สวัสดีครับนักลงทุนทุกท่าน ไม่น่าเชื่อเลยครับว่านี่ก็ใกล้สิ้นปี 2020 อีกแล้วครับ เวลาในปีนี้ผ่านไปค่อนข้างเร็วมาก แต่ผมคิดว่าสำหรับบางท่านอาจจะเป็นปีที่ยากลำบากพอสมควรเลยครับ เนื่องจากเป็นปีที่มีเหตุการณ์ต่าง ๆ เกิดขึ้นมากมายไม่เว้นแต่ละเดือนเลยครับ โดยเฉพาะเรื่องโรค COVID-19 ที่ระบาดไปทั่วโลกที่มีผลทำให้ต้องมีการปิดเมือง ระงับการเดินทางผ่านช่องทางต่างๆ และส่งผลให้เศรษฐกิจถดถอยลงในหลายประเทศรวมถึงประเทศไทยด้วย หรือแม้แต่การเลือกตั้งประธานาธิบดีของสหรัฐ ฯ ที่กำลังใกล้เข้ามาเรื่อย ๆ นั้นก็มีผลต่อการลงทุน หรือเศรษฐกิจของโลกนี้ด้วยครับ

ซึ่งแน่นอนว่าเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นมาในปีนี้ โดยเฉพาะเรื่อง COVID-19 นั้นน่าจะส่งผลต่อตลาดหุ้นทั่วโลกในทางลบ แต่กลับกลายเป็นว่าเป็นปีทองสำหรับหุ้นบางกลุ่ม เช่นหุ้นเล็ก หุ้นที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี หุ้นที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ หุ้นในประเทศจีน รวมไปถึงทองคำ กลับปรับตัวสูงขึ้นสวนทางกับที่หลายฝ่ายคาดการณ์ไว้

แต่ผมคงต้องบอกนักลงทุนว่าในช่วงเวลาแบบนี้สิ่งที่เราสามารถทำได้นั่นก็คือ การถือครองสินทรัพย์ลงทุนให้นานมากขึ้นครับ นั่นก็เพราะว่าถึงแม้แต่ละปีจะมีความผันผวนของการลงทุนอยู่ แต่โดยส่วนใหญ่แล้วถ้าหากเราถือครองสินทรัพย์ได้นานขึ้นโอกาสขาดทุนจะลดลงนั่นเองครับ

นอกจากนั้น ยังเป็นเรื่องแน่นอนว่าสินทรัพย์แต่ละประเภทก็เติบโตไม่เหมือนกัน ยากต่อการจับจังหวะในการลงทุนอย่างมาก เพราะว่าไม่มีสินทรัพย์ใดที่จะเติบโตไปได้ตลอด

เราจะเห็นได้ว่า สินทรัพย์แต่ละประเภทนั้นก็จะสลับการแพ้ สลับกันชนะ แต่ในความเป็นจริง แทบจะเป็นไปไม่ได้เลยที่เราจะเลือกลงทุนในสินทรัพย์ที่เป็นที่ 1 ได้ตลอดเวลา ทางที่ดีเราควรที่จะกระจายความเสี่ยงโดยลงทุนกับสินทรัพย์ที่แตกต่างกัน (สร้างพอร์ตการลงทุน) และถือให้นานมากพอ ผมคิดว่าด้วยหลักการการลงทุนแบบนี้ ก็น่าจะสร้างผลตอบแทนที่ดีให้กับเราได้ในระยะยาว และยังช่วยให้เราลงทุนได้อย่างสบายใจมากขึ้นครับ

ซึ่งการจัดพอร์ตจะทำให้เราได้ผลตอบแทนที่สม่ำเสมอมากขึ้น (กล่องสีเทา) ไม่แพ้ ไม่ชนะใคร  แต่ได้ผลตอบแทนที่มั่นคงมากขึ้นจากการกระจายความเสี่ยงที่ดี

นอกจากนี้ครับ บางท่านอาจจะลงทุนมานาน แต่ก็ลงทุนแบบไม่มีพอร์ต หรือพยายามใช้กลยุทธ์จับจังหวะไปตามราคาสินทรัพย์ที่ขึ้น ๆ ลง ๆ ทำการ ซื้อ ๆ ขาย ๆ คนที่ทำแบบนี้โดยส่วนใหญ่ก็มักจะพบว่าพอร์ตนิ่งสนิท ไม่เติบโตไปไหน ผลตอบแทนต่อปีน้อยกว่าที่คิดไว้มาก

