หากพูดถึงตัวเลือกในการลดหย่อนภาษีที่ฮอตฮิตในปี 2563 นี้ คงหนีไม่พ้น 3 ตัวเลือกสำคัญ นั่นคือ กองทุนรวมเพื่อการออม (SSF) กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) และประกันแบบต่าง ๆ พร้อมกับคำถามว่า ซื้อตัวไหนดีที่สุดกันนะ

แต่ก่อนที่เราจะไปฟังแนวคิดว่าเลือกตัวไหนดีที่สุด เรามาดูกันที่เงื่อนไขและสิทธิประโยชน์ในการลดหย่อนภาษีของแต่ละตัวกันก่อนดีกว่าครับ

เริ่มต้นที่กลุ่มกองทุนที่ใช้ลดหย่อนภาษี โดยคู่แรกเราจะมาดูกันที่ SSF กับ RMF ว่าแต่ละตัวมีเงื่อนไขลดหย่อนภาษีอย่างไรบ้าง ?

ทีนี้มาดูกันต่อที่เงื่อนไขของกลุ่มประกันกันบ้างครับ โดยปี 2563 นี้มีการเปลี่ยนแปลงในส่วนของประกันสุขภาพเพิ่มขึ้นเป็น 25,000 บาท ซึ่งเงื่อนไขทั้งหมดมีรายละเอียดดังนี้ครับ

เราควรเลือกแบบไหนดี?

จากข้อมูลทั้งหมดนั้น เราจะแบ่งออกเป็น 2 มุมมอง คือ ลงทุนเพื่อเป้าหมายที่ต้องการผ่านกองทุนรวมลดหย่อนภาษี กับ การป้องกันความเสี่ยงผ่านประกันในรูปแบบต่างๆ ซึ่งทั้งสองกลุ่มนี้สามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้ไม่แตกต่างกัน แต่มันแตกต่างกันที่วัตถุประสงค์ในการเลือกใช้เพื่อตอบโจทย์ที่เราต้องการมากกว่า

ซึ่งเทคนิคในการเลือกประกันชีวิตเพื่อลดหย่อนภาษีนั้น อาจจะพิจารณาได้ง่ายกว่าจากความคุ้มครองที่เราต้องการ หรือ จำนวนเงิน (ก้อน) ที่ได้รับเมื่อครบกำหนดตามเป้าหมาย (กรณีประกันแบบสะสมทรัพย์หรือประกันแบบบำนาญ)

แต่ในส่วนของกองทุนรวมเพื่อการลดหย่อนภาษีอย่าง SSF หรือ RMF นั้น เราควรยึดหลักการสำคัญ นั่นคือ นอกจากการลดหย่อนภาษีแล้ว ควรจะมีกำไรหรือผลตอบแทนที่ได้รับจากการลงทุนด้วย ดังนั้น การเลือกกองทุนที่ถูกต้องจึงเป็นสิ่งที่สำคัญมาก เพราะในระยะยาวแล้ว มูลค่าของกองทุนนั้นจะแตกต่างกันไปตามสินทรัพย์ที่เราเลือก และความเสี่ยงที่เรารับได้นั่นเอง

กองทุนแบบไหนเหมาะกับเรา?

ก่อนที่จะถามคำถามนี้ เราควรถามกลับไปว่า แล้วเรารับความเสี่ยงได้แค่ไหน กับ คาดหวังผลตอบแทนได้สักเท่าไรกัน ซึ่งคำตอบนั้นอาจจะช่วยให้เราเลือกต่อได้ว่า เราพร้อมจะลงทุนในสินทรัพย์ประเภทไหนกันแน่

จากตารางข้างต้น เป็นกองทุนลดหย่อนภาษีของ บลจ. กสิกรไทยที่ได้แบ่งกองทุนตามระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้แตกต่างกันไป โดยได้แนะนำ SSF และ RMF ให้นักลงทุนเลือกลงทุนตามระดับความเสี่ยงที่แตกต่างกัน

