ก่อนที่เราจะถามว่า SSF หรือ RMF กองทุนไหนดี กองไหนเด่นเหมาะสำหรับสิทธิลดหย่อนภาษี ผมคิดว่าคนที่ต้องการลดหย่อนภาษีด้วย SSF และ RMF มีอยู่ 3 เรื่องสำคัญที่ต้องรู้เพื่อให้การวางแผนลดหย่อนภาษีของเรามีประโยชน์ที่สุดครับ นั่นคือ

ข้อแรก เข้าใจเงื่อนไขในการวางแผนลดหย่อนภาษีที่ถูกต้อง

  • กองทุนรวมเพื่อการออม (SSF) สำหรับกองทุนนี้สามารถนำมาใช้สิทธิลดหย่อนได้ 30% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี ตามที่จ่ายจริงและสูงสุดไม่เกิน 200,000 บาท โดยกำหนดเงื่อนไขในการ
    • ไม่จำเป็นต้องซื้อติดต่อกันทุกปี
    • ต้องถือหน่วยลงทุนหลังจากซื้อไว้ไม่น้อยกว่า 10 ปี (เต็มปี)
  • กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) สำหรับกองทุนนี้สามารถนำมาใช้สิทธิลดหย่อนได้ 30% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี ตามที่จ่ายจริงและสูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท โดยกำหนดเงื่อนไขดังนี้
  • ต้องซื้อติดต่อกันทุกปี (แต่ถ้าผิดเงื่อนไขสามารถผิดได้ 1 ปี)
  • ต้องถือหน่วยลงทุนหลังจากซื้อไว้ไม่น้อยกว่า 5 ปี (นับจากวันซื้อครั้งแรก) และอายุครบ 55 ปี

โดยยอดรวมของ กองทุนรวม SSF + กองทุนรวม RMF + กบข./กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ/กองทุนสงเคราะห์ครูเอกชน + กองทุนการออมแห่งชาติ + ประกันชีวิตแบบบำนาญ และ เมื่อรวมกันทั้งหมดแล้วต้องไม่เกิน 500,000 บาทด้วยครับ

ข้อสอง จำนวนเงินที่เราสามารถลงทุนได้

หากพิจารณาเงื่อนไขในการใช้สิทธิลดหย่อนภาษี พบว่าเราสามารถลงทุนได้สูงสุดถึง 30% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี แต่ในความเป็นจริงแล้ว แต่ละคนอาจจะมีภาระและความสามารถในการลงทุนต่างกัน ดังนั้นเราควรบริหารจัดการกระแสเงินสดให้ดีและเหมาะสมกับการวางแผนลดหย่อนภาษีของเรา เพราะถ้าหากไม่สามารถถือหน่วยลงทุนไว้ตามที่ครบกำหนดได้ อาจจะมีเรื่องของการคืนภาษีที่ลดหย่อนไว้ และ เงินเพิ่ม (ดอกเบี้ย) รวมถึงกำไรจากการขายที่ต้องนำมาเสียภาษีอีกด้วยครับ

ข้อสาม เลือกกองทุนให้เหมาะสมกับเป้าหมาย

ประเด็นสุดท้ายเป็นเรื่องที่สำคัญไม่แพ้การวางแผนลดหย่อนภาษี เพราะถ้าหากเราสามารถหากองทุนที่ตรงกับเป้าหมายที่ต้องการ และได้รับผลตอบแทนที่ดีด้วย น่าจะเป็นเรื่องที่ดีใช่ไหมครับ เพราะว่ามันทำให้เงินที่เราลงทุนไปเพิ่มมูลค่าได้มากขึ้น ซึ่งบางคนอาจจะลืมนึกถึงประเด็นนี้ไปครับ

ทีนี้กลับมาที่คำถามว่า แล้วเราควรเลือกกองทุนไหนดี? ตรงนี้อยากให้คิดต่อว่า สำหรับคนที่เลือกซื้อ SSF ลองมองเป้าหมายว่าตัวเองต้องการผลตอบแทนแค่ไหน และลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงได้มากเท่าไร ในขณะที่คนที่เลือก RMF อาจจะต้องมองระยะเวลาที่เหลืออยู่จากวันนี้ไปถึงวันที่เกษียณ ว่าเรายังเหลือเวลานานและลงทุนในสินทรัพย์ที่เสี่ยงได้ไหมเช่นเดียวกัน

แต่ถ้ายังคิดอะไรไม่ออก หรืออยากดูรายชื่อกองทุนที่น่าสนใจประกอบการพิจารณา ทาง KTAM เขามีกองทุนที่น่าสนใจหลากหลายแนวมาให้ดูกันครับ เผื่อจะช่วยในการตัดสินใจง่ายขึ้น ดังนี้ครับ

สำหรับคนที่ต้องการลงทุนใน SSF โดยมีเป้าหมายอีก 10 ปีข้างหน้า แต่ว่ารับความเสี่ยงได้แตกต่างกัน ลองดู  3 กองทุน SSF น่าสนใจ ลงทุนในสินทรัพย์และสัดส่วนที่แตกต่างกันที่ตารางด้านล่างนี้ครับ

