[Review] K PLUS จาก Mobile Banking สู่
A Bank in Your Hand
“เฮ้ยๆ ขอเลขบัญชีหน่อย เดี๋ยวโอนผ่านมือถือให้เลย”
เป็นประโยคที่พรี่หนอมมักจะพูดบ่อยๆ เวลาไปกินข้าวกับเพื่อนแล้วไม่มีตังค์ (เอ้อ หมายถึงไม่มีเงินสดติดตัวมาน่ะครับ) เพราะกว่าจะเจอกันคราวหน้าก็ไม่รู้เมื่อไร จะให้ติดเงินใครนานๆ ก็เกรงใจ ใช่ไหมครับ ฮ่าๆ
ผมเชื่อว่าประโยคข้างต้นนี้ หลายคนคงได้ยินกันมาบ่อยๆ เพราะยุคนี้เป็นยุคใหม่ที่ใครๆ ก็ใช้วิธีโอนเงินผ่านโมบายแบงกิ้งกันหมดแล้วครับ เพราะมันทั้งสะดวกและรวดเร็ว
ล่าสุดทาง KBank ได้เปิดตัว K PLUS ซึ่งเป็นชื่อแอปพลิเคชันใหม่ที่ปรับให้สั้นลงจากชื่อเก่าคือ K-Mobile Banking PLUS พร้อมฟีเจอร์ใหม่ ที่ทำให้เราจัดการเรื่องการเงินได้หลากหลายขึ้น โดยที่ไม่ได้จำกัดแค่โอนเติมจ่ายเท่านั้น ตามคอนเซปต์การพัฒนาแอปเพื่อเป็น “ธนาคารบนมือถือ” (A Bank in Your Hand)
พอเห็นว่าทาง KBank เปลี่ยนเป็น K PLUS และทาง aomMONEY ได้ส่งให้ลองรีวิวดู (หลังจากที่อัพเกรดแอปพลิเคชันใหม่เป็นที่เรียบร้อย) ก็ถือว่าเป็นโอกาสดีๆที่จะนำข้อมูลจากการใช้งานมาฝากกันครับ
K PLUS มีฟีเจอร์ใหม่ๆ อะไรบ้าง?
ขอเริ่มต้นที่ 5 ฟีเจอร์เด็ดๆ ที่ทำธุรกรรมทางการเงินบน K PLUS ได้เลย แบบไม่ต้องไปธนาคาร ได้แก่
- ดูรายการใช้จ่าย/คะแนนสะสม/จ่ายบิล/ขอเพิ่มวงเงินชั่วคราวบัตรเครดิต / ขอ Statement รายการใช้จ่ายบัตรเครดิตย้อนหลัง
- อายัดบัตรเดบิต / ปรับวงเงินบัตรเดบิต
- ขอ e-Statement ย้อนหลังได้ 12 เดือน ส่งตรงเข้าอีเมล์ทันที
- ซื้อประกันภัยการเดินทางระหว่างประเทศ
- ออกบัตรเดบิตใหม่ผ่าน K PLUS แล้วรอรับบัตรที่บ้าน โดยที่ไม่ต้องไปสาขา
ซึ่งตรงนี้ผมได้เปิดดูผ่านๆ ในแอปพลิเคชันตัวใหม่ดูแล้วก็เห็นว่ามีให้ใช้งานจริงแล้วนะครับ สำหรับบางตัว อย่างการขอรายการเดินบัญชีย้อนหลัง ซื้อประกันการเดินทางระหว่างประเทศ ออกบัตรเดบิตใหม่
ผมมองว่าสิ่งที่น่าจะเป็นประโยชน์สำหรับผู้ใช้งานแอปพลิเคชันนี้ น่าจะเป็นเรื่องของการจัดการบัญชีที่เพิ่มขึ้นและสะดวกมากขึ้น ตั้งแต่เรื่องของการขอรายการเดินบัญชีย้อนหลังได้ถึง 12 เดือนและส่งตรงเข้าอีเมล์ทันที กับ ตัวจัดการอายัดบัตรเดบิตซึ่งคิดว่าน่าจะเตรียมพร้อมสำหรับนโยบายของรัฐที่กำลังจะเกิดขึ้นในเร็วๆนี้
ส่วนตรงที่ผมคิดว่าน่าจะเป็นจุดขายของ K PLUS สำหรับฟีเจอร์ใหม่ที่ว่ามานี้ น่าจะเป็นการออกบัตรเดบิตใหม่ ซึ่งสะดวกส่งตรงให้ถึงบ้านโดยที่ไม่ต้องไปที่สาขา แถมยังมีบัตรลายต่างๆให้เลือกมากมาย ซึ่งเมื่อยืนยันการออกบัตรใหม่แล้ว ก็สามารถรอรับบัตรที่บ้านได้ภายใน 7 วันทำการ ตรงนี้น่าจะช่วยลดการทำธุรกรรมที่สาขาลงได้เยอะเลยล่ะครับ ซึ่งสะดวกทั้งผู้รับบริการอย่างเราๆ และผู้ให้บริการอย่าง KBank ด้วยครับ
