ถ้าต้องเลือกสักหนึ่งประเทศในเอเชียให้เป็น “เสือเศรษฐกิจ” ที่เติบโตอย่างก้าวกระโดด “เวียดนาม” ต้องถูกเลือกเป็นอันดับต้นๆ เพราะด้วยโครงสร้างเศรษฐกิจที่แข็งแกร่ง และการมีแรงสนับสนุนที่ดีจากรัฐบาลเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ เสริมสภาพคล่องของภาคธุรกิจ และสนับสนุนการบริโภค ไปจนถึงการมีเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศที่สูง นักลงทุนรายย่อยกลับมาลงทุนในตลาดหุ้นเวียดนามมากขึ้น

ย้อนรอยเศรษฐกิจเวียดนามในช่วงปี 2016 - 2020 พบว่าทิศทางการเติบโตมีอัตราเพิ่มขึ้นสูงอย่างต่อเนื่องด้วยตัวเลขเฉลี่ยถึง 5.9% ต่อปี ด้วยปัจจัยที่มีประชากรส่วนใหญ่ล้วนอยู่ในวัยทำงาน อีกทั้ง ค่าแรงภายในประเทศยังมีอัตราที่ถูก แต่ความต้องการซื้อกลับมีอยู่สูง เพราะมีประชากรเกือบ 100 ล้านคน จึงมีความแข็งแกร่งด้านการซื้อขายสินค้าบริโภคเป็นอย่างมาก

อีกหนึ่งปัจจัยสำคัญ คือ เมื่อสหรัฐอเมริกาเกิดความขัดแย้งกับจีน ทำให้นักลงทุนต่างชาติในจีน เริ่มเปลี่ยนฐานมาลงทุนเวียดนามแทน ซึ่งการตั้งฐานการผลิตถือเป็นการลงทุนโดยตรง ส่งผลให้เวียดนามกลายเป็นประเทศที่มีเงินลงทุนเทเข้ามาสู่ภายในประเทศมากที่สุด จนได้รับการขนานนามว่าเป็นฐานการผลิตใหม่ของโลก

มาถึงปี 2021 เป็นช่วงที่ทั่วโลกได้รับผลกระทบจากภาวะโรคระบาด  COVID-19 ซึ่งเวียดนามก็ได้รับผลกระทบจนต้องประกาศปิดประเทศ จนทำให้ GDP เติบโตเพียง 2.84% อย่างไรก็ตาม อีก 1 ปีถัดมา เวียดนามประกาศศักยภาพต่อเวทีเศรษฐกิจโลก โดยปี 2022 ตัวเลขเติบโตทางเศรษฐกิจถึง 8.02% นับว่าเป็นอัตราการเติบโตที่สูงที่สุดในเอเชีย ด้วยการตัดสินใจเปิดประเทศอย่างเต็มรูปแบบ ผ่อนคลายมาตรการควบคุมโรคระบาด ทำให้เศรษฐกิจทุกภาคส่วน ทั้งการผลิต การท่องเที่ยว และการซื้อขายสินค้าอุปโภคบริโภค กลับมาฟื้นตัวได้อย่างแข็งแรงและรวดเร็ว

สำหรับปี 2023 สำนักงานสถิติประเทศเวียดนามได้คาดการณ์ว่า GDP จะเติบโตขึ้นในอัตรา 6.5% โดยปัจจัยสำคัญที่ทำให้เวียดนามมีศักยภาพเติบโตในระยะยาว มีดังนี้

การเป็นฐานการผลิตของโลกและการกระจายตัวของชุมชนเมืองที่เติบโตได้ดีก็สะท้อนการเพิ่มขึ้นของรายได้ประชากร นอกจากนี้ มูลค่าตลาดหุ้นเวียดนามก็มีแนวโน้มเติบโตสูงต่อเนื่องด้วย

เป็นฐานการผลิตให้บริษัทที่ได้รับผลกระทบจากสงครามการค้าจีนกับสหรัฐ มีการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศสูง จากปัจจัยด้านแรงงานที่คุณภาพดี มีต้นทุนต่ำ และมีการทำข้อตกลงเขตการค้าเสรี (FTAs) มากที่สุดในอาเซียน โดยรัฐบาล และธนาคารกลางเวียดนามออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในหลายภาคส่วน ทั้งในภาคอสังหาริมทรัพย์ ภาคการเงิน และอื่นๆ