ปัจจัยความเสี่ยงที่สำคัญ : ทั้ง 3 กองทุนดังกล่าวมีความเสี่ยงจากความผันผวนของราคาหลักทรัพย์และความเสี่ยงจากการกระจุกตัวลงทุน / KT-PIF-SSF มีความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยน ทั้งนี้ KT-PIF-SSF มีนโนบายป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนโดยดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน ในกรณีที่กองทุนไม่ได้มีนโยบายป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนทั้งจำนวน ผู้ลงทุนอาจจะขาดทุนหรือจะได้รับกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน/หรือได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้

สำหรับคนที่ต้องการลงทุนใน RMF แต่อยากได้กองทุนที่มีผลตอบแทนสม่ำเสมอต่อเนื่อง แนะนำลองดู 3 กองทุน RMF ผลตอบแทนดี 5 ปีตามตารางด้านล่างนี้ครับ

ปัจจัยความเสี่ยงที่สำคัญ : ทั้ง 3 กองทุนดังกล่าวมีความเสี่ยงจากความผันผวนของราคาหลักทรัพย์ ความเสี่ยงจากการกระจุกตัวลงทุน และความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยน ทั้งนี้ ทั้ง 3 กองทุนมีนโนบายป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนโดยดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน ในกรณีที่กองทุนไม่ได้มีนโยบายป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนทั้งจำนวน ผู้ลงทุนอาจจะขาดทุนหรือจะได้รับกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน/หรือได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้/ เฉพาะ KT-HEALTHC RMF มีความเสี่ยงจากความผันผวนของมูลค่าหน่วยลงทุน

ส่วนคนที่ต้องการลงทุนใน RMF หุ้นไทยที่ผลตอบแทนมาแรงตั้งแต่ต้นปี ลองดูกองทุนในกลุ่มนี้ได้เช่นเดียวกันครับ

ปัจจัยความเสี่ยงที่สำคัญ : ทั้ง 4 กองทุนดังกล่าวมีความเสี่ยงจากความผันผวนของราคาหลักทรัพย์และความเสี่ยงจากการกระจุกตัวลงทุน

จากรายชื่อกองทุนที่ว่ามานี้ นักลงทุนอย่างเราสามารถจะเลือกผสมสัดส่วนได้ตามที่ชอบได้ เช่น นาย ก อยากได้กองทุนลงทุนในหุ้นทั่วโลก (KT-WEQ RMF) ควบคู่กับหุ้นไทยที่มีธรรมาภิบาลดีอย่าง KT-ESG RMF ก็ได้ เพื่อให้ผลตอบแทนได้กระจายความเสี่ยงไปในตลาดโลกและตลาดหุ้นไทย หรือถ้าอยากได้ SSF ก็อาจจะเพิ่มฝั่งของ  KT-PIF-SSF  ที่เน้นลงทุนในอสังหาเข้าไปด้วยก็ได้ (ตรงนี้คือตัวอย่างการตัดสินใจนะครับ ไม่ใช่การชี้นำให้เลือกตาม ฮ่าๆ)

และท้ายที่สุด ก็ต้องบอกกันตรง ๆ ว่า กองทุนลดหย่อนภาษีที่ดีที่สุดสำหรับแต่ละคนไม่เหมือนกัน ต่อให้คนอื่นว่ากองทุนไหนดีแค่ไหน สิ่งที่เราต้องใส่ใจคือเป้าหมายการลงทุน และการจัดการภาษีของเราครับ

ถ้าใครสนใจกองทุนทั้งหมดนี้ หรือ กองทุนอื่น ๆ ของทาง KTAM สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ บลจ.กรุงไทย www.ktam.co.th หรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่ผู้สนับสนุนการขาย หรือ บลจ.กรุงไทย โทร 02 686 6100 กด 9

รายละเอียดเพิ่มเติม :

SSF เป็นกองทุนที่ส่งเสริมการออมระยะยาวและ RMF เป็นกองทุนเพื่อการเกษียณอายุ

สิ่งสำคัญที่นักลงทุนทุกท่านต้องทำความเข้าใจเป็นอย่างแรกเลย ก็คือ

  • ความเข้าใจในลักษณะสินค้า
  • เงื่อนไขผลตอบแทน
  • ข้อมูลเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ทางภาษีรวมถึงการบริการ ที่ระบุไว้ในคู่มือการลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการออม / กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และความเสี่ยง ก่อนการตัดสินใจลงทุน

หมายเหตุ :

ผู้ลงทุนต้องทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน ข้อมูลเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ระบุไว้ในคู่มือการลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการออม/กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ และความเสี่ยงก่อนการตัดสินใจลงทุน ทั้งนี้ หากลงทุนไม่เป็นไปตามเงื่อนไขที่กรมสรรพากรกำหนด อาจจะต้องคืนสิทธิประโยชน์ทางภาษีและเสียเงินเพิ่ม

ส่วนนักลงทุนท่านไหนที่สนใจ เค้ามีให้ชำระผ่านบัตรเครดิต KTC หรือใช้คะแนน KTC FOREVER ทุกๆ 1,000 คะแนน แทนเงินลงทุน 100 บาท ได้ด้วยนะ โดยเงื่อนไขเป็นไปตามที่ บลจ. กรุงไทยและบัตรเครดิต KTC กำหนด และยังสามารถลงทุนออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชั่น KTAM Smart Trade ง่าย สะดวก ปลอดภัย อีกด้วย

ดาวน์โหลดเลยวันนี้ :

iOS: https://bit.ly/KTAMST

Android: https://bit.ly/KTST

บทความนี้เป็น Advertorial