พ่อแม่ยุคใหม่หลายคนอยากส่งลูกไปเรียนต่างประเทศกันมากขึ้น ถึงแม้ว่าในประเทศไทยจะมีโรงเรียนนานาชาติที่มีบุคลากรและโรงเรียนคุณภาพให้พ่อแม่ได้เลือกกันมากมาย แต่บางครอบครัวอาจจะมองว่าการได้ส่งลูกไปเรียนต่างประเทศจะช่วยให้เขาได้พบเจอสภาพแวดล้อม สังคม และวัฒนธรรมใหม่ ๆ รวมถึงรู้จักช่วยเหลือตัวเองในยามที่ต้องห่างไกลครอบครัว พร้อมโอกาสที่จะได้งานที่มั่นคงและเงินเดือนสูงอีกด้วย

ซึ่งพ่อแม่หลายคนอาจจะยังไม่รู้ว่าหากเราอยากส่งลูกไปเรียนต่างประเทศตั้งแต่ประถม จะต้องเตรียมค่าใช้จ่ายเท่าไหร่บ้าง วันนี้เราจึงมีค่าใช้จ่ายภาพรวมทั้งหมดในการเรียนต่างประเทศมาฝากกัน พร้อมแชร์เคล็ดลับสำหรับพ่อแม่ทุกคนที่อยากสร้างเงินเก็บไว้ใช้เป็นค่าใช้จ่ายในการส่งลูกไปเรียนต่างประเทศ เพื่ออนาคตที่ดีของลูกกัน

โดยเมื่อพูดถึงการเรียนต่างประเทศ สิ่งที่พ่อแม่หลายคนนึกถึงจะเป็นค่าใช้จ่ายในส่วนของ ‘ค่าเล่าเรียน’ ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายจำเป็นที่ช่วยในการตัดสินใจของพ่อแม่เลยทีเดียว วันนี้เราจึงจะขอมายกตัวอย่างค่าเทอม 3 ประเทศยอดฮิต ตั้งแต่ประถมศึกษา 6 ปี, มัธยมศึกษา 6 ปี และช่วงปริญญาตรี 4 ปี

