เคยคิดมั้ยครับว่าอีก 10 ปีข้างหน้าเราจะทำอะไรอยู่? บางคนก็คงไปเรียนต่อ บางคนก็ลงทุนทำธุรกิจ บางคนก็คงจะซื้อบ้านสักหลัง แต่หลายคนยังนึกภาพตัวเองไม่ออก ซึ่งก็ไม่เป็นไรครับ แต่เคยคิดมั้ยว่าถ้าวันหนึ่งเกิดปิ๊งไอเดีย อยากลงมือทำอะไรสักอย่างขึ้นมา เรามีเงินพร้อมซัพพอร์ตหรือยัง?

เพราะมีเงินแต่ยังไม่มีแพลน ดีกว่ามีแพลน แต่ไม่มีเงิน ดังนั้นเตรียมตัวให้พร้อมไว้ดีกว่าครับ ถ้ามีโอกาสเมื่อไหร่ก็ลงมือทำตามความฝันได้เลย ไม่ต้องรอ หรือไปกู้หนี้ยืมสิน มาเริ่มออมเงินกันเถอะ!

ออมเงินอย่างไรให้ตอบโจทย์ 10 ปีข้างหน้า?

จะใช้วิธีเบสิกอย่างการฝากออมทรัพย์หรือฝากประจำก็ได้ครับ แต่ว่าผลตอบแทนค่อนข้างน้อย และนำไปลดหย่อนภาษีไม่ได้อีกต่างหาก aomMONEY เลยอยากแนะนำการออมเงินด้วย “กองทุน SSF” เพราะมีข้อดีหลายอย่างทีเดียว

กองทุน SSF คืออะไร?

นิยามของ “SSF” หรือ “กองทุนรวมเพื่อการออม” (Super Saving Fund) คือ กองทุนรวมระยะกลาง-ระยะยาว ที่นำเงินของเราไปลงทุนในสินทรัพย์ โดยมีผู้จัดการกองทุนคอยดูแล เมื่อสิ้นสุดระยะเวลาที่กำหนด เราก็จะได้เงินก้อนพร้อมผลตอบแทนกลับคืน นอกจากนี้การซื้อกองทุนก็นำไปลดหย่อนภาษีเพื่อแบ่งเบาค่าใช้จ่ายได้อีกด้วย

จุดเด่นของกองทุน SSF

  • 1.ลงทุนในสินทรัพย์ไหนก็ได้ จึงสามารถจัดพอร์ตลงทุนได้หลากหลาย ตั้งแต่ความเสี่ยงต่ำไปจนถึงความเสี่ยงสูง
  • 2.ไม่จำเป็นต้องลงทุนต่อเนื่อง ปีไหนติดขัด ไม่สะดวก ก็พักไว้ก่อนได้
  • 3.ต้องถือกองทุนเป็นเวลา 10 ปี จึงช่วยสร้างวินัยการออมได้ดี ต่างจากการฝากเงินในบัญชีที่ถอนได้ทุกเมื่อ
  • 4.สิทธิลดหย่อนภาษีในปีที่ซื้อสูงสุด 30% ของเงินได้สุทธิ หรือไม่เกิน 200,000 บาท และเมื่อนับรวมกับสิทธิอื่นๆ อย่างกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุน กบข. กองทุน RMF ประกันบำนาญ จะลดหย่อนได้ไม่เกิน 500,000 บาทต่อปี 

แนะนำกองทุน SSF ที่น่าสนใจ

1. กองทุนผสมบัวหลวง 70/30 เพื่อการออม (BM70SSF)

- จำกัดความเสี่ยง ลงทุนหุ้นไม่เกิน 70%

- มีโอกาสรับผลตอบแทนที่ดีจากหุ้นของบริษัทที่มีปัจจัยพื้นฐานดี

- กลยุทธ์การลงทุนมุ่งหวังให้ผลประกอบการสูงกว่าดัชนีชี้วัด (Active Management) 

- ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี ตามเงื่อนไขของสรรพากร

- จ่ายเงินปันผลเมื่อกองทุนมีกำไรสะสม และจะต้องไม่ทำให้กองทุนมีผลขาดทุนสะสมในรอบระยะเวลาบัญชีที่มีการจ่ายเงินปันผลนั้น โดยบริษัทจัดการจะพิจารณาจ่ายเงินปันผลตามหลักเกณฑ์อย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้

