บั้นปลายของวัยทำงานอาจไม่เป็นดั่งหวัง เพราะ ‘ประกันสังคม’ กำลังนับถอยหลังสู่วัน ‘เงินหมด’ ในยุคที่สังคมทั่วโลกกำลังก้าวเข้าสู่ภาวะสูงวัยอย่างช้า ๆ กองทุนประกันสังคมในหลายประเทศทั่วโลก กำลังเผชิญความท้าทายครั้งใหญ่ จะวางแผนยังไงให้เงินพร้อมก่อนเกษียณกันดี?

สถานการณ์ประกันสังคมรอบโลก ????

???????? Millennials และ Gen Z อเมริกันเลิกหวังกับประกันสังคม

รายงานล่าสุดจากสำนักงานประกันสังคมสหรัฐอเมริกา (Social Security Administration) หรือ SSA ได้เปิดเผยว่า เงินกองทุนประกันสังคมมีแนวโน้มจะหมดลงในปี 2035 หรืออีก 11 ปีข้างหน้ามีการสำรวจความคิดเห็นของวัยทำงานรุ่น Millennials และ Gen Z พบว่ากว่า 40% เชื่อว่าพวกเขาจะไม่ได้รับเงินบำนาญเลยในอนาคต ผลสำรวจนี้สะท้อนให้เห็นถึงความกังวลอย่างหนักต่ออนาคตของระบบประกันสังคมในสหรัฐฯ

???????? ปฏิรูประบบบำนาญจนก่อให้เกิดการประท้วงใหญ่ที่ฝรั่งเศส

ประเทศฝรั่งเศสเป็นอีกหนึ่งประเทศที่ได้เข้าสู่การเป็นสังคมผู้สูงอายุแล้ว โดยมีตัวเลขสัดส่วนของจำนวนประชาชนวัยเกษียณต่อประชากรวัยทำงานที่สูงมากขึ้นเรื่อย ๆ จนถึงกับสั่นคลอนกองทุนเพื่อการเกษียณอายุของฝรั่งเศส เมื่อปี 2023 รัฐบาลได้ผ่านกฎหมายปฏิรูประบบบำนาญในปี 2023 โดยยืดอายุเกษียณจาก 62 ปี เป็น 64 ปี เพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนเงินในกองทุนบำนาญ การปฏิรูปนี้นำไปสู่การประท้วงครั้งใหญ่ทั่วประเทศ

???????? สังคมสูงวัยไทยกำลังสั่นคลอนระบบประกันสังคม

สถาบันวิจัยเศรษฐกิจ ป๋วย อึ้งภากรณ์ ได้คาดการณ์ว่าเงินประกันสังคมของไทยอาจจะใช้หมดในปี 2045 หรืออีกประมาณ 20 ปีข้างหน้า

นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยหลายชิ้นที่ชี้ว่ากองทุนประกันสังคมไทยมีความเสี่ยงที่จะไม่เพียงพอจ่ายสวัสดิการให้กับผู้ประกันตนในอนาคต “ในอีก 30 ปีข้างหน้า”

รายรับและรายจ่ายของประกันสังคม

ปัจจุบันกองทุนประกันสังคมของไทยมีมูลค่าสูงถึง 2,345,866 ล้านบาท คิดได้เป็น 13-14% ของ GDP กองทุนนี้ถูกแบ่งออกเป็น 4 หมวดตามสิทธิประโยชน์ได้แก่ กองทุน 2 กรณี (ชราภาพ สงเคราะห์บุตร) 86.06%, กองทุนว่างงาน 6.8%, กองทุน 4 กรณี (เจ็บป่วย ทุพพลภาพ ตาย คลอดบุตร) และ กองทุนมาตรา 0.91%

???? ปี 2565 ที่ผ่านมา มีรายรับ 253,953 ล้านบาท
รายรับได้มาจากเงินสมทบ + ผลตอบแทนการลงทุนและ อื่นๆ

???? รายจ่ายทั้งหมด 177,902 ล้านบาท
ใช้ไปกับ ประโยชน์ทดแทน + ค่าบริหารจัดการและ อื่นๆ

จากสถานการณ์ของประกันสังคม ในปี 2565 แม้รายได้ยังมากกว่ารายจ่ายทั้งหมด แต่รายรับหลัก ๆ ของประกันสังคมคือเงินสมทบรับของผู้ประกันตนคิดเป็นประมาณ 2 ใน 3 ของรายได้ทั้งหมด เป็นจำนวนเงิน 168,996 ล้านบาท