อ้อ ลืมบอกไปครับว่า ฟีเจอร์เดิมๆที่มีนั้นยังมีครบถ้วนใน K PLUS อยู่เช่นเคยนะครับ เรายังสามารถ โอน-เติม-จ่าย ซื้อกองทุนรวม และทำรายการอื่นๆได้เหมือนเช่นเคยครับ (อ่านที่ผมเคยรีวิวเรื่องนี้ไว้ได้ครับที่ [Review] K-Mobile Banking PLUS โฉมใหม่ ทำอะไรได้บ้าง มาดูกัน) แต่การเปลี่ยนแปลงเป็นแอปพลิเคชัน K PLUS ก็เพื่อให้จำง่าย เรียกง่าย และมีฟีเจอร์ใหม่ๆที่เพิ่มมากขึ้นนั่นเองครับ
สำหรับคนที่กังวลเรื่องความปลอดภัยในการใช้แอปพลิเคชันนั้น เรื่องนี้ก็สบายใจได้เช่นเดียวกันครับเพราะว่าทางแอปพลิเคชัน K PLUS เค้าบอกว่ามีระบบ Triple Lock Security หรือ ระบบล็อก 3 ชั้น ดังนี้
- ล็อกเครื่อง ระบบจะจดจำเครื่องและรุ่นของมือถือที่ใช้งาน
- ล็อกเบอร์ เป็นเบอร์มือถือที่ใช้สมัครบริการไว้เท่านั้น
- ล็อกด้วยพาสเวิร์ด 6 หลัก ต้องใส่รหัสการเข้าใช้งานที่กำหนดไว้ทุกครั้ง
จากธนาคารผ่านมือถือ สู่การเปลี่ยนแปลงของสาขา
จากการรีวิวการใช้งานข้างต้น จะเห็นว่าตัวผู้ใช้งานอย่างเราๆ สามารถทำรายการเกือบทุกรายการผ่านแอปพลิเคชันได้หมดแล้ว แถมยังสะดวกสบายอีกต่างหาก นั่นแปลว่าต่อไปนี้เราอาจจะไม่จำเป็นต้องไปทำรายการพวกนี้ผ่านสาขาอีกต่อไปเลยล่ะครับ
แต่ในเมื่อสิ่งต่างๆเปลี่ยนไปแบบนี้ ผมมองว่าสิ่งที่สาขาของธนาคารควรจะมีเพิ่มขึ้นนั้น คือ สร้างคุณค่าให้กับบริการอย่างมีคุณภาพมากขึ้นครับ จากพนักงานสาขาที่มีหน้าที่ทำรายการให้กับลูกค้า อาจจะต้องเปลี่ยนตัวเองกลายเป็นผู้ให้คำแนะนำแก่ลูกค้าแทน ทั้งด้านการออม การลงทุน สินเชื่อ และการวางแผนการเงินเพื่อตอบโจทย์ความต้องการด้านต่างๆ ของแต่ละคนได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมครับ
อย่างทาง KBank เองดูเหมือนพยายามจะมอบประสบการณ์ด้านนี้ให้กับลูกค้า ผ่านทางบุคลากรที่เราคุ้นเคยกันในชื่อ K-Expert ซึ่งตรงนี้ก็ถือเป็นการปรับตัวที่น่าสนใจอีกทางหนึ่งครับ ซึ่งถ้าหากปรับตัวได้จริงๆย่อมถือว่าเป็นประโยชน์กับผู้บริโภคอย่างเราๆแน่นอนครับ
สุดท้ายนี้ ผมอยากจะเตือนไว้ก่อนจากกันครับว่า สำหรับผู้ที่ใช้งานแอปพลิเคชันด้านการเงินนั้น แม้จะรู้ข้อมูลว่าแอปพลิเคชันปลอดภัยแค่ไหน หรือว่าจะมีระบบอำนวยความสะดวกมากมายเพียงใดก็ตาม แต่สิ่งที่ต้องระวังไว้ให้มากที่สุด นั่นคือ ผู้ใช้งาน ครับ
โดยผู้ใช้งานเองต้องมีความรู้และความเข้าใจในการใช้งานอย่างถูกต้อง โดยเฉพาะเรื่องของการรักษาความเป็นส่วนตัวทั้ง รหัสผ่าน การเก็บรักษาอุปกรณ์ ไปจนถึงการป้องกันระวังต่างๆด้านทรัพย์สินสูญหาย ซึ่งตรงนี้เป็นปัจจัยที่แต่ละคนต้องป้องกันความเสี่ยงของตัวเองไว้ เพราะถึงแอปพลิเคชันจะดี