เมื่อพูดถึงคำว่า "วางแผนเกษียณ" เราทุกคนจะนึกถึงภาพของคนที่มีอิสรภาพการเงินในการใช้ชีวิต มีสิทธิและโอกาสใช้เงินตามใจปราถนา แต่เราเคยสังเกตและถามตัวเองหรือไม่ว่า ถ้าหากเราจะเกษียณ เราจะต้องวางแผนเกษียณยังไง ใช้เงินเท่าไร และมีอะไรจะต้องระวังบ้าง

วิธีคำนวณเงินเกษียณด้วยตัวเอง

ก่อนอื่น.. ถ้าเราอยากรู้ว่าต้องใช้เงินเท่าไรเพื่อวางแผนเกษียณ ขอบอกตรงๆเลยว่า เราสามารถคำนวณได้ง่ายๆ เพียงแค่รู้ส่วนประกอบแค่ 2 อย่าง คือ

ค่าใช้จ่ายต่อเดือน

และ

จำนวนปีที่คิดว่าจะมีชีวิตอยู่หลังเกษียณ

รู้แค่นี้ก็พอแล้วคร้าบ

1. ค่าใช้จ่ายต่อเดือน

สำหรับค่าใช้จ่ายต่อเดือนหลังจากเกษียณนั้น เราต้องประมาณให้ได้ก่อนว่า ในแต่ละเดือนๆๆที่ผ่านมา เรามีค่าใช้จ่ายเท่าไร และค่าใช้จ่ายหลังเกษียณหลังจากที่เราไม่มีรายได้หลักแล้ว มันควรจะเป็นเท่าไร บางตำราบอกว่าอัตราค่าใช้จ่ายหลังเกษียณที่เหมาะสมคือ

70% ของค่าใช้จ่ายรายเดือนในปัจจุบัน

แต่

@TAXBugnoms

ขอบอกว่ามันไม่แน่นอนหรอกครับ เอาเป็นว่าอยากจะใช้เท่าไรก็ลองประมาณตามสูตรใครสูตรมันละกันคร้าบบ

2. จำนวน ปี ที่คิดว่าจะมีชีวิตอยู่

อันนี้ก็ตรงตัวเลยครับ ลองถามตัวเองก่อนว่า

เราจะไปสบายเมื่อไร

ยกตัวอย่างเช่น บางคนคิดว่าจะเกษียณตอนอายุ 60 ปี และมีชีวิตอยู่ถึง 85 ปี ก็เท่ากับเราจะมีเวลาเหลืออยู่ 25 ปีหลังเกษียณนั่นเอง

สมมติว่า นายเกรย์แมนคิดจะเกษียณตอนอายุ 60 ปี และมีชีวิตอยู่ถึง 90 ปี โดยมีค่าใช้จ่ายหลังเกษียณต่อเดือนประมาณเดือนละ 20,000 บาท เราจะคำนวณได้ดังนี้

1. นายเกรย์แมนจะมีชีวิตอยู่หลังเกษียณ เป็นระยะเวลาจำนวน 30 ปี
2. ค่าใช้จ่ายต่อเดือนจำนวน 20,000 บาท คิดเป็นค่าใช้จ่ายต่อปีจำนวน 240,000 บาท

ดังนั้นนายเกรย์แมนจะต้องมีเงินทั้งหมด ณ วันเกษียณ เป็นดังนี้
เงิน ณ วันเกษียณ = 240,000 x 30 >>> คิดเป็นเงินทั้งหมด 7,200,000 บาท

ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อเงินเกษียณ

แหม่... ฟังดูแล้วเงินหลังเกษียณของเรานั้น ก็ไม่น่าจะเยอะเท่าไรใช่ไหมครับ แต่ความเป็นจริงแล้วมันยังมีปัจจัยหลักๆ อีก 2 ข้อที่เราต้องนำมาพิจารณา ได้แก่

1. เงินเฟ้อ หรือ เงินในวันนี้จะซื้อของได้น้อยลงในอนาคต (อ่านเรื่อง "เงินเฟ้อ" ประกอบได้ที่ ซีรีย์การเงินรวยได้ไม่ง้อพ่อ ตอน "นำเงินออมไปลงทุน")

2. เงินออมตั้งต้น ผลตอบแทน และ ระยะเวลา โดย...