ความสามารถในการค้าขายได้อย่างอิสระกับหลากหลายประเทศ เพราะได้ทำข้อตกลงการค้าเสรี (CPTPP) กับนานาประเทศ จึงเป็นเครื่องการันตีได้ว่านอกจากจะได้รับความไว้วางใจจากเวทีเศรษฐกิจโลก ยังเป็นประเทศที่เปิดโอกาสให้นักลงทุนเข้ามาทำธุรกิจใหม่ๆ

ตลาดหุ้นเวียดนาม

ในปี 2022 ตลาดหุ้นเวียดนามเผชิญความผันผวนจากปัจจัยทั้งในประเทศจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอย่างรวดเร็วของธนาคารกลางเวียดนาม ความกังวลต่อปัญหาในภาคอสังหาริมทรัพย์ และปัจจัยจากต่างประเทศ เช่น การล็อกดาวน์ของจีน ,สงครามระหว่างรัสเซียกับยูเครน, อัตราเงินเฟ้อที่อยู่ในระดับสูง และการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐอเมริกา ที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจทั่วโลก อย่างไรก็ตาม ในปี 2023 ตลาดหุ้นเวียดนามกลับมาเป็นตลาดที่น่าจับตามองของเหล่านักลงทุนทั่วโลกอีกครั้งหนึ่ง โดยตั้งแต่ต้นปีตลาดหุ้นเวียดนามปรับขึ้น 6.92% (ข้อมูล 2 พฤศจิกายน 2023)

ปัจจัยกดดันต่างๆ เริ่มคลี่คลาย หลังธนาคารกลางเวียดนามปรับลดดอกเบี้ยแล้วถึง 4 ครั้ง เพื่อสนับสนุนการเติบโตเศรษฐกิจภายในประเทศ ขณะที่ธนาคารพาณิชย์เริ่มกลับมาปล่อยสินเชื่อ ส่งผลให้ภาคอสังหาริมทรัพย์เริ่มมีสัญญาณฟื้นตัว พร้อมกับการผ่อนคลายนโยบายที่เกี่ยวข้องกับภาคอสังหาริมทรัพย์ เช่นเดียวกับอัตราเงินเฟ้อของเวียดนามมีแนวโน้มที่ลดลง

ปัจจัยดังกล่าว ส่งผลให้ตลาดหุ้นเวียดนามกลับมาน่าลงทุน โดยนักลงทุนรายย่อยกลับเข้าตลาด หลังดอกเบี้ยเงินฝากลดลง ขณะที่ตลาดหุ้นยังเทรดไม่แพง ซึ่งธนาคารเวียดนามหลายแห่งได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยหลังจากธนาคารกลางเวียดนาม ประกาศปรับลดเพดานดอกเบี้ยเงินฝาก

ล่าสุดอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก 12 เดือน ปรับตัวลดลงมาจากระดับ 9% ลงมาเฉลี่ยอยู่ที่ 6.50% ขณะเดียวกัน Bond Yield Vietnam 10 ปี ปรับตัวลดลงจากระดับ 4.63% ในเดือนมกราคมสู่ระดับ 2.66% ในเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ซึ่งดอกเบี้ยเงินฝากและอัตราผลตอบแทนพันธบัตรที่ปรับตัวลดลง ส่งผลให้ตลาดหุ้นกลับมาเป็นที่น่าสนใจมากขึ้น ทำให้ปริมาณการเทรดในตลาดหุ้นเวียดนามกลับมาปรับตัวเพิ่มขึ้นอีกครั้ง