รายจ่ายประกันสังคมส่วนใหญ่มาจากสวัสดิการดูแลแรงงานยามเจ็บป่วย ซึ่งมีมูลค่า 98,142 ล้านบาท (60.87%) รองลงมาคือค่าใช้จ่ายบำนาญ 27,806 ล้านบาท (17.25%) ตามด้วยเงินสงเคราะห์บุตร 13,220 ล้านบาท (8.2%) และเงินสนับสนุนคนว่างงาน 10,669 ล้านบาท (6.62%)

????️ ทำไมประกันสังคมไทยเสี่ยงล้ม

สาเหตุหลักของปัญหานี้เป็นปัญหาทางโครงสร้างประชากรศาสตร์ที่คล้ายกับสหรัฐฯ และฝรั่งเศส (วัยเกษียณเพิ่มขึ้นวัยทำงานน้อยลง)

ความคิดเห็นจาก ดร.วรวรรณ ชาญด้วยวิทย์ อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ ม.ขอนแก่น และที่ปรึกษาด้านหลักประกันทางสังคม TDRI กล่าวถึงจุดเสี่ยงสำคัญที่ส่งผลต่อกองทุนประกันสังคม มาจากหลายปัจจัยที่สอดคล้องกันคือ

- คนไทยอายุยืนยาวมากขึ้นและคนเกิดน้อยลง

- คนทำงานในระบบน้อยลง เงินสมทบจะน้อยลงตามไปด้วย

- คนอายุยืนขึ้น ต้องจ่ายบำนาญยาวนานขึ้นเรื่อยๆ ตามจำนวนผู้สูงอายุ

???? กองทุนฯ นี้ยิ่งอยู่ ก็ยิ่งเก็บไม่พอ…แต่ต้องทำให้มันพอ

ม.ร.ว. จัตุมงคล โสณกุล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน และผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย เคยกล่าวถึงกองทุนประสังคมไว้ วันที่ 22 กันยายน 2564 ว่า

“กองทุนประกันสังคมของไทยใช้เวลาในการจัดตั้งยาวนานถึงเกือบ 40 ปี โดยมีคุณอัมพร จุลนานนท์ เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงหลักที่ผลักดันให้เป็นกองทุนประกันสังคมที่สมบูรณ์ให้ผลประโยชน์แก่ลูกจ้าง และเป็นกองทุนชนิดที่มีนายจ้างและรัฐบาลร่วมด้วยอย่างเต็มรูปแบบ โดยมีจุดมุ่งหมายสำคัญ คือ ต้องให้ลูกจ้างได้ประโยชน์ แต่ปัญหาคือ กองทุนฯ นี้ยิ่งอยู่ ก็ยิ่งเก็บไม่พอ แต่ต้องทำให้มันพอเพื่อให้ลูกจ้างได้ประโยชน์ตามเจตนารมณ์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบรัฐบาลชี้นำหรือเป็นรูปแบบเอกชนบริหาร มิฉะนั้นกองทุนฯ ก็ไม่สามารถที่จะทำบทบาทที่สมควรได้

เมื่อเป็นเช่นนั้น ถ้าผู้มีอำนาจในประเทศเข้าใจเช่นนี้และหวังให้ประเทศเจริญ จะต้องทำให้ลูกจ้างได้ผลตอบแทนหรือประโยชน์อย่างที่ควร ไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ไม่ทำไม่ได้”

แนวทางการแก้ปัญหาประกันสังคมไทย ????

???? แนวทางจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน พิพัฒน์ รัชกิจประการ เคยตอบกระทู้ถามของ ส.ส. บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล ในประเด็นนี้ไว้ว่า หลังปี 2025 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานเสนอให้กองทุนประกันสังคมแสวงหาดอกผลโดยมีอัตราผลตอบแทนไม่ต่ำกว่า 5% เพื่อรักษาความเสถียรทางการเงินของกองทุนในระยะยาว

???? แนวทางจากกรรมการวิทยาลัยนานาชาติ ปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

รศ.ดร.อนุสรณ์ ธรรมใจ กรรมการวิทยาลัยนานาชาติ ปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวถึง 4 วิธีการแก้ปัญหาฐานะทางการเงินของกองทุนประกันสังคมคือ

1. ปรับเพดานค่าจ้างเฉลี่ยที่ใช้ในการคำนวณเพื่อเพิ่มเงินสมทบเข้าในกองทุน

    2. เพิ่มอายุรับบำนาญจาก 55 ปี เป็น 60 ปีอย่างค่อยเป็นค่อยไป

    3. เพิ่มอัตราจ่ายเงินสมทบ โดยศึกษาความจำเป็นในการเพิ่มอัตราจ่ายเงินสมทบจากทั้งนายจ้าง ลูกจ้าง และรัฐบาล เพื่อให้รายรับเพียงพอกับรายจ่ายของกองทุน

    4. ลดการแทรกแซงทางการเมือง ลดการใช้นโยบายประชานิยมที่ส่งผลกระทบต่อฐานะการเงินของกองทุน

    เงินประกันสังคมเป็นปัญหาเชิงโครงสร้าง คนทำงานอย่างเราจะเตรียมตัวยังไงดี?

