กู้ซื้อบ้าน ‘ไม่ยาก’ แต่ต้องรู้รายละเอียด และเข้าใจเงื่อนไข

พอถึงช่วงอายุหนึ่ง การกู้ซื้อบ้านนับเป็นหนึ่งในการตัดสินใจทางการเงินครั้งใหญ่ที่หลายคนต้องเจอ เพราะเชื่อว่าการได้เป็นเจ้าของบ้านนับเป็นความฝันของใครหลาย ๆ คน แต่เพราะบ้านนั้นมีราคาสูง การกู้ซื้อบ้านจึงเป็นช่องทางที่จะทำให้ความฝันนี้เป็นจริงได้ 

แต่ทั้งนี้ การกู้ซื้อบ้านนั้นมีรายละเอียด และเงื่อนไขต่าง ๆ ที่ต้องรู้ ไปจนถึงเอกสารกู้บ้านต่าง ๆ ที่ต้องเตรียม ซึ่งจะมีอะไรบ้างนั้น aomMONEY ได้สรุปแบบเข้าใจง่ายเอาไว้เรียบร้อยแล้ว กับ 6 สิ่งที่ต้องเตรียมก่อนกู้ซื้อบ้าน เพื่อเดินตามความฝันให้สำเร็จ จะมีอะไรบ้างนั้น มาดูกันเลย!

6 เช็กลิสต์ เตรียมตัวก่อนกู้ซื้อบ้าน

1. เช็กประวัติเครดิตกันก่อน ว่าเราเป็นลูกหนี้ชั้นดีแค่ไหน 

เรียกได้ว่าเป็นสิ่งแรกที่เราควรทำก่อนขอสินเชื่อประเภทต่าง ๆ ซึ่งรวมไปถึงสินเชื่อกู้ซื้อบ้านด้วย เพราะทางสถาบันการเงิน หรือธนาคารจะดูปัจจัยหลายอย่างประกอบการตัดสินใจว่าจะอนุมัติเงินกู้ของเราหรือไม่ ยิ่งบ้านที่เป็นทรัพย์สินมูลค่าสูงด้วย ยิ่งต้องพิจารณากันเข้มข้นหน่อย

หนึ่งช่องทางที่สถาบันการเงินจะนำมาประกอบการตัดสินใจคือ ‘เครดิตบูโร’ ที่จัดทำโดย National Credit Bureau (NCB) ว่าเรามีประวัติการชำระหนี้ที่ผ่านมาเป็นอย่างไร ถ้าเรามีวินัยในการชำระหนี้ดีมาตลอด แนวโน้มที่จะได้รับการอนุมัติเงินกู้ก็จะสูงขึ้น 

2. สร้างเครดิตทางการเงินให้ดี เพื่อเพิ่มโอกาสได้รับอนุมัติสินเชื่อ

1. ชำระหนี้ตรงตามกำหนดในทุกงวด 

2. ไม่สร้างหนี้ใหม่ ในระยะเวลาสั้น ๆ

3. ไม่จ่ายขั้นต่ำ

เท่านี้เราก็สามารถสร้างประวัติเครดิตที่ดีได้แล้ว ซึ่งต้องบอกว่าทั้งสามวิธีนี้ไม่ยากเลย ถ้าบริหารจัดการเงินให้ดี คอยใส่ใจ และทำอย่างต่อเนื่อง เพราะหากทำพลาดไปแค่ครั้งเดียวอาจส่งผลต่อคะแนนเครดิตของเราได้ เพื่อให้การขออนุมัติสินเชื่อเป็นไปด้วยดี เชื่อว่าเราคงอยากรักษาคะแนนดีที่สุดกันเอาไว้

3. เตรียมตัวเก็บเงิน เพราะการกู้ซื้อบ้าน ไม่ได้มีแค่ค่างวด

เพราะการกู้ซื้อบ้านนั้นมีค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่ต้องเตรียมพร้อมเอาไว้ด้วย หากไม่ได้เตรียมความพร้อมที่จะจ่ายในส่วนนี้ตั้งแต่แรก อาจเกิดปัญหากับสภาพคล่องทางการเงินระหว่างกู้ซื้อบ้านได้ มาดูกันว่าระหว่างการผ่อนบ้านอาจมีค่าใช้จ่ายอะไรเกิดขึ้นบ้าง

