สวัสดีครับนักลงทุนทุกท่าน ในช่วงปลายปีแบบนี้เวลาเข้ามาอ่านบทความของคลินิกกองทุนคงหนีไม่พ้นเรื่องของ “กองทุนลดหย่อนภาษี” อย่างแน่นอน แต่ก่อนอื่นเรามาดูกันก่อนครับว่า นอกจากกองทุนลดหย่อนภาษีที่น่าสนใจแล้ว ปีนี้เราสามารถที่จะลดหย่อนภาษีได้ทางไหนบ้างครับ

ถ้าหากเราจะต้องวางแผนภาษีแล้ว ผมคิดว่าส่วนแรกที่เราควรทราบคือ สิทธิค่าลดหย่อนที่เกี่ยวกับครอบครัวของเราโดยตรง เช่น ค่าลดหย่อนส่วนตัว (60,000 บาท) ค่าลดหย่อบุตร(30,000) และ คู่สมรส (60,000) รวมไปถึง ค่าลดหย่อนบิดา มารดา (คนละ 30,000 บาท) ซึ่งแน่นอนว่า แต่ละครอบครัว ก็จะมีความแตกต่างกันไป บางครอบครัวที่มีลูกเยอะหน่อย ก็อาจจะลดหย่อนในส่วนนี้ได้ค่อนข้างมาก

ส่วนในปีนี้มีอะไรที่น่าสนใจมากขึ้น เนื่องจากภาครัฐ ฯ ต้องการกระตุ้นการจับจ่ายใช้สอย เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจให้มีความคึกคักมากขึ้น โดยออกโครงการ “ช้อปดีมีคืน” ที่เราสามารถซื้อสินค้า และ บริการต่าง ๆ ได้หลากหลาย โดยนำค่าสินค้า และบริการเหล่านั้นมาเป็นค่าลดหย่อนภาษีได้ถึง 30,000 บาทเลยทีเดียวครับ

โดยสินค้า และบริการที่สามารถนำมาลดหย่อนได้ก็ค่อนข้างหลากหลายครับ แต่จะมีบางส่วนที่ยกเว้นไม่สามารถนำมาลดหย่อนได้เช่น สุรา เบียร์ ไวน์ ยาสูบต่าง ๆ ทองคำแท่ง ทองรูปพรรณ อาหารสด ค่าบริการของสถานพยาบาล ซึ่งสินค้า และ บริการเหล่านี้ไม่มีภาษีมูลค่าเพิ่มนั่นเองครับ หรือจะให้พูดง่าย ๆ ก็คือ ซื้ออะไรก็ได้ขอให้มีภาษีมูลค่าเพิ่ม ไม่อยู่ในกลุ่มยกเว้น และขอใบกำกับภาษีมาเพื่อเป็นหลักฐาน ก็สามารถนำมาลดหย่อนได้แล้วนั่นเองครับ

นอกจากนี้ก็ยังมีค่าลดหย่อนอีกจิปาถะ เช่น ดอกเบี้ยบ้าน (100,000 บาท) การบริจาคให้กับโรงเรียน และ การศึกษา รวมถึง ประกันชีวิต และ ประกันสุขภาพ อีกด้วยครับ

จะสังเกตได้อย่างหนึ่งว่า การลดหย่อนภาษีส่วนใหญ่จะเป็นการจ่ายเงินออกไป เพื่อรับบริการ และ สินค้าที่ต้องการ ซึ่งจะเป็น “รายจ่าย” ของเรา เสียเป็นส่วนใหญ่ครับ

แต่ในส่วนของประกันบำนาญ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กบข และ กองทุนที่นำไปลดหย่อนภาษีได้อย่าง SSF และ RMF นั้นจะแตกต่างออกไปคือ ทุกครั้งที่เราจ่ายเงินไปเพื่อซื้อกองทุนนั้น สุดท้ายเราจะได้เงินก้อนนั้นกลับมา และ แถมมาด้วยซึ่งผลตอบแทนเพิ่มเติม อีกด้วยนั่นเองครับ แถมกลุ่มนี้ทั้งกลุ่มสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ถึง 500,000 บาทเลยทีเดียวครับ

ดังนั้นถ้าหากพูดการลดหย่อนภาษีที่คุ้มค่านั้น ผมมักจะนึกถึงการลดหย่อนด้วยกองทุน SSF และ RMF เป็นอันดับต้น ๆ เลยครับ ซึ่งในครั้งนี้ผมจะขอพูดถึงความดีงามของกองทุน RMF ก่อน แล้วในครั้งถัด ๆ ไปผมจะมาเล่าถึงกองทุน SSF กันอีกครั้งนะครับ