ซึ่งจะเห็นได้จากภาพว่า ถ้าทำแบบที่ผมอธิบายไว้แล้วละก็ นักลงทุนส่วนใหญ่มักจะได้ผลตอบแทนไม่มาก (สีส้ม) คือใกล้เคียงกับเงินเฟ้อเท่านั้นครับ เห็นไหมครับว่าการจัดพอร์ตที่ดีนั้นการกระจายความเสี่ยง และ การยืดระยะเวลาการถือครองค่อนข้างจะสำคัญอย่างมาก 

แต่ทั้งนี้หลาย ๆ คนอาจจะไม่ค่อยสบายใจและ มองว่า เห้ย !? ถ้าเราไม่ปรับพอร์ตบ้างมันจะดีเหรอ มันจะไม่ล้าหลังเหรอ หุ้นบางกลุ่มก็เก่าแล้ว เป็น Old Economic จะสู้หุ้นที่เติบโตอย่างกลุ่มเทคโนโลยีได้เหรอ

ผมคงต้องบอกว่าจริง ๆ แล้วมีเทคนิคนึงที่สามารถจะช่วยเราบริหารพอร์ตระยะยาวได้ดีอีกทาง ซึ่งจะทำให้พอร์ตของเราทันสมัยไม่ตกยุค แต่ก็ไม่ได้หวือหวาหรือผันผวนจนทำให้พอร์ตของเราผิดเพี้ยนไปจากที่ตั้งเป้าหมายไว้ครับ และถ้าเข้าใจการใช้เทคนิคนี้ก็อาจจะทำให้พอร์ตของเราแข็งแรงมากกว่าเดิมก็เป็นไปได้

นั่นก็คือการใช้กองทุนแบบ “กองทุนสายกลาง” มาช่วยในการปรับพอร์ตของเราครับ 

ซึ่งเราอาจจะใช้เป็นพอร์ตหลักในการลงทุนระยะยาวได้เลย (CORE portfolio) ซื้อเพียงแค่  1 กองทุน แล้วก็ถือกองทุนยาว ๆ กันไป ให้บรรลุเป้าหมายเลยก็ได้ครับ

เนื่องจาก กองทุนสายกลาง หรือกองทุนรวมผสมนั้นเป็นกองทุนที่กระจายลงทุนในสินทรัพย์หลากหลายประเภท เช่น หุ้น ตราสารหนี้ เงินฝาก กองทุนอสังหาฯ รวมถึงสินทรัพย์ทางเลือก เช่น ทอง น้ำมัน แน่นอนครับว่า สามารถลงทุนได้ทั้งในและต่างประเทศ โดยผู้จัดการกองทุนจะเป็นคนที่ดูแล และคัดเลือกสินทรัพย์ให้กับเราครับ เราไม่ต้องไปติดตามการลงทุนเอง มีมืออาชีพคอยดูแลให้ก็น่าจะอุ่นใจกว่าครับ

ซึ่งผู้จัดการกองทุน จะทำการบาลานซ์ความเสี่ยงมาให้เหมาะสมแล้ว เพราะถ้าลงทุนแต่กับสินทรัพย์ที่ความเสี่ยงต่ำ เช่น ตราสารหนี้ก็ได้ผลตอบแทนน้อยไป แต่ลงทุนให้หุ้นเต็มที่ก็เสี่ยงไป เพราะฉะนั้น กองทุนสายกลาง หรือ Balanced Fund จะช่วยบาลานซ์ความเสี่ยงจากการลงทุนให้พอดี ได้ผลตอบแทนที่น่าพอใจแต่ก็ไม่เสี่ยงเกินไป และมีการกระจายตัวของสินทรัพย์ต่าง ๆ อย่างพอเหมาะ