1. ค่ามัดจำ: ประมาณ 10,000 บาทขึ้นไป

2. ค่าดาวน์บ้าน: ประมาณ 5% – 10% ของราคาบ้าน

3. ค่าประเมินราคาบ้าน: ประมาณ 1,000 – 3,000 บาท

4. ค่าจดจำนอง:  1% ของยอดกู้

5. ค่าโอนกรรมสิทธิ์: 2% จากราคาประเมิน

6. ค่าตกแต่งบ้าน เครื่องใช้ไฟฟ้า และเฟอร์นิเจอร์

7. ค่าเบี้ยประกันภัยบ้าน

4. กำหนดงบประมาณในการกู้ซื้อบ้าน

การกำหนดงบประมาณในการกู้ซื้อบ้านจะทำให้เรารู้ว่าราคาบ้านที่เราจ่ายไหวควรมีมูลค่าเท่าไร และใช้ระยะเวลาเท่าไรในการผ่อน โดยดูจากรายได้และรายจ่ายที่เรามีอยู่ หากเพิ่มภาระการกู้ซื้อบ้านเข้ามาจะสร้างความเดือดร้อนมากเกินไปหรือไม่

ภาระผ่อนหนี้ที่สามารถแบกรับได้

ปกติแล้วภาระในการผ่อนต่าง ๆ ต่อเดือนแนะนำว่าไม่ควรเกิน 40% ของรายได้ เพื่อไม่ให้กระทบต่อสภาพคล่องทางการเงินโดยรวมตลอดระยะเวลาการผ่อน ดังนั้น สิ่งแรกที่เราต้องรู้คือ รายได้รวมต่อเดือนที่เรามี ยกตัวอย่าง นาย ก เป็นพนักงานบริษัทเอกชน มีเงินเดือน 35,000 บาท และมีรายได้จากงานเสริมอีกเดือนละ 5,000 บาท เท่ากับว่า รายได้รวมต่อเดือนของนาย ก คือ 40,000 บาท (35,000 + 5,000)

จากนั้น หากอยากรู้ว่า ภาระผ่อนหนี้ที่สามารถแบกรับได้ เป็นเท่าไร ให้นำรายได้รวมมาคูณด้วย 40% หรือ 0.4 จะเท่ากับ 16,000 บาท (40,000 x 0.4) หมายความว่า ภาระการผ่อนหนี้ต่าง ๆ ของนาย ก ควรมีไม่เกิน 16,000 บาท ต่อเดือน

ความสามารถในการสร้างภาระการผ่อนหนี้ใหม่

จากตัวอย่างข้างต้น หากนาย ก ไม่มีภาระการผ่อนหนี้อื่น ๆ เลย จะส่งผลให้ความสามารถในการสร้างภาระการผ่อนหนี้ใหม่ อยู่ที่ 16,000 บาทเลยทันที หมายความว่า หากนาย ก ต้องการกู้ซื้อบ้าน ยอดผ่อนต่อเดือนที่สามารถเป็นได้มากที่สุดเท่ากับ 16,000 บาทต่อเดือน

แต่อีกกรณีหนึ่ง สมมติว่า นาย ก มีภาระในการผ่อนรถยนต์อยู่แล้วเดือนละประมาณ 6,000 บาท จะส่งผลให้ความสามารถในการสร้างภาระการผ่อนหนี้ใหม่ลดลง อยู่ที่ 10,000 บาท (16,000 - 6,000) ซึ่งทำให้ยอดผ่อนต่อเดือนที่สามารถเป็นได้มากที่สุดลดลงอยู่ที่ 10,000 บาทต่อเดือน

ราคาบ้านที่เหมาะสมกับนาย ก.

เมื่อรู้ความสามารถในการสร้างภาระการผ่อนหนี้ใหม่ ทีนี้มาดูกันว่า นาย ก สามารถซื้อบ้านราคาสูงสุดได้ในราคาเท่าไร

สูตร: ภาระการผ่อนหนี้ใหม่ ÷ ค่างวดผ่อนบ้าน (จะแนะนำอยู่ที่ล้านละ 7,000 บาท)

ดังนั้น กรณีที่มีการผ่อนรถยนต์อยู่ ราคาบ้านจะเท่ากับ 10,000 ÷ 7,000 = 1.42 หมายความว่า ราคาบ้านสูงสุดที่นาย ก. สามารถซื้อได้คือ 1.42 ล้านบาทนั่นเอง (เป็นการคำนวณคร่าว ๆ)

5. อัตราดอกเบี้ยที่ต้องรู้

ปกติอัตราดอกเบี้ยของสินเชื่อกู้ซื้อบ้าน จะมีอยู่ 4 ประเภท แต่ที่เรามักจะเจออยู่บ่อย ๆ คือ

