ต้นปีตั้งเป้าหมาย “อยากมีเงินเก็บสักก้อน” แต่พอเช็กดูอีกที นี่ก็จะสิ้นปีแล้ว ยังไม่มีวี่แววของเงินเก็บเลย จริงๆ แล้วเหตุการณ์นี้อาจไม่ใช่เพราะเรามีรายได้ที่น้อยเกินไป แต่เราอาจมีรายจ่ายเยอะและขาดการจัดการที่ถูกต้องคล้ายกับกลุ่มของ ‘HENRY’ ก็เป็นได้   

แล้ว ‘HENRY’ คืออะไร? มีต้นกำเนิดมาจากไหน? วันนี้ aomMONEY จะมาสรุปให้ฟังพร้อมบอกต่อเทคนิคดีๆ ที่จะช่วยเพื่อนๆ หยุดพฤติกรรมนี้ได้สำเร็จกัน

HENRY คืออะไร?

HENRY ย่อมาจากคำว่า ‘High Earner, Not Rich Yet’ คือคำจำกัดความที่ใช้เรียกกลุ่มคนรุ่นใหม่ชาวอเมริกันที่หาเงินเก่ง มีรายได้สูง แต่ไม่รวยสักที อันเนื่องมาจากการที่พวกเขามักนำเงินที่หามาไปใช้จ่ายกับสิ่งของหรูหราที่แสดงถึงฐานะทางสังคม และรสนิยมส่วนตัวที่เน้นความสะดวกสบายเป็นหลัก

นอกจากนี้ พวกเขาก็ยังมีไลฟ์สไตล์ที่คล้ายคลึงกับกลุ่มคนที่มีอิสรภาพทางการเงินแล้ว แต่จะแตกต่างกันตรงที่กลุ่มคนที่มีอิสรภาพทางการเงินจะใช้เม็ดเงินไปกับการสร้างความมั่งคั่งให้กับชีวิตของตัวเอง ส่วน HENRY จะมุ่งเน้นแค่ไลฟ์สไตล์เพียงอย่างเดียว และเมื่อหยุดทำงานก็หมดเงิน

โดยพวกเขามีความคิดทำนองว่า ‘ของมันต้องมี ใช้หรือไม่ใช้ค่อยว่ากันอีกที’ ในเมื่ออุตส่าห์อดทนทำงานหนักจนหาเงินมาได้มากทั้งที การใช้เงินซื้อความสุขก็ถือเป็นการให้รางวัลชีวิตกับตัวเอง ไม่ได้สนใจที่จะประหยัดหรือเก็บออมเท่าที่ควร

HENRY ไม่ใช่ศัพท์ใหม่ แต่มีมาแล้วถึง 20 ปี

HENRY หรือกลุ่มคนที่มีรายได้สูง แต่ไม่รวยสักที ไม่ใช่คำที่เพิ่งจะถูกบัญญัติขึ้นเมื่อไม่นานมานี้ แต่แท้จริงแล้ว ได้ถูกใช้มากว่า 20 ปีแล้วด้วยซ้ำ โดยเริ่มใช้ครั้งแรกเมื่อปี 2003 ใน ‘Fortune’ นิตยสารชื่อดังในวงการธุรกิจของโลก ซึ่งมีใจความสำคัญที่ให้ความหมายถึงกลุ่มคนที่มีรายได้มากกว่า 250,000 ดอลลาร์สหรัฐขึ้นไป และมีศักยภาพที่จะมั่งคั่งในอนาคต

ต่อมาในปี 2008 คำนี้ก็ถูกหยิบยกมาพูดถึงอีกครั้ง ในแง่มุมของแรงจูงใจในการซื้อของที่มีมากกว่ากลุ่มคนที่มีอิสรภาพทางการเงิน ซึ่งปัจจุบันคนไทยส่วนใหญ่ก็เริ่มมีพฤติกรรมแบบ HENRY มากขึ้นเรื่อยๆ ทั้งใช้เงินเก่ง ทุ่มไปกับรสนิยมอันหรูหรา และความสะดวกสบาย เช่น การซื้อกระเป๋าแบรนด์เนมเป็นประจำ และการดื่มกาแฟแก้วละหลักร้อยแทบทุกวัน จนในที่สุดไม่หลงเหลือเงินเก็บไว้ใช้ยามฉุกเฉินหรือยามเกษียณ

HENRY มนุษย์ 'Working Rich'

