซึ่งผมมองว่า…
จำเป็น
ถ้าหากคุณไม่มีความรู้และความเข้าใจที่ดีพอ และคิดว่านักวางแผนการเงินจะมาช่วยตอบโจทย์ความต้องการต่างๆในชีวิตของคุณได้ หรือช่วยวางแผนการเงินตามวัตถุประสงค์ที่คุณต้องการ ซึ่งในกรณีบางคนนั้นผมคิดว่ามันเป็นการ “ซื้อเวลา” เพื่อที่จะได้ไปทำสิ่งอื่นหรือใช้ชีวิตตามที่ตัวเองต้องการมากกว่าครับ
ไม่จำเป็น
ถ้าหากคุณมีความรู้และความเข้าใจในเรื่องของการวางแผนการเงินที่ครบถ้วน มีการจัดเตรียมทุกอย่างได้ด้วยตัวเองผ่านองค์ความรู้ที่ถูกต้อง ตลอดชีวิตของคุณอาจจะไม่ต้องใช้นักวางแผนการเงินเลย (แถมคุณอาจจะไปช่วยวางแผนการเงินให้คนอื่นได้ด้วย) หรือถ้าจำเป็นต้องใช้ อาจจะใช้เพื่อตรวจสอบแผนการเงินของคุณว่าถูกต้องไหม เพียงเท่านั้นก็พอแล้ว
ทีนี้คนที่คิดใช้บริการนักวางแผนการเงินนั้น ย่อมจะมีคำถามตามมาว่า แล้วควรเลือกใช้นักวางแผนการเงินที่มีความรู้และมีคุณวุฒิด้านการวางแผนการเงินไหม?
คำตอบของคำถามนี้นี้ผมขออ้างอิงจาก บทความ ถาม-ตอบ : อาชีพนักวางแผนการเงินในมุมมองผม ของน้องเอ ศักดา สรรพปัญญาวงศ์ เจ้าของเวปไซด์การเงิน A-Academy และหนึ่งในผู้ก่อตั้ง Avenger Planner (ทีมนักวางแผนการเงินอิสระ) ที่ตอบไว้อย่างชัดเจนว่า “มี... ดีกว่าไม่มี” เพราะว่าคุณวุฒิดังกล่าวถึงแม้ว่าจะไม่ได้บอกว่าคุณเก่งไหม แต่มันการบอกว่าได้ผ่านกระบวนการศึกษาอย่างเป็นระบบมาเรียบร้อยแล้ว ทำให้มั่นใจว่ามีพื้นฐานมาระดับหนึ่ง (อ่านบทความฉบับเต็ม : http://www.a-academy.net/blog/qa-financial-planner/)
หรือถ้าหากใครสนใจเรื่องอาชีพวางแผนการเงินแบบจริงๆจังๆ สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่บทความชุด ตีแผ่อาชีพนักวางแผนการเงินคือใคร ของน้องเอ้ insuranger ได้ที่ aomMONEY เช่นเดียวกันครับ (อ่านบทความ ตอนที่ 1 และ ตอนที่ 2)
สรุป
โดยรวมแล้ว นักวางแผนการเป็นอาชีพที่น่าสนใจมากอาชีพหนึ่ง และยังถือ