1) เงินปันผลหรือดอกเบี้ยรับที่ได้รับจากทรัพย์สินของกองทุนรวม

2) ไม่เกิน 30% ของกำไรสะสมดังกล่าว หรือกำไรสุทธิในรอบระยะเวลาบัญชีที่จะจ่ายเงินปันผลนั้น แล้วแต่จำนวนใดจะต่ำกว่า

2. กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นไทยเพื่อการออม (BEQSSF)

- สร้างโอกาสรับผลตอบแทนจากหุ้นไทย

- มีโอกาสรับผลตอบแทนที่ดีจากหุ้นของบริษัทที่มีปัจจัยพื้นฐานดี

- กลยุทธ์การลงทุนมุ่งหวังให้ผลประกอบการสูงกว่าดัชนีชี้วัด (Active Management)

- ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี ตามเงื่อนไขของสรรพากร

- ไม่มีนโยบายการจ่ายเงินปันผล

3. กองทุนเปิดบัวหลวงอินคัมเพื่อการออม (B-INCOMESSF)

- ลงทุนในสินทรัพย์คุณภาพดีหลายประเภท เพื่อกระจายความเสี่ยง

- เพิ่มโอกาสรับผลตอบแทนจากการลงทุนในต่างประเทศ ไม่เกิน 79% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ (NAV)

- ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี ตามเงื่อนไขของสรรพากร

- ไม่มีนโยบายการจ่ายเงินปันผล

4. กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นฟิวเจอร์เพื่อการออม (B-FUTURESSF)

- ลงทุนในธุรกิจด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่

- ลงทุนในตราสารทุนของบริษัทที่ได้รับประโยชน์จากเทรนด์ใหม่ในอนาคต

- กระจายการลงทุนไปต่างประเทศ เพื่อเพิ่มโอกาสสร้างผลตอบแทน

- ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี ตามเงื่อนไขของสรรพากร

- จ่ายเงินปันผลอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง หรือตามที่บริษัทจัดการเห็นสมควร โดยจะพิจารณาจ่ายเงินปันผลตามหลักเกณฑ์อย่างใดอย่างหนึ่งดังนี้

1) เงินปันผลหรือดอกเบี้ยรับที่ได้รับจากทรัพย์สินของกองทุนรวม

2) ไม่เกิน 30% ของกำไรสะสมดังกล่าว หรือกำไรสุทธิในรอบระยะเวลาบัญชีที่จะจ่ายเงินปันผลนั้น แล้วแต่จำนวนใดจะต่ำกว่า

ด้วยเหตุผลทั้งหมดนี้ ทำให้กองทุน SSF เป็นตัวช่วยออมเงินที่น่าสนใจสำหรับคนที่มีแผนจะใช้เงินก้อนในอีก 10 ปีข้างหน้า นอกจากจะได้ออมเงินแล้ว ยังพ่วงด้วยสิทธิประโยชน์ด้านภาษี เหมือนยิงปืนนัดเดียวได้นกสองตัวเลยครับ ใครที่สนใจสามารถดูรายละเอียดเกี่ยวกับกองทุน SSF ของกองทุนบัวหลวงได้ที่ www.bblam.co.th หรือโทร. 0-2674-6488 กด 8

***คำเตือน***

1. การลงทุนมิใช่การฝากเงินและมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจไม่ได้รับเงินลงทุนคืนเต็มจำนวนเมื่อไถ่ถอน (ไม่คุ้มครองเงินต้น) 

2. ผู้ลงทุนต้องศึกษาและทำความเข้าใจลักษณะสินค้า ข้อมูลสำคัญ นโยบายการลงทุน เงื่อนไขผลตอบแทน ความเสี่ยง ผลการดำเนินงาน และสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ระบุในคู่มือการลงทุนในกองทุนรวม SSF เงื่อนไขการลงทุน และผลกระทบกรณีผิดเงื่อนไขการลงทุน หรือผู้ลงทุนสามารถสอบถามข้อมูลจากผู้แนะนำการลงทุนก่อนตัดสินใจลงทุน

3. กองทุนที่มีการลงทุนในต่างประเทศมิได้มีนโยบายป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนทั้งหมดหรือเกือบทั้งหมด ทั้งนี้อยู่ในดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน ดังนั้นผู้ลงทุนอาจขาดทุนหรือได้กำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนจากการลงทุนในกองทุนดังกล่าว หรืออาจได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้