ถ้าหากเราเข้าไปดูที่รายละเอียดของกองทุนแต่ละตัว เราจะพบว่าปีนี้ทาง บลจ. กสิกรไทย คัดเลือกการลงทุนในหุ้นต่างประเทศมาเปิดโอกาสให้นักลงทุนที่สนใจได้ลงทุนในสินทรัพย์ประเภทอื่นนอกจากหุ้นไทยกันบ้าง

ทีนี้เราลองมาดูรายละเอียดกันต่อครับว่า กองทุนในกลุ่มนี้มีความน่าสนใจอย่างไร แล้วทำไมทาง บลจ. กสิกรไทย เขาถึงคัดเลือกมาให้เราลงทุนกัน

ก่อนอื่นต้องบอกว่า กองทุน K-CHANGE-RMF และ K-CHANGE-SSF นั้นคือกองทุนที่ลงทุนในสินทรัพย์ประเภทเดียวกัน นั่นคือ หุ้นนวัตกรรมเด่นทั่วโลกที่สร้างผลเชิงบวกต่อสังคม ใน 4 ด้าน ได้แก่ โอกาสทางการศึกษา  สิ่งแวดล้อม  สุขภาพและคุณภาพชีวิต รวมถึงการช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสทางสังคม ซึ่งการลงทุนในหุ้น 4 กลุ่มนี้มีแนวคิดว่า  หากบริษัทที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อมและสังคม บริษัทนั้นก็จะมีโอกาสที่จะก่อให้เกิดการเจริญเติบโตในแง่ผลประกอบการ การทำงานและรายได้ของบริษัท โดยบริษัทที่น่าสนใจที่ K-CHANGE ทั้ง SSF และ RMF ลงทุน เช่น

  • Tesla ผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าที่ช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งรถยนต์ไฟฟ้าเป็นธุรกิจที่มีแนวโน้มขยายไปยังกลุ่มผู้ใช้งานทั่วไปมากขึ้นเรื่อย ๆ และในเวลาเดียวกัน Tesla ก็พัฒนาการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าประเภทใหม่ ๆ เช่น รถบรรทุและรถบัส เพื่อขยายฐานลูกค้าไปยังหลากหลายกลุ่มมากขึ้น
  • Moderna บริษัทชั้นนำในธุรกิจการแพทย์ที่พัฒนาวัคซีน ยา และการรักษาโรคที่หลากหลาย เช่น มะเร็ง หลอดเลือดหัวใจ นอกจากนี้ ยังมีการพัฒนาวัคซีนโควิด-19 ซึ่งล่าสุดมีรายงานว่าวัคซีคของ Moderna   มีประสิทธิภาพป้องกันโควิด-19 ได้ถึง 94.5% ด้วย

กองทุน K-CHANGE-SSF และ K-CHANGE-RMF นั้นลงทุนผ่านกองทุนหลัก Baillie Gifford Positive Change Fund - Class B accumulation (GBP) ซึ่งเป็นบริษัทจัดการลงทุนสัญชาติสก็อตแลนด์ที่มีประสบการณ์ยาวนานกว่า 100 ปี  มีความโดดเด่นในการลงทุนในหุ้นที่มีอัตราการเติบโตสูง  ซึ่งกองทุนหลักนี้ยังมีผลงานโดดเด่น จนได้รับ 5 ดาว Morningstar (ข้อมูล ณ วันที่ 21 ต.ค.63) นอกจากนี้ ตัวกองทุน K-CHANGE-SSF เองก็เป็นกองทุน Best Seller ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในกลุ่ม SSF อีกด้วย ตามข้อมูลของ Morningstar ณ วันที่ 26 ต.ค. 63

ดังนั้นถ้าหากเราตอบคำถามได้ว่า เรารับความเสี่ยงในการลงทุนได้สูง และเชื่อว่าหุ้นต่างประเทศในกลุ่มนี้สามารถสร้างผลตอบแทนที่กลับมาให้กับเราได้ สิ่งที่เราต้องคิดต่อก็แค่ว่า จะเลือกกองทุนกลุ่มนี้มาอยู่ในพอร์ตไหน ระหว่าง RMF (เพื่อเกษียณ) และ SSF (อนาคตข้างหน้าอีก 10 ปี) เพื่อให้พอร์ตการลงทุนของเรามีโอกาสได้รับผลตอบแทนตามที่ตั้งใจไว้

