เมื่อก่อนนี้หลายคนคิดว่าการ วางแผนเกษียณ เป็นเรื่องไกลตัว รอให้อายุมากค่อยเริ่มทำก็ได้ แต่ปัจจุบันมีหลายเหตุผลที่ทำให้คนตื่นตัว หันมาให้ความสำคัญกับการ วางแผนเกษียณ มากขึ้น เช่น ไม่อยากลำบากตอนแก่ ไม่อยากเป็นภาระลูกหลาน ไม่หวังพึ่งสวัสดิการรัฐ

วันนี้เราจะมาพูดถึงกันว่าถ้าอยาก วางแผนเกษียณ คำนวณ อย่างไร? ออมแค่ไหนถึงจะพอ มีเครื่องมืออะไรบ้างที่จะช่วยให้เราไปถึงเป้าหมายได้สำเร็จ และรู้หรือไม่ว่า ‘ประกันสุขภาพ-ประกันอุบัติเหตุ’ มีส่วนสำคัญอย่างมากต่อการ วางแผนเกษียณ ไปหาคำตอบกันได้เลย

วางแผนเกษียณ คำนวณ อย่างไร?

ถ้าเราอยากรู้ว่าต้องออมเงินเท่าไหร่ถึงจะพอ? ก็มีวิธีคำนวณง่าย ๆ 2 แบบดังนี้

ตัวอย่าง​เช่น เราต้องการ วางแผนเกษียณ แบบมีเงินใช้สบาย ๆ เดือนละ 40,000 บาท โดยคาดว่าจะมีชีวิตอยู่ถึงอายุ 80 ปี (หรือ 20 ปีหลังจากเกษียณ)

1. เกษียณแบบนำเงินออมมาใช้จ่าย

สูตรคำนวณ : ค่าใช้จ่ายต่อเดือน x 12 x จำนวนปีที่คาดว่าจะมีชีวิตอยู่หลังจากเกษียณ = เงินก้อนที่ต้องมีในวันเกษียณ

40,000 x 12 x 20 = เงินก้อนที่ต้องมีในวันเกษียณคือ 9,600,000 บาท​

2. เกษียณแบบนำดอกผลของเงินออม-เงินลงทุนมาใช้จ่าย

สูตรคำนวณ : ค่าใช้จ่ายต่อเดือน x 12 ÷ อัตราผลตอบแทนเฉลี่ยของเงินลงทุนในช่วงหลังเกษียณ = เงินก้อนที่ต้องมีในวันเกษียณ

40,000 x 12 ÷ 6% ต่อปี = เงินก้อนที่ต้องมีในวันเกษียณคือ 8,000,000 บาท

เครื่องมือ วางแผนเกษียณ มีอะไรบ้าง ?

1. ประกันสุขภาพ-ประกันอุบัติเหตุ

เราจะไม่สามารถ วางแผนเกษียณ ให้มั่นคงได้เลย หากยังมีรอยรั่วทางการเงิน อย่างเช่นค่ารักษาพยาบาล ซึ่งอาจเกิดขึ้นโดยไม่คาดคิด เราจึงต้องปิดความเสี่ยงด้วยการทำ ‘ประกันสุขภาพ-ประกันอุบัติเหตุ’ โดยเลือกวงเงินคุ้มครองให้เพียงพอกับค่าใช้จ่าย เพียงเท่านี้ชีวิตวัยเกษียณของเราก็ได้รับการดูแลอย่างอุ่นใจแล้ว

อย่างที่กล่าวไปตอนต้นว่า ถ้าอยาก วางแผนเกษียณ คำนวณ อย่างไร ในส่วนนี้เราจะพูดถึงเรื่องของค่ารักษาพยาบาลกันบ้าง มาดูกันว่าถ้าเราวางแผนเกษียณ ด้วยประกันสุขภาพ-ประกันอุบัติเหตุ จะช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายได้อย่างไร

โรคมะเร็งคือสาเหตุอันดับ 1 ที่คร่าชีวิตคนไทย ดังนั้นเราขอยกตัวอย่างประมาณการค่าฉายรังสี สำหรับโรคมะเร็งที่พบบ่อย โดยฝ่ายรังสีวิทยา โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เช่น มะเร็งเต้านม 84,500 บาท มะเร็งลำไส้ใหญ่ 103,000 บาท มะเร็งปากมดลูก 144,400 บาท มะเร็งต่อมลูกหมาก 182,400 บาท และมะเร็งปอด 197,600 บาท

