ปฏิเสธไม่ได้ว่า การลงทุนในต่างประเทศทุกวันนี้เป็นตัวเลือกที่นักลงทุนไทยให้ความสนใจกันมาก เพราะการเข้าไปลงทุนในตลาดต่างประเทศย่อมหมายถึงโอกาสที่จะได้ลงทุนในสินทรัพย์ที่หลากหลาย และบางครั้งในบางตลาดก็อาจมีประสิทธิภาพมากกว่าเนื่องจากสภาวะเศรษฐกิจที่เอื้ออำนวย ตลาดต่างประเทศจึงเปรียบได้กับหน้าต่างแห่งโอกาสที่ทำให้นักลงทุนสามารถกระจายสินทรัพย์อย่างเหมาะสมได้

อย่างไรก็ตาม การลงทุนในต่างประเทศโดยตรงก็ยังมีข้อจำกัดสำหรับคนส่วนใหญ่อยู่ โดยเฉพาะปัจจัยหลัก 2 เรื่อง อันได้แก่เงินทุนเริ่มต้น และการติดตามข้อมูลข่าวสารเพื่อจัดสรรพอร์ตและบริหารการลงทุนอย่างเหมาะสมอยู่เสมอ

ในเรื่องเงินทุนเริ่มต้น โดยส่วนใหญ่แล้วการลงทุนในต่างประเทศโดยตรงอาจจะต้องใช้เงินลงทุนเริ่มต้นนับแสนบาท เพราะไม่เช่นนั้นแล้วจะไม่คุ้มกับค่าธรรมเนียมที่ต้องจ่าย (ค่าธรรมเนียมอาจจะมีขั้นต่ำ 300 บาทต่อหุ้น 1 ตัว หากลงทุนด้วยเงิน 10,000 บาท ค่าธรรมเนียมจะคิดเป็นสัดส่วนถึง 3% ของเงินทุน) ส่วนการติดตามข้อมูลเพื่อจัดสรรพอร์ตการลงทุน ก็ไม่ใช่ทุกคนที่จะสามารถติดตามและบริหารพอร์ตการลงทุนได้อย่างสม่ำเสมอ ลำพังเพียงแค่หาสินทรัพย์ที่จะลงทุนในรอบแรกก็ไม่ใช่เรื่องง่าย ดังนั้นการที่จะปรับพอร์ตให้สอดรับกับสถานการณ์เศรษฐกิจที่เปลี่ยนไปจึงเป็นเรื่องที่ยากยิ่งกว่า

แต่ในตอนนี้ ข้อจำกัดทั้งหมดที่กล่าวมากำลังจะหมดไป ด้วยการมาถึงของ StashAway บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนส่วนบุคคล ที่เปิดโอกาสให้คนไทยได้ไปลงทุนในต่างประเทศได้อย่างง่ายดาย

โดย StashAway บริหารพอร์ตให้กับนักลงทุนผ่านการลงทุนใน ETF (Exchange traded fund) ของสินทรัพย์ต่าง ๆ ทั่วโลก

StashAway คือแพลตฟอร์มบริหารการลงทุน (digital wealth management) ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศสิงคโปร์ และยังได้รับใบอนุญาตจากหน่วยงานกำกับดูแลอีก 5 ประเทศด้วยกัน ได้แก่ ไทย สิงคโปร์ มาเลเซีย ฮ่องกง และ Dubai International Financial Centre ในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ โดย StashAway บริหารพอร์ตให้กับนักลงทุนผ่านการลงทุนใน ETF (Exchange traded fund) ของสินทรัพย์ต่าง ๆ ทั่วโลก