ภาพรวมค่าเล่าเรียนต่างประเทศตั้งแต่ชั้นประถม - มหาวิทยาลัย

  • สหรัฐอเมริกา  นับว่าเป็นประเทศต้นแบบที่มีคุณภาพการศึกษาติดอันดับต้น ๆ ของโลก จึงทำให้พ่อแม่สนใจส่งลูกไปเรียนตั้งแต่ประถมกันเป็นจำนวนมาก โดยมีตั้งแต่ Grade 1 ระดับประถมศึกษา ที่จะเข้าเรียนตอนอายุประมาณ 6 ปี ไปจนถึง Grade 12 ในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายตอนอายุประมาณ 18 ปี หลังจากนั้นจะเข้าศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัยหรือระดับสูงกว่าต่อไป โดยส่วนใหญ่มักจะเข้าเรียนในโรงเรียนเอกชน เนื่องจากโรงเรียนรัฐบาลส่วนใหญ่ไม่สามารถจัดหาหอพักหรือโฮมสเตย์ให้ได้
    • สำหรับค่าเล่าเรียน Grade 5-12 อายุ 11-18 ปี มีที่พักอยู่กับโฮมสเตย์ จะมีค่าใช้จ่ายเริ่มต้นอยู่ที่ประมาณ USD$ 38,500 หรือประมาณ 1,348,000 บาทต่อปี 
    • สำหรับค่าเล่าเรียนมหาวิทยาลัยจะแตกต่างออกไปแล้วแต่สาขา
      • วิศวกรรมศาสตร์ ค่าเล่าเรียนเรียนเริ่มต้นประมาณ 659,113 - 5,080,697 บาทต่อปี
      • นิติศาสตร์ ค่าเล่าเรียนเรียนเริ่มต้นประมาณ 651,800 - 1,629,500 บาทต่อปี
      • การตลาด ค่าเล่าเรียนเรียนเริ่มต้นประมาณ 550,241 - 4,476,235 บาทต่อปี
  • อังกฤษ มีนโยบายและระเบียบที่เคร่งครัดในการดูแลนักเรียนต่างชาติ โดยจะต้องมีตัวแทนผู้ปกครองหรือที่เรียกกันว่า การ์เดี้ยน (Guardian) ซึ่งต้องมีอายุเกิน 21 ปี มีหน้าที่ในการติดต่อประสานงานกับทางโรงเรียน สำหรับชั้นเรียนจะมีตั้งแต่ Year 1 อายุประมาณ 5 ปี ไปจนถึง Year 13 อายุประมาณ 18 ปี หลังจากนั้นจะเข้าศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัยหรือระดับสูงกว่าต่อไป
    • สำหรับค่าเล่าเรียน Year 3-13 อายุ 7-18 ปี โรงเรียนเอกชนแบบประจำที่มีหอพักของโรงเรียน จะมีค่าใช้จ่ายเริ่มต้นอยู่ที่ประมาณ £32,000 หรือประมาณ 1,280,000 บาทต่อปี
    • สำหรับค่าเล่าเรียนมหาวิทยาลัยจะแตกต่างออกไปแล้วแต่สาขา
      • วิศวกรรมศาสตร์ ค่าเล่าเรียนเรียนเริ่มต้นประมาณ 371,437-278,5783 บาทต่อปี
      • นิติศาสตร์ ค่าเล่าเรียนเรียนเริ่มต้นประมาณ 85,808 - 1,981,001 บาทต่อปี
      • การตลาด ค่าเล่าเรียนเรียนเริ่มต้นประมาณ 544,789 - 1,475,471 บาทต่อปี
  • ออสเตรเลีย  มีนโยบายและระเบียบที่เคร่งครัดในการดูแลนักเรียนต่างชาติ โดยจะต้องมีการ์เดี้ยน (Guardian) ที่มีอายุเกิน 21 ปี ในการติดต่อประสานงานกับทางโรงเรียนเช่นเดียวกับอังกฤษ สำหรับชั้นเรียนจะมีตั้งแต่ Grade K อายุประมาณ 5 ปี ไปจนถึง Grade 12 อายุประมาณ 18 ปี หลังจากนั้นจะเข้าศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัยหรือระดับสูงกว่าต่อไป โดยส่วนมากมักจะรับนักเรียนต่างชาติตั้งแต่ Year 7 อายุ 12 ปีเป็นต้นไป เนื่องจากสามารถพักอยู่กับโฮมสเตย์หรือหอพักของทางโรงเรียนได้
    • สำหรับค่าเล่าเรียน Grade 1-6 และ Grade 7-12 จะมีค่าใช้จ่ายเริ่มอยู่ที่ประมาณ AUD$ 74,000 หรือ 1,850,000 บาทต่อปี
    • สำหรับค่าเล่าเรียนมหาวิทยาลัยจะแตกต่างออกไปแล้วแต่สาขา
      • วิศวกรรมศาสตร์ ค่าเล่าเรียนเรียนเริ่มต้นประมาณ 777,971 - 3,185,725 บาทต่อปี
      • นิติศาสตร์ ค่าเล่าเรียนเรียนเริ่มต้นประมาณ 592,049 - 1,955,916 บาทต่อปี
      • การตลาด ค่าเล่าเรียนเรียนเริ่มต้นประมาณ 985,675 - 1,954,648 บาทต่อปี

ซึ่งนอกจากค่าเล่าเรียนต่างประเทศที่พ่อแม่อย่างเราต้องเสียแล้ว ยังมีค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องในการส่งลูกไปเรียนต่างประเทศอีก ซึ่งจะมีอะไรอีกบ้างไปอ่านกันต่อเลย

ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ในการมาเรียนต่างประเทศ 

  • ค่าที่พักอาศัย จะจ่ายช่วงการเรียนมหาวิทยาลัยที่เราไม่ได้อยู่หอพักโรงเรียนแล้ว ซึ่งราคาก็จะแตกต่างกันไปตามเมืองที่พักอาศัย และการใกล้สิ่งอำนวยความสะดวก รวมถึงการพักคนเดียวหรือการพักร่วมกับคนอื่น โดยค่าใช้จ่ายสามารถประมาณคร่าว ๆ ได้ดังนี้
    • สหรัฐอเมริกา ประมาณ 5,400-12,600 บาท ต่อสัปดาห์
    • อังกฤษ ประมาณ 5,700-9,600 บาท ต่อสัปดาห์
    • ออสเตรเลีย ประมาณ 4,300-5,940 ต่อสัปดาห์
  • ค่าอาหาร เป็นเรื่องที่สำคัญมาก ๆ ไม่ว่าจะไปเรียนต่อประเทศไหน การได้กินอาหารอิ่ม จะทำให้ลูกขอเราเรียนรู้ได้อย่างเต็มที่ โดยค่าอาหารก็จะแตกต่างกันไปในแต่เมือง โดยค่าใช้จ่ายสามารถประมาณคร่าว ๆ ได้ดังนี้
    • สหรัฐอเมริกา ประมาณ 2,340-7,500 บาท ต่อสัปดาห์
    • อังกฤษ ประมาณ 1,728-6,500 บาท ต่อสัปดาห์
    • ออสเตรเลีย ประมาณ 1,620-4,860 บาท ต่อสัปดาห์
  • ค่าหนังสือและอุปกรณ์การเรียน  แม้เราจะจ่ายค่าเล่าเรียนไปแล้ว แต่ปกติของการเรียนย่อมมีค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการเรียนเพิ่มเติมเสมอ พ่อแม่จึงควรเพิ่มเงินส่วนนี้ไว้ด้วย โดยค่าใช้จ่ายสามารถประมาณคร่าว ๆ ได้ดังนี้
    • สหรัฐอเมริกา ประมาณ 0-1,800 บาท ต่อเดือน
    • อังกฤษ ประมาณ 0-2,100 บาท ต่อเดือน
    • ออสเตรเลีย ประมาณ 0-1,120  ต่อเดือน
  • ค่าเดินทางไปเรียน หากเราเลือกห้องพักข้างนอกที่ถูกลงหน่อยหรือไกลจากโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัย เราก็อาจจะเสียค่าเดินทางเพิ่มเติม ส่วนนี้พ่อแม่ลองนำตัวเลขไปพิจารณาความคุ้มค่าอีกครั้ง โดยค่าใช้จ่ายสามารถประมาณคร่าว ๆ ได้ดังนี้
    • สหรัฐอเมริกา ประมาณ 2,200-4,300 บาท ต่อสัปดาห์
    • อังกฤษ ประมาณ 2,500-4,500 บาท ต่อสัปดาห์
    • ออสเตรเลีย ประมาณ 2,000-3,000 ต่อสัปดาห์
  • ค่าประกันสุขภาพ จะขึ้นอยู่กับระยะเวลา และความคุ้มครองครับ เป็นสิ่งจำเป็นมากสำหรับการไปเรียนต่างประเทศหรืออาศัยอยู่ต่างเมือง เพื่อเราจะได้แน่ใจว่ายามเจ็บป่วย
    • สหรัฐอเมริกา ไม่บังคับ
    • อังกฤษ ไม่บังคับ
    • ออสเตรเลีย ประมาณ 1,100-1,350 บาท ต่อเดือน

ซึ่งเพื่อให้คุณพ่อคุณแม่ทุกคนเห็นภาพชัดขึ้น เราจึงจะมายกตัวอย่างการส่งลูกไปเรียนต่างประเทศตั้งแต่ประถมว่าต้องเตรียมค่าใช้จ่ายเท่าไหร่บ้างกัน

ตัวอย่างค่าใช้จ่ายเมื่อต้องส่งลูกไปเรียนต่างประเทศตั้งแต่ชั้นประถม

สมมุติว่าเราต้องการส่งลูกไปเรียนออสเตรเลียตั้งแต่ Grade 1-12 และต่อมหาวิทยาลัยสาขาวิศวกรรมศาสตร์ จะต้องเตรียมค่าใช้จ่าย ดังนี้

  • ค่าเล่าเรียนประถมศึกษา-มัธยมศึกษาตอนปลาย 1,850,000 x 12 = 22,200,000 บาท
  • ค่าเล่าเรียนสาขาวิศวกรรมศาสตร์ (4 ปี) 3,185,725 x 4 = 12,742,900 บาท
  • ค่าครองชีพทั้งหมดจากค่าที่พักอาศัย, ค่าอาหาร, ค่าหนังสือและอุปกรณ์การเรียน, ค่าเดินทางไปเรียน และค่าประกันสุขภาพ ที่เรากล่าวไปข้างต้น ประมาณ 1,140,480 + 933,120 + 53,760 + 576,000 + 64,800 = 2,768,160 บาท 