เสน่ห์ของกองทุน RMF ที่นอกเหนือจากการลดหย่อนภาษีได้ในสัดส่วนที่สูงมาก (ซื้อได้ 30% ของรายได้ และไม่เกิน 500,000 บาท) ก็คือ เป็นกองทุนที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อการเกษียณโดยเฉพาะ ซึ่งจะมีลักษณะเป็นกองทุนที่ต้องถือยาว แต่เมื่อครบกำหนด ครบเงื่อนไขคือ ถือครองมากกว่า 5 ปี และ ต้องซื้อต่อเนื่องไปจนถึงอายุ 55 ปี ก็จะสามารถขายกองทุนออกมาได้พร้อม ๆ กันทั้งหมดทุกก้อนที่เราซื้อไปก่อนหน้านี้ครับ ซึ่งถ้าหากเราทำตามเงื่อนไขของกองทุนอย่างสม่ำเสมอ ก็จะทำให้เรามีเงินเกษียณได้อย่างแน่นอนครับ

นั่นก็หมายความว่า ถ้าใครที่ต้องการลงทุนเพื่อการเกษียณแล้วละก็ กองทุนนี้เหมาะมากครับ และที่สำคัญ มีกองทุนมากมายหลายแบบให้เราเลือกลงทุนได้ ตั้งแต่กองทุนเสี่ยงต่ำมากกกกก จนไปถึงกองทุนที่มีความเสี่ยงสูงมากกกกกครับ

แต่เราจะเหมาะกับกองทุนแบบไหนกันละ ?

เมื่อ RMF มีตัวเลือกมากมายขนาดนี้ ใครอยากทราบแล้ว ตามมาเลยครับ ผมมีคำตอบให้

ซึ่งถ้าใครที่อยากลงทุนเพื่อให้มีเงินเก็บเกษียณแบบชัวร์ ๆ ปลอดภัยและ ไม่รั่วไหลไปไหน เน้นลดหย่อนภาษีเป็นหลัก ถึงแม้ว่าอาจจะได้ผลตอบแทนน้อยหน่อยก็ไม่เป็นไร ผมขอแนะนำว่าให้ลองมองหากองทุน RMF ที่เป็นกองทุนประเภท กองทุนตลาดเงิน หรือ Money Market Fund ที่ส่วนใหญ่จะลงทุนใน เงินฝากดอกเบี้ยสูง และ ตั๋วเงินคลังที่ค่อนข้างจะมีอายุของตราสารสั้น ๆ (เหมือนมีคนมาขอกู้เงินระยะสั้น ๆ เดี๋ยวเดียวก็ได้เงินคืนแล้วนั่นเองครับ) 

ยกตัวอย่างเช่น กองทุนเปิดบัวหลวงมันนี่มาร์เก็ตเพื่อการเลี้ยงชีพ (MM-RMF) ที่มีนโยบายการลงทุนที่ปลอดภัยมาก เพราะว่าเน้นลงทุนในพันธบัตรภาครัฐ ฯ และตราสารหนี้ที่มี Rating A ขึ้นไป แต่เฉลี่ยแล้วตราสารหนี้ส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่ม AAA เลยทีเดียวครับ

แต่ถึงแม้ว่าจะมีความผันผวนต่ำมาก และ มีความปลอดภัยสูง แต่ผลตอบแทนของกองทุนก็ไม่ได้น้อยขนาดเงินฝากออมทรัพย์ทั่วไปนะครับ แต่มีโอกาสได้ผลตอบแทนที่ใกล้เคียงกับเงินฝากประจำเลยทีเดียวครับ และอย่าลืมนะครับว่าเรายังสามารถเอาเงินก้อนนี้ไปลดหย่อนภาษีได้อีกครับ

นอกจากนี้อาจจะมีบางท่านที่ชอบลงทุนในกองทุน RMF ที่มีความเสี่ยงสูง แต่ในช่วงที่ตลาดผันผวนอยากหาที่พักเงินก้อนนี้ไว้ก่อน โดยที่ไม่ต้องขายออกมา และทำผิดกฏของ RMF ที่ต้องถือไปจนถึงอายุ 55 ปี ตามที่ผมได้บอกไว้ข้างต้นแล้วละก็ เราสามารถที่จะสับเปลี่ยนกองทุน RMF เสี่ยงสูงมาที่กองทุน MM-RMF กองทุนนี้ก็ได้นะครับ และเมื่อตลาดเป็นใจอีกครั้ง เราก็สามารถที่จะสับเปลี่ยนกลับไปกองทุน RMF ที่มีความเสี่ยงสูงขึ้นได้อีกครับ