โดยล่าสุดได้เข้ามาเปิดให้บริการในประเทศไทยแล้วตั้งแต่วันที่ 2 กันยายนที่ผ่านมา แน่นอนว่าในประเทศไทยเองก็มีหลายบริษัทที่ให้บริการลงทุนในต่างประเทศ แต่สิ่งที่ทำให้ StashAway แตกต่างจากคนอื่น ๆ ก็คือ ค่าธรรมเนียมที่ต่ำเพียง 0.2% - 0.8% ซึ่งเป็น All-Inclusive fee ที่รวมค่าธรรมเนียมทุกอย่างไว้หมดแล้ว ไม่ว่าจะเป็น ค่าธรรมเนียมซื้อขายหลักทรัพย์ ค่าโอนเงินระหว่างประเทศ ค่าธรรมเนียมรับฝากสินทรัพย์ และผู้ลงทุนสามารถเริ่มต้นลงทุนด้วยเงินเท่าไหร่ก็ได้ แต่นั่นเป็นเพียงส่วนหนึ่งของความแตกต่างและการเติบโตของ StashAway เท่านั้น เพราะจริงๆ แล้วสิ่งที่ทำให้ StashAway เติบโตได้เร็วคือ

1. กลยุทธ์การลงทุนที่มีความละเอียดซับซ้อนระดับมาตรฐานสากล

2. Customer Experience ที่ดี ที่ให้ความสำคัญในการมอบประสบการณ์ที่ดีที่สุดให้กับลูกค้า

3.การเน้นให้ความรู้ทางการเงินและการลงทุนช่วยให้คนลงทุนอย่างมีประสิทธิภาพได้ด้วยวิธีที่ไม่ซับซ้อน

4. สามารถสร้างผลตอบแทนที่ดีได้อย่างต่อเนื่องแม้ต้องเผชิญกับวิกฤติ

ความแตกต่างเหล่านี้ทำให้ StashAway มีสินทรัพย์ภายใต้การบริหารจัดการมากกว่า 1,000 ล้านดอลลาร์ภายในเวลาไม่ถึง 4 ปีนับตั้งแต่เริ่มให้บริการ ซึ่งเร็วกว่าแพลตฟอร์มบริหารการลงทุนรายใหญ่ของโลกได้เคยทำไว้ สะท้อนให้เห็นถึงความเชื่อมั่นที่นักลงทุนมีต่อ StashAway ได้เป็นอย่างดี

StashAway กับมาตรฐานการลงทุนใน ETF และการบริหารพอร์ตที่มีคุณภาพ

อันดับแรก นักลงทุนที่เลือกลงทุนผ่าน StashAway จะต้องเลือกระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ โดยมีระดับความเสี่ยงให้เลือกมากถึง 12 ระดับ ตั้งแต่ 6.5% ถึง 36% ซึ่งเรียกว่า StashAway Risk Index (SRI) หากนักลงทุนเลือก SRI ที่ 14% มีความหมายว่านักลงทุนจะมีโอกาสเพียง 1% ที่จะขาดทุนเกิน 14% ในแต่ละปี ดังนั้น นักลงทุนจึงสามารถกำหนดระดับความเสี่ยงที่เหมาะสมด้วยตัวเองได้อย่างแท้จริง

จากนั้น StashAway จะจัดพอร์ตการลงทุนตามระดับความเสี่ยงที่นักลงทุนเลือกไว้ โดยนำเงินไปกระจายการลงทุนผ่าน ETF ประเภทต่าง ๆด้วยการลงทุนอัตโนมัติที่มีกลยุทธ์ในการลงทุนที่ชัดเจน ที่เรียกว่า Economic Regime-based Asset Allocation หรือ ERAA™ ซึ่งเป็นกลยุทธ์การลงทุนที่นำทฤษฎี Modern Portfolio Theory (MPT) ของ Harry Markowitz ที่ได้รางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ มาพัฒนาขึ้นอีกขั้นเพื่อให้ครอบคลุมถึงปัจจัยทางเศรษฐกิจที่ส่งผลกระทบต่อผลตอบแทน ความผันผวน และความสัมพันธ์ของสินทรัพย์