อัตราดอกเบี้ยลอยตัว (Floating Rate Loan)

MLR (Minimum Loan Rate) อัตราดอกเบี้ยลอยตัวขั้นต่ำที่เรียกเก็บจากลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี มีประวัติการชำระเงินดี โดยส่วนใหญ่มักใช้กับสินเชื่อธุรกิจ เพราะเป็นเงินกู้ระยะยาว และกำหนดระยะเวลาชัดเจน 

MRR (Minimum Retail Rate) อัตราดอกเบี้ยลอยตัวขั้นต่ำสำหรับสินเชื่อส่วนบุคคล สินเชื่อที่อยู่อาศัย ที่ธนาคารจะเรียกเก็บจากลูกค้ารายย่อยทั่วไปที่มีประวัติการชำระเงินดี

MOR (Minimum Overdraft Rate) เรียกอีกชื่อว่าการเบิกเงินเกิน OD ใช้เรียกเก็บสำหรับกลุ่มลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี มีประวัติการเงินดี ประเภทมีวงเงินเบิกเกินบัญชี มักใช้กับสินเชื่อธุรกิจเช่นกัน โดยธนาคารจะพิจารณาให้สินเชื่ออย่างเข้มงวด

อัตราดอกเบี้ยคงที่ (Fixed Rate Loan)

ดอกเบี้ยคงที่ตลอดระยะเวลากู้ อัตราดอกเบี้ยที่คงที่ตลอดระยะเวลาอายุของสัญญากู้ยืมเงิน โดยจะไม่ปรับตัวขึ้นหรือลดลง ทำให้ผู้กู้สามารถชำระเงินแต่ละงวดเท่ากันได้ทุกเดือน และระบุระยะเวลาที่ต้องผ่อนชำระได้ชัดเจน

ดอกเบี้ยคงที่ในช่วงแรกเท่านั้น อัตราดอกเบี้ยจะถูกตรึงเอาไว้ให้คงที่ในช่วงแรกของการผ่อนบ้าน และหลังจากนั้นดอกเบี้ยจะถูกปรับเป็นลอยตัวตามสถานการณ์เศรษฐกิจ และการเงิน

ดอกเบี้ยคงที่แบบขั้นบันได อัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารกำหนดให้คงที่เป็นช่วง ๆ และปรับขึ้นทีละขั้น เช่น ดอกเบี้ยปีแรก 2.50% ปีที่สอง 3.75% ปีที่สาม 5.20% แล้วหลังจากนั้นดอกเบี้ยจะถูกปรับเป็นลอยตัว

โดยอีกสองประเภทคือ อัตราดอกเบี้ยปรับคงที่ใหม่ทุกรอบเวลา (Rollover Mortgage) เช่น มีการกำหนดอัตราดอกเบี้ยใหม่ทุก 5 ปี และอีกประเภทหนึ่งคือ อัตราดอกเบี้ยแบบผสม (Rollover Mortgage Loan) ที่เป็นการผสมผสานระหว่างอัตราดอกเบี้ยทั้งสามแบบก่อนหน้า

6. เอกสารกู้ซื้อบ้าน ต้องเตรียมอะไรบ้าง?

ในการกู้ซื้อบ้าน จะมีเอกสารอยู่ 3 ประเภทที่เราต้องเตรียมให้พร้อม คือเอกสารด้านข้อมูลส่วนบุคคล เอกสารแสดงรายได้ และเอกสารด้านหลักประกัน ซึ่งทุกคนสามารถเข้าไปดูรายละเอียดเอกสารที่ต้องใช้ในการขอกู้ซื้อบ้านได้จากบทความของ Krungsri The COACH ที่นี่เลย: 7 ข้อหลักกู้ซื้อบ้านยังไงให้ผ่านฉลุย ฉบับมนุษย์เงินเดือน

แล้วมีสินเชื่อกู้ซื้อบ้านแนะนำไหม?