เงินออมตั้งต้น หมายถึง
เงินออมปัจจุบันนั่นแหละคร้าบ ยิ่งวันนี้ยิ่งเรามีเงินออมตั้งต้นมาก ภาระในการออมเงินเพื่อเกษียณก็จะน้อยลง

ส่วนผลตอบแทน หมายถึง
การนำเงินออมในปัจจุบันและเงินออมก่อนเกษียณไปลงทุน ยิ่งเราลงทุนแล้วได้รับผลตอบแทนมาก ภาระในการออมเงินเพื่อเกษียณก็จะน้อยลงเช่นเดียวกัน

และจำนวนปีก่อนเกษียณ หมายถึง
จำนวนปีที่เราทำงานก่อนที่จะเกษียณ ถ้าเหลือจำนวนปีมากหน่อย ภาระในการออมเงินเพื่อเกษียณก็จะยิ่งน้อยลงไปอีกหลายเท่าตัว

และเจ้าเงินออมตั้งต้น ผลตอบแทน ระยะเวลา ที่ว่ามาทั้งหมดนี้ นั้นคือหลักการเดียวกันกับเรื่อง "ค่าของเงินตามเวลา" ที่เขียนไว้ในซีรีย์การเงินที่มีชื่อว่า "รวยได้ไม่ง้อพ่อ" นั่นเอง และมันคือสิ่งที่ตอกย้ำว่ายิ่งวันนี้เราออมก่อน เราจะยิ่งรวยกว่าคนที่ไม่ทำอะไรเลย ยังไงล่ะคร้าบบบ

ทีนี้... ลองดูข้อมูลเปรียบเทียบเพิ่มเติมครับว่า ถ้าหากเราต้องการมีเงินใช้หลังเกษียณเดือนละ 20,000 บาทเป็นเวลา 25 ปี ติดต่อกัน ณ อัตราเงินเฟ้อ 3 เปอร์เซ็นต์ และเมื่อลงทุนในผลตอบแทนที่แตกต่างกัน แต่ละวิธีนั้นจะต้องออมเงินอย่างไรบ้าง

เห็นไหมครับว่า ณ ผลตอบแทน 4% ต่อปี เราต้องออมเงินขั้นต่ำ 15,000 บาทตั้งแต่อายุ 22 ปี หากเราเกษียณตอนอายุ 60 ปี เพื่อให้มีเงินใช้จ่ายจำนวน 16 ล้านบาท แต่ถ้าเราอายุยิ่งมาก จำนวนเงินออมต่อเดือนก็ยิ่งจะมากขึ้น โดยถ้าเราวางแผนเกษียณตอนที่อายุ 55 ปี เราต้องออมเงินถึงเดือนละ 92,000 บาทกันเลยทีเดียว

แต่ถ้าหากผลตอบแทน 6% ต่อปี เราก็จะออมเงินน้อยลงไปได้เยอะถึงแบบครึ่งต่อครึ่ง เพราะนั่นคืออานุภาพของดอกเบี้ยทบต้นนั่นเองที่ทำให้ผลตอบแทนของเราเพิ่มขึ้นอย่างทวีคูณ

ยิ่งเป็นผลตอบแทน 8% ต่อปีแล้วล่ะก็... รับรองว่าใช้เงินน้อยกว่าเดิมแน่นอน แต่คำถามที่ตามมาก็คือ แล้วเราจะหาผลตอบแทนแบบนี้ได้ที่ไหน ... คำตอบนั้นอยู่ในตลาดหุ้นไทยและกองทุนรวมทั้งหลายครับ ส่วนจะเป็นกองไหน ยังไง แนะนำให้ค่อยๆศึกษาไปก่อนนะคร้าบ เพราะมันมีทั้งความเสี่ยงที่อาจจะทำให้เราขาดทุนได้เหมือนกันจ้า

บทความนี้ต้องการจะบอกว่า การวางแผนชีวิตเพื่อเตรียมตัวเกษียณนั้น ถือว่าเป็นเรื่องสำคัญมากสำหรับทุกคนครับ เพราะถ้าเรามีการวางแผนชีวิตที่ดีในทุกๆด้านแล้วล่ะก็ ย่อมเชื่อได้เลยว่า เราจะไม่เป็นภาระของใคร และไม่เป็นปัญหาสังคมอย่างแน่นอนครับ

และที่สำคัญไปกว่านั้น การวางแผนทางด้านการเงินทุกเรื่องนั้น เราต้องใช้วิธี วางแผนเผื่อ แต่ห้ามวางแผนขาดอย่างเด็ดขาดนะครับ ยังไงเหลือเงินไว้บ้างดีกว่าไม่เหลือเลย เพราะนอาจจะทำให้เรามีปัญหาชีวิต อย่างที่สุภาษิตเค้าบอกว่ากันไงครับว่า "ที่สุดแห่งความเสียดาย คือ ตายไปแล้วใช้เงินไม่หมด แต่ที่สุดแห่งความสลด คือใช้เงินหมดแล้วยังไม่ตาย"

สุดท้ายนี้ @TAXBugnoms ขอฝากไว้ว่า การวางแผนการเงินเพื่อเกษียณไม่ใช่เรื่องยาก หากเรารู้จักความต้องการของตัวเองดีพอ วางแผนอย่างรอบคอบ และกำหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมายชัดเจน อย่าขาดวินัยเรื่องการออม รวมถึงมีการการลงทุนอย่างเหมาะสม ร่ว&#