ธนาคาร นับเป็นหนึ่งในธุรกิจที่การบริหารหนี้สินและเงินทุนให้มีความเหมาะสมเป็นเรื่องสำคัญยิ่ง อาจจะสำคัญมากที่สุดเมื่อเทียบกับหลาย ๆ  ธุรกิจด้วยซ้ำไป เพราะธนาคารดำเนินธุรกิจอยู่ได้ด้วยการรับฝากเงินและปล่อยกู้ต่อ เงินทุกบาทที่มีถูกนำไปใช้ประโยชน์ทางการเงินเพื่อสร้างผลตอบแทนให้สูงที่สุด แทบทุกธนาคารจึงมีสัดส่วนหนี้สินต่อทุน (Debt to Equity Ratio) ในระดับที่ 5-10 เท่า หรือบางแห่งอาจมากกว่านั้น ขึ้นอยู่กับนโยบายการประกอบธุรกิจของแต่ละแห่ง

แต่เพราะสัดส่วนหนี้สินต่อทุนที่สูง หากธนาคารประสบปัญหาอะไรบางอย่าง เช่น ลูกหนี้จำนวนมากเกิดผิดนัดชำระหนี้ หรือผู้ฝากเงินต้องการถอนเงินพร้อมกัน ธนาคารก็อาจประสบปัญหาได้หากมีการสำรองเงินสดหรือสินทรัพย์เทียบเท่าเงินสดน้อยเกินไป ด้วยเหตุนี้ ธนาคารจึงจำเป็นต้องมีเบาะกันกระแทกเพื่อรองรับหากเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน หรือที่เรียกว่าเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง เพื่อให้เงินก้อนนี้สามารถเป็นเงินที่รับผลขาดทุนได้บางส่วนหรือทั้งหมดหากธนาคารมีเหตุให้ไม่สามารถดำเนินกิจการต่อได้

ตามปกติแล้วธนาคารทุกแห่งจะต้องดำรงอัตราเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงไว้อย่างน้อย 11% (รวมเงินกองทุนส่วนเพิ่มเพื่อสำรองไว้ยามฉุกเฉิน) ตามหลักเกณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด ซึ่งเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงนี้จะเป็นเหมือนเบาะรองรับหากธนาคารประสบปัญหาจนไม่อาจดำเนินกิจการได้ปกติ โดยเงินกองทุนที่กล่าวถึงนี้ จะแบ่งออกเป็น 2 ระดับ คือ เงินกองทุนชั้นที่ 1 (Tier 1 Capital) ซึ่งรวมถึงส่วนของเจ้าของด้วย และเงินกองทุนชั้นที่ 2 (Tier 2 Capital)

วิธีการทำงานของอัตราเงินส่วนกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง หากเกิดเหตุการณ์วิกฤตที่กระทบต่อธนาคาร (trigger events) ทำให้ธนาคารมีผลขาดทุนก้อนใหญ่ จนทำให้อัตราส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงลดลงต่ำ จนส่งผลให้ความเสี่ยงจากการดำเนินธุรกิจของธนาคารเพิ่มขึ้นอย่างมากจนอาจไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ ธนาคารจะสามารถตัดตราสารที่นับเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 2 ซึ่งก็คือตราสารด้อยสิทธิ และตราสารที่นับเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 1 ให้เป็นหนี้สูญได้ โดยตราสารที่นับเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 2 จะสามารถตัดเป็นหนี้สูญได้ในอัตราร้อยละที่น้อยกว่าตราสารที่นับเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 1 อธิบายง่าย ๆ คือ ถ้าลงทุนในตราสารที่นับเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 1  ก็จะมีความเสี่ยงในการรองรับผลขาดทุนของธนาคารมากกว่าการถือตราสารที่นับเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 2 นั่นเอง

ดังนั้น ยิ่งธนาคารไหนที่มีอัตราเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงที่สูง ย่อมสื่อถึงความระแวดระวังในการทำธุรกิจ และด้วยสถานการณ์ปัจจุบันที่เศรษฐกิจโลกเพิ่งฟื้นตัวจาก COVID-19 เงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงจึงยิ่งทวีความสำคัญมากกว่าปกติเพื่อเตรียมรับมือกับเหตุการณ์เชิงลบอะไรก็ตามที่อาจเกิดขึ้นได้