Investopedia เว็บไซต์ด้านการเงินให้คำนิยามของ HENRY เอาไว้อย่างน่าสนใจว่า ‘Working Rich’ ในที่นี้คือกลุ่มคนที่ทำงานแล้วรวย แต่ถ้าวันหนึ่งพวกเขาเกิดหยุดทำงานขึ้นมา ก็จะไม่รวยอีก เพราะรายได้ส่วนใหญ่นั้นกลายเป็นต้นทุนที่ต้องจ่ายแทน พวกเขามักหมดเงินไปกับรายจ่ายมากกว่าการเก็บออมหรือการนำไปลงทุนเพื่ออนาคต ซึ่งแน่นอนว่า ผลพวงที่ตามมาก็คงหนีไม่พ้นการไม่มีเงินเก็บที่เพียงพอสำหรับไว้ใช้ยามฉุกเฉินหรือยามเกษียณนั่นเอง

อยากมีเงินเก็บ หลุดพ้นวงจร HENRY ต้องทำอย่างไร?

นอกเหนือจากการสรุปนิยามของ HENRY มาให้ฟังกันแล้ว วันนี้ aomMONEY ก็ยังมีเทคนิคดีๆ มาบอกต่อที่จะช่วยให้เพื่อนๆ หลุดพ้นจากวงจร HENRY ได้สำเร็จ พร้อมทั้งยังมีตัวช่วยดีๆ อย่าง ‘TrueMoney’ แอปพลิเคชันการเงินครบวงจรมาแนะนำกันด้วย จะมีอะไรบ้าง? ไปดูกันเลย

1. บันทึกรายรับ-รายจ่าย และใช้จ่ายอย่างประหยัด 

ถ้าเพื่อนๆ อยากหลุดพ้นจากวงจร HENRY สิ่งที่ควรทำอย่างแรกคือ ‘การบันทึกรายรับ-รายจ่าย’ เพื่อให้รู้เท่าทันพฤติกรรม และรอยรั่วทางการเงิน รวมไปถึงก็ยังเป็นการย้ำเตือนตัวเองให้ใช้จ่ายอย่างประหยัด ไม่ใช้เงินจนเกินตัวด้วย

หนึ่งวิธีที่จะช่วยให้เราประหยัดและคุ้มค่าทุกการใช้จ่ายได้มากขึ้น คือการเลือกเครื่องมือที่เหมาะสมอย่าง TrueMoney เองก็มีฟีเจอร์ช่วยในเรื่องนี้เช่นกัน โดยหากเพื่อนๆ เปลี่ยนมาจ่ายเงินผ่านแอปพลิเคชัน TrueMoney ก็จะสามารถประหยัด และได้รับความคุ้มค่ามากขึ้น เนื่องจาก จะได้รับทั้ง TruePoint และ Cashback ในร้านค้าที่ร่วมรายการ ซึ่งสามารถนำไปใช้ต่อในการใช้จ่ายครั้งถัดๆ ไปได้   

2. ลดรายจ่าย เพิ่มเงินเก็บ 

ถัดมา ให้กลับมาทบทวนตัวเอง แยกระหว่างรายจ่ายที่จำเป็น และไม่จำเป็น จากนั้น ให้พยายามลดรายจ่ายที่ไม่จำเป็นออก โดยข้อดีของการทำแบบนี้จะช่วยให้เรามีเงินเก็บได้มากขึ้นนั่นเอง

ซึ่งถ้าใครอยากลดรายจ่าย แอปพลิเคชัน TrueMoney ก็ช่วยในข้อนี้ได้ด้วย เพราะมีโปรโมชันเด็ดๆ และดีลดีๆ ให้เพื่อนๆ เลือกมากมาย ไม่ว่าจะเป็นแต้มส่วนลด และคูปองพิเศษที่ใช้ได้กับร้านค้าพาร์ทเนอร์ต่างๆ ทำให้ให้เพื่อนๆ ไม่ต้องจ่ายเงินเต็มจำนวน ลดรายจ่ายที่ไม่จำเป็นต้องจ่ายออกไปได้  

3. ‘ออมก่อนใช้’  ไม่ใช่ ‘ใช้ก่อนค่อยออม’

วอร์เรน บัฟเฟตต์ (Warren Buffett) มหาเศรษฐี และนักลงทุนระดับโลก เคยกล่าวไว้ว่า “อย่าเก็บออมจากเงินที่เหลือใช้ แต่จงใช้เงินที่เหลือจากการเก็บ”