ERAA™ เป็นกลยุทธ์ที่ช่วยในการตัดสินใจว่าจะนำเงินไปลงทุนในสินทรัพย์ไหนบ้าง โดยพิจารณาจากสภาวะเศรษฐกิจ ณ ตอนนั้นและเน้นการมองภาพระยะยาวเป็นหลัก เช่น หากกลยุทธ์นี้ประเมินว่ากลุ่มประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่กำลังเติบโต ก็จะจัดสรรเงินทุนส่วนใหญ่ไปลงทุนใน ETF ของกลุ่มประเทศเหล่านี้ แต่ในขณะเดียวกันก็คัดเลือกกลุ่ม ETF ในหลายๆ ตลาดที่เมื่อนำมารวมกันในพอร์ตแล้วจะช่วยกระจายการลงทุนและปรับระดับความเสี่ยงให้เหมาะสมต่อนักลงทุนแต่ละคนด้วย

หลักการทำงานคร่าว ๆ ของ ERAA™ จะทำงานโดยให้ความสำคัญกับ 3 เรื่องนี้เป็นสำคัญ ได้แก่

1. ภาวะเศรษฐกิจ (Economic Regimes)

เป็นการปรับสัดส่วนการลงทุนในสินทรัพย์ต่าง ๆ ให้เหมาะกับภาวะเศรษฐกิจที่เปลี่ยนไป เพื่อรักษาระดับความเสี่ยงของพอร์ตให้เป็นไปตามที่กำหนดและเพิ่มโอกาสสร้างผลตอบแทนให้มากที่สุด เพราะสภาวะเศรษฐกิจที่แตกต่างกันย่อมมีสินทรัพย์ที่โดดเด่นในแต่ละช่วงเวลาไม่เหมือนกัน เช่น หุ้นขนาดเล็ก (small cap) อาจจะสามารถสร้างผลตอบแทนได้ดีกว่าในช่วงที่สภาวะเศรษฐกิจเติบโต (growth) แต่ถ้าในช่วงที่สภาวะเศรษฐกิจไม่สู้ดีนัก หรือเศรษฐกิจถดถอย (recession) กลุ่มหุ้นที่มีความมั่นคงสูง (defensive stock) หรือพันธบัตรรัฐบาล (government bond) อาจเป็นตัวเลือกการลงทุนที่ปลอดภัยกว่า และทาง StashAway จะนำเงินไปกระจายลงทุนในสินทรัพย์ต่างๆ ในสัดส่วนที่สอดคล้องกับสภาวะเศรษฐกิจ ณ ตอนนั้นมากที่สุด

หรือถ้าช่วงไหนภาวะเศรษฐกิจผันผวนมาก ยากที่จะคาดการณ์ได้ว่าภาพรวมทางเศรษฐกิจจะไปทางไหนต่อ  StashAway ยังมีกลยุทธ์การลงทุนแบบที่ทนทานต่อทุกสภาวะทางเศรษฐกิจ (all-weather portfolios) เพื่อช่วยลดความผันผวนให้พอร์ตโฟลิโอ ด้วยรูปแบบการลงทุนที่หลากหลายเพื่อให้เหมาะกับภาพเศรษฐกิจที่ไม่ชัดเจนในหลายรูปแบบ เช่น เศรษฐกิจเติบโต (growth) ชัด แต่เงินเฟ้อ (inflation) ไม่ชัด  StashAway ก็จะมีกลยุทธ์ All-weather แบบหนึ่ง หรือถ้าทั้งการเติบโตและเงินเฟ้อไม่ชัด ก็จะมีกลยุทธ์ All-weather อีกแบบหนึ่งปรับตามสภาพที่เปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ เพื่อลดความผันผวนและสร้างผลตอบแทนที่เหมาะสมให้กับนักลงทุนนั่นเอง

2. กลไกป้องกันความเสี่ยง (Risk Shield)