ดังนั้นหากใครที่ใกล้ ๆ จะเกษียณแล้วต้องการลงทุนแล้วเน้นความมั่นคง หรือ เป็นที่พักเงิน รวมถึงเน้นประโยชน์ทางภาษีเป็นหลักแล้วละก็ ผมคิดว่ากองทุนเปิดบัวหลวงมันนี่มาร์เก็ตเพื่อการเลี้ยงชีพ (MM-RMF) นี้น่าจะเหมาะมากครับ

แต่ถ้าใครที่อยากได้ผลตอบแทนที่ดีกว่านี้ อาจจะลงทุนในกองทุนที่เสี่ยงสูงขึ้นอีกนิด เช่น RMF ที่เป็นกองทุนผสมก็สามารถทำได้ครับ

เนื่องจากกองทุนผสม นั้นจะมีผู้จัดการกองทุนที่คอยดูแล และ ผสมสัดส่วนหุ้น กับตราสารหนี้ หรือ ตราสารอื่น ๆ ให้กับเรา เรียกได้ว่า ซื้อกองทุนเดียว ได้ครบทุกสินทรัพย์ พร้อมกับมืออาชีพคอยบริหารจัดการให้ครับ

ดังนั้นหากใครที่ต้องการลงทุนระยะยาว และ ไม่ต้องการบริหารการลงทุนเอง หรือซื้อกองทุน RMF หลาย ๆ กองทุนมาผสมกันให้ปวดหัวแล้วละก็ กองทุนผสมน่าจะเป็นตัวเลือกที่ดีมากครับ

ยกตัวอย่างเช่นกองทุน กองทุนเปิดบัวหลวงเฟล็กซิเบิ้ลเพื่อการเลี้ยงชีพ (BFLRMF) ที่เน้นการลงทุนแบบผสมผสาน มีผู้จัดการกองทุนฝีมือดีคอยดูแลการลงทุนใหักับเราครับ โดยที่จะเน้นลงทุนในหุ้น และ ตราสารหนี้ และสามารถปรับพอร์ตการลงทุนได้อย่างอิสระคือ ถ้าในภาวะที่เกิดวิกฤตขึ้นกองทุนก็สามารถปรับพอร์ตหุ้นลดลงได้ถึง 0% หรือ เน้นลงทุนตราสารหนี้ล้วน ๆ ได้เลย

แต่ในทางกลับกัน หากช่วงไหนที่ตลาดหุ้นมีแนวโน้มที่ดีมาก ๆ กองทุนก็อาจจะเน้นลงทุนในหุ้นมากขึ้นได้ถึง 100% ของสินทรัพย์ในกองทุนได้เลยครับ

เอาเป็นว่าเราไม่ต้องไปจับจังหวะเอง ลงทุนเองให้เหนื่อย ทางกองทุนจะคอยดูแลเรื่องการลงทุนให้เราไปตลอดครับ

โดยพอร์ตปัจจุบันนั้น (18 สิงหาคม 2563) นั้นจะเน้นการถือครองหุ้นอยู่ที่ประมาณ 73% ครับ ที่เหลือจะเป็นสินทรัพย์เสี่ยงต่ำ ซึ่งดูแล้วผู้จัดการกองทุนน่าจะมองว่าตลาดหุ้นไทยน่าจะฟื้นตัวได้ และ เติบโตได้ในระยะยาว ซึ่งแน่นอนว่าหลังวิกฤต COVID-19 นี้ หากกลุ่มท่องเที่ยวของบ้านเรากลับมาได้ ก็น่าจะได้ผลตอบแทนที่ดีจากการลงทุนในหุ้นครับ

ดังนั้นหากใครที่ไม่มีเวลาในการดูพอร์ตการลงทุนของตัวเอง ไม่อยากลงทุนใน RMF หลาย ๆ กองทุนกลัวบริหารจัดการไม่ได้ อีกทั้งมีระยะเวลาการลงทุนที่ค่อนข้างนาน และอยากลุ้นผลตอบแทนที่ดี พร้อมกับความเสี่ยงไม่สูงจนเกินไปเพราะว่ามีผู้จัดการกองทุนคอยดูแลการลงทุนให้ รวมถึงได้ลดหย่อนภาษีไปด้วยระหว่างทาง ผมคิดว่า กองทุน กองทุนเปิดบัวหลวงเฟล็กซิเบิ้ลเพื่อการเลี้ยงชีพ (BFLRMF) ตอบโจทย์มาก ๆ ครับ ที่สำคัญหากใครมีบัตรเครดิตของธนาคารกรุงเทพอยู่แล้ว ก็สามารถซื้อกองทุนผ่านบัตรเครดิตของธนาคารกรุงเทพได้อย่างสะดวกสบายมากยิ่งขึ้นครับ และเข้าสู่ช่วงปลายปีแบบนี้ ผมมีโปรโมชั่น ลงทุน RMF SSF รับสิทธิ์ 3 ต่อ มาบอกด้วยนะครับ