ส่วนใครที่อยากลงทุนให้ได้ผลตอบแทนมากขึ้นก็อาจจะเอากองทุนที่มีความเสี่ยงสูง เช่นกองทุนหุ้นเทคโนโลยี หรือกลุ่มอุตสาหกรรมสุขภาพ (Healthcare) เข้ามาเพิ่มเติมก็ได้ครับ เผื่อว่าได้ลุ้นผลตอบแทนที่ดีขึ้น แต่ถ้าเราเลือกผิดพลาดไป อย่างน้อย ๆ เราก็ยังมี Core portfolio อย่างกองทุนสายกลางของเรายันผลตอบแทนไว้ ซึ่งจะทำให้ได้ผลตอบแทนที่สามารถถึงเป้าหมายได้อยู่ครับ หรืออีกวิธีคือ เราอาจจะใช้กองทุนสายกลางนี้ เป็นตัวที่จะช่วยปรับให้ผลตอบแทนมากขึ้น หรือสม่ำเสมอมากขึ้นก็ได้เช่นกันครับ เนื่องจากกองทุนเหล่านี้มีการกระจายความเสี่ยงอยู่พอสมควร และบางกองทุนก็มีสไตล์บริหารจัดการที่เป็นเชิงรุกที่มีสัดส่วนหุ้น หรือสินทรัพย์เสี่ยงสูงหน่อยก็สามารถสร้างผลตอบแทนในระยะยาวให้สูงขึ้นได้เช่นกันครับ

คราวนี้เรามาดูตัวอย่างกองทุนสายกลางของเราที่อยากแนะนำกันครับ นั่นก็คือ กองทุน K-GINCOME-A(R)

โดยกองทุน K-GINCOME-A(R)  เป็นกองทุนรวมที่ลงทุนผ่าน JPMorgan Investment Funds – Global Income Fund, Class A (mth)-EUR ที่มีกระจายการลงทุนในหลากหลายประเภทสินทรัพย์ทั่วโลกมากกว่า 2,500 สินทรัพย์ เช่น หุ้นทั่วโลกที่มีการจ่ายปันผลสูง (Global Equity) ทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ทั่วโลก (Global REITs) รวมถึงตราสารหนี้ในกลุ่มประเทศเกิดใหม่ด้วย เอาเป็นว่ามีสินทรัพย์เกือบทุกประเภทที่ให้ผลตอบแทนสูงทั้งในรูปแบบดอกเบี้ยหรือเงินปันผลครับ

ซึ่ง K-GINCOME-A(R)   มีปรับเปลี่ยนพอร์ตไปตามสถานการณ์การลงทุน และมีนโยบายรับซื้อคืนหน่วยลงทุนอัตโนมัติ เพื่อให้ได้ผลตอบแทนในรูปแบบรายได้สม่ำเสมอ ถึงแม้ช่วง COVID - 19 ที่ผ่านมาก็ยังให้ผลตอบแทนได้ กองทุนจ่ายผลตอบแทนได้อย่างต่อเนื่องทุกเดือน เฉลี่ยประมาณ 4% ต่อปี* โดยจ่ายต่อเนื่องมา 6 ปีแล้วครับ

*สามารถดูรายละเอียดประวัติการจ่ายผลตอบแทนย้อนหลังได้ที่ 

https://bit.ly/387oaDF

แน่นอนครับว่า กองทุนนี้เหมาะกับคนที่ต้องการที่จะสร้างพอร์ตที่มีรายได้อย่างสม่ำเสมอ หรือคนที่ต้องการกองทุนที่ความเสี่ยงไม่สูงมาช่วยลดความผันผวนของพอร์ตการลงทุนของเราก็ได้ครับ สำหรับคนที่สนใจ K-GINCOME-A(R) สามารถเริ่มลงทุนได้ขั้นต่ำ 500 บาท ซึ่งตอนนี้ฟรีค่าธรรมเนียมการซื้อหน่วยลงทุนเมื่อซื้อผ่านแอป K PLUS หรือ K-My Funds และทาง K-Cyber Invest ตั้งแต่ 12 ต.ค. – 30 ธ.ค. 63 นี้ด้วยครับ

ส่วนกองทุนสายกลางที่น่าสนใจอีกกองทุนก็คือ K-FIT นั่นเองครับ

กองทุน K-FIT คือ กองทุนที่ลงทุนในกองทุนรวมประเภทต่าง ๆ อีกที หรืออีกชื่อนึงก็คือ Fund of Funds นั่นเองครับ โดยจะลงทุนในกองทุนรวมภายใต้การบริหารของ KAsset ทั้ง กองทุนตราสารหนี้ กองทุนหุ้น และกองทุนสินทรัพย์ทางเลือก เช่น ทองคำ น้ำมัน อสังหาฯ ซึ่งมีการลงทุนทั้งในและต่างประเทศอีกด้วย เท่ากับว่า เลือก K-FIT ก็จะได้ลงทุนกองทุนเด่น ๆ เช่น K-USA, K-EUROPE, K-EQUITY, K-FIXED, KGPROP ในสัดส่วนที่แตกต่างกันไป

