“ถึงเวลาเริ่มต้นวางแผนการเงินให้กับตัวเองแล้วล่ะ!”

เชื่อว่าเสียงนี้คงเริ่มดังขึ้นมาในหัวของหนุ่มสาวที่เพิ่งก้าวเท้าเข้าสู่โลกของมนุษย์เงินเดือน 

เป็นเรื่องปกติที่ทุกคนอยากจัดการรายได้ในแต่ละเดือนให้เหมาะสมกับไลฟ์สไตล์ เพราะรู้สึกว่าเงินของตัวเองควรจะมีแผนการเงินมารองรับอย่างถูกต้อง ทั้งการใช้จ่ายและลงทุน รวมถึงเริ่มมองไกลไปยังเป้าหมายชีวิตในอนาคตที่ต้องใช้เงิน

ความรู้สึกเหล่านี้ถือเป็นจุดเริ่มต้นทางด้านเงินที่ดีสำหรับมนุษย์เงินเดือนทุกคน

แต่คำถามก็คือหลังจากที่มีแผนป้องกันความเสี่ยงขั้นพื้นฐาน* ที่ประกอบไปด้วยเงินสำรองฉุกเฉินและประกันสุขภาพเรียบร้อยแล้ว ถ้าอยากจะวางแผนการเงินขั้นต่อไป มนุษย์เงินเดือนอย่างเราจะเริ่มต้นด้วยแผนไหนก่อนดี? และจะใช้เครื่องมืออะไรช่วยในการวางแผนได้บ้าง?

ถ้าอยากได้คำตอบแบบง่ายๆ ปั้นเงินคิดว่าแผนการเงินที่ First Jobber หลายคนนิยมเริ่มต้นวางแผนกันมากที่สุดจะมีอยู่ 3 เรื่อง คือ

1. การวางแผนลดหย่อนภาษี

การเสียภาษี เป็นหน้าที่ของผู้มีรายได้ทุกคนที่จะต้องชำระภาษีตามกฏหมาย และ “ภาษี” ถือเป็นค่าใช้จ่ายประจำปีของมนุษย์เงินเดือนทุกคน ซึ่งแน่นอนว่าทุกคนก็คงไม่อยากเสียภาษีเยอะ อยากจะลดค่าใช้จ่ายส่วนนี้ลงเพื่อนำเงินส่วนที่ลดมาใช้ทำประโยชน์อย่างอื่นเป็นการส่วนตัว

แต่เนื่องจากกฏเกณฑ์ของการเสียภาษีมีสิทธิประโยชน์ให้ผู้เสียภาษีในบางกรณี เรียกว่า “ค่าลดหย่อนภาษี” ซึ่งเราสามารถวางแผนลดหย่อนภาษีให้เกิดประโยชน์กับตัวเองได้อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย และควรจะหารูปแบบการลดหย่อนที่เหมาะสมกับตัวเองเป็นหลัก ไม่ใช่ว่าวางแผนลดหย่อนภาษีให้ได้เยอะๆ เพราะในบางครั้งการลดหย่อนภาษีมากเกินไปอาจกลายเป็นภาระค่าใช้จ่ายในอนาคตได้

เช่น ถ้าเรามีความจำเป็นจริงๆในการซื้อบ้าน ดอกเบี้ยที่เกิดจากเงินกู้ก็สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ หรือ ถ้าเราอยากจะลงทุนอยู่แล้วการเปลี่ยนจากลงทุนในกองทุนรวมทั่วไปมาเป็น LTF/RMF ก็ทำให้เราได้สิทธิประโยชน์จากการลดหย่อนภาษีเพิ่มเติมเข้าไปด้วย แต่ก็ควรซื้อในปริมาณที่เหมาะสม เป็นต้น

โดยทั่วไปเครื่องมือที่ First Jobber นิยมใช้เพื่อเริ่มต้นวางแผนลดหย่อนภาษีก็คือ : ประกันชีวิต, กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ, LTF และ RMF เป็นต้น

2. การวางแผนลงทุน

ปกติเวลาที่มีเงินออมมากขึ้นจากการวางแผนรายรับรายจ่าย (รวมถึงเงินที่ได้รับคืนจากการวางแผนลดหย่อนภาษี) สิ่งต่อมาที่คนส่วนใหญ่จะทำก็คือวางแผนการลงทุน โดยมองไปที่ ผลตอบแทน และความเสี่ยงเป็นหลัก แต่หลายคนมักจะมองข้ามเรื่อง “เป้าหมายในการลงทุน” ไป