เมื่อพูดถึงการกู้ซื้อบ้านในยุคนี้ สิ่งที่หลายคนมักจะเป็นกังวลกันคือเรื่องของดอกเบี้ยที่อาจจะบานปลายได้ และสินเชื่อกู้ซื้อบ้านบางเจ้าจะกำหนดวงเงินกู้เพียง 80-90% ของราคาบ้านเท่านั้น โดยส่วนที่เหลือราว 10% ซึ่งเราต้องจ่ายเองก็เรียกได้ว่าเป็นเงินก้อนใหญ่ไม่น้อย 

ทางกรุงศรีเข้าใจถึงปัญหาของผู้ที่อยากกู้ซื้อบ้านเป็นของตัวเองจึงได้ออก ‘สินเชื่อบ้านกรุงศรีเพื่อซื้อที่อยู่อาศัย’ เพื่อลบทุกข้อกังวลเรื่องสินเชื่อกู้บ้านให้หมดไป โดยชู 3 จุดเด่น ดังนี้

1. อัตราดอกเบี้ยต่ำ: 

สำหรับ ‘สินเชื่อบ้านกรุงศรีเพื่อซื้อที่อยู่อาศัย’ มีอัตราดอกเบี้ยต่ำอยู่ที่ 2.90% ตลอดปีแรก และปรับเป็น 7.400% (MRR) ในปีถัดไป ซึ่งจะช่วยลดภาระในช่วงแรกที่ยังเต็มไปด้วยค่าใช้จ่ายมากมาย

2. ครอบคลุมราคาบ้าน ไม่ต้องแบกรับเอง: 

เพราะ ‘สินเชื่อบ้านกรุงศรีเพื่อซื้อที่อยู่อาศัย’ มีวงเงินกู้ซื้อบ้านสูงสุดที่ 110% ให้ทุกคนได้มีบ้านใหม่* กันแบบอุ่นใจ หมดกังวลทุกค่าใช้จ่าย พร้อมมีวงเงินกู้สูงสุดที่ 90% สำหรับบ้านมือสอง ทั้งยังมีระยะผ่อนชำระได้นานสูงสุดถึง 30 ปี**

____________________________________

*รับสิทธิประโยชน์เพิ่มเติม เมื่อซื้อบ้านในโครงการที่ธนาคารสนับสนุน (Platinum Developers)​​ โดยมีวงเงินกู้สูงสุด 100% ของราคาซื้อขาย/ราคาประเมิน และมีวงเงินเพิ่มให้สูงสุดอีก 10% เพื่อซื้อเฟอร์นิเจอร์ตกแต่งบ้าน หรือสิ่งจำเป็นอื่น ๆ ในการเข้าอยู่อาศัย โดยเกณฑ์การพิจารณาให้วงเงินเพิ่ม 10% เป็นไปตามเงื่อนไขที่ธนาคารกำหนด

**ระยะเวลาการผ่อนชำระเมื่อรวมกับอายุผู้กู้แล้วต้องไม่เกิน 65 ปี

3. ให้ความดูแล และคำปรึกษาตั้งแต่ต้นจนจบ: 

กรุงศรี พร้อมเป็นคู่คิดในการวางแผนขอสินเชื่อกู้ซื้อบ้าน ด้วยทีมงานมืออาชีพที่พร้อมให้บริการลูกค้าทุกคนด้วยใจ ยินดีให้คำแนะนำ และตอบคำถามทุกข้อสงสัยเกี่ยวกับการกู้สินเชื่อซื้อบ้าน การจำนองบ้านกับธนาคาร หรือขอลดดอกเบี้ยบ้าน สามารถเพื่อสอบถามได้โทร 1572 ในทุกวันทำการ

เพราะการกู้ซื้อบ้านนั้นไม่ใช่เรื่องยาก แค่ต้องศึกษารายละเอียด และเงื่อนไขให้เข้าใจ ไปจนถึงเอกสารกู้ซื้อบ้านต่าง ๆ ที่ต้องใช้ยื่น เพื่อเตรียมตัววางแผนด้วย 6 ข้อสู่การเป็นเจ้าของบ้านในฝันที่เอามาฝากทุกคนกันในวันนี้ พร้อมตัวช่วยอย่าง ‘สินเชื่อบ้านกรุงศรีเพื่อซื้อที่อยู่อาศัย’ จากกรุงศรี ที่จะมาสยบทุกความกังวลในการกู้ซื้อบ้านกัน

และสำหรับใครที่อยากศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับการ “กู้ซื้อบ้าน” ทาง Krungsri The COACH ยังมีบทความดี ๆ อัดแน่นด้วยความรู้หลายตัวที่พูดถึงเรื่องการกู้ซื้อบ้านโดยเฉพาะ ตามนี้เลย

7 ข้อหลักกู้ซื้อบ้านยังไงให้ผ่านฉลุย ฉบับมนุษย์เงินเดือน

"กู้สินเชื่อ" ทั้งที เช็กความพร้อมก่อนซื้อบ้านเตรียมตัวอย่างไรดี?

home-loans-the-coach-and-plearn-plearn-krungsri1

บทความนี้เป็น Advertorial