    ✅ aomMONEY ขอแนะนำ 4 ขั้นตอนออมเพื่อเกษียณ โดย ดร.อัจฉรา โยมสินธุ์ วิทยากรด้านการเงิน และอดีตหัวหน้าภาควิชาการเงิน คณะบริหารธุรกิจ ม.กรุงเทพ

    1. ประเมินเงินที่ต้องใช้ด้วย Replacement Ratio

    ลองถามตัวเองว่าหลังเกษียณแล้ว เราอยากจะใช้ชีวิตแบบไหน? แล้วตั้งเป้าหมาย โดยใช้สูตรคำนวณคร่าวๆ ที่เรียกว่า “Replacement Ratio” เพื่อประเมินจำนวนเงินคร่าวๆ ที่เราจะใช้หลังเกษียณ

    ???? สูตรที่ 1 : คิดจากรายได้ก่อนเกษียณ

    ลองคำนวณดูว่า ช่วง 1 ปีก่อนเกษียณ เรามี “รายได้” เดือนละเท่าไหร่ โดยค่าใช้จ่ายต่อเดือนหลังเกษียณ ก็คาดว่าจะใช้ประมาณ 70% ของตัวเลขนั้น

    เช่น ตอนอายุ 59 รายได้เดือนละ 100,000 บาท
    ค่าใช้จ่ายต่อเดือนหลังเกษียณ = ประมาณเดือนละ 70,000 บาท

    ???? สูตรที่ 2 : คิดจากรายจ่ายก่อนเกษียณ

    แบบนี้จะคำนวณจาก “รายจ่าย” ช่วง 1 ปีก่อนเกษียณ ซึ่งค่าใช้จ่ายต่อเดือนหลังเกษียณ ก็คาดว่าจะใช้ประมาณ 70% ของตัวเลขนั้น

    เช่น ตอนอายุ 59 มีรายจ่ายเดือนละ 100,000 บาท
    ค่าใช้จ่ายต่อเดือนหลังเกษียณ = ประมาณเดือนละ 70,000 บาท

    ลองเลือกว่าจะใช้สูตรไหน หลังจากนั้นให้เอาตัวเลขค่าใช้จ่ายต่อเดือนหลังเกษียณ ไปคูณ 300 ก็คือ 70,000 x 300 = 21 ล้านบาท นี่คือเงินก้อนที่เราต้องมีเพื่อใช้ชีวิตเกษียณครับ

    ดร.อัจฉรา ให้เหตุผลว่าตัวเลข 300 นี้ มาจากจำนวนเดือนที่คาดว่า เราจะมีชีวิตอยู่บนโลกนี้นั่นเอง

    2. ตั้งเป้าหมายที่เป็นไปได้ วางเงินไว้ให้ถูกที่

    เมื่อรู้เป้าหมายเงินก้อนที่ต้องมีเพื่อใช้ตอนเกษียณแล้ว ตัวเลขอาจจะฟังดูเยอะมาก แต่จริงๆ แล้วเราไม่จำเป็นต้องเคร่งเครียดกับมันขนาดนั้น เพราะอย่าลืมว่า เราไม่ได้ถอนเงินออกมาใช้ทีเดียวทั้งหมด แต่ค่อยๆ ทยอยถอนออกมาใช้ต่างหาก

    นั่นแปลว่าเงินก้อนส่วนใหญ่ จะยังงอกเงยต่อไปได้ สิ่งสำคัญคือ “อัตราผลตอบแทน” ถ้าเรามีความรู้ในการลงทุน วางเงินไว้ถูกที่ เงินก็จะเติบโตได้มากขึ้น

    เช่น ในวันเกษียณ เรามีเงินก้อน 9 ล้านบาท แต่ถ้าสามารถลงทุนสร้างผลตอบแทนเฉลี่ยได้ 5% ต่อปี เมื่อวันที่เราอายุ 90 ปี เงินก้อนนั้นก็จะเติบโตได้ถึง 18 ล้านบาท สามารถใช้เป็นมรดกส่งต่อให้ลูกหลานได้อีกด้วย

