เซมิคอนดักเตอร์ (Semiconductor) เป็นหัวใจสำคัญของเทคโนโลยีสมัยใหม่ เช่น ชิป (Chip) และเป็นตัวช่วยสำคัญในการผลักดันการเติบโตของเศรษฐกิจในหลายประเทศได้เป็นอย่างดี ทำให้รัฐบาลทั่วโลกได้ตระหนักถึงความสำคัญเชิงกลยุทธ์ของอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์เป็นอย่างมากในช่วงหลายปีที่ผ่านมา เพื่อจัดการปัญหาด้านห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) ของเซมิคอนดักเตอร์ที่ค่อนข้างจำกัด

โดยในตอนนี้รัฐบาลหลายประเทศได้ออกกฎหมายและนโยบายที่มุ่งเสริมศักยภาพการผลิตภายในประเทศ เช่น United State CHIPS ACT กฎหมายที่ส่งเสริมอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ของสหรัฐอเมริกาใน 3 ด้าน

1. สนับสนุนการวิจัยและพัฒนา เพื่อมุ่งให้สหรัฐอเมริกา เป็นผู้นำในการออกแบบและผลิตชิปเซมิคอนดักเตอร์ที่ทันสมัย โดยให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีแก่บริษัทที่มีค่าใช้จ่ายด้าน R&D

2. สนับสนุนเงินทุนสำหรับจัดตั้งโรงงานที่พัฒนาและผลิตเซมิคอนดักเตอร์ในสหรัฐอเมริกา ให้กับบริษัทต่างๆ เช่น TSMC ได้ใช้ประโยชน์จากเงินทุนดังกล่าวแล้ว

3. มุ่งพัฒนาบุคลากรในสหรัฐอเมริกา โดยสนับสนุนเงินทุนสำหรับการฝึกอบรมและพัฒนาทักษะแรงงานให้รองรับเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไป และยังได้รับอานิสงส์จากการสร้างงานใหม่ในอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ให้กับชาวอเมริกัน

เซมิคอนดักเตอร์นับเป็นส่วนประกอบสำคัญในการผลิตและเชื่อมโยงหลายอุตสาหกรรม เช่น รถยนต์ไฟฟ้า ระบบหุ่นยนต์อัตโนมัติ โครงข่ายสื่อสาร และอุปกรณ์เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต (Internet of Things) เป็นต้น ทำให้ความต้องการเซมิคอนดักเตอร์มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ภาพรวมการขยายตัวของตลาดเซมิคอนดักเตอร์มีโอกาสเติบโตสูง คาดมูลค่าตลาดมีโอกาสเติบโตอีกกว่า 100% ในช่วงปี 2020 - 2030 จาก 467 พันล้านดอลลาร์ เป็น 940 พันล้านดอลลาร์ ซึ่งมีอัตราการขยายตัวสูงกว่าอัตราการเติบโตของ GDP โลก

ทั้งนี้ ธุรกิจเซมิคอนดักเตอร์มีจุดเด่นหลักที่มาจากการมีจุดแข็งทางธุรกิจ และ Barrier to Entry จากนวัตกรรมเฉพาะ ถือเป็นข้อได้เปรียบทางการแข่งขัน ทำให้บริษัทสามารถครองตลาดและเติบโตได้ในระยะยาว เช่น บริษัท ASML บริษัทชั้นนำที่ผลิตเครื่อง Extreme Ultraviolet Lithography (EUV) ซึ่งใช้ในการผลิตชิป 5 นาโนเมตร และ 3 นาโนเมตร เป็นชิปที่มีขนาดเล็กและคุณภาพสูง และบริษัท TSMC จากกำลังการผลิตที่มี Economy of scale ช่วยให้ผลิตภัณฑ์ของบริษัทออกสู่ตลาดได้อย่างรวดเร็วและมีราคาถูก และช่วยลดต้นทุนการผลิตให้กับบริษัทคู่ค้าได้

ตั้งแต่ช่วงครึ่งหลังของศตวรรษที่ 20 อุตสาหกรรมชิปมีการเติบโตอย่างต่อเนื่องและกลายเป็น 1 ในอุตสาหกรรมที่สำคัญมากที่สุดในโลก โดยชิปเป็นส่วนประกอบสำคัญในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เกือบทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านหรือดาวเทียม ซึ่งชิปทำหน้าที่เสมือนกับสมองของคนที่ทำการประมวลผล เก็บข้อมูล และส่งผ่านข้อมูล โดยความต้องการใช้ชิปยังคงเพิ่มขึ้นตามเทคโนโลยีและนวัตกรรมของสินค้าที่มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