จากข้อมูลดังกล่าว ทำให้ตลาดหุ้นเวียดนามยังคงมีปัจจัยหนุนหลายปัจจัยและประเมินว่าตลาดหุ้นเวียดนามในช่วงนี้ถือเป็นจังหวะที่น่าลงทุน โดยหากพิจารณาจาก Fwd P/E ที่อยู่ที่ระดับ 9.8 เท่า ยังคงต่ำกว่าค่าเฉลี่ย 5 ปีที่ระดับประมาณ 12 เท่า อีกทั้ง ได้มีการปรับ Earning Growth เพิ่มขึ้น ในขณะที่ดัชนียังคงปรับตัวเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ระดับ P/E Ratio ไม่ได้มีการปรับตัวขึ้นตามมากนัก ส่งผลให้ในปีนี้ตลาดเวียดนามกลายเป็นที่น่าจับตามองและเป็นที่น่าสนใจแก่นักลงทุน

กองทุนรวมพรินซิเพิล เวียดนาม อิควิตี้ (PRINCIPAL VNEQ-A), บลจ.พรินซิเพิล

PRINCIPALVNEQ-A มีนโยบายลงทุนในหุ้นที่อยู่ในตลาดหุ้นเวียดนาม เน้นไปที่ธุรกิจที่ได้รับประโยชน์จากการเติบโตของเวียดนาม เช่น วัสดุก่อสร้าง, อสังหาริมทรัพย์, ดิจิทัล, รวมถึงธุรกิจขายอาหารและเครื่องดื่ม และเน้นลงทุนหุ้นของบริษัทขนาดใหญ่ในเวียดนาม เช่น

FPT Corporation บริษัทเทคโนโลยีที่ใหญ่ที่สุดของเวียดนาม ทำธุรกิจจำหน่ายโปรแกรมคอมพิวเตอร์ Software, Cloud Service รวมถึงให้คำปรึกษาด้าน IT

HOA PHAT GROUP JSC บริษัทผลิตและจำหน่ายวัสดุก่อสร้างขนาดใหญ่และมีส่วนแบ่งการตลาดเป็นอันดับต้นๆ ของการจำหน่ายเหล็กที่ใช้ในการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานในเวียดนาม

Military Commercial Joint Stock Bank บริษัทเอกชนที่ใหญ่ที่สุดในเวียดนาม ให้บริการธนาคารกับทั้งบุคคลและองค์กรทั้งในและต่างประเทศ โดยมีตลาดหุ้นในกลุ่มแบงก์มากถึง 30%

สำหรับผลการดำเนินงาน PRINCIPALVNEQ-A 1 มกราคม – 31 ตุลาคม 2566 ให้ผลตอบแทนรวม 9.37% ขณะที่ผลตอบแทนรวมเฉลี่ย (ต่อปี) 3 ปี และ 5 ปี ทำได้ 9.12% และ 3.78% ตามลำดับ

เหมาะกับใคร

1.นักลงทุนที่ต้องการกระจายความเสี่ยงการลงทุนไปในตลาดหุ้นต่างประเทศ เนื่องจากตลาดหุ้นเวียดนามมีความสัมพันธ์กับตลาดหุ้นทั่วโลกค่อนข้างต่ำ

2.นักลงทุนที่มีการลงทุนสไตล์เชิงรุกและรับความเสี่ยงได้ค่อนข้างสูง เนื่องจากประเมินว่าตลาดหุ้นเวียดนาม

3.นักลงทุนที่มีเงินเย็น สามารถลงทุนเพื่อเพิ่มโอกาสสร้างผลตอบแทนในระยะยาว

ทำไมต้องลงทุน

1.บริหารจัดการโดยทีมบริหารกองทุนที่มีความเชี่ยวชาญทั้งชาวไทยและเวียดนาม คัดเลือกธุรกิจและบริษัทที่มีศักยภาพดี เพื่อสร้างผลตอบแทนที่เหมาะสมในแต่ละช่วงเวลาของตลาดลงทุน

2.ผู้จัดการกองทุนมีการลงทุนโดยตรงในตลาดหุ้นเวียดนาม โดยคัดเลือกหุ้นที่พื้นฐานดีและมีการเติบโตในระยะยาวได้

3.ได้รับ Morningstar 5 ดาว และมีผลการดำเนินงานที่ดีสม่ำเสมอ สามารถลงทุนในระยะยาวได้

ที่มา : บลจ.พรินซิเพิล, บลจ.ทิสโก้, บลจ.กรุงศรี, Morningstarthailand