ล่าสุด ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย มีแผนออกตราสารเงินกองทุนประเภทด้อยสิทธิเพื่อนับเป็นเงินกองทุนประเภทที่ 2 อายุ 10 ปี ตามหลักเกณฑ์ Basel III เสนอขายให้แก่ผู้ลงทุนสถาบันและผู้ลงทุนรายใหญ่ เพื่อเสริมความแข็งแกร่งของเงินกองทุนและรองรับการเติบโตทางธุรกิจตามแผนของธนาคาร  นอกจากนี้ยังเป็นการเพิ่มทางเลือกในการลงทุนให้แก่ผู้ลงทุนอีกด้วย โดยตราสารที่ออกในครั้งนี้เป็นตราสารเงินกองทุนประเภทด้อยสิทธิมีอายุ 10 ปี อัตราดอกเบี้ย 4.07% ต่อปี จ่ายดอกเบี้ยทุกๆ 3 เดือน โดยธนาคารมีสิทธิไถ่ถอนคืนก่อนกำหนด ณ วันกำหนดชำระดอกเบี้ยใด ๆ หลังครบกำหนดปีที่ 5 และมีข้อกำหนดให้สามารถตัดเป็นหนี้สูญ (ทั้งจำนวนหรือบางส่วน) เมื่อทางการตัดสินใจจะเข้าช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ออกตราสารเงินกองทุน

ซึ่งการพิจารณาลงทุนกับธนาคารยูโอบีก็มีความน่าสนใจไม่น้อยใน 3 ประเด็นด้วยกัน

หนึ่ง ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มธนาคารยูโอบี ประเทศสิงคโปร์ และดำเนินธุรกิจในไทยมาเป็นเวลามากกว่า 20 ปี เป็นธนาคารชั้นนำระดับภูมิภาคที่มีรากฐานที่มั่นคงในประเทศไทย ที่นำความเชี่ยวชาญทางการเงินระดับภูมิภาคมาต่อยอดเป็นโซลูชันที่ตอบโจทย์ลูกค้าทุกกลุ่ม ทั้งลูกค้าบุคคลและลูกค้าธุรกิจ โดยเปิดตัว TMRW by UOB ครั้งแรกของบริการธนาคารผ่านมือถือรูปแบบใหม่ที่ออกแบบมาเพื่อเจเนอเรชันยุคดิจิทัลในภูมิภาคอาเซียน ขับเคลื่อนด้วยพลัง AI เพื่อนำเสนอข้อมูลเชิงลึกตามรูปแบบธุรกรรมของลูกค้าแต่ละราย ช่วยให้ลูกค้าเลือกใช้จ่ายและออมเงินบนพื้นฐานของข้อมูลทางการเงินของตน พร้อมด้วยช่องทางแบบ omni-channel ที่ครอบคลุม เพื่อให้ลูกค้าทำธุรกรรมทางการเงินได้แบบไร้รอยต่อ

นอกจากนี้ ธนาคารยังให้ความสำคัญกับการดำเนินธุรกิจเพื่อความยั่งยืนในระยะยาว โดยสนับสนุนให้ลูกค้าธุรกิจเติบโตอย่างมีความรับผิดชอบผ่านสินเชื่อสีเขียว (Green Loan) และโซลูชันที่ถูกออกแบบมาเพื่อช่วยธุรกิจสามารถเริ่มต้นสร้างความยั่งยืนให้กับธุรกิจได้แบบครบวงจร อาทิ โครงการ U-Solar และโครงการ U-Energy ที่เชื่อมโยงผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงานสะอาดและระบบประหยัดพลังงานกับลูกค้า พร้อมสินเชื่อที่ช่วยให้การสร้างความยั่งยืนเป็นเรื่องง่ายสำหรับทุกคน

ในส่วนของทิศทางการเติบโต ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย ให้ความสำคัญอย่างยิ่งกับการรักษางบดุลที่แข็งแกร่ง เพราะเป็นพื้นฐานสำคัญในการให้การสนับสนุนแก่ลูกค้าธนาคารในทุกช่วงวัฏจักรของเศรษฐกิจ โดยมีวัฒนธรรมการบริหารจัดการความเสี่ยงที่เข้มแข็งและการดำเนินงานอย่างรอบคอบ ทั้งยังให้ความสำคัญกับบุคลากร โดยเปิดโอกาสให้พนักงานจัดการความสมดุลระหว่างการทำงานและชีวิตส่วนตัวได้ ธนาคารยังได้เตรียมเปิดอาคารสำนักงานใหญ่แห่งใหม่สูง 30 ชั้นบนถนนสุขุมวิท ซึ่งสามารถรองรับพนักงานได้กว่า 2,000 คน และตอบสนองรูปแบบการทำงานที่คล่องตัวของธนาคารเพื่อส่งมอบบริการให้กับลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ

เรื่องน่าสนใจลำดับที่สองก็คือ แม้จะไม่ได้เป็นบริษัทที่จดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย แต่ในแง่ของผลการดำเนินงาน รวมถึงความมั่นคง เรียกได้ว่าเป็นธนาคารพาณิชย์ที่มีศักยภาพในการเติบโตด้วยความแข็งแกร่ง โดยได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือภายในประเทศระยะยาวสูงสุด ‘AAA(tha)’ โดยฟิทช์ เรทติ้งส์ (ประเทศไทย) เมื่อวันที่ 27 เมษายน 2565

