การให้เป็นสิ่งที่สวยงาม ไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบใด แต่การให้ก็ควรอยู่บนพื้นฐานของความเหมาะสมด้วย เพราะจะได้ไม่ต้องกลับมาเสียใจในภายหลัง เพราะคำว่า “การให้โดยเสน่หา”

การให้โดยเสน่หา คืออะไร?

การให้โดยเสน่หา คือ การมอบทรัพย์สินที่เป็นกรรมสิทธิ์ของ “ผู้ให้” มอบให้แก่ “ผู้รับ” โดยทั้งสองฝ่ายมีความยินดีและเต็มใจที่จะส่งมอบและรับมอบทรัพย์สินนั้นๆ ซึ่งผู้รับไม่จำเป็นต้องทำหน้าที่ตอบแทนแต่อย่างใด และไม่จำเป็นว่า ต้องเป็นการให้ของคู่รักเท่านั้น เพราะการให้ที่เข้าข่ายความหมายข้างต้น ก็ถือเป็นการให้โดยเสน่หาแล้วทั้งสิ้น

กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินเป็นของใคร?

หลังจากที่ทรัพย์สินตกไปอยู่มือของผู้รับแล้ว จะถือว่าผู้รับเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ของสินทรัพย์ที่ได้รับมอบมา ทำให้ผู้รับสามารถจัดการทรัพย์สินที่ได้มาอย่างไรก็ได้

ผู้ให้ขอคืนทรัพย์สินได้ไหม?

โดยหลักของอำนาจแห่งสิทธิ์ที่ถือว่าผู้รับเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในสินทรัพย์แล้วนั้น ผู้ให้ไม่สามารถเปลี่ยนใจเรียกคืนสินทรัพย์นั้นได้ ไม่ว่าสินทรัพย์นั้นจะมีมูลค่ามากหรือน้อยก็ตาม

ขอคืนไม่ได้ แต่ขอเพิกถอนได้

ถึงแม้ว่าผู้ให้ไม่สามารถไปขอคืนทรัพย์สินที่เคยให้ผู้รับได้ แต่ตามประมวลกฏหมายแพ่งและพาณิชย์ในเรื่องของ “สัญาการให้โดยเสน่หา” กฎหมายได้อนุญาตให้ผู้ให้สามารถ “เพิกถอน” การให้โดยเสน่หาหาจากผู้รับได้

ซึ่งการเพิกถอนการให้โดยเสน่หามีหลักการว่า “เมื่อผู้ให้ให้เปล่าแก้ผู้รับ ผู้รับก็ควรสำนึกบุญคุณ” กล่าวคือ หากผู้รับได้กระทำสิ่งที่เนรคุณต่อผู้ให้ ผู้ให้มีสิทธิ์ฟ้องร้องเพื่อเพิกถอนการให้โดยเสน่หานั้นได้

พฤติกรรมที่เข้าข่ายเนรคุณ สามารถพิจารณาตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มารตรา 531 ที่ได้กำหนดลักษณะของพฤติกรรมที่สามารถขอเพิกถอนการให้โดยเสน่หาได้ ดังนี้

(1) ผู้รับได้ประทุษร้ายต่อผู้ให้เป็นความผิดฐานอาญาอย่างร้ายแรง ตามประมวลกฎหมายลักษณะอาญา

(2) ผู้รับได้ทำให้ผู้ให้เสียชื่อเสียง หรือหมิ่นประมาทผู้ให้อย่างร้ายแรง

(3) ผู้รับได้บอกปัดไม่ยอมให้สิ่งของจำเป็นเลี้ยงชีวิตแก่ผู้ให้ ในเวลาที่ผู้ให้ยากไร้ ทั้งที่ผู้รับยังสามารถจะให้ได้

สุดท้ายนี้ ก่อนจะให้อะไรกับใครไปอาจจะต้องมีสติให้มากขึ้น เพราะ ณ วันที่เราให้ไป เราอาจไม่ได้คิดอะไร เพราะยังอยู่ในช่วงที่เรียกว่า "เสน่หา" แต่ถ้าวันหนึ่งไม่ได้ "เสน่หา" แล้ว สิ่งที่เคยให้ไปอาจกลับมาสร้างความเดือดร้อนและความเสียดายกับให้กับผู้ให้ได้