การลงทุนบน Fund of Funds แบบนี้จะเป็นการบริหารกองทุนโดยใช้ผู้เชี่ยวชาญถึง 2 ชั้น คือ

1. ผู้จัดการกองทุน K-FIT ที่มองภาพรวม บาลานซ์ความเสี่ยงให้เหมาะสม และเลือกลงทุนในกองทุนหลากหลายประเภท เพื่อให้ได้ผลตอบแทนที่เหมาะสมตามสภาวะตลาด

2. ผู้จัดการกองทุนในแต่ละสินทรัพย์ที่มีความเชี่ยวชาญในสินทรัพย์นั้น ๆ โดยเฉพาะ ยกตัวอย่างเช่น K-FIXED จะมีผู้จัดการกองทุนตราสารหนี้มาดูแล และ เลือกตราสารหนี้ที่ดีให้กับเราครับ

แม้จะมีผู้จัดการกองทุนดูแลถึง 2 ชั้น แต่เก็บค่าธรรมเนียมการจัดการแค่ชั้นเดียว คือเก็บจากK-FIT กองทุนเดียว ไม่ได้เก็บจากกองทุนย่อยๆที่ไปลงทุน ดังนั้นไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมซ้ำซ้อนครับ

ซึ่ง K-FIT จะมีกองทุนให้เลือก 4 กองครับ แบ่งตามระดับความเสี่ยงที่นักลงทุนยอมรับได้ครับ ตั้งแต่ K-FITS / K-FITM / K-FITL / K-FITXL  โดยผู้ลงทุนในกองทุน K-FIT สามารถคาดหวังผลตอบแทนได้ โดยให้เลือกจากความเสี่ยงและผลตอบแทนที่คาดหวัง เป็นดังนี้คือ

  • K-FIT S เสี่ยงน้อย ไม่เหวี่ยงมาก อัตราผลตอบแทนที่ใช้เป็นตัวชี้วัด 3% ต่อปี*
  • K-FIT M เสี่ยงเพิ่มหน่อย ได้เพิ่มขึ้นอัตราผลตอบแทนที่ใช้เป็นตัวชี้วัด 5.5% ต่อปี*
  • K-FIT L เสี่ยงเพิ่มอีกนิดจาก K-FIT M อัตราผลตอบแทนที่ใช้เป็นตัวชี้วัด 7% ต่อปี*
  • K-FIT XL เสี่ยงเต็มแม็กซ์ เพิ่มโอกาสได้เต็มที่ อัตราผลตอบแทนที่ใช้เป็นตัวชี้วัด 8.5% ต่อปี*

* อัตราผลตอบแทนที่ใช้เป็นดัชนีชี้วัดของกองทุนเกิดจากการจัดแบบจำลองการลงทุนย้อนหลัง 5 ปี ซึ่งกองทุนมิได้รับประกันผลตอบแทนดังกล่าว และผู้ลงทุนอาจได้รับผลตอบแทนติดลบหรือน้อยกว่าอัตราผลตอบแทนที่กำหนดเป็นตัวชี้วัดได้

ดังนั้นใครที่อยากให้เงินของเราเติบโตได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ หรืออยากมีเงินเก็บก้อนโตสำหรับเป้าหมายในอนาคต และอยากรอรับผลตอบแทนก้อนใหญ่ทีเดียว โดยไม่ต้องการเงินปันผลระหว่างทาง เช่นเกษียณ หรือมีเงินเป็นทุนการศึกษาให้กับลูก ๆ กองทุน K-FIT ผมคิดว่าเหมาะเลยครับ หรือจะเอาเป็น Core Portfolio ของเรา เพื่อลงทุน แล้วไปเพิ่มสัดส่วนสินทรัพย์เสี่ยงเองภายหลังก็ถือว่าดีมาก ๆ ครับ