    ซึ่งการลงทุนที่ ดร.อัจฉรา แนะนำสำหรับมนุษย์เงินเดือนที่มีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ก็คือให้ออมเงินเต็มอัตรา 15% เพราะเป็นการลงทุนง่ายที่สุด แทบไม่ต้องทำอะไรเลย แม้ว่าปัจจุบันผลตอบแทนอาจจะไม่ถึง 5% แต่เมื่อมองระยะยาวแล้วก็ถือว่าคุ้มค่า หรืออย่างน้อยก็สามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ทันที

    หรือถ้าเป้าหมายเกษียณฟังดูไกลเกินเอื้อม ก็มี 2 ทางเลือกคือ “ขยายระยะเวลาทำงานให้ยาวขึ้น” เพื่อให้มีเวลาสะสมเงินมากขึ้น หรือ “ปรับลดเป้าหมาย” จากที่ตั้งเป้าใช้เงินเดือนละ 50,000 ก็เหลือ 30,000 บาท ให้เหมาะสมกับตัวเรา

    3. ทำงบดุลชีวิต แจกแจงสินทรัพย์และหนี้สิน

    ถ้าอยากรู้ว่าตอนนี้เรากำลังรวยหรือจน สามารถเช็กได้จากการทำงบดุลชีวิต โดยการแจกแจง “สินทรัพย์” และ “หนี้สิน”

    ???? สินทรัพย์ แบ่งออกเป็น 3 ประเภท

    - สินทรัพย์สภาพคล่อง มีไว้เพื่อรักษาความปกติสุขในชีวิต
    เช่น เงินสำรอง ควรมี 3-6 เท่าของค่าใช้จ่ายต่อเดือน ฝาก-ถอนได้ทันที

    - สินทรัพย์ใช้ส่วนตัว มีไว้เพื่อการดำรงชีวิตประจำวัน
    เช่น รถ บ้าน โทรศัพท์มือถือ ซึ่งคนไทยส่วนใหญ่มักจะหมดเงินไปกับส่วนนี้

    - สินทรัพย์ลงทุน มีไว้เพื่ออนาคต
    ควรมีการแบ่งเป็นส่วนหนึ่งของเงินที่จะใช้ 300 เดือนหลังเกษียณ (จำนวนเดือนที่คาดว่า เราจะมีชีวิตอยู่)

    ???? หนี้สิน แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือหนี้ระยะสั้น (อายุหนี้ไม่เกิน 1 ปี) และหนี้ระยะยาว ซึ่งรวมแล้วไม่ควรเกิน 50% ของสินทรัพย์ทั้งหมด เช่น ถ้ามีสินทรัพย์ 2 ล้าน ก็ควรมีหนี้ไม่เกิน 1 ล้าน

    จากนั้นให้เราลองเอา “สินทรัพย์ - หนี้สิน = ความมั่งคั่งสุทธิ”
    ถ้าเรามีสินทรัพย์รวม มากกว่าหนี้สินรวม แปลว่าเรามีความมั่งคั่ง (รวย)
    ถ้าเรามีหนี้สิน มากกว่าสินทรัพย์รวม แปลว่าเรามีความมั่งคั่งติดลบ เสี่ยงล้มละลาย (จน)

    4. หารอยรั่วของเงินออม

    ถ้าเราตรวจสอบตัวเองในเบื้องต้นแล้ว พบว่าความมั่งคั่งติดลบ หรือการเงินในตอนนี้ยังห่างไกลกับเป้าหมายอยู่มาก สิ่งที่จะช่วยให้เรามีเงินออมเหลือเพิ่มขึ้น ก็คือการทำ “งบสแกนกรรม” คือบันทึกรายได้-รายจ่าย แต่ละเดือนนั่นเอง

    จากนั้นลองเอาตัวเลขมาคำนวณ “รายได้ - รายจ่าย” ถ้าผลลัพธ์เป็นบวก นั่นแปลว่าเรามีเงินเหลือในแต่ละเดือน แต่ถ้าผลลัพธ์ติดลบ แปลว่าเรามีปัญหาชักหน้าไม่ถึงหลัง ต้องลดรายจ่ายให้น้อยกว่ารายได้

    สำหรับพวกเราทุกคนในสถานการณ์ประกันสังคมที่ดูน่ากังวล เรายังพอมีเวลาสำหรับการเตรียมตัว เพราะเราต้องอย่าลืมนะว่า ระบบประกันสังคมถูกออกแบบมาเพื่อเป็นเพียง ‘ประกัน’ ไม่ใช่เพื่อทดแทนรายได้ทั้งหมดหลังเกษียณ