ชิป คือ อุตสาหกรรมที่ทุกประเทศให้ความสนใจมากขึ้น เพราะมีความสำคัญต่อเศรษฐกิจและความมั่นคงของประเทศ เช่น การส่งออกสินค้าที่มีมูลค่าเพิ่มสูงได้มากขึ้น เทคโนโลยีทางการทหาร โดยในช่วงการระบาด COVID-19 ชิปในบางอุตสาหกรรมไม่เพียงพอกับความต้องการสินค้าที่เพิ่มขึ้นมาก ส่งผลให้ห่วงโซ่อุปทานการผลิตโลกหยุดชะงักเป็นระยะ โดยเฉพาะการผลิตรถยนต์และสินค้าอิเล็กทรอนิกส์

สาเหตุหลักของการขาดแคลนชิปเกิดจากขั้นตอนการผลิตชิปมีความซับซ้อนสูง กระจุกตัวอยู่ในผู้ผลิตไม่กี่ราย มีส่วนแบ่งการตลาดในขั้นตอนการผลิตรวมกันถึง 77% ในไตรมาส 3 ปี 2565 ได้แก่ เกาหลีใต้ (14%) และไต้หวัน (63%) อีกทั้ง สายพานการผลิตชิปสะดุดอยู่บ่อยครั้งจากการปิดโรงงาน เพื่อควบคุมการแพร่ระบาด ส่งผลให้ระยะเวลาในการรอสินค้า (Lead Time) จากผู้ผลิตนานกว่าปกติ และทำให้ปัญหาการขาดแคลนชิปทวีความรุนแรงขึ้น

ด้วยเหตุนี้หลายประเทศจึงตระหนักถึงความสำคัญของอุตสาหกรรมการผลิตชิปที่เป็นหัวใจสำคัญของเทคโนโลยี และหันมาส่งเสริมการวิจัยและลงทุนเพื่อความมั่นคงของชาติ ตลอดจนพัฒนานวัตกรรมและเพิ่มขีดความสามารถของการผลิตชิป เช่น สหรัฐอเมริกา ที่ผ่านกฎหมาย CHIPS and Science Act และสหภาพยุโรป ที่ประกาศร่างกฎหมาย European Chips Act สำหรับวิจัย ออกแบบ และผลิตชิปภายในประเทศ โดยมุ่งสร้างความมั่นคงในสายพานการผลิต ลดการพึ่งพาบริษัทต่างชาติ และรักษาความเป็นผู้นำทางเทคโนโลยี ซึ่งนอกจากนี้ภาคเอกชนก็กำลังลงทุนเพิ่มมากขึ้นเพื่อรองรับกับอุปสงค์ในอนาคตที่จะเพิ่มขึ้น โดยบริษัทที่ปรึกษา McKinsey คาดว่าอุตสาหกรรมชิปจะเติบโตถึง 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2030

สำหรับอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์โลกในปี 2023 ยังคงเผชิญกับภาวะความไม่สมดุลระหว่างอุปสงค์และอุปทาน ทั้งจากความต้องการที่เพิ่มสูงจากการเติบโตของเศรษฐกิจดิจิทัล และอุปทานที่จำกัดจากปัญหาด้านการผลิตและซัพพลายเชน

จากข้อมูลของสมาคมอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ (SIA) ประเมินว่ายอดขายเซมิคอนดักเตอร์ทั่วโลกในปี 2023 มีมูลค่า 588 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลง 17.3% จากปีก่อนหน้า อย่างไรก็ตาม ยอดขายในไตรมาสที่ 2 ของปี 2023 เพิ่มขึ้น 4.7% จากไตรมาสก่อนหน้า บ่งชี้ว่าอุปสงค์เริ่มฟื้นตัว

สาเหตุหลักของภาวะความไม่สมดุลระหว่างอุปสงค์และอุปทาน มาจากความต้องการเซมิคอนดักเตอร์ที่เพิ่มสูงขึ้นจากการเติบโตของเศรษฐกิจดิจิทัล ความต้องการเซมิคอนดักเตอร์เพิ่มขึ้นจากการใช้ในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ เช่น คอมพิวเตอร์ สมาร์ทโฟน รถยนต์ และอุปกรณ์เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต

นอกจากนี้ อุปทานยังถูกจำกัดจากปัญหาด้านการผลิตและซัพพลายเชน การแพร่ระบาดของ COVID, ความขัดแย้งด้านภูมิรัฐศาสตร์ และปัญหาด้านโลจิสติกส์ ส่งผลกระทบต่อการผลิตและการส่งมอบเซมิคอนดักเตอร์ทั่วโลก

สำหรับแนวโน้มอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์โลกในปี 2024 คาดว่าจะยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง จากการขยายตัวของเศรษฐกิจดิจิทัลและการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ เช่น ปัญญาประดิษฐ์ (AI) และเทคโนโลยีควอนตัม

สรุปปัจจัยที่สนับสนุนการเติบโตของอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์โลก

- การขยายตัวของเศรษฐกิจดิจิทัล ความต้องการเซมิคอนดักเตอร์เพิ่มขึ้นจากการใช้ในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ เช่น คอมพิวเตอร์ สมาร์ทโฟน รถยนต์ และอุปกรณ์เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต

- การพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ เช่น ปัญญาประดิษฐ์ (AI) และเทคโนโลยีควอนตัม ความต้องการเซมิคอนดักเตอร์เพิ่มขึ้นจากการใช้ในอุปกรณ์และระบบต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีเหล่านี้

กองทุนรวมแอล เอช เซมิคินดักเตอร์ ชนิดสะสมมูลค่า (LHSEMICON-A) (บลจ.แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์)

LHSEMICON-A มีนโยบายลงทุนในบริษัทที่ดำเนินธุรกิจเซมิคอนดักเตอร์ ผ่านกองทุนหลัก คือ iShares Semiconductor ETF โดยปัจจุบันเน้นลงทุนหุ้นคุณภาพดี เช่น กลุ่มผู้ผลิตที่ไม่โรงงานเป็นของตัวเอง, กลุ่มผู้ผลิตเครื่องจักรต้นน้ำ, กลุ่มที่เชี่ยวชาญการผลิตชิปที่เกี่ยวข้องกับรูปแบบการลงทุนในอุตสาหกรรมใหม่ (New S-Curve) หรือกลุ่มที่มีเทคโนโลยีล้ำหน้ากว่าคู่แข่งเป็นผู้นำตลาด หรือกลุ่มอื่นๆ ที่มีผลประกอบการและแนวโน้มการเติบโตโดดเด่น โดยหุ้นที่ลงทุนสูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ NVIDIA, BPOADCOM, ADVANCED MICRO DEVICES, INTEL, TEXAS INSTRUMENT

สำหรับผลการดำเนินงาน LHSEMICON-A 1 มกราคม – 2 พฤศจิกายน 2566 ให้ผลตอบแทนรวม 26.21% ขณะที่ผลตอบแทนรวมเฉลี่ย (ต่อปี) 1 ปี ทำได้ 34.91%

เหมาะกับใคร

1.นักลงทุนที่ต้องการกระจายการลงทุนไปในต่างประเทศเพื่อรับรายได้จากส่วนต่างจากการลงทุน

2.นักลงทุนที่ต้องการสะสมผลตอบแทนจากการลงทุนในระยะยาว (ไม่มีการจ่ายเงินปันผล)

3.นักลงทุนที่รับความเสี่ยงได้ค่อนข้างสูง เพราะอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์จะมีความผันผวนตามเศรษฐกิจ การแข่งขันทางเทคโนโลยี และเมื่อความต้องการลดลงก็จะได้รับผลกระทบด้านยอดขายตามไปด้วย

ทำไมต้องลงทุน

1.อุตสาหกรรมที่มีโอกาสเติบโตโดดเด่นในระยะยาว

2.เนื่องจากราคาหุ้นกลุ่มเซมิคอนดักเตอร์อยู่ในระดับค่านข้างสูง การเลือกลงทุนผ่านกองทุนรวมที่มีนโยบายลงทุนในหุ้นกลุ่มเซมิคอนดักเตอร์จะใช้เงินลงทุนเริ่มต้นระดับต่ำ และสามารถลงทุนรูปแบบทยอยลงทุน (DCA) ได้

3.โอกาสได้รับผลตอบแทนที่ดีในระยะยาว จากผลการดำเนินงานของกองทุนรวม

ที่มา : ธนาคารแห่งประเทศไทย, บลจ.แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์, บลจ.ไทยพาณิชย์, Morningstarthailand,