ดังนั้น เราจะต้องเตรียมค่าใช้จ่ายเมื่อต้องส่งลูกไปเรียนต่างประเทศตั้งแต่ชั้นประถม-มหาวิทยาลัยประมาณ 22,200,000 + 12,742,900 + 2,768,160 = 37,711,060 บาท

ซึ่งสำหรับคุณพ่อคุณแม่คนไหนที่สนใจส่งลูกไปเรียนต่างประเทศ แต่มีงบประมาณไม่เยอะมาก สามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมอื่น ๆ ในเรื่องการเตรียมตัวไปเรียนต่างประเทศได้ที่ Krungsri Plearn Plearn : เตรียมตัวไปเรียนต่อต่างประเทศ แม้ทุนน้อยก็ไปได้

อย่างไรก็ตาม แม้การส่งลูกไปเรียนต่างประเทศจะมีค่าใช้จ่ายมากกว่าการเรียนนานาชาติในไทยแต่หากพ่อแม่มองแล้วว่าคุ้มกับลูกของเราก็ไม่ต้องกังวลไป หากเรามีการวางแผนทางการเงินและออมเงินได้ตามเป้าหมาย ก็สามารถส่งลูกเราไปเรียนต่างประเทศได้ไม่อยาก วันนี้ aomMONEY จึงมีทางเลือกออมเงินสำหรับส่งลูกไปเรียนต่างประเทศมาแนะนำกัน

2 ทางเลือก ออมเงินสำหรับส่งลูกไปเรียนต่างประเทศ

1. ฝากประจำ

การฝากประจำเหมาะกับผู้ที่มีเงินก้อน ไม่ชอบความเสี่ยงในการขาดทุน ไม่มีแผนใช้เงินหรือมีแผนใช้เงินในอนาคตที่ไกลมาก ๆ อย่างการออมเงินไว้ใช้สำหรับส่งลูกไปเรียนต่างประเทศ ซึ่งการฝากประจำนั้นจะให้อัตราดอกเบี้ยสูงกว่าเงินฝากออมทรัพย์ เพียงคงเงินในบัญชีจนครบกำหนดระยะเวลาฝากเงินประจำ เช่น 3 เดือน 6 เดือน 12 เดือน เป็นต้น ซึ่งหากเราไม่ถอนก่อนกำหนดเราก็จะได้เงินต้นและดอกเบี้ยสำหรับส่งลูกไปเรียนต่างประเทศนั่นเอง

สำหรับพ่อแม่คนไหนที่กำลังสนใจหรือกำลังมองหาบัญชีฝากประจำ เรามีฝากประจำของกรุงศรีที่น่าสนใจมาแนะนำกัน 

  • ฝากสั้น เลือกเงินฝากประจำ 7 เดือน  ดอกเบี้ยสูง 1.80% ต่อปีรับดอกเบี้ยทุกเดือน ฝากขั้นต่ำ 10,000 บาท
  • ฝากยาวได้ดอกสูงยาว ๆ เลือกเงินฝากประจำ 14 เดือน ดอกเบี้ยสูง 2.20% ต่อปี ฝากขั้นต่ำ 10,000 บาท รับดอกเบี้ยเมื่อครบกำหนดการฝาก
  • ได้ดอกเบี้ยเต็ม ๆ ไม่ต้องเสียภาษี เลือกเงินฝากแบบปลอดภาษี เริ่มต้นฝากเพียงเดือนละ 500 บาท ฝากเงินจำนวนเท่ากับจำนวนเงินที่เปิดบัญชีเป็นประจำทุกเดือน เดือนละ 1 ครั้ง ระยะเวลา 24 เดือน และ 36 เดือน สำหรับบุคคลธรรมดา โดย 24 เดือน จะได้รับอัตราดอกเบี้ย 2.90% ต่อปี ฝากเงินสูงสุดได้ไม่เกิน 25,000 บาท ส่วน 36 เดือน จะได้อัตราดอกเบี้ย 2.80% ต่อปี ฝากเงินสูงสุดไม่เกิน 16,000 บาท

***พิเศษ สมัครบริการตั้งโอนเงินล่วงหน้าผ่าน KMA krungsri app และตัดบัญชีสำเร็จเพื่อฝากเข้าบัญชีในเดือนเดียวกัน ขยายเวลาโปรโมชัน 1 ก.ค. 66 - 31 มี.ค. 67 รับสิทธิ์เลือกรับ e-Coupon มูลค่า 200 บาท