• ต่อที่ 1 เมื่อซื้อ SSF หรือ RMF ผ่านบัตรเครดิตธนาคารกรุงเทพ และแลกใช้คะแนนสะสม Thank You Reward ทุก 1,000 คะแนน รับเครดิตเงินคืน 100 บาท

• ต่อที่ 2 สำหรับลูกค้าที่เปิดบัญชีใหม่กองทุน SSF หรือ RMF  และแลกใช้คะแนนสะสม Thank You Reward เพื่อซื้อหน่วยลงทุนของกองทุนบัวหลวงที่เปิดบัญชีใหม่ มีสิทธิ์รับ Starbuck e-Coupon มูลค่า 100 บาท (จำกัดมูลค่าสูงสุด 100 บาท/ท่าน และจำกัด 1,000 สิทธิ์ต่อเดือน)

• ต่อที่ 3 สำหรับลูกค้าที่ลงทุน SSF หรือ RMF ครบ 5 ครั้งขึ้นไป และมียอดเงินลงทุนรวมกัน 150,000 บาทขึ้นไป ระหว่างวันที่ 2 ม.ค. 63 - 30 ธ.ค. 63 รับ Starbuck e-Coupon มูลค่า 300 บาท/ท่าน

สุดท้ายนี้ครับ ผมคิดว่าหากเราต้องการจะลงทุนผ่าน RMF เพื่อเก็บเงินเกษียณของตนเอง และได้สิทธิลดหย่อนภาษีไปด้วยอีกทาง การเลือกกองทุนให้เหมาะกับแนวคิดการลงทุน อายุ รวมไปถึง ผลตอบแทนคาดหวังของเรา เป็นสิ่งที่ไม่ได้ยากเลยหากเรามีเป้าหมายการลงทุนที่ชัดเจนว่าจะลงทุนไปเพื่ออะไร 

ทั้งนี้ก็เพราะว่ากองทุน RMF มีประเภทให้เราเลือกได้หลากหลายมาก ๆ ครบทุกแบบที่ต้องการ ซึ่งถ้าหากนักลงทุนอยากทราบรายละเอียดกองทุนไหนไม่ว่าจะเป็นกองทุน กองทุนเปิดบัวหลวงมันนี่มาร์เก็ตเพื่อการเลี้ยงชีพ (MM-RMF) หรือ กองทุนเปิดบัวหลวงเฟล็กซิเบิ้ลเพื่อการเลี้ยงชีพ (BFLRMF) หรือว่าจะเป็นกองทุนอื่น ๆ กองทุนแบบไหน ๆ ทางกองทุนบัวหลวงเค้า ก็มีบริการให้ครับ สามารถดูรายละเอียดข้อมูลกองทุนเพิ่มเติมได้ที่ www.bblam.co.th

ผมคิดว่านักลงทุนน่าจะได้กองทุนที่น่าสนใจ และ พร้อมกับได้ลดหย่อนภาษีตามที่ต้องการกันแล้วนะครับ วันนี้ผมคงต้องลาไปก่อน แล้วพบกันครั้งหน้า กับกองทุนที่น่าสนใจใหม่ ๆ ที่ผมจะมาเล่าให้ฟังกันอีกครับสวัสดีครับ 

คำเตือน

• การลงทุนมิใช่การฝากเงินและมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจไม่ได้รับเงินลงทุนคืนเต็มจำนวนเมื่อไถ่ถอน (ไม่คุ้มครองเงินต้น)

• ผู้ลงทุนต้องศึกษาและทำความเข้าใจลักษณะสินค้า ข้อมูลสำคัญ นโยบายการลงทุน เงื่อนไขผลตอบแทน ความเสี่ยง ผลการดำเนินงาน และสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ระบุในคู่มือการลงทุนในกองทุนรวม RMF ก่อนตัดสินใจลงทุน

• กองทุนที่มีการลงทุนในต่างประเทศมิได้มีนโยบายป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนทั้งหมด หรือเกือบทั้งหมด ทั้งนี้อยู่ในดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน ดังนั้น ผู้ลงทุนอาจขาดทุนหรือได้กำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนจากการลงทุนในกองทุนดังกล่าว หรืออาจได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้

บทความนี้เป็น Advertorial