เพราะ “ระยะเวลา” และ “ความสำคัญ” ของเป้าหมายการลงทุน จะเป็นตัวคัดเลือกความเสี่ยงและผลตอบแทนของสินทรัพย์ที่เหมาะสมสำหรับแผนการลงทุน ดังนั้น ก่อนจะเริ่มต้นวางแผน เราควรจะรู้ก่อนว่าเราลงทุนเพื่ออะไร

ปกติมนุษย์เงินเดือนที่เพิ่งเริ่มต้นลงทุน มักจะใช้กองทุนรวมในการวางแผนลงทุนแทน เราก็เลยแบ่งสินทรัพย์ลงทุนตามระยะเวลาของเป้าหมายดังนี้

เป้าหมายระยะสั้น

ระยะเวลา 1-3 ปี จะให้ความสำคัญกับการรักษาเงินต้น เช่น ออมเงินหรือลงทุนเพื่อเงินดาวน์บ้าน วางแผนแต่งงาน หรือออมเงินค่าเทอมสำหรับลูก เป็นต้น

ประเภทของกองทุนรวมที่แนะนำ คือ กองทุนรวมตลาดเงินกองทุนรวมตราสารหนี้ระยะสั้น/ระยะยาว

เป้าหมายระยะกลาง

ระยะเวลา 3-7ปี ให้ความสำคัญกับการเพิ่มผลตอบแทนในระดับความเสี่ยงที่สูงขึ้น เช่น ลงทุนเพื่อเป็นค่าเทอมลูกในช่วงมหาวิทยาลัย ลงทุนเพื่อเป็นเงินทุนของธุรกิจในอนาคต เป็นต้น

ประเภทของกองทุนรวมที่แนะนำ คือ กองทุนรวมผสมกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ กองทุนรวมหุ้นแบบ Passive กองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF)

เป้าหมายระยะยาว

ระยะเวลา 7ปีขึ้นไป ให้ความสำคัญกับการเพิ่มผลตอบแทนในระดับความเสี่ยงสูง เพราะมีเวลาให้ปรับปรุงแผนลงทุนได้อย่างยืดหยุ่น บางคนก็ลงทุนเพื่อสะสมสินทรัพย์ให้จ่ายผลตอบแทนแบบ Passive Income เช่น ลงทุนเพื่อการเกษียณ ลงทุนเพื่อส่งลูกเรียนปริญญาโทที่ต่างประเทศ เป็นต้น

ประเภทของกองทุนรวมที่แนะนำ คือ กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ กองทุนรวมหุ้นแบบ Passive และ Active กองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF) กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF)

3. การวางแผนเกษียณ

การเกษียณอายุ เป็นเป้าหมายการเงินที่มนุษย์เงินเดือนทุกคนต้องมีและควรให้ความสำคัญ เพราะในวันข้างหน้าช่วงเวลาจะนำพาความโรยราเข้ามาให้มนุษย์ทุกคน ในวันที่เราออกจากงานมาและไม่มีรายได้ประจำ ค่าใช้จ่ายยังคงมีอยู่เหมือนเดิม

จำเป็นอย่างมากที่เราต้องมีสินทรัพย์หรือเงินจำนวนหนึ่ง ไว้ให้เราได้ใช้จ่ายไม่ขาดมือในช่วงหลังเกษียณ

ซึ่งสิ่งที่ขาดไม่ได้เลยสำหรับแผนการเกษียณก็คือ การลงทุน การสร้างสินทรัพย์เหล่านั้นได้จำเป็นต้องมีการวางแผนอย่างเหมาะสม เหมาะสมทั้งชีวิตของเราในวันนี้และวันหน้า

แผนการเกษียณถือเป็นหนึ่งในแผนการลงทุนระยะยาวที่พูดถึงก่อนหน้านี้

ประเภทของสินทรัพย์ที่แนะนำ คือ หุ้น คอนโด บ้านเช่า กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ กองทุนรวมหุ้นแบบ Passive และ Active กองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF) รวมถึง กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF)

ยิงปืนนัดเดียว ได้นกสามตัว!