เพื่อนๆ หลายคนอาจจะคุ้นชินกับพฤติกรรมใช้เงินให้เต็มที่ แล้วเงินเหลือเท่าไรค่อยเก็บออม ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว ส่วนมากมักจะใช้จนหมดและไม่เหลือเก็บเลย ทางที่ดีคือทุกครั้งที่มีรายได้เข้ามา ‘เราควรออมเงินก่อนนำไปใช้จ่าย’ ตัวอย่างเช่น เวลาที่ได้รับเงินเดือนมา ให้เพื่อนๆ กันเงินออมทันที ประมาณ 20-30% ของเงินทั้งหมด จากนั้น ค่อยนำเงินส่วนที่เหลือไปหักลบกลบหนี้ ค่าใช้จ่ายต่างๆ และใช้กินเที่ยว ให้รางวัลชีวิตตัวเองอีกทีหนึ่ง

ซึ่งถ้าเพื่อนๆ คนไหนที่ตัดใจออมก่อนไม่ได้ aomMONEY แนะนำว่าควรเลือกเครื่องมือที่ช่วยเก็บเงินให้อัตโนมัติเลยจะดีกว่า อย่าง ‘KKP START SAVING’ ฟีเจอร์ใหม่แอปพลิเคชัน TrueMoney ที่สามารถตั้งฝากเงินได้อัตโนมัติ แถมยังให้ดอกเบี้ยสูงอีกด้วย เท่านั้นยังไม่พอ นอกจากจะเก็บเงินได้แล้ว ภายในแอปยังสามารถลงทุนซื้อหุ้นกู้ กับซื้อประกันต่างๆ ได้ด้วยอีก เรียกได้ว่าครบจบในที่เดียวจริงๆ  

4. ลดภาระดอกเบี้ย ไม่ต้องเสียเงินก้อน ด้วย ‘Buy Now Pay Later’

ปกติแล้ว ถ้าเราอยากได้ของชิ้นใหญ่ที่มีราคาสูง ก็ต้องจ่ายเงินสดก้อนใหญ่หรือผ่อนจ่าย โดยยอมเสียอัตราดอกเบี้ยทุกเดือน ซึ่งกว่าจะเก็บเงินก้อนใหญ่ได้สำเร็จก็ต้องใช้เวลานาน แถมถ้าผ่อนจ่ายก็อาจเป็นการก่อหนี้สร้างสินจนบานปลายได้

แต่จะดีกว่าไหม? ถ้าเราไม่จำเป็นต้องรอนานๆ อีกต่อไป และไม่ต้องเสียดอกเบี้ยทุกๆ เดือน เพราะภายในแอปพลิเคชัน TrueMoney มีฟีเจอร์ Pay Next ที่มาในรูปแบบของ ‘Buy Now Pay Later’ บริการที่เปิดโอกาสให้เราซื้อก่อนแล้วค่อยทยอยจ่ายทีหลังใน ‘ราคาเดิม’ ไม่ต้องเสียเงินก้อนใหญ่ในคราวเดียว และก็ไม่มีการคิดดอกเบี้ยนานสูงสุดถึง 11 เดือนเลยทีเดียว

ต้องบอกว่า TrueMoney เป็นแอปพลิเคชันการเงินที่ครบวงจร ตอบโจทย์การใช้จ่ายของคนยุคนี้มากๆ  เพราะนอกจะให้ความคุ้มค่า และประโยชน์ที่มากกว่าแล้ว ก็ยังมอบความสะดวก ครบ จบในแอปเดียว แถมยังใช้แทนบัตรเครดิตหรือเดบิตได้ ยิ่งไปกว่านั้นเรียกได้ว่าตอบโจทย์สายเดินทางบ่อย เพราะเพื่อนๆ สามารถสแกนจ่ายเงินในต่างประเทศได้อีกด้วย

สุดท้ายแล้วการให้รางวัลตัวเองไม่ใช่เรื่องเสียหายอะไร แต่ต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานของคำว่า “เหมาะสม” รู้ว่าสิ่งไหนควรทำ รู้ว่าสิ่งไหนที่คุ้มค่า รู้ว่าสิ่งไหนให้ประโยชน์ ทั้งนี้ ไม่ใช่เพื่อใครที่ไหน แต่เพื่อตัวเราเองทั้งนั้น  และถ้าเพื่อนๆ คนไหนกำลังมีพฤติกรรมแบบ HENRY อยู่ วันนี้ยังไม่สาย มาเริ่มปรับพฤติกรรมเพื่อชีวิตทางการเงินที่ดีขึ้นกันดีกว่า!

โหลด TrueMoney เลยที่นี่ : 

ระบบปฏิบัติการ iOS >> https://apple.co/45lsGbs

ระบบปฏิบัติการ Android >> https://bit.ly/3tpmYYZ

อ้างอิง : 

https://bit.ly/3rxO7Za

https://bit.ly/3ZKLM9I