แต่ถ้าหากเราบอกตัวเองว่า เรารับความเสี่ยงได้แบบกลางๆ และอยากกระจายไปลงทุนในสินทรัพย์หลากหลาย การเลือกกองทุนอย่าง K-GINCOME-SSF ที่ลงทุนผ่านกองทุนหลัก JPMorgan Investment Funds – Global Income Fund, Class A (mth)-EUR โดยมีการกระจายการลงทุนในหลากหลายสินทรัพย์ทั่วโลกที่มีความเสี่ยงสูงและต่ำผสมกัน ทั้งหุ้น กองทุนตราสารหนี้ REIT กองทุนโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ มากกว่า 2,500 ตัวทั่วโลก โดยมีจุดประสงค์ให้มีความผันผวนต่ำกว่าหุ้นและยังมีโอกาสได้รับผลตอบแทนสูงกว่าตราสารหนี้ นอกจากนี้ ผู้ลงทุนใน K-GINCOME-SSF ยังมีโอกาสได้รับเงินปันผลระหว่างลงทุนด้วย

หรือถ้าหากมองว่าจะจัดพอร์ตร่วมกันกับกลุ่มที่มีความเสี่ยงต่ำ ก็อาจจะเลือกผสมผสานจัดพอร์ตกับกองทุน RMF ที่ลงทุนในตราสารหนี้อย่าง K FIXED INCOME RMF (KFIRMF) ที่ลงทุนในตราสารหนี้ภาครัฐและภาคเอกชน และเงินฝากในประเทศ เพื่อให้เหมาะสมกับความเสี่ยงที่เรารับได้ก็เป็นอีกทางหนึ่งครับ

อีกประเด็นหนึ่งที่น่าสนใจ คือ ระยะเวลาการลงทุนที่เหลืออยู่ โดยเฉพาะคนที่เหลือเวลาอีกไม่นานจะถึงเป้าหมาย (หรือเกษียณ) การลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงต่ำอาจจะเป็นทางเลือกที่ดีกว่า ดังนั้นอย่าลืมพิจารณาประเด็นนี้ด้วยนะครับ

สรุป

จากทั้งหมดของบทความนี้ สิ่งที่ผมอยากจะสรุปให้ทุกคนทบทวนอีกครั้ง คือ

1. เราต้องเข้าใจว่าการลดหย่อนภาษีเป็นผลพลอยได้ ไม่ใช่เป้าหมายหลักของการลงทุน

2. เราต้องเลือกลงทุนในสินทรัพย์ที่เหมาะกับความเสี่ยงและผลตอบแทนที่ได้รับ 

3. เราต้องเลือกการลงทุนที่เหมาะสมกับช่วงระยะเวลาที่เราต้องการใช้เงินด้วย 

ถ้าหากเราหาคำตอบทั้งสามข้อนี้ได้ การลงทุนเพื่อทั้งหมดนั้นจะช่วยให้เราประหยัดภาษีได้ดี และมีผลตอบแทนที่ดีในการลงทุนได้จริง เหมือนที่เขียนไว้ในหัวข้อของบทความนี้นั่นเองครับ

สำหรับใครที่สนใจกองทุนประหยัดภาษีของกสิกรไทยก็สามารถดูรายละเอียดได้ที่ https://kbank.co/3lwAwc7

คำเตือน

- ผลการดำเนินงานในอดีตมิได้ยืนยันถึงอนาคต

- ผู้ถือหน่วยลงทุนจะไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีหากไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขการลงทุน

- ผู้ลงทุนโปรดทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน ความเสี่ยง และคู่มือการลงทุนก่อนตัดสินใจลงทุน

- สนใจลงทุนและขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่ธนาคารกสิกรไทย และผู้สนับสนุนการขายและรับซื้อคืนหน่วยลงทุน

บทความนี้เป็น Advertorial