2. ประกันออมทรัพย์

เหมาะสำหรับผู้ปกครองที่อยากเก็บเงินส่งลูกเรียนต่างประเทศ แต่กังวลกลัวเหตุการณ์ไม่คาดฝันระหว่างทาง การทำประกันออมทรัพย์หรือประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ เป็นประกันชีวิตรูปแบบหนึ่งที่มีข้อดีเรื่องการให้ทั้งความคุ้มครองชีวิตและโอกาสในการสะสมเงินไปพร้อมกัน ผ่านการจ่ายเบี้ยประกันตามที่กรมธรรม์กำหนดและเมื่อครบสัญญาก็จะได้รับทุนประกันคืนพร้อมผลตอบแทนโดยระหว่างนี้หากผู้เอาประกันเสียชีวิตภายในระยะเวลาเอาประกัน ผู้รับผลประโยชน์ผลประโยชน์หรือลูกของเราก็จะได้รับค่าสินไหมทดแทนด้วย

สำหรับพ่อแม่คนไหนที่กำลังสนใจหรือกำลังมองหาประกันออมทรัพย์ เรามีประกันออมทรัพย์ของกรุงศรีที่น่าสนใจมาแนะนำกัน

  • ประกันชีวิตประเภทสะสมทรัพย์แบบสั้น (ไม่เกิน 15 ปี) 
    • กรุงศรี สุดคุ้ม 11/5 (มีเงินปันผล) คุ้ม สั้น ไว ให้ชีวิตคุณง่ายขึ้น ชำระเบี้ย 5 ปี คุ้มครอง 11 ปี
    • กรุงศรีประกันสะสมทรัพย์ เซฟวิ่งส์ แพลน 12/5 ชำระเบี้ยประกันภัย 5 ปี คุ้มครองนาน 12 ปี
    • กรุงศรีประกันสะสมทรัพย์ กู๊ด เซฟวิ่ง 15/5 (+) ใช้ชีวิตฟีลกู๊ด วางแผนง่าย… จ่ายเบี้ยฯ สั้น 5 ปี คุ้มครองชีวิตนาน 15 ปี
    • กรุงศรีประกันสะสมทรัพย์ แฮปปี้ เซฟวิ่ง 15/5 ชำระเบี้ยประกันภัย 5 ปี คุ้มครองนาน 15 ปี
  • ประกันชีวิตประเภทสะสมทรัพย์แบบกลาง (16 ปี - ไม่เกิน 20ปี)
    • กรุงศรีประกันสะสมทรัพย์ เซฟ แอนด์ แคร์ 18/5 รับเงินคืนทุกปี พร้อมคุ้มครองอุบัติเหตุและโรคร้ายแรง
    • กรุงศรีประกันสะสมทรัพย์ เพื่อคุณและคนที่คุณรัก 20/5 (+) และ กรุงศรีประกันสะสมทรัพย์ เพื่อคุณและคนที่คุณรัก 20/10 (+) เปลี่ยนความรักให้เป็นรูปธรรม มอบกรมธรรม์ให้คุณและคนที่คุณรัก จ่ายเบี้ยฯ ระยะสั้น ๆ ดูแลกันยาว ๆ
  • ประกันชีวิตประเภทสะสมทรัพย์แบบยาว (20  ปีขึ้นไป)
    • กรุงศรีประกันสะสมทรัพย์ กู๊ด ไลฟ์ 85/5 ชำระเบี้ยฯ สั้น เพียง 5 ปี คุ้มครองนานถึงอายุ 85 ปี

สรุป

อย่างไรก็ตาม ค่าเล่าเรียนและค่าใช้จ่ายต่าง ๆ นี้มีโอกาสเปลี่ยนแปลงและมากขึ้นได้ตามเงินเฟ้อที่สูงขึ้น หากเราต้องการส่งลูกไปเรียนต่างประเทศ ควรรีบวางแผนออมเงินจริงจังตั้งแต่วันนี้ เพื่ออนาคตที่ดีของลูก หรือพิจารณาทางเลือกออมเงินสำหรับส่งลูกไปเรียนต่างประเทศที่เรานำมาฝากได้เลย

parents-plan-for-children-cost-krungsri1

บทความนี้เป็น Advertorial