นี่เป็นเพียงแค่ ‘ค่าฉายรังสี’ เท่านั้น ยังไม่รวมถึงค่าผ่าตัด ค่าแพทย์ ค่าห้องพักรักษาตัว ฯลฯ ซึ่งค่าใช้จ่ายในอนาคตก็จะสูงขึ้นกว่านี้ โดยเพิ่มขึ้นอีกราว 3-5% ตามอัตราเงินเฟ้อ ดังนั้นจึงควรทำ ‘ประกันสุขภาพ’ เพื่อป้องกันความเสี่ยง ควรมีวงเงินอย่างน้อย 1 ล้านบาท เพื่อความอุ่นใจว่าจะครอบคลุมค่าใช้จ่ายทั้งหมด

นอกจากนี้เมื่อเราอายุมากขึ้น ก็เสี่ยงต่ออุบัติเหตุมากขึ้นด้วย อย่างเช่นการลื่นหกล้ม กระดูกหัก อาจถึงขั้นต้องพักรักษาตัว หากเป็นโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ซึ่งเป็นหน่วยงานในสังกัดของสภากาชาดไทย ค่าห้องเดี่ยวเริ่มต้นที่คืนละ 3,500 บาท หรือถ้าใครต้องการพักที่โรงพยาบาลเอกชน เช่น โรงพยาบาลกรุงเทพ ค่าห้องเดี่ยวเริ่มต้นที่คืนละ 11,300 บาท ดังนั้นเราจึงควรทำประกันอุบัติเหตุที่มีวงเงินค่าห้องสูง และคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลอย่างน้อย 1 ล้านบาท 

หากเราไม่มีทั้งประกันสุขภาพ-ประกันอุบัติเหตุ และสวัสดิการอื่น ๆ ก็ไม่เพียงพอ เราก็จะต้องจ่ายค่ารักษาพยาบาลเองทั้งหมด อาจสูงถึงหลักล้านบาท ซึ่งส่งผลกระทบต่อเงินออมเพื่อการ วางแผนเกษียณ แน่นอน

Tip การเลือกซื้อประกันสุขภาพ-ประกันอุบัติเหตุ

สิ่งสำคัญคือเราต้องพิจารณาเงื่อนไขในการรับประกันให้ละเอียดว่า ให้ความคุ้มครองอะไรบ้าง? ในวงเงินเท่าไร? สำหรับคนที่อายุยังน้อย ไม่เคยเจ็บป่วย ก็อาจไม่ต้องกังวลมาก แต่ถ้าซื้อประกันตอนอายุมาก หรือเคยมีประวัติเจ็บป่วยมาแล้ว ก็ต้องศึกษารายละเอียดให้ดี

อีกหนึ่งสิ่งสำคัญคือ ‘ความสามารถในการจ่ายเบี้ยประกัน’ โดยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย แนะนำว่าเราควรแบ่งเงินมาทำประกันไม่ควรเกิน 10-20% ของรายได้ทั้งปี เช่น มีรายได้ 240,000 บาทต่อปี ก็ไม่ควรจ่ายเบี้ยประกันเกินกว่า 24,000-48,000 บาทต่อปี จึงจะไม่เดือดร้อนต่อสภาพคล่องทางการเงิน

2. ประกันชีวิตแบบบำนาญ-ประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์

ประกันชีวิตแบบบำนาญ คือแหล่งรายได้หลังเกษียณ ซึ่งเราจะได้ทั้งความคุ้มครองชีวิต และได้ผลตอบแทนเป็นเงินคืนรายงวดหลังเกษียณ ส่วนประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์จะเป็นเงินคืนตามระยะเวลาที่กำหนดในสัญญา เช่น 10 ปี 20 ปี ทำให้เรา วางแผนเกษียณ ง่ายขึ้นเพราะรู้ว่ามีเงินก้อนรออยู่ในอนาคต

3. หุ้น-กองทุน

วิธียอดนิยมในการลงทุนเพื่อ วางแผนเกษียณ คือการ DCA (Dollar Cost Average) ในหุ้น-กองทุนที่มีแนวโน้มเติบโตในระยะยาว โดยซื้อสม่ำเสมอด้วยเงินเท่า ๆ กัน ตัวอย่างเช่น SSF และ RMF คือกองทุนรวม วางแผนเกษียณ ที่มีสิทธิประโยชน์ด้านภาษี มีนโยบายให้เลือกหลากหลาย ตั้งแต่สินทรัพย์ความเสี่ยงต่ำไปจนถึงความเสี่ยงสูง ทั้งในและต่างประเทศ