ถ้าลองสังเกตกันดู ไม่ว่าจะเป็นแผนการเงินแบบไหน เราสามารถใช้ LTF และ RMF มาใช้วางแผนเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดได้ หากเลือกลงทุนกับ LTF และ RMF ก็สามารถได้ทั้งแผนการลงทุน แผนการเกษียณ รวมทั้งแผนลดหย่อนภาษีเรียกได้ว่ายิงปืนนัดเดียวได้นกถึงสามตัวเลยเชียวแหละ

LTF RMF กองเด็ดจาก 14 บลจ. คัดเลือกโดย LH BANK

สำหรับเพื่อนๆที่สนใจใช้ LTF/RMF เป็นเครื่องมือในการวางแผนการเงิน แล้วอยากรู้ว่ามีกองไหนที่น่าสนใจบ้าง และถ้าอยากประหยัดเวลาเพิ่มขึ้น ไม่อยากไปเปิดบัญชีซื้อขายกองทุนกับสถาบันการเงินหลายที่ให้ปวดหัวจะไปที่ไหนดี

ปั้นเงินขอแนะนำธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮาส์ (LH BANK) ที่เดียวจบครบทุกความต้องการ เพียงแค่เปิดพอร์ตซื้อขายกองทุนรวมกับ LH BANK ที่เดียว ก็สามารถซื้อขายกองทุนรวมเด็ดๆจาก 14 บลจ.ชั้นนำรวมไปถึง LTF และ RMF ด้วยนะ

นอกจากนี้ยังสามารถอัพเดทผลตอบแทนจากการลงทุนของเราทั้งหมดผ่านแพลตฟอร์มของ LH BANK ได้ตลอดเวลาทำให้สามารถปรับพอร์ตการลงทุนได้ตามกลยุทธ์โดยต้องเสียเวลานานและไม่ยุ่งยากอีกด้วย 

ยิ่งไปกว่านั้น LH BANK ยังมีคัดเลือกกองทุนรวมเด็ดๆมาแนะนำให้นักลงทุนตลอด อย่างที่ปั้นเงินบอกเอาไว้ว่ามี LTF และ RMF ผลประกอบการเด่นจาก 14 บลจ. มาฝาก แต่จะเอามาทั้งหมดหมดอาจจะอ่านกันจนตาลายได้ ปั้นเงินก็เลยช่วยคัดมาเป็นตัวอย่างเรียกน้ำย่อยอีกที มีกองไหนที่น่าสนใจบ้าง เราไปดูพร้อมกันเลย

กองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF)

  • กองทุนเปิดกรุงศรีหุ้นระยะยาว SET50 (KFLTF50) จาก KSAM
  • กองทุนเปิดไทยพาณิชย์หุ้นระยะยาวปันผล 70/30 (SCBLT1) จาก SCBAM
  • กองทุนเปิดเอ็มเอฟซีเพิ่มทรัพย์หุ้น ระยะยาว (MA-LTF) จาก MFC
  • กองทุนเปิด แอล เอช สแทรทิจี อิควิตี้ หุ้นระยะยาว (LHSTGLTF) จาก LHFUND

กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) 

  • กองทุนเปิดกรุงไทย SET50 เพื่อการเลี้ยงชีพ KTSET50RMF จาก KTAM
  • กองทุนเปิด แอล เอช ไทย พร็อพเพอร์ตี้ เพื่อการเลี้ยงชีพ LHTPROPRMF จาก LHFUND
  • กองทุนเปิดบรรษัทภิบาลเพื่อการเลี้ยงชีพ CG-RMF จาก UOBAM
  • กองทุนเปิดพรินซิเพิล มุ่งรักษาเงินต้นเพื่อการเลี้ยงชีพ PRINCIPAL PRMF จาก PRINCIPAL

ยังมี LTF และ RMF ที่น่าสนใจอีกมากมาย คลิกไปดูได้ที่ ลิงค์นี้

ตัวอย่างกองทุนทั้งหมดมาจากหลากหลาย บลจ. ถูกนำมารวมกันอยู่ที่ LH BANK ให้มนุษย์เงินเดือนนักลงทุนได้เข้ามาช็อปปิ้งกัน ถือเป็นหนึ่งช่องทางที่อำนวยความสะดวกให้นักลงทุนแบบสุดๆ เรียกว่าเป็นแพลตฟอร์มแบบ Fund Mart One Stop Services เลยก็ว่าได้ ว้าวมาก!

เห็นมั้ยว่าลงทุน LTF/RMF กับ LH BANK ได้ทั้งความครบเครื่องเรื่องวางแผนการเงิน และความสะดวกสบายจากบริการของธนาคารทำให้ชีวิตการลงทุนเป็นเรื่องง่ายไปเลย!

ถ้าสนใจเปิดพอร์ตลงทุน สามารถเข้าไปได้ที่กับ LH BANK ทุกสาขา 

โทร 1327 หรือ 02 359 0000

บทความนี้เป็น Advertorial