งบแสดงฐานะการเงินของธนาคารยูโอบี จำกัด (มหาชน) สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2564

สินทรัพย์ 725,407 ล้านบาท

หนี้สิน 656,436 ล้านบาท

ส่วนของเจ้าของ 68,971 ล้านบาท

งบกำไรขาดทุนของธนาคารยูโอบี จำกัด (มหาชน) งวดวันที่ 31 ธันวาคม 2564

รายได้ 16,413 ล้านบาท

ค่าใช้จ่าย 11,772 ล้านบาท

กำไรสุทธิ 4,641 ล้านบาท

เรื่องน่าสนใจลำดับที่สามคือ เมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา กลุ่มธนาคารยูโอบีได้ทำข้อตกลงเพื่อเข้าซื้อกิจการลูกค้ารายย่อยของซิตี้กรุ๊ป ในอินโดนีเซีย มาเลเซีย ไทย และเวียดนาม ซึ่งธุรกิจลูกค้ารายย่อยของซิตี้กรุ๊ปมีฐานลูกค้ากว่า 2.4 ล้านราย ทำให้กลุ่มธนาคารยูโอบีมีฐานลูกค้าเพิ่มขึ้นจากเดิมมาก และเป็นโอกาสสร้างการเติบโตใหม่ ๆ  เพิ่มขึ้นอีกในอนาคต

ในแวดวงการลงทุนนั้น คุณลักษณะของกิจการที่ดีไม่ได้มาจากการเติบโตที่สูงเพียงอย่างเดียว แต่ยังต้องมาพร้อมความแข็งแกร่งทางการเงินเพื่อให้กิจการนั้นสามารถเติบโตไปได้อย่างมั่นคงอีกด้วย ธนาคารยูโอบีก็มีการเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่องจากแผนการขยายธุรกิจดังกล่าว ดังนั้น การออกตราสารเงินกองทุนของธนาคาร นอกจากจะเป็นการเสริมความแข็งแรงให้กับธนาคารตามหลักเกณฑ์ของธนาคารแห่งประเทศไทยแล้ว ยังเป็นการรองรับการเติบโตอย่างต่อเนื่องในอนาคตอีกด้วย

ตราสารด้อยสิทธิเพื่อนับเป็นเงินกองทุนประเภทที่ 2 ธนาคารยูโอบี จำกัด (มหาชน) ครั้งที่ 1/2565 ครบกำหนดไถ่ถอนปี พ.ศ. 2575 ซึ่งผู้ออกตราสารเงินกองทุนมีสิทธิไถ่ถอนก่อนกำหนด ณ วันกำหนดชำระดอกเบี้ยใดๆ หลังจากครบ 5 ปีนับจากวันออกตราสาร และมีข้อกำหนดให้สามารถตัดเป็นหนี้สูญ (ทั้งจำนวนหรือบางส่วน) เมื่อทางการตัดสินใจจะเข้าช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ออกตราสารเงินกองทุน อัตราดอกเบี้ยคงที่ 4.07% ต่อปี จ่ายดอกเบี้ยทุก 3 เดือน อันดับความน่าเชื่อถือของตราสารเงินกองทุนที่ระดับ ‘AA(tha)’ โดยบริษัท ฟิทช์ เรทติ้งส์ (ประเทศไทย) จำกัด เมื่อวันที่ 22 เมษายน 2565 เสนอขายหน่วยละ 1,000 บาท จองซื้อขั้นต่ำ 100,000 บาท และทวีคูณครั้งละ 100,000 บาทสำหรับผู้ลงทุนรายใหญ่ เปิดจองซื้อวันที่ 27 พฤษภาคม - 6 มิถุนายน 2565 (ในวันและเวลาทำการ)

โดยสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ : https://market.sec.or.th/public/ipos/IPOSDE01.aspx?TransID=412687

หรือติดต่อสถาบันการเงินทั้ง 3 แห่งนี้

ธนาคารยูโอบี จำกัด (มหาชน) โทร. 0-2093-4900 หรือ 0-2343-4900

ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (ยกเว้นสาขาไมโคร) โทร. 0-2645-5555 หรือ 1333

ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) โทร. 0-2888-8888 กด 819

คำเตือน :

การลงทุนในตราสารด้อยสิทธิเพื่อนับเป็นเงินกองทุนประเภทที่ 2  มีความเสี่ยงสูงหรือมีความซับซ้อน ซึ่งมีความแตกต่างจากการลงทุนในผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนทั่วไป แม้ว่าผู้ลงทุนจะเคยมีประสบการณ์ในการลงทุนในผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนมาก่อน   ผู้ลงทุนต้องทำความเข้าใจลักษณะสินค้า ความเสี่ยง เงื่อนไขผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน

บทความนี้เป็น Advertorial