โดยสรุปแล้ว การใช้กองทุนสายกลาง มาผสมลงไปในพอร์ตที่มีอยู่แล้วเพื่อกระจายความเสี่ยง หรือว่าจะเอามาเป็นพอร์ตหลัก (Core Portfolio) ในการลงทุนก็สามารถทำได้ทั้งสองแบบครับ แต่ทั้งนี้ผมมักจะเจอคำถามอยู่เสมอ ๆ ว่า ถ้าทำไม่เป็น เอากองทุนสายกลางกองทุนไหนดี    เลือกกองทุนไม่ถูกเลย ไม่แน่ใจว่าจะเหมาะกับเราไหม กลัวเพิ่มสัดส่วนเข้ามาไม่ถูกแล้วละก็

ผมมีอีกทางเลือกง่าย ๆ ให้กับนักลงทุนที่เลือกกองทุนสายกลางไม่ถนัด ไม่มีเวลาหรือเพิ่งเริ่มต้นลงทุนครับ

วิธีก็ง่ายมาก เพียงแค่เปิดมือถือขึ้นมา และกดไปที่ K PLUS จากนั้นก็ไปที่ Function “ลงทุน” และกดเลือก Wealth PLUS เพื่อเริ่มลงทุน

ฟีเจอร์ Wealth PLUS บน K PLUS เป็นระบบอัจฉริยะที่ทำหน้าที่เหมือนผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคลที่ดูแลจัดการพอร์ตกองทุนรวมของเรา โดยจะเลือกกองทุนเข้าพอร์ตให้ตามความเสี่ยงที่เรายอมรับได้ รวมถึงคำนวนเงินให้อัตโนมัติว่าควรต้องลงทุนเท่าไหร่ เพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ ไม่ว่าจะเป็นเป้าหมายซื้อบ้าน ซื้อรถ เกษียณ เก็บเงินก้อน หรือเก็บเงินเพื่อการศึกษา โดยที่เราไม่ต้องทำอะไรเลยนอกจากใส่ข้อมูลตอบคำถามตามความจริงให้ครบทุกขั้นตอนเท่านั้นครับ และเมื่อลงทุนไปเรื่อย ๆ Wealth PLUS ก็จะมีการปรับสัดส่วนให้เราทุก 6 เดือน เหมือนมีผู้เชี่ยวชาญดูแลอย่างใกล้ชิดเลยทีเดียวครับ ที่สำคัญ ใช้ได้ฟรี ไม่มีค่าธรรมเนียมด้วย

Wealth PLUS กำหนดเงินลงทุนครั้งแรกขั้นต่ำ 10,000 บาท ส่วนครั้งต่อไปเริ่มต้นเพียง 1,000 บาท หรือจะเลือกให้ระบบตัดเงินมาลงทุนให้อัตโนมัติทุกเดือน (DCA) ก็ได้

สุดท้ายของสุดท้าย ก่อนจะจากกันไป ผมจะบอกว่าทั้ง K-GINCOME-A(R), K-FIT และ Wealth PLUS เป็นทางเลือกที่น่าสนใจในการทำให้พอร์ตเราสุขภาพดีขึ้น แบบที่ไม่ต้องมาติดตามการลงทุนในสถานการณ์ที่ไม่แน่นอน มากเกินไปจนไม่มีเวลาทำสิ่งที่เราชอบครับ ใครเป็นนักลงทุนสไตล์ไหนก็เลือกลงทุนได้ง่าย ๆ เลย ผ่าน K PLUS หรือ K-My Funds แต่สำหรับ Wealth PLUS จะมีเฉพาะใน K PLUS นะครับ

ผมเชื่อว่าการลงทุนที่ดีนั้น ต้องมาพร้อมความสบายใจเสมอ ขอให้ทุกท่านลงทุนได้อย่างสบายใจ และมีความสุขในการลงทุนนะครับ แล้วพบกันใหม่ วันนี้ผม “หมอนัท” คลินิกกองทุน ต้องขอลาไปก่อนนะครับ สวัสดีครับ

คำเตือน

* กองทุนมีนโยบายที่แตกต่างกันทั้งด้านสินทรัพย์/ภูมิภาค/ประเทศ/กลุ่มธุรกิจที่กองทุนลงทุน ราคาของหลักทรัพย์จึงมีความผันผวนตามปัจจัยที่กระทบ

* สนใจลงทุนและขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่ www.kasikornbank.com

* ผู้ลงทุนโปรดทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน

บทความนี้เป็น Advertorial