4. สวัสดิการต่าง ๆ

กองทุนประกันสังคมช่วยให้เรามีรายรับหลังเกษียณ ระหว่างทางก็มีสวัสดิการอื่น ๆ เช่น ค่ารักษาพยาบาล ค่าชดเชยกรณีว่างงานขาดรายได้ ฯลฯ

ส่วนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) เมื่อเราส่งเงินเข้ากองทุน ฝั่งนายจ้างก็จะสมทบเงินอีกส่วนหนึ่งให้ด้วย

หรือถ้าใครประกอบอาชีพอิสระ อยากเพิ่มทางเลือกเงินออม วางแผนเกษียณ ก็สามารถสมัครกองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) ได้เลย

จากเครื่องมือทั้ง 4 ข้อนี้จะเห็นได้ว่า ‘ประกันสุขภาพ-ประกันอุบัติเหตุ’ มีส่วนสำคัญอย่างมากต่อการ  วางแผนเกษียณ เราจึงอยากชวนมาดูกันชัด ๆ ว่า ‘ประกันสุขภาพ-ประกันอุบัติเหตุ’ มีข้อดีอย่างไรบ้าง และทำไมทุกคนจึงควรมี

3 เหตุผลที่การทำ ‘ประกันสุขภาพ-ประกันอุบัติเหตุ’ ดีต่อใจ ปลอดภัยต่อแผนเกษียณ

1. ถ้าเจ็บป่วยก็ไม่เดือดร้อนเรื่องเงิน

ยิ่งอายุมากขึ้น ความเสี่ยงต่อโรคภัยไข้เจ็บก็ยิ่งสูงขึ้น ถ้าต้องจ่ายค่ารักษาพยาบาลจำนวนมาก อาจรบกวนการ วางแผนเกษียณ ของเราก็ได้ ดังนั้นเราจึงต้องปิดความเสี่ยงด้วยการทำประกันสุขภาพ-ประกันอุบัติเหตุ หากเราจากโลกนี้ไป อย่างน้อยก็ยังอุ่นใจได้ว่าครอบครัวหรือคนข้างหลังจะไม่ลำบาก เพราะได้รับเงินก้อนชดเชยจากประกันอุบัติเหตุ

2. ช่วยเพิ่มทางเลือกในการรักษา

สวัสดิการที่เรามีอาจไม่ครอบคลุมการรักษา รวมถึงยานอกตำราต่าง ๆ แต่ถ้าเรามีประกันสุขภาพ-ประกันอุบัติเหตุ ในวงเงินความคุ้มครองและเงื่อนไขครอบคลุม ก็จะช่วยเพิ่มทางเลือกในการรักษาได้มากขึ้น

3. ลดหย่อนภาษีได้

การทำประกันสุขภาพ-ประกันอุบัติเหตุของตนเอง (เฉพาะที่ให้ความคุ้มครองเรื่องการรักษาพยาบาล การทุพพลภาพ การสูญเสียอวัยวะ และการแตกหักของกระดูก) ใช้ลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริง แต่สูงสุดต้องไม่เกิน 25,000 บาท และเมื่อรวมกับเบี้ยประกันชีวิตทั่วไป และเงินฝากแบบมีประกันชีวิต จะต้องไม่เกิน 100,000 บาท

ประกันสุขภาพ วี เบทเทอร์ แคร์

เติมสวัสดิการมนุษย์เงินเดือน เพิ่มความคุ้มครอง อุ่นใจยามเจ็บป่วย คลิกดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่นี่

ประกันภัยอุบัติเหตุ พร้อมค่ารักษาพยาบาล

แผนสุดคุ้ม 360 องศา สบายใจ... เราจ่ายแทนคุณ คลิกดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่นี่

สุดท้ายนี้อยากฝากไว้ว่า การ วางแผนเกษียณ สำคัญสำหรับทุกคน ใครเริ่มวางแผนเร็วยิ่งดี  และถ้าเราไม่อยากให้แผนที่วางไว้พัง ก็ควรทำประกันเพื่อปิดความเสี่ยง หากเกิดเหตุไม่คาดฝัน จะได้ไม่กระทบเงินเกษียณที่เก็บออมไว้นั่นเอง

Sources : 

https://www.1213.or.th/th/moneymgt/retire/Pages/retire.aspx

https://www.set.or.th/th/education-research/education/happymoney/knowledge/article/44-how-much-should-be-set-aside-for-insurancepurchase

https://www.chulacancer.net/services-list-page.php?id=514

https://chulalongkornhospital.go.th/kcmh/our-services/opd-ipd/rates/

https://www.bangkokhospital.com/visit/room-rate?selectedType=standard&selectedDetail=standard-ward-8c

บทความนี้เป็น Advertorial