เมื่อคู่สามี-ภารยาเกิดความขัดแย้งและไม่สามารถพูดคุยปรับความเข้าใจหรือสมานรอยร้าวในใจได้ ทางออกของปัญหาจึงเป็นเรื่องของ “การหย่าร้าง” ฟังแล้วอาจดูเหมือนเป็นเรื่องของการยินยอมและเซ็นต์เอกสารเพื่อยุติความสัมพันธ์รัก แต่ในความเป็นจริงแล้วยังมีรายละเอียดยิบย่อยอื่นๆ ที่อดีตคู่รักต้องตกลงกันร่วมกัน นั่นคือ “การแบ่งสินสมรส”

“สินสมรส” คือ ทรัพย์สินที่คุณสามีและคุณภรรยาหามาได้หลังจากจดทะเบียนสมรส ไม่ว่าจะเป็น เงินเดือน ดอกผลจากสินทรัพย์ส่วนตัวและสินสมรส หรือทรัพย์สินที่ถูกระบุให้เป็นสินสมรสในทะเบียนสมรส รวมไปถึงหนี้ที่เกิดขึ้นก่อนจดทะเบียนแต่ยังชำระไม่หมดและหนี้ที่เกิดขึ้นหลังจดทะเบียนเช่นกัน

เมื่อต้องหย่าร้าง ต้องแบ่งสินทรัพย์อย่างไร?

1. ขึ้นอยู่กับการตกลงของแต่ละคู่
2. ถ้าตกลงกันไม่ได้ วิธีที่ง่ายที่สุดก็คือการแบ่งสินสมรสกันคนละครึ่งหรือการขายทุกอย่างเพื่อแบ่งเงินกัน 50/50
3. แบ่งกันตามกฎหมายหรือให้ศาลตัดสิน

แต่สำหรับบางคู่ การแบ่งสินทรัพย์อาจจะง่าย เพราะมีการทำสัญญาก่อนสมรส ที่เป็นสัญญาที่แบ่งตั้งแต่ก่อนการจดทะเบียนสมรสไว้ว่า มีอะไรบ้างที่เป็นของสามี มีอะไรบ้างที่เป็นของภรรยา เมื่อถึงเวลาในการจดทะเบียนหย่า ทรัพย์สินที่ทั้งคู่ต้องการก็จะไม่ถูกนำไปรวมเป็นสินสมรสเพื่อแบ่งกันอีกทอด

ในเรื่องของสินสอด ถือว่าไม่ใช่สินสมรส แต่เป็นทรัพย์สินที่ฝ่ายชายมอบให้พ่อแม่ผู้ปกครองของฝ่ายหญิงเพื่อขอบคุณที่ยอมแต่งด้วย สินสอดจะตกเป็นของฝ่ายหญิงทันทีเมื่อทั้งคู่แต่งงานกัน กล่าวคือสินสอดเป็นเรื่องของการสมรส ถ้าไม่มีการสมรสก็ต้องคืนสินสอด ไม่เกี่ยวกันกับการหย่า

สุดท้ายนี้การหย่าเป็นเรื่องที่คนสองคนต้องตัดสินใจอย่างละเอียดอ่อน เพราะมีผลกระทบต่อทั้งด้านการเงินและการใช้ชีวิต หรือบางครอบครัวอาจจะกระทบต่อลูกด้วย ดังนั้นการหย่าหรือการเลือกจบความสัมพันธ์ด้วยอารมณ์มีแต่จะส่งผลกระทบต่อตัวเองทั้งนั้น การพูดคุยกันเพื่อหาทางออกที่ทั้งสองคนพอใจและส่งผลที่ดีต่อลูก ถือเป็นทางออกดีที่สุด