ตรวจจับสัญญาณความผิดปกติของตลาดที่อาจนำไปสู่การปรับตัวลงอย่างรุนแรงได้ โดยกลยุทธ์ ERAA™ จะอัปเดตข้อมูลทุกวันเพื่อช่วยให้ StashAway ปรับกลยุทธ์ให้สามารถรับมือกับความผิดปกติของตลาดได้ทันเวลา

3. ช่องว่างของมูลค่า (Valuation Gaps)

อ่านมาถึงข้อนี้หลายคนอาจคิดว่า Valuation Gap นั้นจะค้นหาสินทรัพย์ที่มีราคาต่ำกว่าที่ควรจะเป็น เพื่อให้ได้มาซึ่งสินทรัพย์ที่คุ้มค่าแก่การลงทุนมากที่สุดอย่างเดียว แต่สำหรับ StashAway ไม่ได้แค่ทำมาเพื่อหาสินทรัพย์ที่ราคาต่ำกว่ามูลค่า (undervalued) อย่างเดียวเท่านั้น แต่ทำมาเพื่อตรวจจับสินทรัพย์ที่ราคาสูงกว่ามูลค่า (overvalued) จนอาจเกิดฟองสบู่ได้ด้วย ก็เพื่อช่วยลดความเสี่ยงจากการเปิดรับความเสี่ยง (exposure) ในสินทรัพย์ที่ Overvalued เกินไปนั่นเอง

จากวิธีการทำงานของ StashAway นั่นเท่ากับว่านักลงทุนไม่จำเป็นต้องเฝ้าติดตามตลาดหรือบริหารจัดการพอร์ตการลงทุนด้วยตัวเอง เพราะ StashAway ได้เข้ามาทำหน้าที่นี้แทนนักลงทุนเรียบร้อยไม่ว่าจะเป็นด้านของ Re-Optimization หรือการปรับพอร์ต เมื่อ ERAA™พบว่าควรมีการปรับพอร์ตให้เหมาะกับแต่ละสภาวะเศรษฐกิจเพื่อรักษาระดับความเสี่ยงและหาโอกาสสร้างผลตอบแทนอยู่เสมอ และการ Rebalancing หรือการรักษาน้ำหนักพอร์ตการลงทุนให้คงที่แม่นยำอยู่เสมอ หากสินทรัพย์ไหนมีสัดส่วนสูงหรือต่ำเกินไปในพอร์ต ก็จะมีการซื้อขายให้น้ำหนักกลับมาที่เดิมครับ โดยที่การ Rebalancing นี้มีหลักการเหมือนการลงทุนอัตโนมัติหรือ Private Wealth ทั่วไป แต่สิ่งที่ StashAway พิเศษกว่าก็คือจะมีการปรับพอร์ตให้กับลูกค้าทุกวัน ทำให้พอร์ตการลงทุนของลูกค้าที่มาลงทุนกับบริษัทมีความยืดหยุ่นมากกว่า ในขณะที่หากเป็นบริการ wealth management ทั่วไปอาจจะไม่ได้มีการปรับพอร์ตโฟลิโอรวดเร็วนัก และที่ดีกว่านั้นคือทั้งการ Re-Optimization และ Rebalancing ไม่มีการคิดค่าธรรมเนียมเลย

เปรียบได้กับการที่นักลงทุนเสมือนมีผู้จัดการกองทุนส่วนตัวด้วยค่าธรรมเนียมการบริหารจัดการที่ต่ำมาก

สำหรับนักลงทุนที่สนใจ สามารถติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.stashaway.co.th หรือสอบถามทีมดูแลได้ [1] ทาง Line Official Account ที่ @stashaway, หรือทางอีเมลที่ support@stashaway.co.th หรือหากใครต้องการลงทุน ก็สามารถเปิดบัญชีผ่านแอปพลิเคชั่นของ StashAway ได้เลย

ลงทุนศาสตร์

บทความนี้เป็น Advertorial